พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมรุจิเถราปทานที่ ๙ (๔๘๙) ว่าด้วยผลแห่งความพอใจในธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 พ.ย. 2564
หมายเลข  41493
อ่าน  429

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 140

เถราปทาน

ปังสุกูลวรรคที่ ๔๙

ธรรมรุจิเถราปทานที่ ๙ (๔๘๙)

ว่าด้วยผลแห่งความพอใจในธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 140

ธรรมรุจิเถราปทานที่ ๙ (๔๘๙)

ว่าด้วยผลแห่งความพอใจในธรรม

[๗๙] ในเวลาที่พระพุทธเจ้าผู้พิชิตมาร พระนามว่าทีปังกร ทรงพยากรณ์สุเมธดาบสว่า ในกัปจากกัปนี้ไปนับไม่ถ้วย ดาบสนี้จักเป็น พระพุทธเจ้า

พระมารดาบังเกิดเกล้าของดาบสนี้จักทรง พระนามว่ามายา พระบิดาจักทรงพระนามว่า สุทโธทนะ ดาบสนี้จักชื่อว่าโคดม

ดาบสนี้จักเริ่มตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา แล้ว จักเป็นพระสัมพุทธเจ้าผู้มียศใหญ่ ตรัสรู้ ที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์

พระอุปติสสะและพระโกลิตะจักเป็น พระอัครสาวก ภิกษุอุปัฏฐากชื่อว่าอานนท์ จัก บำรุงดาบสนี้ผู้เป็นพระพิชิตมาร

นางภิกษุณีชื่อว่าเขมาและอุบลวรรณา จักเป็นอัครสาวิกา จิตตคฤหบดีและชาวเมืองอาฬวี (ชื่อว่า หัตถกะ) จักเป็นอัครอุบาสก

นางขุชชุตตรา และนางนันทมาตา จัก เป็นอัครอุบาสิกา ไม้โพธิ์ของนักปราชญ์ผู้นี้ เรียกว่าอัสสตถพฤกษ์

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 141

มนุษย์และเทวได้สดับพระดำรัสของ พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ซึ่งจะหาใคร เสมอเหมือนมิได้แล้ว ต่างเป็นผู้เบิกบาน ประนมอัญชลีถวายนมัสการ

เวลานั้น เราเป็นมาณพชื่อว่าเมฆะ เป็น นักศึกษา ได้สดับคำพยากรณ์อันประเสริฐของ สุเมธดาบส พระมหามุนี

เราเป็นผู้คุ้นเคยในสุเมธดาบสผู้เป็นที่อยู่ แห่งกรุณา และได้บวชตามสุเมธดาบส ผู้เป็น วีรบุรุษนั้น ผู้ออกบวชอยู่

เป็นผู้สำรวมในพระปาติโมกข์และ อินทรีย์ ๕ เป็นผู้มีอาชีวะหมดจด มีสติ เป็น นักปราชญ์ กระทำตามคำสอนของพระพิชิตมาร

เราเป็นอยู่เช่นนี้ ถูกปาปมิตรบางคน ชักชวนในอนาจาร ถูกกำจัดจากหนทางอันชอบ

เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งวิตก ได้ หลีกไปจากพระศาสนา ภายหลังถูกมิตรอัน น่าเกลียดนั้น ชักชวนให้ฆ่ามารดา

เรามีใจอันชั่วช้าได้ทำอนันตริยกรรมฆ่า มารดา เราจุติจากอัตภาพนั้นแล้วเกิดในอเวจี มหานรกอันแสนทารุณ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 142

เราไปสู่วินิบาตถึงความลำบากท่องเที่ยว ไปนาน ไม่ได้เป็นสุเมธดาบสผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้ประเสริฐกว่านระอีก

ในกัปนี้ เราเกิดเป็นปลาติมิงคละ อยู่ ในมหาสมุทร เราเห็นเรือในสาครจึงเข้าไปเพื่อจะ กิน

พวกพ่อค้าเห็นเราก็กลัว ระลึกถึงพระพุทธเจ้าประเสริฐสุด เราได้ยินเสียงกึกก้องว่า โคตโม ที่พ่อค้าเหล่านั้นเปล่งขึ้น

จึงนึกถึงสัญญาเก่าขึ้นมาได้ ต่อจากนั้น ได้ทำกาลกิริยา เกิดในสัญชาติพราหมณ์ ใน สกุลอันมั่งคั่ง ณ พระนครสาวัตถี

เราชื่อว่าธรรมรุจิ เป็นคนเกียจบาป กรรมทุกอย่าง พออายุได้ ๗ ขวบ ก็ได้พบพระพุทธองค์ผู้ส่องโลกให้โชติช่วง

จึงได้ไปยังพระมหาวิหารเชตวัน แล้ว บวชเป็นบรรพชิต เราเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ๓ ครั้ง ต่อคนหนึ่งกับวันหนึ่ง

ครั้งนั้น พระพุทธองค์ผู้เป็นมหามุนี ทอดพระเนตรเห็นเราเข้า จึงได้ตรัสว่า ดูก่อน ธรรมรุจิ ท่านจงระลึกถึงเรา ลำดับนั้น เราได้ กราบทูลบุรพกรรมอย่างแจ่มแจ้ง กะพระพุทธเจ้า ว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 143

เพราะปัจจัยแห่งความบริสุทธิ์ในปางก่อน ข้าพระองค์จึงมิได้พบพระองค์ ผู้ทรงพระลักษณะ แห่งบุญตั้งร้อยเสียนาน วันนี้ ข้าพระองค์ได้เห็น แล้วหนอ ข้าพระองค์เห็นพระสรีระของพระองค์ อันหาสิ่งอะไรเปรียบมิได้

ข้าพระองค์ตามหาพระองค์มานานนักแล้ว ตัณหานี้ข้าพระองค์ทำให้เหือดแห้งไปโดยไม่ เหลือด้วยอินทรีย์สิ้นกาลนาน ข้าพระองค์ชำระ นิพพานให้หมดมลทินได้ โดยกาลนาน ข้าแต่ พระมหามุนี นัยน์ตาอันสำเร็จด้วยญาณ ถึงความ พร้อมเพรียงแก่พระองค์ได้ ก็สิ้นเวลานานนัก ข้าพระองค์พินาศไปเสียในระหว่าง อีกเป็นเวลา นาน วันนี้ได้สมาคมกับพระองค์อีก ข้าแต่พระโคดม กรรมที่ข้าพระองค์ได้ทำไว้ จะไม่พินาศไป เลย.

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอนของ พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระธรรมรุจิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบธรรมรุจิเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 144

๔๘๙. อรรถกถาธรรมรุจิเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตทาหํ มาณโว อาสึ ความว่า สุเมธบัณฑิตได้รับพยากรณ์ จากสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าทีปังกรในกาลใดในกาลนั้นเรา ชื่อว่า เมฆะ เป็นพราหมณ์หนุ่มบวชเป็นฤาษีร่วมกับสุเมธดาบส ศึกษาใน สิกขาบททั้งหลายจบแล้วคลุกคลีกับเพื่อนชั่วบางคนเข้า เพราะโทษที่คลุกคลีสมาคมกันจึงตกไปในอำนาจแห่งวิตกที่ลามกเป็นต้น ด้วยกรรมคือการ ฆ่ามารดา จึงได้เสวยทุกข์อันเนื่องด้วยเปลวไฟเป็นต้นในนรก จุจิจากอัตภาพ นั้นแล้ว ได้บังเกิดเป็นปลาใหญ่ชื่อ ติมิงคละ ในมหาสมุทร มีความประสงค์ จะกลืนเรือใหญ่ที่แล่นไปในท่ามกลางมหาสมุทร จึงได้ว่ายไป พวกพ่อค้า เห็นเราเข้าจึงกลัวร้องเสียงดังว่า โอ พระผู้มีพระภาคเจ้าโคดม ลำดับนั้น ด้วยอำนาจวาสนาที่ได้อบรมมาในกาลก่อน ปลาใหญ่จึงเกิดความเคารพใน พระพุทธเจ้า จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ที่สมบูรณ์ ด้วยสมบัติในกรุงสาวัตถี มีศรัทธาเลื่อมใส ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ ศาสดาแล้วบวช ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ ได้ไปสู่ที่บำรุง วันละ ๓ ครั้ง ระลึกถึงไหว้อยู่ ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะ เราว่า เป็นผู้ยินดีในธรรมได้นาน. ลำดับนั้น พระเถระรูปนั้นกล่าวชมเชย ด้วยคาถาเป็นต้นว่า สุจิรํ สตปุญฺญลกฺขณํ ผู้ทรงพระลักษณะแห่งบุญตั้งร้อย เสียนานดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้ทรงพระลักษณะแห่งบุญตั้งร้อยผู้เจริญ. บทว่า ปติปุพฺเพน วิสุทฺธปจฺจยํ ความว่า ข้าพเจ้ามิได้พบเห็นท่านผู้มีปัจจัยสมภารที่ บำเพ็ญมาจนบริบูรณ์ ณ บาทมูลของพระพุทธเจ้าทีปังกรในกาลก่อนเสียนาน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 145

แสนนาน. บทว่า อหมชฺช สุเปกขนํ ความว่า ในวันนี้นี่เอง ข้าพเจ้าได้ พบเห็นแล้วหนอ ซึ่งพระโคตรผู้มีพระสรีระอันปราศจากอุปมา นับว่าเป็นการ เห็นด้วยดี หรือเป็นการเห็นที่งาม. บทว่า สุจิรํ วิหตตโม มยา ความว่า พระองค์ทรงกำจัดความมืดได้แล้วโดยพิเศษ คือทรงกำจัดโมหะได้แล้ว แม้ ข้าพระองค์ ก็ได้ชมเชยแล้วเป็นอย่างดีตลอดกาลนาน. บทว่า สุจิรกฺเขน นที วิโสสิตา ความว่า แม่น้ำคือตัณหานี้ ซึ่งข้าพระองค์รักษาคุ้มครองมา เป็นอย่างดี ได้ให้เหือดแห้งไปโดยพิเศษแล้ว คือพระองค์ทำให้ไม่สมควร จะเกิดได้อีก. บทว่า สุจิรํ อมลํ วิโสธิตํ ความว่า ข้าพระองค์ชำระพระนิพพาน ให้หมดจดได้โดยกาลนาน คือพระองค์ทำให้ข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว. บทว่า นยนํ าณมยํ มหามุเน จิรากาลสมงฺคิโต ความว่า ข้าแต่พระมหามุนีคือ พระมหาสมณะ นัยน์ตาอันสำเร็จด้วยญาณ ถึงความพร้อมเพรียงกับพระองค์ ได้ ก็สิ้นเวลานานนักหนา. บทว่า อวินฏฺโ ปุนรนฺตรํ ความว่า ข้าพระองค์ ได้พินาศ คือเสื่อมเสียไปในระหว่างภพ คือในท่ามกลางอีกเป็นเวลานาน. บทว่า ปุนรชฺชสมาคโต ตฺยา ความว่า วันนี้ คือในเวลานี้ข้าพระองค์ได้ มาสมาคมกับพระองค์ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้ง. บทว่า น หิ นสฺสนฺติ กตานิ โคตม ความว่า ข้าแต่พระโคดม คือ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า กรรมมี การสมาคมเป็นต้น ที่ข้าพระองค์ได้ทำร่วมกับพระองค์จะไม่พินาศไป จน กว่าจะดับขันธปรินิพพาน จึงจักไม่มี. คำที่เหลือ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาธัมมรุจิเถราปทาน