พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วักกลิเถราปทานที่ ๒ (๕๓๒) ว่าด้วยบุพจริยาของพระวักกลิเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 พ.ย. 2564
หมายเลข  41539
อ่าน  403

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 218

เถราปทาน

กัจจายนวรรคที่ ๕๔

วักกลิเถราปทานที่ ๒ (๕๓๒)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระวักกลิเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 218

วักกลิเถราปทานที่ ๒ (๕๓๒)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระวักกลิเถระ

[๑๒๒] สมเด็จพระผู้นำมีพระนามไม่ ทราม มีพระคุณนับไม่ได้ พระนามว่า ปทุมุตตระ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้

พระองค์ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ก็ เพราะมีพระพักตร์เหมือนดอกปทุม มีพระฉวีวรรณงามไม่มีมลทินเหมือนดอกปทุม ไม่เปื้อน ด้วยโลก เหมือนดอกปทุมไม่เปื้อนด้วยน้ำ ฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 219

เป็นนักปราชญ์ มีพระอินทรีย์ดังใบปทุม และน่ารักเหมือนดอกปทุม ทั้งมีพระโอษฐ์มีกลิ่น อุดม เหมือนกลิ่นในกลีบของดอกปทุม เพราะ ฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ.

พระองค์เป็นผู้เจริญกว่าโลก ไม่ทรงถือพระองค์ เปรียบเสมือนเป็นนัยน์ตาให้คนตาบอด มีพระอิริยาบถสงบ เป็นที่ฝั่งพระคุณ เป็นที่ รองรับกรุณาและมติ

ถึงในครั้งไหนๆ พระมหาวีรเจ้าพระองค์นั้น ก็เป็นผู้อันพรหม อสูรและเทวดาบูชา สูงสุดกว่าชน ในท่ามกลางหมู่ชนที่เกลื่อนกล่นไป ด้วยเทวดาและมนุษย์

เมื่อจะยังบริษัททั้งปวงให้ยินดีด้วยพระสำเนียงอันเสนาะ และด้วยพระธรรมเทศนาอัน เพราะพริ้ง จึงได้ชมสาวกของพระองค์ว่า

ภิกษุอื่นที่พ้นกิเลสด้วยศรัทธา มีมติดี ขวนขวายในการดูเรา เช่นกับวักกลิภิกษุนี้ ไม่มี เลย

ครั้งนั้น เราเป็นบุตรของพราหมณ์ใน พระนครหังสวดี ได้สดับพระพุทธภาษิตนั้น จึง ชอบใจฐานันดรนั้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 220

ครั้งนั้น เราได้นิมนต์พระตถาคตผู้ ปราศจากมลทินพระองค์นั้น พร้อมด้วยพระสาวก ให้เสวยตลอด ๗ วัน แล้วให้ครองผ้า

เราหมอบศีรษะลงแล้วจมลงในสาครคือ อนันตคุณของพระศาสดาพระองค์นั้น เต็มเปี่ยม ไปด้วยปีติ ได้กราบทูล ดังนี้ว่า

ข้าแต่พระมหามุนี ขอให้ข้าพระองค์ได้ เป็นเช่นกับภิกษุผู้สัทธาธิมุต ที่พระองค์ตรัส ชมเชยว่า เลิศกว่าภิกษุผู้มีศรัทธาในพระศาสนา นี้เถิด

เมื่อเรากราบทูลดังนี้แล้ว พระมหามุนี ผู้มีความเพียรใหญ่ มีพระทรรศนะมิได้เครื่อง กีดกัน ได้ตรัสพระดำรัสนี้ในท่ามกลางบริษัทว่า

จงดูมาณพผู้นี้ ผู้นุ่งผ้าเนื้อเกลี้ยงสีเหลือง มีอวัยวะอันบุญสร้างสมให้คล้ายทองคำ ดูดดื่มตา และใจของหมู่ชน ในอนาคตกาล มาณพผู้นี้จักได้ เป็นพระสาวกของพระโคดมผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง ใหญ่ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายสัทธาธิมุต

เขาเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตามจักเป็นผู้ เว้นจากความเดือดร้อนทั้งปวง รวบรวมโภคทรัพย์ ทุกอย่าง มีความสุขท่องเที่ยวไป

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 221

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามชื่อว่า โคดม ทรงสมภพในวงศ์พระเจ้า โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

มาณพผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมเนรมิต จักเป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าวักกลิ

เพราะผลกรรมที่เหลือนั้น และเพราะ ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เรามีความสุขในที่ทุกสถาน ท่องเที่ยวไป ในภพน้อยภพใหญ่ ได้เกิดในสกุลหนึ่งในพระนครสาวัตถี

มารดาของเราถูกภัยแต่ปีศาจคุกคาม มี ใจหวาดกลัวจึงให้เราผู้ละเอียดอ่อนเหมือนเนยข้น นุ่นนิ่มเหมือนใบไม้อ่อนๆ ซึ่งยังนอนหงาย ให้ นอนลงแทบบาทมูลของพระผู้แสวงหาคุณอัน ยิ่งใหญ่ กราบทูลว่าข้าแต่พระโลกนาถ หม่อม ฉันขอถวายทารกนี้แด่พระองค์ ข้าแต่พระโลก นายก ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของเราด้วยเถิด

ครั้งนั้น สมเด็จพระมุนีผู้เป็นที่พึ่งของ หมู่สัตว์ผู้หวาดกลัว พระองค์ได้ทรงรับเราด้วย ฝ่าพระหัตถ์อันอ่อนนุ่มมีตาข่ายอันท่านกำหนด ด้วยจักร

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 222

จำเดิมแต่นั้นมา เราก็เป็นผู้ถูกรักษาโดย พระพุทธเจ้า จึงเป็นผู้พ้นจาความป่วยไข้ทุก อย่าง อยู่โดยสุขสำราญ

เราเว้นจากพระสุคตเสียเพียงครู่เดียวก็ กระสัน พออายุได้ ๗ ขวบ เราก็ออกบวชเป็น บรรพชิต

เราเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการดูพระรูปอันประเสริฐเกิดเพราะบารมีทุกอย่าง มีดวงตาสีเขียว ล้วน เกลื่อนกล่นไปด้วยวรรณสัณฐานอันงดงาม

ครั้งนั้น พระพิชิตมารทรงทราบว่า เรา ยินดีในพระรูป จงได้ตรัสสอนเราว่า อย่าเลย วักกลิ ประโยชน์อะไรในรูปที่น่าเกลียด ซึ่งชน พาลชอบเล่า

ก็บัณฑิตใดเห็นสัทธรรม บัณฑิตนั้นชื่อ ว่าเห็นเรา ผู้ไม่เห็นสัทธรรม ถึงจะเห็นเราก็ชื่อ ว่าไม่เห็น

กายมีโทษไม่สิ้นสุดเปรียบเสมอด้วยต้นไม้ มีพิษ เป็นที่อยู่ของโรคทุกอย่าง ล้วนเป็นที่ประชุม ของทุกข์

เพราะฉะนั้น ท่านจงเบื่อหน่ายในรูป พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง ขันธ์ทั้งหลาย จักถึงที่สุดแห่งสรรพกิเลสได้โดย ง่าย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 223

เราอันสมเด็จพระโลกนายกผู้แสวงหา ประโยชน์พระองค์นั้น ทรงพร่ำสอนอย่างนี้ ได้ ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ เพ่งดูอยู่ที่ซอกเขา

พระพิชิตมารผู้มหามุนีประทับยืนอยู่ที่ เชิงเขา เมื่อจะทรงปลอบโยนเรา ได้ตรัสเรียก ว่า วักกลิ เราได้ฟังพระดำรัสนั้นเข้าก็เบิกบาน

ครั้งนั้น เราวิ่งลงไปที่เงื้อมเขาสูงหาย ร้อยชั่วบุรุษ แต่ถึงแผ่นดินได้โดยสะดวกทีเดียว ด้วยพุทธานุภาพ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนา คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป แห่งขันธ์ทั้งหลายอีก เรารู้ธรรมนั้นทั่วถึงแล้วจึง ได้บรรลุอรหัต

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระปรีชาใหญ่ทรงทำที่สุดแห่งจรณะ ทรงประกาศ ในท่ามกลางมหาบุรุษว่า เราเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ ทั้งหลายฝ่ายสัทธามุต

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 224

ทราบว่า ท่านพระวักกลิเถระได้ภาษิตภาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบวักกลิเถราปทาน

๕๓๒. อรรถกถาวักกลิเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระวักกลิเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า อิโต สตสหสฺสมฺหิ ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ นั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้ บังเกิดในเรือนอันมีสากล ในหังสวดีนคร บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ไปยัง พระวิหารพร้อมกับพวกอุบาสกอุบาสิกา ซึ่งกำลังเดินทางไปเฝ้าพระศาสดา ไปถึงแล้วยืนอยู่ที่ท้ายบริษัท กำลังฟังธรรมอยู่ มองเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่ง พระศาสดาทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นศรัทธาธิมุต (คือหนักไปในความเชื่อ) แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงได้ ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน แล้วได้ตั้ง ปณิธานไว้แล้ว พระศาสดาทรงเห็นว่าเธอไม่มีอันตราย จึงได้ทรงพยากรณ์.

เขาได้บำเพ็ญกุศลกรรมไว้จนตลอดชีวิตแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลก และมนุษยโลก ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ได้บังเกิดใน ตระกูลพราหมณ์ในกรุงสาวัตถี. มารดาบิดาได้ตั้งชื่อเขาว่า วักกลิ. บรรดา บทเหล่านั้น บทว่า กลิ เป็นชื่อของโทษมีมลทินและตกกระเป็นต้น กลิ คือ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 225

โทษของผู้นั้นไปปราศแล้ว จากไปแล้ว เพราะเป็นเช่นกับก้อนทองคำที่ไล่ มลทินแล้ว เหตุนั้น ผู้นั้นท่านจึงเรียกว่า วักกลิ เพราะลง อาคม วักกลิ นั้น เจริญวัยแล้ว เล่าเรียนไตรเพทจนจบในศิลปศาสตร์ของพวกพราหมณ์ ทั้งหมด (วันหนึ่ง) เห็นพระศาสดา มองดูรูปกายสมบัติไม่อิ่ม จึงเที่ยวจาริก ไปกับพระศาสดา เขาคิดว่า เราอยู่แต่ในบ้าน ก็จักไม่ได้เห็นพระศาสดา ตลอดกาลเป็นนิตย์ ดังนี้แล้ว จึงบวชในสำนักของพระศาสดา เว้นเวลาขบ ฉัน และเวลาการทำสรีรกิจเท่านั้น ส่วนเวลาที่เหลือ ก็จะไปยืนอยู่ในที่ที่ สามารถจะเห็นพระทศพลได้ ยอมละหน้าที่อื่นเสีย ไปเฝ้าดูอยู่แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างเดียวเท่านั้น. พระศาสดา ทรงคอยความแก่รอบแห่งญาณของเธอ ถึงเธอจะเที่ยวติดตามไปดูรูปหลายเวลา ก็มิได้ตรัสอะไรๆ จนถึงวันหนึ่ง จึง ตรัสว่า ดูก่อนวักกลิ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการที่เธอต้องมาดูร่างกายอัน เปื่อยเน่านี้ วักกลิเอย ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้น ชื่อว่าเห็นธรรม ก็วักกลิเห็นธรรมอยู่ ก็ชื่อว่าเห็นเรา แม้เมื่อพระศาสดาตรัส สอนอยู่อย่างนี้ พระเถระก็ไม่อาจจะละการมองดูพระศาสดาแล้วไปในที่อื่น ได้ แค่นั้นพระศาสดาจึงทรงดำริว่า ภิกษุนี้ไม่ได้ความสังเวช จักไม่ได้ตรัสรู้ แน่ พอใกล้วันเข้าพรรษา จึงทรงขับไล่พระเถระไปด้วยพระดำรัสว่า วักกลิ เธอจงหลีกไปเสียเถิด เธอถูกพระศาสดาทรงขับไล่แล้ว จึงไม่สามารถจะอยู่ ต่อพระพักตร์พระศาสดาได้ คิดว่าเราไม่ได้เห็นพระศาสดา จะมีชีวิตอยู่ไป ทำไม ดังนี้แล้ว จึงขึ้นไปที่ปากเหว บนภูเขาคิชฌกูฏ. พระศาสดาทรง ทราบความเป็นไปนั้นของเธอแล้ว ทรงดำริว่า ภิกษุนี้เมื่อไม่ได้รับความเบาใจ จากสำนักของเรา ก็จะพึงทำให้อุปนิสัยแห่งมรรคและผลพินาศไป ดังนี้แล้ว ทรงแสดงพระองค์ เปล่งพระโอภาส ตรัสพระคาถาว่า :-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 226

ภิกษุผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จะพึงบรรลุบทอัน สงบ อันเข้าไประงับสังขารเป็นสุขได้ ดังนี้.

ทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า มานี่เถิด วักกลิ. พระเถระได้เกิดปีติและโสมนัสใจ เป็นกำลังว่า เราจะได้เห็นพระทศพลแล้ว ความไม่เสื่อมเราได้แล้ว ด้วย พระดำรัสว่า จงมา ดังนี้แล้วคิดว่า เราจะไปทางไหน แล้วไม่รู้หนทางที่ตน จะไปเฝ้า จึงไปในอากาศเฉพาะพระพักตร์พระศาสดา โดยเอาเท้าข้างหนึ่ง เหยีนบบนภูเขา รำพึงถึงพระคาถาที่พระศาสดาได้ตรัสแล้ว ข่มปีติในอากาศ นั่นแล บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา แล้วข่มเรื่องที่ว่ามานี้ มา ในอรรถกถาอังคุตตรนิกาย และในอรรถกถาธรรมบทแล.

ส่วนในอรรถกถานี้ นักศึกษาพึงทราบอย่างนี้ว่า พระวักกลิพอได้รับ พระโอวาทจากพระศาสดา โดยนัยเป็นต้นว่า กึ เต วกฺกลิ อิมินา ปูติกาเยน ทิฏฺเน ดูก่อนวักกลิ จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการที่เธอต้องมาดูร่างกายอัน เปื่อยเน่านี้ ดังนี้แล้ว ก็อยู่บนภูเขาคิชฌกูฏเริ่มเจริญวิปัสสนา เพราะความที่ เธอมีศรัทธาหนักมากไป วิปัสสนาจึงไม่หยั่งลงสู่วิถี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ทราบเรื่องนั้นแล้ว ได้ทรงประทานให้เธอชำระกัมมัฏฐานใหม่. พระวักกลินั้น ไม่สามารถจะทำวิปัสสนาให้ถึงที่สุดได้เลยทีเดียว. ต่อมาอาพาธเนื่องด้วยลม เกิด ขึ้นแก่เธอ เพราะความบกพร่องแห่ง อาหาร (ท้องว่าง) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าเธอถูกอาพาธเนื่องด้วย โรคลมเบียดเบียน จึงเสด็จไปในที่นั้น เมื่อจะตรัสถาม จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ในป่าใหญ่ ซึ่ง เป็นที่ปราศจากโคจร เป็นที่เศร้าหมอง ถูกโรคลม ครอบงำจักทำอย่างไร

