พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ตรณิยเถราปทานที่ ๘ (๔๘๘) ว่าด้วยผลแห่งการทอดตนเป็นสะพาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 พ.ย. 2564
หมายเลข  41492
อ่าน  380

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 137

เถราปทาน

ปังสุกูลวรรคที่ ๔๙

ตรณิยเถราปทานที่ ๘ (๔๘๘)

ว่าด้วยผลแห่งการทอดตนเป็นสะพาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 137

ตรณิยเถราปทานที่ ๘ (๔๘๘)

ว่าด้วยผลแห่งการทอดตนเป็นสะพาน

[๗๘] ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อัตถทัสสี ผู้เป็นสยัมภู เป็นนายกของโลก พระตถาคต ได้เสด็จไปที่ฝั่งแม่น้ำวินตา

เราเป็นเต่าเที่ยวไปในน้ำ ออกไปจาก น้ำแล้วประสงค์จะเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จข้ามฟาก จึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ ผู้นายกของโลก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 138

(กราบทูลว่า) ขอเชิญพระพุทธเจ้าผู้เป็น มหามุนีพระนามว่าอัตถทัสสี เสด็จขึ้นหลัง ข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์จะให้พระองค์เสด็จ ข้ามฟาก ขอพระองค์โปรดทรงทำที่สุดแห่งทุกข์ แก่ข้าพระองค์เถิด

พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศใหญ่พระนามว่า อัตถทัสสี ทรงทราบถึงความดำริของเรา จึงได้ เสด็จขึ้นหลังเรา แล้วประทับยืนอยู่

ความสุขของเราในเวลาที่นึกถึงตนได้ และในเวลาถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา หาเหมือน ความสุขของเราเมื่อพื้นพระบาทสัมผัสไม่

พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้มี พระยศใหญ่ เสด็จขึ้นประทับยืนที่ฝั่งแม่น้ำแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

เราข้ามกระแสคงคา ชั่วเวลาประมาณ เท่าจิตเป็นไป ก็พระยาเต่าผู้มีบุญนี้ ส่งเราข้าม ฟาก

ด้วยการส่งพระพุทธเจ้าข้ามฟากนี้ และ ด้วยความเป็นผู้มีจิตเมตตา เขาจักรื่นรมย์อยู่ใน เทวโลกตลอด ๑,๘๐๐ กัป

จากเทวโลกมามนุษยโลกนี้เป็นผู้อันกุศล มูลตักเตือนแล้ว นั่ง ณ อาสนะเดียว จักข้าม พ้นกระแส คือ ความสงสัยได้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 139

พืชแม้น้อยแต่เขาเอาหว่านลงในเนื้อนา ดี เมื่อฝนยังอุทกธารให้ตกอยู่โดยชอบ ผลย่อม ทำชาวนาให้ยินดี แม้ฉันใด

พุทธเขตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ไว้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อบุญเพิ่มอุทกธาร ให้โดยชอบ ผลจักทำให้เรายินดี

เราเป็นผู้มีตนอันส่งไปแล้วเพื่อความเพียร เป็นผู้สงบระงับ ไม่มีอุปธิ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

ในกัปที่ ๑,๘๐๐ เราได้ทำกรรมใด ใน กาลนั้น ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น ผลแห่งการส่งพระพุทธเจ้าข้ามฟาก

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอนขอ พระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระตรณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบตรณิยเถราปทาน

อรรถกถาตรณิยเถราปทาน

อปทานที่ ๘ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาตรณิยเถราปทาน