พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

มหากัปปิยเถราปทานที่ ๓ (๕๓๓) ว่าด้วยบุพจริยาของมหากัปปินเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 พ.ย. 2564
หมายเลข  41540
อ่าน  506

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 230

เถราปทาน

กัจจายนวรรคที่ ๕๔

มหากัปปิยเถราปทานที่ ๓ (๕๓๓)

ว่าด้วยบุพจริยาของมหากัปปินเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 230

มหากัปปิยเถราปทานที่ ๓ (๕๓๓)

ว่าด้วยบุพจริยาของมหากัปปินเถระ

[๑๒๓] พระพิชิตมารผู้ทรงรู้จักธรรม ทั้งปวงพระนามว่า ปทุมุตตระ ปรากฏในอัชฎากาศ เหมือนพระอาทิตย์ ปรากฏในอากาศในสรทกาล ฉะนั้น

พระองค์ยังดอกบัวคือเวไนยสัตว์ให้บาน ด้วยพระญาณนี้คือพระดำรัส สมเด็จพระโลกนายก ทรงยังเปือกตม คือกิเลสให้แห่งไปด้วยพระรัศมี คือพระปรีชา

ทรงกำจัดยศของพวกเดียรถีย์เสียด้วย พระญาณปานดังเพชร เหมือนพระอาทิตย์กำจัด ความมืด ฉะนั้นสมเด็จพระทิพากรเจ้าทรงส่อง แสงสว่างจ้าทั้งกลางคืน และกลางวัน ในที่ทุก หนทุกแห่ง

เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือนสาครเป็นบ่อ เกิดแห่งรัตนะ ทรงยังเมฆ คือ ธรรมให้ตกลง เพื่อหมู่สัตว์ เหมือนเมฆยังฝนให้ตก ฉะนั้น

ครั้งนั้น เราเป็นผู้พิพากษาอยู่ในพระ นครหังสวดี ได้เข้าไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ผู้มีพระนามว่า ปทุมุตตระ ซึ่งกำลังประกาศคุณ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 231

ของพระสาวกผู้มีสติ ผู้กล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย อยู่ ทรงยังใจของเราให้ยินดี

เราได้ฟังแล้วเกิดปีติโสมนัส นิมนต์ พระตถาคตพร้อมด้วยศิษย์ ให้เสวยและฉันแล้ว ปรารถนาฐานนันดรนั้น

ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีส่วนเสมอ ด้วยหงส์ มีพระสุรเสียงเหมือนหงส์และมโหรทึก ได้ตรัสว่า จงดูมหาอำมาตย์ผู้นี้ ผู้แกล้วกล้าใน การตัดสินหมอบอยู่แทบเท้าของเรา มีประกายดุจ ลอยขึ้นและมีใจสูงด้วยปีติ วรรณะเหมือนแสง แห่งแก้วมุกดา งดงาม นัยน์ตาและหน้าผ่องใส

มีบริวารเป็นอันมาก ทำราชการ มียศ ใหญ่ มหาอำมาตย์นี้เขาปรารถนาตำแหน่งภิกษุ ผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ เพราะพลอยยินดีด้วย

ด้วยการบริจาคบิณฑบาตนี้ และด้วยการ ตั้งเจตน์จำนงไว้ เขาจักไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอด แสนกัป

จักเสวยความเป็นผู้มีโชคดีในหมู่ทวยเทพ และจักเสวยความเป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์ จักบรรลุ ถึงนิพพาน ด้วยผลกรรมส่วนที่เหลือ

ในแสนกัปแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามชื่อว่า โคดม ทรงสมภพในวงศ์พระเจ้า โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 232

มหาอำมาตย์นี้ จักเป็นธรรมทายาทของ พระศาสดาพระองค์นั้นจักเป็นโอรสอันธรรม เนรมิต จักมีนามว่า กัปปินะ เป็นสาวกของพระศาสดา

ต่อแต่นั้น เราก็ได้ทำสักการะด้วยดีใน พระศาสนาของพระชินสีห์ ละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดุสิต

เราครองราชย์ในเทวดาและมนุษย์โดย เป็นส่วนๆ แล้วเกิดในสกุลช่างหูก ที่ตำบลบ้าน ใกล้พระนครพาราณสี

เรากับภรรยามีบริวารแสนคน ได้อุปัฏ- ฐากพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์

ได้ถวายโภชนาหารตลอดไตรมาส แล้ว ให้ครองไตรจีวร เราทั้งหมดจุติจากอัตภาพนั้น แล้ว ได้เข้าถึงสวรรค์ชั้นไตรทส

เราทั้งหมดจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว กลับมา เป็นมนุษย์อีก พวกเราเกิดในกุกกุฏบุรี ข้างป่า หิมพานต์

เราได้เป็นราชโอรสผู้มียศใหญ่ พระนาม ว่ากัปปินะ พวกที่เหลือเกิดในสกุลอำมาตย์ เป็น บริวารของเรา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 233

เราเป็นผู้ถึงความสุขอันเกิดแต่ความเป็น มหาราชา ได้สำเร็จสิ่งที่ต้องประสงค์ทุกประการ ได้สดับข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าที่พวกพ่อค้า บอกดังนี้ว่า

พระพุทธเจ้าผู้เอกอัครบุคคลไม่มีใคร เสมอเสมือน เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์ ทรงประกาศพระสัทธรรมอันเป็นธรรมไม่ตาย เป็นอุดมสุข

และสาวกของพระองค์เป็นผู้หมั่นขยัน พ้นทุกข์ไม่มีอาสวกิเลส ครั้นเราได้สดับคำของ พ่อค้าเหล่านั้นแล้ว ได้ทำการสักการะพวกพ่อค้า

สละราชสมบัติพร้อมด้วยอำมาตย์ เป็น พุทธมามกะ พากันออกเดินทาง ได้พบแม่น้ำ มหาจันทานที มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง ทั้ง ไม่มีท่าน้ำ ไม่มีแพ ข้ามได้ยาก มีกระแสน้ำไหล เชี่ยว เราระลึกถึงพระพุทธคุณแล้ว ข้ามแม่น้ำ ไปไดโดยสวัสดี

ถ้าพระพุทธองค์ทรงข้ามกระแสน้ำคือภพ ไปได้ ถึงที่สุดแห่งโลก ทรงรู้แจ้งชัดไซร้ ด้วย สัจวาจานี้ ขอให้การไปของเราจงสำเร็จ

ถ้ามรรคเป็นเครื่องให้สัตว์ถึงความสงบ ได้ เป็นเครื่องให้โมกขธรรม เป็นธรรมอันสงบระงับ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 234

นำความสุขมาให้ได้ไซร้ ด้วยสัจวาจานี้ ก็ ขอให้การไปของเราจงสำเร็จ

ถ้าพระสงฆ์เป็นผู้ข้ามพ้นทางกันดารไป ได้ เป็นเนื้อนาบุญอันเยี่ยมไซร้ ด้วยสัจวาจานี้ ขอให้การไปของเราจงสำเร็จ

พร้อมกับที่เราได้ทำสัจจะอันประเสริฐ ดังนี้ น้ำได้ไหลหลีกออกไปจากหนทาง ลำดับ นั้น เราได้ข้ามไปขึ้นฝั่งแม่น้ำอันน่ารื่นรมย์ใจได้ โดยสะดวก

ได้พบพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่เหมือน พระอาทิตย์ที่กำลังอุทัย ดังภูเขาทองที่ลุกโพลง ฉะนั้น

เหมือนประทีปด้ามที่ถูกไฟไหม้โชติช่วง อันสาวกแวดล้อมเปรียบดังพระจันทร์ที่ประกอบ ด้วยดวงดาว ยังเทวดาและมนุษย์ให้เพลิดเพลิน ปานท้าววาสวะ ผู้ยังฝนคือรัตนะให้ตกลงฉะนั้น

เราพร้อมด้วยอำมาตย์ถวายบังคมแล้ว เฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของเราได้แสดงพระธรรมเทศนา

เราฟังธรรมอันปราศจากมลทินแล้ว ได้ กราบทูลพระพิชิตมารว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ขอ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 235

ได้ทรงโปรดให้พวกข้าพระองค์ได้บรรพชาเถิด พวกข้าพระองค์เป็นผู้ลงสู่ภพแล้ว

พระมหามุนีผู้สูงสุดได้ตรัสว่า ท่าน ทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดี แล้ว ท่านทั้งหลายจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำ ที่สุดแห่งทุกข์เถิด

พร้อมกันกับพระพุทธดำรัส เราทุกคน ล้วนทรงเพศเป็นภิกษุ เราทั้งหลายอุปสมบทแล้ว เป็นภิกษุผู้โสดาบันในพระศาสนา

ต่อแต่นั้นมา พระผู้นำชั้นพิเศษได้เสด็จ เข้าพระเชตวันมหาวิหารแล้วทรงสั่งสอน เราอัน พระพิชิตมารทรงสั่งสอนแล้ว ได้บรรลุอรหัต

ลำดับนั้น เราได้สั่งสอนภิกษุพันรูป แม้ พวกเขาทำตามคำสอนของเรา ก็เป็นผู้ไม่มีอาสวะ

พระพิชิตมารทรงพอพระทัยในคุณข้อนั้น จึงทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ณ ท่ามกลาง มหาชนว่า ภิกษุกัปปินะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ

กรรมที่ได้ทำไว้ในแสนกัป ได้แสดงผล ให้เราในครั้งนี้ เราพ้นจากกิเลส ดุจดังลูกศรที่ พ้นจากแล่ง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 236

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระมหากัปปินเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบมหากัปปินเถราปทาน

๕๓๓. อรรถกถามหากัปปินเถราปทาน

อปทานของท่านพระมหากัปปีนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้มากในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเข้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิดในเรือน อันมีสกุล ในหังสวดีนคร บรรลุนิติภาวะแล้ว เมื่อกำลังฟังพระธรรมเทศนา ในสำนักของพระศาสดา ได้มองเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ที่พระศาสดาทรงสถาปนา ไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้ให้โอวาทแล้ว ได้กระทำกรรมที่สูงยิ่งขึ้น ไป แล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น.

เขาได้กระทำกุศลกรรมไว้ในมนุษยโลกนั้น จนตลอดชีวิตแล้วท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษย์โลก ได้มาบังเกิดในเรือนของท่านหัวหน้าช่าง หูก ในหมู่บ้านช่างหูกแห่งหนึ่ง ในที่อันไม่ไกลจากกรุงสาวัตถีนัก ในคราว นั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณ ๑,๐๐๐ องค์ อยู่ที่ภูเขาหิมวันต์ ๘ เดือน เวลาจะเข้าพรรษาก็มาอยู่ในชนบท ๔ เดือน พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ครั้งแรกก็ลงมาในที่อันไม่ไกลกรุงพาราณสีแล้ว ส่งพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 237

ไปพบพระราชายังพระราชวังด้วยคำว่า พวกท่านจงขอหัตถกรรมเพื่อก่อสร้าง เสนาสนะ ดังนี้ ก็ในคราวนั้นได้มีพระราชพิธีวัปปมงคล (พืชมงคล) พระราชา นั้นได้ทรงทราบว่านัยว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายมา จึงเสด็จออกมาถาม ถึงเหตุที่ท่านพากันมาแล้ว ตรัสว่า ท่านผู้เจริญ วันนี้ไม่มีโอกาส พรุ่งนี้เป็น พระราชพิธีวัปปมงคลของโยม วันที่ ๓ โยมจักทำกิจให้ดังนี้แล้ว ไม่นิมนต์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เสด็จเข้าไปแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายพา กันหลีกไปด้วยกล่าวว่า พวกเราจักเข้าไปยังหมู่บ้านอื่น ดังนี้.

ในสมัยนั้น ภริยาของหัวหน้าช่างหูก เดินทางไปยังกรุงพาราณสี ด้วยหน้าที่การงานบางอย่าง ได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นเข้า จึงเอ่ย ถามว่า พระคุณเข้ามาในกาลอันมิใช่เวลาเพื่อต้องการอะไรเจ้าคะ พระปัจเจก พุทธเจ้าเหล่านั้นได้เล่าเรื่องแต่ต้นให้ฟังแล้ว. หญิงผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาถึง พร้อมด้วยปัญญา พอได้ฟังเรื่องนั้นแล้ว จึงกราบเรียนนิมนต์ว่า ท่านเจ้าขา พรุ่งนี้นิมนต์รับภิกษาของพวกดิฉันนะเจ้าคะ. พระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวว่า โยมน้องหญิง พวกอาตมภาพมีด้วยกันมากองค์. หญิงนั้นถามว่า มีกี่องค์พระคุณเจ้า. พระปัจเจกพุทธเจ้าตอบว่า มีประมาณ ๑,๐๐๐ องค์น้องหญิง. หญิง คนนั้น กราบเรียนว่า ท่านเจ้าขา ในหมู่บ้านของพวกดิฉันนี้ ก็มีคนอยู่ ประมาณ ๑,๐๐๐ คนเช่นกัน คนคนหนึ่งจะถวายภิกษาแก่ภิกษุองค์หนึ่ง ขอ นิมนต์ท่านจงรับภิกษาเถิด ดิฉันคนเดียว จักให้ช่างก่อสร้างที่อยู่สำหรับพระคุณเจ้าทั้งหลาย. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายรับนิมนต์แล้ว.

หญิงคนนั้น เข้าไปยังหมู่บ้านโฆษณาป่าวร้องว่า แม่พ่อทั้งหลายเอย ฉันได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณ ๑,๐๐๐ องค์ได้นิมนต์ท่านไว้แล้ว พวก ท่านจงช่วยกันตระเตรียมที่สำหรับพระคุณเจ้าทั้งหลายด้วย (และ) จงช่วยกัน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 238

ตระเตรียมข้าวยาคูและภัตรเป็นด้วย ดังนี้แล้ว ให้คนช่วยกันก่อสร้าง มณฑปในท่ามกลางหมู่บ้าน ให้ปูลาดอาสนะทั้งหลายไว้ พอถึงวันรุ่งขึ้น จึง นิมนต์ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งแล้ว อังคาสด้วยขาทนียะโภชนียะอัน ประณีต ในเวลาเสร็จภัตรกิจ ได้พาผู้หญิงทั้งหมดในหมู่บ้านนั้นมา ได้ไหว้ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายพร้อมกับผู้หญิงเหล่านั้น นิมนต์ให้ท่านรับปฏิญญา เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดไตรมาสแล้ว จึงได้ป่าวร้องในหมู่บ้านอีกว่า แม่และ พ่อทั้งหลายบุรุษคนหนึ่งๆ จากตระกูลหนึ่งๆ (คัดเอาผู้ชายบ้านละคน) ให้ถือมีดและขวานเป็นต้น เข้าป่าไปนำทัพพสัมภาระมาแล้ว จงสร้างที่อยู่ ถวายสำหรับพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายเถิด พวกชาวบ้าน ได้ฟังคำของนางนั้น แล้ว แต่ละคนก่อสร้างบรรณศาลาคนละหลัง ทำงานก่อสร้างทั้งคืนทั้งวัน จน บรรณศาลา ๑,๐๐๐ หลังเสร็จเรียบร้อยแล้ว กราบเรียนพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ซึ่งเข้าไปอยู่ในบรรณศาลาของตนของตนว่า เราจักบำรุงท่านโดยความเคารพ เราจักบำรุงท่านโดยความเคารพแล้ว จึงได้พากันบำรุง พอถึงเวลาออก พรรษาแล้ว ภริยาหัวหน้าช่างหูกคนนั้น จึงกล่าวว่า พวกท่านจงตระเตรียม ผ้าจีวรสาฎก ถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้อยู่จำพรรษาแล้ว ในบรรณศาลา ของตนของตนเถิด แล้วช่วยกันตระเตรียมเสร็จแล้ว จึงได้ช่วยกันถวายผ้าจีวร มีค่า ๑,๐๐๐ แด่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ละ ๑ ผืน ออกพรรษาแล้วพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ทำอนุโมทนาแล้วก็หลีกไป แม้พวกชาวบ้านที่ทำบุญกรรม นี้แล้ว จุติจากอัตภาพนั้น ได้ไปบังเกิดในดาวดึงสเทวโลก ได้เป็นผู้ชื่อว่า คณเทวดา.

เทวดาเหล่านั้น ได้เสวยทิพยสมบัติในดาวดึงสเทวโลกนั้นแล้ว ใน กาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ได้พากันมาบังเกิดในบ้าน