พระเถระได้สดับพระดำรัสนั้นแล้ว จึงกราบทูลด้วยคาถา ๔ คาถาว่า

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 227

ข้าพระองค์จะทำปีติและความสุข ไพบูลย์ให้แผ่ไปสู่ร่างกาย ครอบงำปัจจัยอัน เศร้าหมองอยู่ในป่าใหญ่

จักเจริญสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ และโพชฌงค์ ๗ อยู่ในป่าใหญ่

เพราะได้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ปรารถนาความ เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ ความพร้อมเพรียงกัน มีความเห็นร่วมกัน ข้า พระองค์จึงจักอยู่ในป่าใหญ่

เมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้นี้ พระองค์อันฝึกแล้ว มีพระหทัยตั้งมั่น จึงเป็น ผู้ไม่เกียจคร้านตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน อยู่ ในป่าใหญ่ ดังนี้.

เนื้อความแห่งคาถาเหล่านั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในอรรถกถาเถรคาถา แล้วแล. พระเถระ พยายามเจริญวิปัสสนาอย่างนี้ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.

พระวักกลิเถระนั้น ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้ระลึกถึงบุญกรรม ของตน เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติ มาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อิโต สตสหสฺสมฺหิ ดังนี้. บรรดา บทเหล่านั้น บทว่า อิโต ความว่า ในที่สุดแสนกัป ภายหลังแต่ภัทรกัปที่ พระกกุสันธพุทธเจ้าเป็นต้น เสด็จอุบัติแล้วไป. บทว่า ปทุมาการวทโน ได้แก่ มีพระพักตร์มีความงดงามดุจดอกปทุมที่เบ่งบานดีแล้ว. บทว่า ปทุมปตฺตกฺโข ความว่า มีพรเนตรเช่นกับดอกและใบปทุมขาว. บทว่า ปทุมุตฺตรคนฺโธ ว ความว่า มีพระโอษฐ์มีกลิ่นคล้ายกลิ่นดอกปทุม. บทว่า อนฺธานํ นยนูปโม

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 228

ความว่า เป็นเสมือนนัยน์ตาของปวงสัตว์ผู้ปราศจากนัยน์ตา (คนตาบอด) คือ ทรงประทานจักษุมีปัญญาจักษุเป็นต้น ให้ปวงสัตว์ทั้งหลาย ด้วยพระธรรม เทศนา. บทว่า สนฺตเวโส ได้แก่ ทรงมีความสงบระงับเป็นสภาพ คือ ทรงมีพระ อิริยาบถอันสงบ. บทว่า คุณนิธี ได้แก่ เป็นที่ฝังแห่งพระคุณทั้งหลาย, อธิบายว่า เป็นที่รองรับหมู่แห่งพระคุณทั้งหมด. บทว่า กรุณามติอากโร ความว่า เป็น บ่อเกิด คือ เป็นที่รองรับซึ่งความกรุณา กล่าวคือการยังจิตของสาธุชนทั้งหลาย ให้หวั่นไหว และเป็นที่รองรับซึ่งมติอันเป็นเครื่องกำหนดประโยชน์และตัด เสียซึ่งสิ่งอันหาประโยชน์มิได้. บทว่า พฺรหฺมาสุรสุรจฺจิโต ความว่าเป็นผู้อัน พรหม อสูร และเทวดาเคารพ คือบูชาแล้ว. บทว่า นธุเรน รุเตน จ เชื่อม ความว่า ทรงยังประชาชนทั้งหมดให้ยินดีด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะเสนาะดุจ นกการเวก. บทว่า สนฺถวี สาวกํ สกํ ความว่า ได้ทรงชมเชย คือ ทรง กระทำการชมเชยสาวกของพระองค์ด้วยพระธรรมเทศนาอันไพเราะเพราะพริ้ง. บทว่า สทฺธาธิมุตโต ความว่า น้อมใจตั้งมั่นในพระศาสนาด้วยศรัทธาคือ การน้อมใจเธอ. บทว่า มม ทสฺสนลาลโส ความว่า ขวนขวายมีใจจดจ่อใน การดูเรา. บทว่า ตํ านภิโรจยึ ความว่า เราชอบใจ ต้องการปรารถนา ตำแหน่งสัทธาธิมุตนั้น. บทว่า ปีตมฏฺนิวาสนํ ความว่า ผู้นุ่งผ้ามีสีดุจ ทองคำเนื้อเกลี้ยง. บทว่า เหมยญฺโปจิตงฺคํ ความว่า มีอวัยวะอันบุญสร้างสม ให้คล้ายกับสายสร้อยทองคำ. บทว่า โนนีตสุขุมาลํ มํ ความว่า ผู้มีมือและ. เท้าอันละเอียดอ่อนดุจเนยข้น. บทว่า ชาตปลฺลวโกมลํ ความว่า นุ่มนิ่มอ่อน ดุจความอ่อนของใบอโศกอ่อนๆ ฉะนั้น. บทว่า ปิสาจีภยตชฺชิตา ความว่า ในคราวที่หญิงแม่มดอื่น คือราษสตนหนึ่ง คุกคามทำให้เราผู้เป็นกุมารมีความ กลัว มารดาบิดาได้ให้เรานอนใกล้บาทมูลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวง คุณใหญ่อธิบายว่า มารดาบิดาของเราผู้มีจิตหวาดกลัวได้กราบทูลว่า ข้าแต่

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 229

พระโลกนาถ พระผู้นำของชาวโลก หม่อมฉันขอถวายทารกนี้แด่พระองค์ ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของทารกนี้ด้วยเถิด. บทว่า ตทา ปฏิคฺคหิ โส มํ ความว่า ในคราวที่มารดาถวายเราแล้วนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงรับเราด้วยผ่าพระหัตถ์อันอ่อนนุ่มบริสุทธิ์ มีตาข่าย คือประกอบด้วย ตาข่ายที่ท่านกำหนดด้วยจักรลักษณะเป็นต้น. บทว่า สพฺพปารมิสมฺภูตํ ความ ว่า อันบังเกิดพร้อมด้วยพระบารมีทุกอย่าง มีทานบารมีเป็นต้น. บทว่า นีลกฺขินยนํ วรํ ได้แก่ มีดวงตาสีเขียวอันอุดม เกิดแต่บุญสมภาร. บทว่า สพฺพสุภากิณฺณํ ความว่า ได้ดูพระรูปเช่น พระหัตถ์ พระบาท และพระเศียรเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันลึกซึ้งเกลื่อนกล่นไปด้วยพระวรรณะ สัณฐานอันงดงามพร้อมสรรพ. เชื่อมความว่า เรา (ดู) อยู่ ไม่ถึงความอิ่ม.

บทว่า ตทา นํ จรณนฺตโค ความว่า เมื่อเราได้บรรลุพระอรหัต แล้วนั้น ได้ทรงทำที่สุดแห่งจรณะธรรม ๑๕ ประการมีศีลเป็นข้อต้น อธิบาย ว่า บรรลุถึงที่สุด คือบำเพ็ญจนเต็มบริบูรณ์. บาลีเป็น มรณนฺตโค ดังนี้ ก็มี อธิบายว่า ถึงที่สุดแห่งความตายนั้น ก็คือพระนิพพาน เธอมีความว่าได้ ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้เป็นสัทธาธิมุต. มีคำที่ท่านกล่าว อธิบายไว้ว่า ลำดับนั้น พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรง สถาปนาเราไว้ในตำแหน่งที่เลิศด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วักกลิ เป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นสัทธาธิมุตแล. คำที่เหลือมีเนื้อความ พอกำหนดรู้ได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถาวักกลิเถราปทาน