พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปุฬินุปปาทกเถราปทานที่ ๗ (๔๘๗) ว่าด้วยผลแห่งการก่อพระเจดีย์ทราย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 พ.ย. 2564
หมายเลข  41491
อ่าน  506

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 131

เถราปทาน

ปังสุกูลวรรคที่ ๔๙

ปุฬินุปปาทกเถราปทานที่ ๗ (๔๘๗)

ว่าด้วยผลแห่งการก่อพระเจดีย์ทราย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 131

ปุฬินุปปาทกเถราปทานที่ ๗ (๔๘๗)

ว่าด้วยผลแห่งการก่อพระเจดีย์ทราย

[๗๗] เราเป็นดาบสชื่อเทวละ อาศัยอยู่ ที่ภูเขาหิมพานต์ ที่จงกรมของเราเป็นที่อัน อมนุษย์เนรมิตให้ ณ ภูเขานั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 132

ครั้งนั้น เรามุ่นมวยผมสะพายคนโทน้ำ เมื่อจะแสวงหาประโยชน์อันสูงสุด ได้ออกไปจาก ป่าใหญ่

ครั้งนั้น ศิษย์ ๘๔,๐๐๐ คน อุปัฏฐากเรา เขาทั้งหลายขวนขวายเฉพาะกรรมของตนอยู่ใน ป่าใหญ่

เราออกจากอาศรม ก่อพระเจดีย์ทราย แล้วรวบรวมเอาดอกไม้นานาชนิดมาบูชาพระเจดีย์ นั้น

เรายังจิตให้เลื่อมใสพระเจดีย์นั้น แล้ว เข้าไปสู่อาศรม พวกศิษย์ได้มาประชุมพร้อมกัน ทุกคนแล้ว ถามถึงความข้อนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ สถุปที่ท่านนมัสการก่อด้วยทราย แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็อยากจะรู้ ท่านอันข้าพเจ้าทั้งหลายถามแล้ว ขอจงบอกแก่ ข้าพเจ้าทั้งหลาย.

เราตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้นี้ พระจักษุ มียศใหญ่ ท่านทั้งหลายได้พบแล้วใน บทมนต์ของเรามิใช่หรือ เรานมัสการพระพุทธ - เจ้าผู้ประเสริฐสุด มียศใหญ่เหล่านั้น.

ศิษย์เหล่านั้นได้ถามอีกว่า พระพุทธเจ้า ผู้มีความเพียรใหญ่ รู้ไญยธรรมทั้งปวง ทรงเป็น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 133

ผู้นำโลกเหล่านั้น เป็นเช่นไร มีคุณเป็นอย่างไร มีศีลเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศใหญ่ เหล่านั้นเป็นดังฤา.

เราได้ตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มี พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีพระทนต์ ครบ ๔๐ ถ้วน มีดวงพระเนตรดังตาแห่งโคและ เหมือนผลมะกล่ำ

อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเมื่อเสด็จ ดำเนินไป ก็ย่อมทอดพระเนตรดูเพียงชั่วแอก พระชานุของพระองค์ไม่ลั่น ใครๆ ไม่ได้ยิน เสียงที่ต่อ

อนึ่ง พระสุคตทั้งหลาย เมื่อเสด็จดำเนิน ไป ย่อมไม่รีบร้อนเสด็จดำเนินไป ทรงก้าว พระบาทเบื้องขวาก่อน นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

และพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้ไม่ หวาดกลัว เปรียบเหมือนไกรสรมฤคราช ฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่ทรงยกพระองค์ และ ไม่ทรงข่มขี่สัตว์ทั้งหลาย

ทรงหลุดพ้นจากการถือตัวและดูหมิ่น ท่านเป็นผู้มีพระองค์เสมอในสัตว์ทั้งปวง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่ทรงยกพระองค์ นี้เป็น ธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 134

และพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อเสด็จ อุบัติขึ้น พระองค์ทรงแสดงแสงสว่าง ทรงประกาศวิการ ๖ ทั่วพื้นแผ่นดินนี้ทั้งสิ้น

ทั้งพระองค์ทรงเห็นนรกด้วย ครั้งนั้น ไฟนรกดับ มหาเมฆยังฝนให้ตก นี้เป็นธรรมดา ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

พระพุทธเจ้าผู้มหานาคเหล่านั้น เป็น เช่นนี้ พระพุทธเจ้าผู้มียศใหญ่เหล่านั้น ไม่มีใคร เทียมเท่าพระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้มีพระคุณหา ประมาณมิได้ ใครๆ ไม่เกินพระองค์ไปโดย เกียรติคุณ.

