พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เอกาสนทายกเถราปทานที่ ๓ (๔๒๓) ว่าด้วยผ้าแห่งการแต่งอาสนะบูชา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 พ.ย. 2564
หมายเลข  41426
อ่าน  456

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 34

เถราปทาน

สกิงสัมมัชชกวรรคที่ ๔๓

เอกาสนทายกเถราปทานที่ ๓ (๔๒๓)

ว่าด้วยผ้าแห่งการแต่งอาสนะบูชา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 34

เอกาสนทายกเถราปทานที่ ๓ (๔๒๓)

ว่าด้วยผ้าแห่งการแต่งอาสนะบูชา

[๑๓] มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อสิกะ อยู่ในที่ ไม่ไกลจากภูเขาหิมวันต์ เราสร้างอาศรมอย่าง สวยงาม สร้างบรรณศาลาไว้ที่ภูเขานั้น เรามีนาม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 35

ชื่อว่านารทะ แต่คนทั้งหลายเรียกว่า กัสสปะ ในกาลนั้น เราแสวงหาทางบริสุทธิ์อยู่ที่ภูเขากสิกะ

พระชินสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง ทรงใคร่ต่อวิเวก ได้เสด็จ มาทางอากาศ

เราเห็นพระรัศมีของพระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ กำลังเสด็จมาที่ชายป่า จึงตบแต่ง เตียงไม้แล้วปูลาดหนังสัตว์

ครั้นตบแต่งอาสนะเสร็จแล้ว จึงประนม กรอัญชลีขึ้นเหนือเศียรเกล้า ประกาศถึงความ โสมนัสแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์เป็นปราชญ์ นำสัตว์ออก จากโลก ขอพระองค์ผู้เป็นดังแพทย์รักษา ความเดือดร้อน ได้โปรดประทานการรักษาแก่ข้า พระองค์ ผู้อันความกำหนัดครอบงำเถิด

ข้าแต่พระมุนีชนเหล่าใดมีความต้องการ ด้วยบุญ มองดูพระองค์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ชนเหล่านั้นย่อมถึงความสำเร็จแห่ง ประโยชน์อันยั่งยืน พึงเป็นผู้ไม่แก่

ข้าพระองค์หามีไทยธรรมเพื่อพระองค์ไม่ เพราะข้าพระองค์บริโภคไม้ที่หล่นเอง ข้าพระ องค์มีแต่อาสนะนี้ ขอเชิญประทับนั่งบนเตียงไม้ เถิด

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 36

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไม่มีความสะดุ้ง เหมือนราชสีห์ ได้ประทับนั่งบนเตียงไม้แล้ว ทรงยับยั้งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วได้ตรัสอย่างนี้ว่า

ท่านจงเบาใจอย่าได้กลัวเลย แก้วมณีที่ สว่างไสว ควรยินดี ท่านได้แล้ว ความปรารถนา ที่ท่านได้ตั้งไว้ จักสำเร็จทุกประการก็เพราะ อาสนะ

บุญที่ได้บำเพ็ญไว้ดีแล้วในเขตบุญอัน ยอดเยี่ยม หาน้อยไม่เลย อันผู้ที่ตั้งจิตไว้ดีแล้ว สามารถที่จะรื้อตนขึ้นได้

เพราอาสนะทานนี้ และเพราะการตั้ง เจตนาไว้ ท่านจะได้ไปสู่วินิบาตตลอดแสนกัป

จักได้เป็นจอมเทพ เสวยราชสมบัติใน เทวโลก ๕๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๘๐ ครั้ง

จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนานับมิได้ ขณะที่ยังท่องเที่ยวอยู่ใน สังสารวัฏฏ์ จักเป็นผู้มีความสุขในที่ทั้งปวง

พระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าปทุมุตตระ เป็นนักปราชญ์ ครั้นตรัสดังนี้แล้วได้เสด็จขึ้นสู่ นภากาศ ปานดังว่าพญาหงส์ในอัมพรฉะนั้น

ยานช้าง ยานม้า รถ คานหาม เราได้สิ้น ทุกอย่าง นี้เป็นผลของอาสนะอันหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 37

ในเมื่อเราเข้าป่าแล้วต้องการนั่ง บัลลังก์ ดุจว่ารู้ความดำริของเรา

ในเมื่อเราอยู่ท่ามกลางน้ำต้องการที่นั่ง บัลลังก์ดังจะรู้ความดำริของเรา ตั้งขึ้นใกล้ๆ

เราจะเข้าถึงกำเนิดใดๆ คือ เป็นเทวดา หรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้นๆ บัลลังก์ตั้งแสน ย่อม แวดล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ

เราจะท่องเที่ยวอยู่แต่ในสองภพ คือ ใน เทวดาและมนุษย์ และจะเกิดในสองสกุล คือ กษัตริย์และพราหมณ์

เราถวายอาสนะอันหนึ่งในเขตบุญอัน ยอดเยี่ยม รู้ทั่วถึงบัลลังก์ คือ ธรรมแล้ว เป็นผู้ ไม่มีอาสนะอยู่

ในกัปที่แสน แต่กัปนี้เราได้ถวายทาน ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลของอาสนะอันหนึ่ง

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเอกาสนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบเอกาสนทายกเถราปทาน