พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เอกวิหาริยเถราปทานที่ ๑ (๔๓๑) ว่าด้วยผลแห่งการอยู่ป่าแต่ผู้เดียว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 พ.ย. 2564
หมายเลข  41434
อ่าน  381

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 53

เถราปทาน

เอกวิหาริวรรคที่ ๔๔

เอกวิหาริยเถราปทานที่ ๑ (๔๓๑)

ว่าด้วยผลแห่งการอยู่ป่าแต่ผู้เดียว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 53

เอกวิหาริวรรคที่ ๔๔

ว่าด้วยผลแห่งการอยู่ป่าแต่ผู้เดียว

[๒๑] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระ นามว่ากัสสปะโดยพระโคตรเป็นเผ่าพรหม มีพระ ยศใหญ่ ประเสริฐ ว่านักปราชญ์ ทั้งหลาย เสด็จ อุบัติขึ้นแล้ว

พระองค์ไม่มีธรรมเครื่องให้เนิ่นช้า ไม่มี เครื่องยึดหน่วง มีพระทัยเสมอด้วยอากาศ มาก ด้วยสุญญตสมาธิ คงที่ ยินดีในอนิมิตตสมาธิ ประทับอยู่แล้ว

พระองค์ผู้มีพระทัยรังเกียจ ไม่มีตัณหา เครื่องฉาบทา ไม่เกี่ยวข้องในตระกูล ในคณะ ประกอบด้วยพระกรุณาใหญ่ เป็นนักปราชญ์ ทรง ฉลาดในอุบายเรื่องแนะนำ

ทรงขวนขวายในกิจของผู้อื่น ทรงแนะ นำในหนทางอันยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน ซึ่งเป็น เหตุทำเปือกตมคือคติให้แห้ง ในโลกพร้อมทั้ง เทวโลก

ประทับนั่งแสดงอมตธรรมอันเป็นความ แช่มชื่นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องห้ามชราและมรณะ ในท่ามกลางบริษัทใหญ่ ยังสัตว์ให้ข้ามโลก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 54

พระวาจาไพเราะเหมือนนกการะเวก เป็น นาถะของโลก มีพระสุรเสียงกังวาลประหนึ่งเสียง พรหม ผู้เสด็จมาด้วยประการนั้น ถอนพระองค์ ขึ้นมาจากมหันตทุกข์ ในเมื่อโลกปราศจากผู้แนะนำ

ทรงแสดงธรรมที่ปราศจากธุลี นำสัตว์ ออกจากโลก เราได้เห็นแล้ว ได้ฟังธรรมของ พระองค์ จึงออกบวชเป็นบรรพชิต

ครั้นเราบวชแล้วในกาลนั้น คิดถึงคำ สอนของพระชินเจ้า ถูกความเกี่ยวข้องบีบคั้น จึง ได้อยู่เสวยในป่าที่น่ารื่นรมย์แต่ผู้เดียวเท่านั้น

การที่เรามีกายหลีกออกมาได้ เป็นเหตุ แห่งการหลีกออกแห่งใจของเราผู้เห็นภัยในความ เกี่ยวข้อง

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเอกวิหาริยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบเอกวิหาริยเถราปทาน