พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สาลมัณฑปิยเถราปทานที่ ๑๐ (๔๙๐) ผลแห่การสร้าปะรำมุงด้วยดอกรัง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 พ.ย. 2564
หมายเลข  41494
อ่าน  371

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 146

เถราปทาน

ปังสุกูลวรรคที่ ๔๙

สาลมัณฑปิยเถราปทานที่ ๑๐ (๔๙๐)

ผลแห่การสร้าปะรำมุงด้วยดอกรัง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 146

สาลมัณฑปิยเถราปทานที่ ๑๐ (๔๙๐)

[๘๐] เราเข้าไปสู่ป่ารัง สร้างอาศรมอย่าง สวยงาม มุงบังด้วยดอกรัง ครั้งนั้นเราอยู่ในป่า

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สยัมภูเกอัครบุคคล ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง พระนามว่า ปิยทัสสี ทรงประสงค์ความสงัด จึงได้เสด็จเข้าสู่ป่ารัง

เราออกจากอาศรมไปป่าเที่ยวแสวงหามูล ผลาผลในป่า ณ เวลานั้น

ณ ที่นั้น เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่ ประทับนั่งเข้า สมาบัติรุ่งโรจน์อยู่ในป่าใหญ่

เราปักเสา ๔ เสา ทำปะรำอย่างเรียบร้อย แล้วเอาดอกรังมุงเหนือพระพุทธเจ้า เราทรงปะรำ ซึ่งมุงด้วยดอกรังไว้ ๗ วัน ยังจิตให้เลื่อมใสใน กรรมนั้น ได้ถวายบังคมพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด

สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อุดมบุรุษ เสด็จออกจากสมาธิประทับนั่งทอดพระเนตรดู เพียงชั่วแอก

สาวกของพระศาสดาพระนามว่า ปิยทัสสี ชื่อว่า วรุณ กับพระอรหันตขีณาสพแสนองค์ได้ มาเฝ้าพระศาสดาผู้นำชั้นพิเศษ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 147

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าพิชิตมารพระนามว่าปิยทัสสี เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่า นรชน ประทับนั่งในท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ทรงกระทำการแย้มพระสรวลให้ปรากฏ

พระอนุรุทธเถระ ผู้อุปัฏฐาก ของพระศาสดาพระนามว่า ปิยทัสสี ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้าง หนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระมหามุนีว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อะไรเล่าหนอ เป็นเหตุให้พระศาสดาทรงแย้มพระสรวลให้ ปรากฏ เพราะเมื่อเหตุ พระศาสดาจึงทรงแย้ม พระสรวลให้ปรากฏ.

พระศาสดาตรัสว่า มาณพใดทรงปะรำที่ มุงด้วยดอกไม้ไว้ตลอด ๗ วัน เรานึกถึงกรรม ของมาณพนั้น จึงได้ทำการยิ้มแย้มให้ปรากฏ

เราไม่พิจารณาเห็นช่องทางที่ไม่ควรที่บุญ จะไม่ให้ผล ช่องทางที่ควรในเทวโลกหรือมนุษย์- โลก ย่อมไม่ระงับไปเลย

เขาผู้เพียบพร้อมด้วยบุญกรรมอยู่ใน เทวโลกมีบริษัทเท่าใด บริษัทเท่านั้นจักถูกมุงบัง ด้วยดอกรัง เขาเป็นผู้ประกอบด้วยบุญกรรม จัก รื่นเริงอยู่ในเทวโลกนั้น ด้วยการฟ้อน การขับ การประโคม อันเป็นทิพย์ในกาลนั้นทุกเมื่อ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 148

บริษัทของเขาประมาณเท่าที่มี จักมี กลิ่นหอมฟุ้ง และฝนดอกรังจักตกลงทั่วไปใน ขณะนั้น มาณพนี้จุติจากเทวโลกแล้ว จักมาสู่ ความเป็นมนุษย์ แม้ในมนุษย์โลกนี้หลังคาดอกรัง ก็จักทรงอยู่ตลอดกาลทั้งปวง

ณ มนุษยโลกนี้การฟ้อนและการขับ ที่ ประกอบด้วยกังสดาล จักแวดล้อมมาณพนี้อยู่ เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

และเมื่อพระอาทิตย์อุทัย ฝนดอกรังที่ บุญกรรมปรุงแต่งแล้ว จักตกลงทุกเวลา

ในกัปที่ ๑,๘๐๐ พระศาสดาพระนาม โคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จัก เสด็จอุบัติขึ้นในโลก

มาณพนี้จักเป็นทายาทในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ นิพพาน

เมื่อเขาตรัสรู้ธรรมอยู่ จักมีหลังคา ดอกรัง เมื่อถูกทำฌาปนกิจอยู่บนเชิงตะกอน ที่ เชิงตะกอนนั้น ก็จักมีหลังคาดอกรัง.

พระมหามุนีพระนามว่า ปิยทัสสี ทรง พยากรณ์ว่าแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่บริษัท ให้ อิ่มหนำด้วยฝนคือธรรม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 149

เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลกในหมู่ เทวดา ๒๐ กัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๗ ครั้ง

เราออกจากเทวโลกมาในมนุษยโลกนี้ ได้ความสุขอันไพบูลย์ แม้ในมนุษย์โลกนี้ ก็มี หลังคาดอกรัง นี้เป็นผลแห่งการถวายปะรำ

นี้เป็นความเกิดครั้งหลังของเรา ภพ สุดท้ายกำลังเป็นไป แม้ในภพนี้หลังคาดอกรัง ก็จักมีตลอดกาลทั้งปวง

เรายังพระมหามุนีพระนามว่า โคดม ผู้ ประเสริฐกว่าศากยราชให้ทรงยินดีได้ ละความ มีชัยและความปราชัยเสียแล้ว บรรลุถึงฐานะที่ ไม่หวั่นไหว

ในกัปที่ ๑,๘๐๐ เราได้บูชาพระพุทธเจ้า ด้วยพุทธบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล แห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสาลมัณฑปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบสาลมัณฑปิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 150

อรรถกถาสาลมัณฑปิยเถราปทาน

อปทานที่ ๑๐ มีเนื้อความพอที่จะกำหนดรู้ได้โดยง่ายทีเดียวแล. จบอรรถกถาปังสุกูลวรรคที่ ๔๙

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปังสุกูลสัญญกเถราปทาน ๒. พุทธสัญญกเถราปทาน ๓. ภิสทายกเถราปทาน ๔. ญาณถวิกเถราปทาน ๕. จันทนมาลิยเถราปทาน ๖. ธาตุปูชกเถราปทาน ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน ๘. ตรณิยเถราปทาน ๙. ธัมมรุจิเถราปทาน ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน.

มีคาถาคำนวณได้ ๒๑๙ คาถา.

จบปังสุกูลวรรคที่ ๔๙