อุเทนเถราปทานที่ ๑๐ (๔๑๐) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัวบาน
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 1000
เถราปทาน
เมตเตยยวรรคที่ ๔๑
อุเทนเถราปทานที่ ๑๐ (๔๑๐)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัวบาน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 1000
อุเทนเถราปทานที่ ๑๐ (๔๑๐)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัวบาน
[๔๑๒] ภูเขาชื่อปทุม ตั้งอยู่ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมวันต์ เราทำ อาศรม สร้างบรรณศาลาอย่างดีไว้ใกล้ภูเขาปทุมนั้น.
ที่ใกล้ภูเขานั้น มีแม่น้ำท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ น้ำ ใสแจ๋ว เย็นจืดสนิท น้ำไหลอยู่เป็นนิตย์.
ในกาลนั้น ปลาฉลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า และปลาตะเพียน อยู่ในแม่น้ำ ย่อมทำแม่น้ำให้งาม.
ดารดาษไปด้วยต้นมะม่วง ต้นหว้า ต้นกุ่ม ต้นหมากเม่า ต้นราชพฤกษ์ ต้นแคฝอย ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม.
ต้นปรู ต้นมะกล่ำหลวง ต้นกระทุ่ม ต้นกาหลง ดอกกำลัง บาน กลิ่นหอมฟุ้งไป ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม.
ต้นคำ ต้นสน ต้นกระทุ่ม หตฺถปาตา๑ จ กำลังดอกบาน กลิ่นหอมตลบอบอวล ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม.
๑. ม. อฏฺงฺคาปิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 1001
ต้นสมอ ต้นมะขามป้อม ต้นนะม่วง ต้นหว้า ต้นสมอพิเภก ต้นพุทรา ต้นรกฟ้า ต้นมะตูม มีผลมากอยู่ใกล้อาศรม ของเรา.
ต้นอ้อย ต้นกล้วย กำลังผลิดอกออกผลใกล้อาศรมของเรา นั้น ไม้กลิ่นหอมตลบอบอวล ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม.
ต้นอโสก ต้นวรี และต้นสะเดา กำลังดอกบานกลิ่นหอม ตลบหอมอวล ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม.
ต้นมะนาว ต้นมะงั่ว ต้นดีหมี มีดอกบาน หอมตลบอบอวล ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม.
ไม้ยางทราบ ต้นคณฑีเขมา และต้นจำปา มีดอกบาน กลิ่นหอมตลบอบอวล ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม.
ในที่ไม่ไกลมีสระบัว มีนกจากพรากส่งเสียงร้องอยู่ ดาดาษด้วยบัวขม บัวเผื่อน บัวหลวง และอุบล มีน้ำใสแจ๋ว เย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ใจ น้ำใสสะอาด เสมอด้วยแก้วผลึก ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม.
ในสระนั้น บัวหลวง บัวขาว บัวอุบล บัวขม และ บัวเผื่อน ดอกบานสะพรั่ง ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม.
ปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า และปลา ตะเพียนว่ายอยู่ในสระนั้น ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม.
จระเข้ ปลาฉลาม เต่า คหา โอคหา และงูเหลือมเป็น อันมาก ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 1002
นกพิราบ นกเป็ดน้ำ นกจากพราก นกกาน้ำ นกต้อยตีวิด และนกสาลิกา ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม.
มะม่วงหอมน่าดุ ต้นลำเจียก ดอกกำลังบาน มีกลิ่นหอม อบอวล ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาป่า หมาใน สัญจรอยู่ในป่าใหญ่ ย่อม ทำอาศรมของเราให้งาม.
ฤๅษีทั้งหลาย (เกล้าผมเป็นเซิง) สวมชฎา มีหาบเต็ม นุ่งห่มหนังสัตว์ สัญจรอยู่ในป่าใหญ่ ย่อมทำอาศรมของเรา ให้งาม.
บางพวกทรงหนังเสือ มีปัญญา มีความประพฤติสงบ และ บริโภคอาหารแต่น้อย ทั้งหมดนั้น ย่อมทำอาศรมของเรา ให้งาม.
ในกาลนั้น ฤๅษีทั้งหลายเอาหาบใส่บ่าเข้าสู่ป่า กินเหง้า มันและผลไม้ อยู่ในอาศรมในกาลนั้น.
ฤๅษีเหล่านั้นรู้ต้องนำฟืนมา น้ำสำหรับล้างเท้าก็ไม่ต้อง นำมา ด้วยอานุภาพแห่งฤๅษีทั้งปวง ฟืนและน้ำย่อมนำตัว มาเอง.
ฤๅษี ๘๔,๐๐๐ ตน ประชุมกันอยู่ในอาศรมนั้น ทั้งหมด นี้เป็นผู้เพ่งฌาน แสวงหาประโยชน์อันสูงสูด.
ฤๅษีเหล่านั้นเป็นผู้มีตบะ ประพฤติพรหมจรรย์ ตักเตือน กันและกัน เป็นผู้แน่นแฟ้น เหาะไปในอากาศได้ทุกคน อยู่ ในอาศรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 1003
ประชุมกันทุก ๕ วัน ไม่ระส่ำระสาย มีความประพฤติ สงบระงับ อภิวาทกันและกันแล้ว จึงบ่ายหน้ากลับไปตามทิศ (ที่ตนอยู่).
ในกาลนั้น พระชินเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้จบ ธรรมทั้งปวง พระองค์เสด็จอุบัติขึ้น กำจัดความมืดโดยรอบ อาศรมของเรา.
มียักษ์ (เทวดา) ผู้มีฤทธิ์อยู่ ยักษ์ตนนั้นได้บอกข่าว พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระแก่เราว่า พระพุทธเจ้า องค์นี้พระนามว่า ปทุมุตตระ เป็นมหามุนี เสด็จอุบัติแล้ว จงรีบไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าเถิด ท่านผู้เนียรทุกข์.
เราได้ฟังคำของยักษ์แล้วมีใจเลื่อมใสยิ่งนัก เก็บอาศรม แล้ว ออกจากป่าใหญ่ในขณะนั้น.
เมื่อไฟกำลังไหม้ผ้าอยู่ เราออกจากอาศรม พักอยู่กลาง ทางคืนหนึ่งแล้ว เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก สมควรรับเครื่องบูชา กำลังทรงประกาศสัจจะ ๔ แสดง อมตบทอยู่.
เราถือดอกปทุมอันบานเต็มที่ เข้ารูปเฝ้าพระองค์แล้ว มี จิตเลื่อมใสโสมนัส ถวายบังคมพระพุทธเจ้า บูชาพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตะ แล้วเอาหนังสัตว์ห่มเฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง สรรเสริญพระองค์ผู้นำของโลกว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 1004
พระสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีอาสวะ ประทับนั่งอยู่ที่นี้ ด้วยพระญาณใด เราจักสรรเสริญพระญาณนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรา กล่าว
พระสัมพุทธเจ้าทรงตัดกระแสสงสารแล้ว ทรงยังสรรพสัตว์ให้ข้าม สรรพสัตว์นั้นฟังธรรมของพระองค์แล้ว ย่อม ข้ามกระแสตัณหาได้.
พระองค์เป็นศาสดา เป็นธงชัย เป็นหลัก เป็นที่ยึดหน่วง เป็นที่พึ่ง และเป็นประทีปของสัตว์ทั้งหลาย สูงสุดกว่าสัตว์.
คณาจารย์ผู้นำหมู่ประมาณเท่าใด ที่ท่านกล่าวในโลก พระองค์เป็นผู้มีปัญญาเลิศกว่าคณาจารย์เหล่านั้น คณาจารย์ เหล่านั้นนับเป็นภายในของพระองค์.
พระองค์ผู้มีปัญญา ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้น ด้วยพระญาณของพระองค์ หมู่ชนอาศัยการได้เฝ้าพระองค์ แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้.
ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ คันธชาติเหล่าใดเหล่าหนึ่งหอมฟุ้ง ไปในโลก ข้าแต่พระมหามุนีผู้เป็นนาบุญ คันธชาติเหล่านั้น ที่จะเสมอด้วยกลิ่นหอมของพระองค์ไม่มี.
พระองค์ผู้มีจักษุ ขอจงทรงเปลื้องกำเนิดดิรัจฉาน นรก พระองค์ทรงแสดงบทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สงบระงับ.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 1005
สมควรรับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดมีความเลื่อมใส ได้บูชาญาณของเรา ด้วยมือทั้งสอง ของตน เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง.
เราเป็นผู้ได้ลาภอันได้ดีแล้ว เรายังพระพุทธเจ้าผู้มีวัตร งานให้ทรงโปรด กำหนดอาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มี อาสวะอยู่.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุเทนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.
จบอุเทนเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 1006
๔๑๐. อรรถกถาอุเทนเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระอุเทนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้
ในเรื่องนั้น ท่านได้บวชเป็นพระดาบส อาศัยภูเขาปทุมใกล้ป่า หิมวันต์อยู่ ได้ถือเอาดอกปทุมมาบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็น ความแปลกกันแล คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล
จบอรรถกถาอุเทนเถราปทาน
จบอรรถกถาเมตเตยยวรรค ที่ ๔๑
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ติสสเมตเตยยเถราปทาน ๒. ปุณณกเถราปทาน ๓. เมตตคู- เถราปทาน ๔. โธตกเถราปทาน ๕. อุปสีวเถราปทาน ๖. นันทกเถราปทาน ๗. เหมกเถราปทาน ๘. โตเทยยเถราปทาน ๙. ชตุกัณณิกเถราปทาน ๑๐. อุเทนเถราปทาน และในวรรคนี้มีคาถา ๓๘๓ คาถา.
จบเมตเตยยวรรคที่ ๔๑