เรื่องเพื่อนที่คิดแข่งขันกับเราและใส่ร้ายลับหลัง

 
medulla
วันที่  29 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4146
อ่าน  5,564

อยากทราบว่าในพระไตรปิฎกมีกล่าวถึงเรื่องคนใกล้ชิดที่เป็นเพื่อน คิดทรยศหักหลังใส่ร้ายลับหลังคิดแข่งขัน คิดตั้งตนเป็นศัตรูกับเราแบบลับๆ หรือไม่ (แทงข้างหลัง)

กรณีแบบนี้ ควรประพฤติและวางตัวอย่างไรกับเพื่อนลักษณะนี้ เพราะที่ผ่านมารู้สึกดีและไว้ใจมาตลอดไม่นึกว่าจะทำกับเราแบบนี้ ต่อหน้าก็พูดดีและทำดีกับเรา แต่ลับหลังไม่ใช่ควรวางตัวอย่างไรดี

ขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

ในพระไตรปิฎกพระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมที่มีประโยชน์ไว้ทุกอย่างแม้เรื่องมิตรหรือเพื่อนก็แสดงไว้ว่า มิตรมี ๒ ประเภท มิตรแท้ ๑ มิตรเทียม ๑ ควรคบมิตรแท้ ไม่ควรคบมิตรเทียมหรือคนเทียมมิตร และที่สำคัญคือ เราไม่ควรเป็นมิตรเทียม ควรเป็นมิตรกับผู้อื่นด้วยความจริงใจ ถ้ารู้ว่าผู้ใดเป็นมิตรเทียมไม่ควรคบ ไม่ควรสนิทสนมด้วย แต่ควรเมตตาแก่เขา ควรอนุเคราะห์เขา แต่ไม่ควรคบเป็นเพื่อนสนิทสนม ขอเชิญอ่านลักษณะของมิตรเทียมจากพระไตรปิฎก

เชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

กถาว่าด้วยมิตรเทียม [สิงคาลกสุตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 29 มิ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
natnicha
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

เคยมีเพื่อนสนิทที่มาหลอกถามความลับเรา แล้วไปเล่าให้คนที่ไม่ควรเล่าฟังเหมือนกัน ทำให้เรื่องราววุ่นวาย และเราก็รู้จากเพื่อนคนอื่นว่าเขาเป็นคนเอาเรื่องของเรามาพูด ตอนนั้นก็โกรธและเสียความรู้สึกเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้ทำอะไร เพราะเขาก็มีข้อดีส่วนอื่นอีก ตอนนั้นก็ยังคบกันเป็นเพื่อนอยู่ แต่ก็จะไม่สนิทเหมือนเดิม และตอนนี้ก็ห่างๆ กันไป การเลือกคบคนเป็นสิ่งที่สำคัญเหมือนกัน เพราะถ้าเราคบคนที่ไม่ดี ก็จะแนะนำและชักชวนเราไปในทางที่ไม่ดี เราอาจจะคล้อยตามไปกับเขาได้ และบางครั้งก็ยังนำปัญหาวุ่นวายมาให้เราอีก

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

ผลของกุศลทำให้เราได้เจอมิตรแท้ และผลของอกุศลทำให้เราได้เจอคนเทียมมิตร ถ้าเราต้องเจอเพื่อนที่ต่อหน้าอย่าง ลับหลังอย่าง เราก็ได้รับอกุศลวิบากไปแล้ว เราก็เลิกคบค่ะ (ไม่สนิทด้วย) แต่อนุเคราะห์ช่วยเหลือได้ ถ้าเขาได้รับความเดือนร้อน อย่างน้อยเราคนหนึ่งที่จะเป็นมิตรแท้ของคนอื่นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ajarnkruo
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

นี่แหละคือ บททดสอบ กุศลประการต่างๆ ที่ได้อบรมมา จากการฟังพระธรรมหรืออื่นๆ เมตตามีไหม เห็นใจเขาหรือเปล่า ขันติมีไหม หรือถ้าเป็นคนไม่ดี ก็ไม่

ต้องอดทน อดทนเฉพาะกับคนที่เรารัก (ซึ่งก็ไม่ใช่ขันติ) จะโทษใครได้ เราก็มีกรรมของตนที่จะเห็น ได้ยินอย่างนั้น เขาก็มีกรรมของเขาที่เขาทำใหม่ เห็นใจเขาไหมที่จะได้รับกรรมที่เขาทำ เราไม่ต้องทำอะไร เพราะทุกคนก็มีกรรมเป็นของๆ ตน ธรรมเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่สะสมมาของแต่ละคน ไม่มีใครบังคับกฎเกณฑ์อะไรได้เพราะทุกอย่างเป็นธรรม บอกให้อย่าโกรธ มีเหตุปัจจัยก็โกรธบอกให้ วางเฉย นิ่งๆ ถ้าโสภณธรรม (ธรรมฝ่ายดี เช่น เมตตา ขันติ) ไม่มีกำลังอันเนื่องมาจากการฟังธรรม พอเจอเพื่อนอย่างนี้ ก็เฉยไม่ไหว ดังนั้น ธรรมทั้งหลายมีปัจจัยปรุงแต่ง กุศลจะเกิดก็ต้องมีเหตุปัจจัย เพราะได้คบสัตบุรุษ ฟังธรรมจนเข้าใจ เป็นต้น จึงย้ำเสมอว่า ควรฟังธรรมที่เกื้อกูลให้ธรรมฝ่ายดีเกิดบ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะที่ย้ำแล้วย้ำอีก คือ เรื่องบารมีในชีวิตประจำวัน ฟังดีมากถ้าเข้าใจ ก็จะทำให้เป็นผู้อดทนขึ้น เมตตามากขึ้น จากเหตุการณ์ที่ได้ประสบในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเรื่องใด และเมื่อนั้น เมื่อเหตุปัจจัยที่จะเจอเพื่อนอย่างนี้หรือเหตุการณ์ใด ก็จะรู้เองครับ ว่าจะวางตัวอย่างไร เพราะธรรม เขาก็จะทำหน้าที่เองตอนนั้นแล้วแต่ว่าใครจะสะสมมาอย่างไร (สะสม ฝ่ายดีและไม่ดีมาอย่างไร) ลองอ่านพระสูตรที่ยกมานะครับ จะเข้าใจเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 มิ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 มิ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

เรื่อง ถ้าไม่มีใครทำความเสียหายให้ ขันติจะเจริญได้อย่างไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 608

อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้เดือดร้อนในโลกนี้ เพราะไม่มี

ขันติสมบัติ. และเพราะประกอบธรรมอันทำให้เดือดร้อนในโลกหน้า. หาก

ว่าทุกข์มีความเสียหายของผู้อื่นเป็นนิมิตเกิดขึ้น. อัตภาพอันเป็นเขตของ

ทุกข์นั้น และกรรมอันเป็นพืชของทุกข์นั้นอันเราปรุงแต่งแล้ว. นั่นเป็น

เหตุแห่งความเป็นหนี้ของทุกข์นั้น. เมื่อไม่มีผู้ทำให้เสียหายขันติสัมปทาของ

เราจะเกิดได้อย่างไร.

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

เรื่อง ผู้มีปัญญาย่อมอดทน ผู้ไม่มีปัญญาย่อมไม่อดทน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 605

อนึ่งผู้มีปัญญาเท่านั้นเป็นผู้มีความอดกลั้นต่อความเสียหายของผู้อื่นเป็นต้น.

ผู้มีปัญญาทรามไม่เป็นผู้อดกลั้น. ความเสียหายที่ผู้อื่นนำไปให้แก่ผู้ปราศจาก

ปัญญา ย่อมเพิ่มพูนความเป็นปฏิปักษ์ของความอดทน. แต่ความเสียหาย

เหล่านั้นของผู้มีปัญญาย่อมเป็นไป เพื่อความมั่นคงแห่งขันตินั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

เรื่อง การวางฉยที่ถูกต้องคืออย่างไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 573

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้วางเฉยตลอดอย่างใด

อย่างหนึ่งในที่ควรวางเฉย. แต่ไม่วางเฉยในที่ทั้งปวง และโดยประการทั้งปวง

ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ทั้งหลายไม่วางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย.

แต่วางเฉยในความไม่เหมาะสม ที่สัตว์กระทำ.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนา

ไม่ว่าสังคมไหนท่านก็จะต้องพบกับบุคคลประเภทนี้ การพบปะกันอันนำมาซึ่งอนิฏฐารมณ์

ย่อมเป็นผลของอกุศลกรรมที่ท่านได้กระทำแล้ว ควรเจริญเมตตา และพิจารณาคุณของ

ขันติ ขณะที่ไม่โกรธ ขณะที่อดทน ขณะนั้นท่านยังประโยชน์ให้กับบุคคล ๒ ฝ่าย คือตัว

ท่านเอง และคนที่ประทุษร้ายท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
medulla
วันที่ 30 มิ.ย. 2550

ขอบพระคุณทุกท่านมากเลยค่ะ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
udomjit
วันที่ 30 มิ.ย. 2550


คำตอบดีจังเลย ขอ copy ไปจัดบอร์ดในวันจันทร์ค่ะ อนุโมทนาทั้งผู้ตั้งคำถาม

และผู้ตอบค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 ส.ค. 2550

เห็นใจและเข้าใจบุคคลนั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