ศิษย์ทุกตนเป็นผู้มีความเคารพ ชื่นชม ถ้อยคำของเรา ต่างได้ปฏิบัติเช่นนั้น ตามสัตติ กำลัง

พวกเขามีความเพลิดเพลินในกรรมของ ตน เชื่อฟังถ้อยคำของเรา มีฉันทะอัธยาศัยน้อม ไปในความเป็นพระพุทธเจ้า พากันบูชาพระเจดีย์ ทรายในกาลนั้น เทพบุตรผู้มียศใหญ่ จุติจากชั้น ดุสิต บังเกิดในพระครรภ์ของพระมารดา หมื่น โลกธาตุหวั่นไหว

เรายืนอยู่ในที่จงกรมไม่อาศรม ศิษย์ ทุกคนได้มาประชุมพร้อมกันในสำนักของเรา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 135

ถามว่า แผ่นดินบันลือลั่น ดุจโคอุสภะ คำรณ ดุจมฤคราช ร้องดุจจระเข้ จักมีผลเป็นอย่างไร.

เราตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดที่เราประกาศ ณ ที่ใกล้พระสถูปคือกองทราย บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีโชค เป็น ศาสดาพระองค์นั้น เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว.

เราแสดงธรรมกถาแก่พวกศิษย์เหล่านั้น แล้ว กล่าวสดุดีพระมหามุนี ส่งศิษย์ของตนไป แล้ว นั่งขัดสมาธิ

ก็เราเป็นผู้สิ้นกำลังนอนเจ็บหนัก ระลึก ถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทำกาลกิริยา ณ ที่ นั้นเอง

ครั้งนั้น ศิษย์ทุกคนพร้อมกันทำเชิง ตะกอนแล้ว ยกซากศพของเราขึ้นเชิงตะกอน

พวกเขาล้อมเชิงตะกอน ประนมอัญชลี เหนือเศียร อันลูกศรคือ ความโศกครอบงำ ชวน กันมาคร่ำครวญ

เมื่อศิษย์เหล่านั้นพิไรรำพันอยู่ เราได้ ไปใกล้เชิงตะกอน สั่งสอนพวกเขาว่า เราคือ อาจารย์ของท่าน แน่ะท่านผู้มีปัญญาดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้เศร้าโศกเลย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 136

ท่านทั้งหลายควรเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน พยายามในประโยชน์ของตน ทั้งกลางคืนและ กลางวัน ท่านทั้งหลายอย่าได้ประมาท ควรทำ ขณะเวลาให้ถึงเฉพาะ

เราพร่ำสอนศิษย์ของตนแล้วกลับไปยัง เทวโลก เราได้อยู่ในเทวโลกถึง ๑๘ กัป

ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และ ได้เสวยราชสมบัติในเทวโลกเกินร้อยครั้ง

ในกัปที่เหลือ เราได้ท่องเที่ยวไปอย่าง สับสน แต่ก็ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ ก่อเจดีย์ทราย

ในเดือนที่ดอกโกมุทบาน ต้นไม้เป็นอัน มากต่างก็ออกดอกบานฉันใด เราก็เป็นผู้อันพระศาสดาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ให้บานแล้วใน สมัย ฉันนั้นเหมือนกัน

ความเพียรของเรานำธุระน้อยใหญ่ไป นำ เอาธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมา เราตัด กิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัดเชือกแล้ว ฉะนั้น เป็น ผู้ไม่มีอาสวะอยู่

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้สรรเสริญ พระพุทธเจ้าใด ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จัก ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 137

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระปุฬินุปปาทกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบปุฬินุปปาทกเถราปทาน

อรรถกถาปุฬินุปปทากเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า จตฺตลีสทิชาปิ จ ได้แก่ ชื่อว่า ทิชา เพราะเกิด ๒ ครั้ง อธิบายว่า ชื่อว่า ทิชา เพราะฟันที่งอกขึ้นในวัยเป็นเด็กหักไปแล้ว งอกขึ้นอีก และฟันเหล่านั้นจึงชื่อว่า ทิชา ก็การพยากรณ์ในนิทานกถา ข้าพเจ้าได้กล่าว ไว้แล้วในหนหลังแล้วทีเดียว.

จบอรรถกถาปุฬินุปปาทกเถราปทาน