พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

มหากัจจายนเถราปทานที่ ๑ (๕๓๑) ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหากัจจายนเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 พ.ย. 2564
หมายเลข  41538
อ่าน  521

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 212

เถราปทาน

กัจจายนวรรคที่ ๕๔

มหากัจจายนเถราปทานที่ ๑ (๕๓๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหากัจจายนเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 212

กัจจายนวรรคที่ ๕๔

มหากัจจายนเถราปทานที่ ๑ (๕๓๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหากัจจายนเถระ

[๑๒๑] พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ปราศจากตัณหา ทรงชำนะสิ่งที่ใครๆ เอาชนะ ไม่ได้ เป็นพระผู้นำ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในกัปที่แสน แต่ภัทรกัปนี้

พระองค์เป็นผู้แกล้วกล้าสามารถ มีพระอินทรีย์เสมือนใบบัว มีพระพักตร์ปราศจากมลทิน คล้ายพระจันทร์ มีพระฉวีวรรณปานดังทองคำ มี พระรัศมีซ่านออกจากพระองค์ เหมือนรัศมี พระอาทิตย์ฉะนั้น

น้ำตาและใจของสัตว์ลง ประดับด้วย พระลักษณะอันประเสริฐ ล่วงทางแห่งคำพูดทุก อย่าง อันหมู่มนุษย์และอมรเทพสักการะ

ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงยังสัตว์ให้ ตรัสรู้ ทรงนำไปได้อย่างรวดเร็ว มีพระสุรเสียง ไพเราะ มีพระสันดานมากไปด้วยพระกรุณา ทรง แกล้วกล้าในที่ประชุม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 213

พระองค์ทรงแสดงธรรมอันไพเราะ ซึ่ง ประกอบด้วยสัจจะ ๔ ทรงฉุดขึ้นซึ่งหมู่สัตว์ที่จม อยู่ในเปือกตมคือโมหะ

ครั้งนั้น เราเป็นดาบสสัญจรไปแต่คนเดียว มีป่าหิมพานต์เป็นที่อยู่อาศัย เมื่อไปสู่มนุษย์โลก ทางอากาศ

ก็ได้พบพระพิชิตมาร เราได้เข้าไปเฝ้า พระองค์แล้วสดับพระธรรมเทศนาของพระธีรเจ้า ผู้ทรงพรรณนาคุณอันใหญ่ของพระสาวกอยู่ว่า

เราไม่เห็นสาวกองค์อื่นใดในธรรมวินัยนี้ ที่จะเสมอเหมือนกับกัจจายนภิกษุนี้ ผู้ซึ่งประกาศ ธรรมที่เราแสดงแล้วแต่โดยย่อได้โดยพิสดาร ทำ บริษัทและเราให้ยินดี

เพราะฉะนั้น กัจจายนภิกษุนี้ จึงเลิศ ในการกล่าวซึ่งอรรถแห่งภาษิต ที่เรากล่าวไว้แต่ โดยย่อนั้นได้โดยพิสดาร ภิกษุทั้งหลาย ท่าน ทั้งหลายจงทรงจำไว้อย่างนี้เถิด

ครั้งนั้น เราได้ฟังพระดำรัสอันรื่นรมย์ ใจแล้ว เกิดความอัศจรรย์ จึงไปป่าหิมพานต์นำ เอากลุ่มดอกไม้มาบูชาพระผู้เป็นที่พึ่งของโลก แล้วปรารถนาฐานันดรนั้น ครั้งนั้น พระผู้เป็น ที่อยู่แห่งสรณะ ทรงทราบอัธยาศัยของเราแล้ว ได้ทรงพยากรณ์ว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 214

จงดูฤาษีผู้ประเสริฐนี้ ซึ่งเป็นผู้มีผิวพรรณ เหมือนทองคำ ที่ไล่มลทินออกแล้ว มีโลมชาติ ชุนชันและใจโสมนัส ยืนประนมอัญชลีนิ่งไม่ไหว ติง ร่าเริง มีนัยน์ตาเต็มดี มีอัธยาศัยน้อมไปใน คุณของพระพุทธเจ้า มีธรรมเป็นธง หทัยร่าเริง เหมือนกับถูกรดด้วยน้ำอมฤต

เราได้สดับคุณของกัจจายนภิกษุแล้ว จึง ได้ปรารถนาฐานันดรนั้น ในอนาคตกาล ฤาษี ผู้นี้จักได้เป็นธรรมทายาทของพระโคดมมหามุนี เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต จักเป็นพระสาวกของ พระศาสดา มีนามชื่อว่ากัจจายนะ

เขาจักเป็นพหูสูต มีญาณใหญ่ รู้อธิบาย แจ้งชัด เป็นนักปราชญ์ จักถึงฐานันดรนั้น ดัง ที่เราได้พยากรณ์ไว้แล้ว

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรม ใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราท่องเที่ยวอยู่แต่ในสองภพ คือ ใน เทวดาและมนุษย์ คติอื่นเราไม่รู้จัก นี้เป็นผลแห่ง พุทธบูชา

เราเกิดในสองสกุล คือ สกุลกษัตริย์และ สกุลพราหมณ์ เราไม่เกิดในสกุลที่ต่ำทราม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 215

และในภพสุดท้าย เราเกิดเป็นบุตรของ ติปิตวัจฉพราหมณ์ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้า จัณฑปัชโชต ในพระนครอุชเชนีอันรื่นรมย์ เรา เป็นคนฉลาดเรียนจบไตรเพท ส่วนมารดาของเรา ชื่อจันทนปทุมา เราชื่อกัจจานะ เป็นผู้มีผิวพรรณ งาม

เราอันพระเจ้าแผ่นดินทรงส่งไปเพื่อ พิจารณาพระพุทธเจ้า ได้พบพระผู้นำซึ่งเป็น ประตูของโมกขบุรี เป็นที่สั่งสมคุณ

และได้สดับพระพุทธภาษิตอันปราศจาก มลทิน เป็นเครื่องชำระล้างเปือกตมคือคติ จึง ได้บรรลุอมตธรรมอันสงบระงับ พร้อมกับบุรุษ คนที่เหลือ

เราเป็นผู้รู้อธิบายในพระมติอันใหญ่ ของ พระสุคตเจ้าได้แจ้งชัด และพระศาสดาทรงตั้งไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เราเป็นผู้มีความปรารถนา สำเร็จด้วยดีแล้ว

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอนของ พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระมหากัจจายนเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบมหากัจจายนเถราปทาน


ม. ติริฏิวัจฉะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 216

อรรถกถากัจจายนวรรคที่ ๕๔

๕๓๑. อรรถกถากัจจายนเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระมหากัจจายนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ นั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิด ในตระกูลคฤหบดีมหาศาล พอเจริญวัยแล้ว วันหนึ่งได้ฟังธรรมในสำนักของ พระศาสดา ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่ (สามารถ) จำแนกเนื้อความที่พระศาสดาตรัสไว้โดยย่อให้พิสดารได้ แม้ ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้นบ้าง จึงตั้งปณิธานทำบุญมีทานเป็นต้นไว้เป็น อันมาก แล้วท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ได้เป็นวิทยาธร เที่ยวไปทางอากาศ ได้พบพระผู้มี พระภาคเจ้า ซึ่งประทับนั่งในชัฏแห่งป่าแห่งหนึ่ง มีใจเลื่อมใสได้เอาดอก กรรณิการ์มาทำการบูชา.

ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงกลับไปกลับมาเฉพาะแต่ในสุคติอย่างเดียว ใน กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เขาได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุล ในกรุงพาราณสี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ได้เอาแผ่นอิฐ ทองคำ มีค่าราคาแสนหนึ่ง ทำการบูชา ณ ที่สุวรรณเจดีย์สำหรับบำเพ็ญ กัมมัฏฐาน ได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ด้วยผลแห่งบุญอันนี้ ขอให้สรีระของ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 217

ข้าพระองค์จงมีวรรณะดุจทองคำ ในที่ที่ได้บังเกิดแล้วๆ เถิด ตั้งแต่นั้นมา ก็ได้ทำแต่กุศลกรรมจนตลอดชีวิตแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ตลอดพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนปุโรหิต ของ พระเจ้าจัณฑปัชโชตในกรุงอุชเชนี ในวันตั้งชื่อเขามารดาคิดว่า ลูกของเรามี สีกายดุจทองคำ เขาถือเอาชื่อของตนเองมา (แต่เกิด) ดังนี้จึงตั้งชื่อเขาว่า กัจจนมาณพทีเดียว. เขาเจริญวัยแล้ว เล่าเรียนจบไตรเพท พอบิดาล่วงลับ ดับชีวิตแล้ว ก็ได้รับตำแหน่งปุโรหิตแทน ว่าโดยอำนาจโคตรเขาปรากฏ แล้วว่า กัจจายนะ. ย่อมาพระเจ้าจัณฑปัชโชตได้ทรงสดับว่า พระพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้น จึงส่งเขาไปด้วยพระราชดำรัสว่า ท่านอาจารย์ ท่านจงไปที่พระ อารามนั้นแล้ว ทูลนิมนต์พระศาสดามาในวังนี้ ท่านปุโรหิตนั้น มีตนเป็น ที่ ๘ เข้าไปเฝ้าพระศาสดา พระศาสดาได้ทรงแสดงธรรมแก่ปุโรหิตนั้นแล้ว. ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ท่านปุโรหิตพร้อมกับคนทั้ง ๗ ได้ดำรงอยู่ใน พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔

ท่านได้บรรลุอรหัตตผลแล้วอย่างนี้ ระลึกถึงบุรพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่คนเคยได้ประพฤติมาแล้วใน กาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. คำนั้น มีเนื้อความดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. ลำดับนั้นพระศาสดา ทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด. ในขณะนั้น พวก ภิกษุเหล่านั้นได้มีผมและหนวดยาวประมาณ ๒ องคุลี ทรงบาตรและจีวรอัน สำเร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นคล้ายพระเถระบวชมา ๖๐ พรรษา พระเถระทำประโยชน์ของตนให้สำเร็จแล้วอย่างนี้ (วันหนึ่ง) จึงกราบทูลพระศาสดาว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าจัณฑปัชโชต ปรารถนาจะไหว้พระบาท และฟังธรรม ของพระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า กัจจานะ เธอนั่นแหละจงไปใน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 218

วังนั้น เมื่อเธอไปถึงแล้ว พระราชาจักทรงเลื่อมใส พระเถระมีตนเป็นที่ ๘ ได้ไปในพระราชวังนั้น ตามพระบัญชาของพระศาสดา ได้ทำให้พระราชาทรง เลื่อมใสแล้ว ได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้ในอวันตีชนบทเรียบร้อยแล้ว จึง ได้กลับมาเฝ้าพระศาสดาอีก ด้วยอำนาจความปรารถนาในครั้งก่อนของตน ปกรณ์ทั้ง ๓ คือ กัจจายนปกรณ์ มหานิรุตติปกรณ์ และเนตติปกรณ์ จึงได้ ปรากฏแล้วในท่ามกลางสงฆ์. ต่อมาท่านได้รับสถาปนาจากพระผู้มีพระภาค เจ้าผู้ทรงสันโดษ ไว้ในตำแหน่งที่เลิศ ด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะเป็นเลิศกว่าสาวกทั้งหลายของเรา ผู้จำแนกเนื้อความที่เรากล่าวไว้ โดยย่อ ทำให้พิสดารได้ ดังนี้แล้ว ท่านก็อยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่พระอรหัตตผลแล.

จบอรรถกถามหากัจจายนเถราปทาน