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 239

เรือนของพวกกุฎุมพี หัวหน้าช่างหูกในกาลก่อน ได้มาเกิดเป็นลูกชายของ หัวหน้ากุฎุมพี แม้ภริยาของหัวหน้าช่างหูกในกาลก่อน ก็ได้มาเกิดเป็นลูกสาว ของหัวหน้ากุฎุมพีคนหนึ่ง. พวกภริยาของช่างหูกที่เหลือในกาลก่อน ได้มา เกิดเป็นพวกลูกสาวของกุฎุมพีที่เหลือทั้งหลาย หญิงเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเจริญ วัยแล้ว เมื่อจะไปสู่ตระกูลอัน (มีเหย้าเรือน) ต่างก็แยกกันไปยังเรือนของ กุฏุมพีเหล่านั้น (ชาติก่อนเคยเป็นสามีภรรยากันอย่างใด แม้ชาตินี้ก็ได้มา เป็นสามีภรรยากันอย่างนั้นอีก). ภายหลังวันหนึ่ง เมื่อมีการป่าวประกาศให้ ไปฟังธรรมที่พระวิหาร พวกกุฎุมพีเหล่านั้นแม้ทั้งหมดได้ทราบว่า พระศาสดา จักทรงแสดงธรรม จึงได้พร้อมกับภริยาไปยังพระวิหารด้วยมุ่งหมายว่า พวก เราจักฟังธรรม ในขณะที่คนเหล่านั้นเข้าไปยังท่ามกลางพระวิหาร ฝนก็ตก ลงมา พวกคนที่รู้จักมักคุ้นกับพระหรือมีญาติที่เป็นสามเณรเป็นต้น ต่างก็จะ เข้าไปยังบริเวณเป็นต้นของพระและสามเณรที่คุ้นเคยเป็นญาติกันเหล่านั้น (เพื่อหลบฝน) แต่กุฎุมพีเหล่านั้น ไม่อาจจะเข้าไปในที่แห่งใดแห่งหนึ่งได้ เพราะไม่มีพระภิกษุสามเณรที่รู้จักหรือเป็นญาติเช่นนั้นเลย จึงได้ยืนอยู่ท่าม กลางพระวิหารเท่านั้น. ต่อมาหัวหน้ากุฎุมพีเหล่านั้นกล่าวว่า ชาวเราเอ๋ย จงดู ประการอันแปลกของพวกเราซิ ธรรมดาว่าพวกกุลบุตรควรจะเกี่ยวข้องกันได้ ด้วยเหตุเพียงไร. พวกกุฎุมพีจึงถามว่า พวกเราจะทำอย่างไรดีนาย พวกเรา ถึงซึ่งประการอันแปลกนี้ เพราะไม่มีที่อยู่สำหรับผู้คุ้นเคยกัน พวกเราทั้งหมด จักรรวบรวมทรัพย์สร้างบริเวณ. หัวหน้าจึงพูดว่า ดีละนาย แล้วได้ให้ทรัพย์ พันหนึ่ง. คนที่เหลือได้ให้ทรัพย์คนละห้าร้อย พวกผู้หญิงได้ให้ทรัพย์คนละ สองร้อยห้าสิบ กุฎุมพีเหล่านั้นนำทรัพย์นั้นมาแล้วมอบให้ช่างสร้างเรือนยอด รายไป ๑,๐๐๐ หลัง ได้ชื่อว่าเป็นบริเวณกว้างขวางเพื่อเป็นที่ประทับสำหรับ พระศาสดา เพราะด่าที่การก่อสร้างนั้นใหญ่ไปเมื่อทรัพย์ไม่เพียงพอ จึงได้

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 240

ช่วยกันออกให้อีกครึ่งหนึ่งของจำนวนทรัพย์ที่ได้บริจาคให้แล้วในครั้งก่อน. เมื่อบริเวณสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว ก็ทำการฉลองพระวิหาร ได้ถวายมหาทานแด่ ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ตลอด ๗ วัน แล้ว จัดแจงผ้าจีวรสำหรับ ภิกษุ ๒,๐๐๐ องค์

ส่วนภริยาของหัวหน้ากุฎุมพี ดำรงอยู่ด้วยปัญญาของตนเองคิดว่า เราจัดไม่ทำให้เสมอกับพวกเขา แต่จะทำให้ยิ่งไปกว่าพวกเขาคือ จักบูชา พระศาสดา ดังนี้แล้ว จึงถือเอาผอบบรรจุดอกอโนชาพร้อมกับผ้าสาฎก มี มูลค่า ๑,๐๐๐ ซึ่งมีสีดุจดอกอโนชาแล้ว เอาดอกอโนชาบูชาพระศาสดา วาง ผ้าสาฎกนั้นไว้ใกล้บาทมูลของพระศาสดา ได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอให้สรีระของข้าพระองค์จงมีสีคล้ายดอกอโนชา ในที่ที่ ข้าพระองค์เกิดแล้วเกิดแล้วเถิด และจงมีชื่อว่า อโนชา ดังนี้เถิด. พระศาสดา ได้ทรงกระทำอนุโมทนาด้วยพระดำรัสว่า จงสำเร็จดังปรารถนาเถิด. คน เหล่านั้นแม้ทั้งหมดดำรงอยู่จนตลอดอายุแล้ว จุติจากอัตภาพนั้นได้ไปบังเกิด ในเทวโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ เทวดาเหล่านั้น จุติจากเทวโลกแล้ว ผู้เป็น หัวหน้ากุฏุมพี ได้บังเกิดในราชตระกูลในกุกกุฎวดีนคร บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้เป็นพระเจ้ามหากัปปินะ. คนที่เหลือได้ไปบังเกิดในตระกูลอำมาตย์ทั้งหมด ภริยาของหัวหน้ากุฎุมพีได้บังเกิดในราชตระกูล ในมัททรัฐสาคลนคร พระนางได้มีพระสรีระงามมีสีดุจดอกอโนชาทีเดียว ด้วยเหตุนั้นพระชนกพระชนนี จึงได้ทรงขนานพระนามของพระนางว่า อโนชา นั่นแล พระนางทรงเจริญวัย แล้ว ก็เสด็จไปยังพระราชวังของพระเจ้ามหากัปปินะ ได้มีพระนามปรากฏว่า อโนชาเทวี.

แม้พวกผู้หญิงที่เหลือ ก็ได้ไปบังเกิดในตระกูลพวกอำมาตย์เจริญวัย แล้ว ได้ไปสู่คฤหาสน์แห่งบุตรอำมาตย์เหล่านั้นแล. คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 241

ได้เสวยสมบัติเช่นกับสมบัติของพระราชา ก็ในกาลใด พระเจ้าแผ่นดิน ทรง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ เสด็จขึ้นหลังพญาช้างเที่ยวไป แม้ ในกาลนั้น คนเหล่านั้น ก็เที่ยวไปอย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อพระราชาพระองค์ นั้น เสด็จเที่ยวไปด้วยม้าหรือด้วยรถ ถึงพวกอำมาตย์เหล่านั้นก็เที่ยวไปอย่าง นั้นเหมือนกัน เพราะกำลังแห่งบุญเป็นอันมากที่ได้ทำไว้ร่วมกันอย่างนั้น พวกอำมาตย์เหล่านั้นจึงได้เสวยสมบัติอย่างเดียวกันกับพระราชาแล. ก็พระราชามีม้า ๕ ตัวคือม้าชื่อว่า วาละ วาลวาหนะ ปุปผะ ปุปผวาหนะ และม้าชื่อว่า สุปัตตะ ในบรรดาม้า ๕ ตัวเหล่านั้น พระราชาย่อมทรงม้าชื่อว่า สุปัตตะด้วย พระองค์เอง ส่วนม้าอีก ๔ ตัวนอกนี้ได้พระราชทานแก่พวกคนขี่ม้าทั้งหลาย เพื่อใช้นำข่าวสารมา. พระราชาให้พวกคนเหล่านั้น บริโภคแค่เช้ารู้แล้ว ทรงส่งพวกเขาไปด้วยพระราชดำรัสว่า พนาย พวกเธอจงเที่ยวไปให้ถึงระยะ ทาง ๒ โยชน์ หรือ ๓ โยชน์ แล้วสืบเสาะฟังว่า พระพุทธเจ้า พระธรรมหรือ ว่าพระสงฆ์ อุบัติขึ้นแล้ว จงนำสารอันเป็นสุขมาบอกแก่เรา คนเหล่านั้น ออกจากประตูทั้ง ๔ ทิศแล้ว เที่ยวไปได้ ๒ - ๓ โยชน์ ไม่ได้รับข่าวสาร อะไรๆ เลย จึงกลับมา.

วันต่อมา พระราชาเสด็จขึ้นม้าสุปัตตะ ทรงมีอำมาตย์พันคนเป็น บริวาร กำลังเสด็จไปยังพระราชอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นพวกพ่อค้า ประมาณ ๕๐๐ คน ผู้ซึ่งมีร่างกายอิดโรยเหนื่อยอ่อนกำลังเข้าไปยังพระนคร จึงทรงดำริว่า พวกพ่อค้าเหล่านี้ อิดโรยเหนื่อยอ่อนเพราะเดินทางมาไกล เราจักได้ฟังข่าวสารอันเจริญอย่างหนึ่งจากสำนักของพวกพ่อค้าเหล่านี้เป็น

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 242

แน่ จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้อำมาตย์ไปเรียกพวกพ่อค้าเหล่านั้นมาแล้ว ตรัส ถามว่า พวกเธอมาจากเมืองไหน. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ สมมติเทพ นครหนึ่งนามว่าสาวัตถีมีอยู่ไกลจากที่นี้ไปอีก ๒๐๐ โยชน์ พวก ข้าพระองค์มาจากพระนครนั้นพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า มีข่าวสาร อะไรเกิดขึ้นในประเทศถิ่นที่อยู่ของพวกเธอบ้างเล่า. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพข่าวสารอะไรอย่างอื่นไม่มี นอกจากข่าวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้นเท่านั้นพระเจ้าข้า. ในขณะนั้นนั่นเอง พระราชาทรงมีพระสรีระอัน ปีติมีกำลังกระทบถูกแล้ว ไม่ทรงอาจจะกำหนดอะไรๆ ได้ทรงนิ่งเงียบไป ครู่หนึ่ง แล้วตรัสถามอีกว่า พูดอะไรนะพ่อคุณ. พวกพ่อค้าก็กราบทูลว่า พระพุทธเจ้า ทรงอุบัติแล้วพระเจ้าข้า. พระราชาทรงนิ่งเงียบไปครู่หนึ่ง แม้ ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ ก็เหมือนครั้งแรกนั่นแล แล้วตรัสถามเป็นครั้งที่ ๔ ว่า พูดอะไรนะพ่อคุณ. เมื่อพวกพ่อค้ากราบทูลว่า พระพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้นแล้ว พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า พ่อค้า เพราะการที่ได้ฟังข่าวสารอันเป็นสุข เราจะ ให้ทรัพย์ ๑ แสนแก่พวกเธอ แล้วตรัสถามว่า ข่าวสารอะไรแม้ที่นอกเหนือ ไปกว่านี้ยังมีอีกไหมพ่อคุณ. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มีพระธรรมอุบัติขึ้นแล้วพระเจ้าข้า. พระราชาทรงสดับถ้อยคำแม้นั้นแล้ว ทรงนิ่ง เงียบไปครู่หนึ่งตลอด ๓ วาระเหมือนนัยก่อนนั่นแล ในวาระที่ ๔ เมื่อพวก พ่อค้ากราบทูลว่า พระธรรมอุบัติขึ้นแล้ว ตรัสว่า แม้ในวาระนี้ เราก็จะให้ ทรัพย์ ๑ แสนแก่พวกเธอแล้ว ตรัสถามว่า ข่าวสารอะไรแม้ที่นอกเหนือไป กว่านี้ ยังมีอีกไหมพ่อคุณ. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มีพระ-

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 243

สงฆ์อุบัติขึ้นแล้ว. พระราชาทรงสดับถ้อยคำแม้นั้นแล้ว ทรงนิ่งเงียบไปครู่ หนึ่งตลอด ๓ วาระเหมือนอย่างครั้งก่อนนั่นแล ในวาระที่ ๔ เมื่อพวกพ่อค้า กราบทูลว่า พระสงฆ์อุบัติขึ้นแล้ว ตรัสว่า แม้ในครั้งนี้เราจะให้ทรัพย์ ๑ แสน แก่พวกเธอแล้วทรงทอดพระเนตรดูอำมาตย์พันคน ตรัสถามว่า พ่อคุณ พวก เราจักทำอย่างไร. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์จักทำ อย่างไร. พระราชาตรัสว่า พ่อคุณเราได้สดับฟังว่า พระพุทธเจ้า ทรงอุบติขึ้น แล้ว พระธรรมทรงอุบัติขึ้นแล้ว พระสงฆ์ทรงอุบัติขึ้นแล้ว เราจักไม่หวน กลับไปอีก เราจักไปบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าในสำนักของพระองค์. พวก อำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ แม้พวกข้าพระองค์ ก็จักบวชกับ พระองค์. พระราชาทรงให้พวกอาลักษณ์จารึกพระอักษรลงในพระสุพรรณบัฏ พระราชทานแก่พวกพ่อค้าแล้วตรัสว่า พวกเธอ จงมอบพระสุพรรณบัฏนี้แด่ พระราชเทวีพระนามว่าอโนชา พระราชเทวีนั้นจักพระราชทานทรัพย์จำนวน ๓ แสนแก่พวกเธอ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้นพวกเธอพึงกราบทูลกับพระราชเทวีนั้น ว่า ทราบว่าพระราชาทรงมอบความเป็นใหญ่ถวายแด่พระองค์ ขอพระองค์ จงเสวยสมบัติตามความสบายเถิด ก็ถ้าว่าพระนางตรัสถามว่า พระราชาของ พวกท่านเสด็จไปที่ไหนเสีย พวกท่านพึงกราบทูลว่า พระราชาตรัสว่า เรา จักบวชอุทิศพระศาสดา แล้วก็เสด็จไปแล้ว. แม้พวกอำมาตย์ก็ส่งข่าวสารไป เพื่อภรรยาของตนของคนเหมือนอย่างนั้นเช่นกัน. พระราชาทรงส่งพวกพ่อค้า ไปแล้ว ก็เสด็จขึ้นม้า มีอำมาตย์พันคนติดตามแวดล้อม เสด็จออกไปใน ขณะนั้นเอง.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 244

แม้พระศาสดา ในเวลาเช้ามืดวันนั้น ทรงตรวจดูสัตวโลก ได้ทอด พระเนตรเห็นพระเจ้ามหากัปปิยนะพร้อมด้วยบริวาร ทรงพระดำริว่า พระเจ้า มหากัปปินะ พระองค์นี้ ได้ทรงทราบข่าวจากสำนักของพวกพ่อค้าว่า พระรัตนตรัยอุบัติขึ้นแล้ว จึงทรงเอาทรัพย์ ๓ แสน บูชาถ้อยคำของพวกพ่อค้า เหล่านั้นแล้ว ทรงละพระราชสมบัติ ทรงมีอำมาตย์พันคนแวดล้อมแล้ว ทรง มีพระประสงค์จะบวชอุทิศเรา พรุ่งนี้จักเสด็จออก พระราชาพระองค์นั้นพร้อม ทั้งบริวารจักได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เราจักกระทำการ ต้อนรับ ดังนี้ ในวันรุ่งขึ้น เมื่อจะเสด็จไปต้อนรับพระราชาผู้ครอบครอง บ้านเมืองเล็ก ซึ่งคล้ายกับว่าเสด็จไปต้อนรับพระเจ้าจักรพรรดิฉะนั้น พระองค์เอง ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จไปต้อนรับสิ้นระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ ทรงประทับนั่งเปล่งพระพุทธรัศมีมีวรรณะ ๖ ประการ ณ ควงไม้นิโครธ ใกล้ กับฝั่งแม่น้ำจันทภาคา. แม้พระราชาเสด็จมาถึงแม่น้ำสายหนึ่ง ก็ตรัสถามว่า แม่น้ำสายนี้ ชื่ออะไร. พวกอำมาตย์ก็กราบทูลว่า แม่น้ำสายนี้ชื่อว่าอปรัจฉา พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า พ่อคุณ แม่น้ำสายนี้ มีขนาดประมาณเท่าไร. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า แม่น้ำสายนี้ลึก ๑ คาวุต กว้าง ๒ คาวุต พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า ก็ในที่นี้มีเรือหรือแพบ้างไหม. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ไม่มีพระเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า เมื่อเรามัวห่วงถึงพาหนะมีเรือเป็นต้น ชาติ คือความเกิด ย่อมนำเข้าไปหาชราความแก่ และชราความแก่ย่อมนำเข้าไปหา มรณะความตาย. เราเป็นผู้ไม่มีความสงสัย ออกเดินทางมาแล้ว ก็เพื่ออุทิศ พระรัตนตรัย ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัยนั้น ขอน้ำนี้ จงอย่าได้เป็น

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 245

เหมือนน้ำแก่เราเลย แล้วทรงระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ระลึกถึงพระพุทธคุณว่า อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ดังนี้ พร้อมด้วยบริวาร กับ ม้า ๑,๐๐๐ ตัว เสด็จไปบนหลังน้ำ ม้าสินธพทั้งหลายวิ่งไปบนหลังน้ำคล้าย กับว่าวิ่งไปบนหลังแผ่นหินดาดฉะนั้น ม้าทุกตัวเปียกแค่ปลายกีบเท่านั้น.

พระราชาพระองค์นั้น ทรงข้ามแม่น้ำนั้นแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไป ข้างหน้า ทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำแม้อื่นอีก ตรัสถามว่า แม่น้ำสายนี้ ชื่อ อะไร. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ชื่อว่านีลวาหา พระเจ้าข้า พระราชาตรัสถาม ว่า แม่น้ำสายนี้มีขนาดประมาณเท่าไร. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ทั้งส่วนลึกทั้ง ส่วนกว้างมีขนาดประมาณครึ่งโยชน์พระเจ้าข้า. คำที่เหลือ ก็เป็นเช่นกับคำที่ กล่าวมาแล้วในตอนแรกนั่นแล. ก็พระราชาทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำนั้นแล้ว ก็ทรงอนุสรณ์ระลึกถึงพระธรรมคุณว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ดังนี้แล้วก็เสด็จไปได้ พอเสด็จพระราช ดำเนินล่วงพ้นแม่น้ำนั้นไปแล้ว พระราชาได้ทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำอื่นอีก ตรัสถามว่า แม่น้ำสายนี้ ชื่ออะไร. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ชื่อว่า จันทภาคา พระเจ้าข้า พระราชาตรัสถามว่า แม่น้ำสายนี้มีขนาดประมาณเท่าไร. พวก อำมาตย์กราบทูลว่า ทั้งส่วนลึกทั้งส่วนกว้างมีขนาดโยชน์หนึ่งพอดีพระเจ้าข้า. คำที่เหลือก็เป็นเช่นกับคำที่กล่าวมาแล้วในตอนแรกนั่นแล ก็พระราชาได้ทอด พระเนตรเห็นแม่น้ำนั้นแล้ว ก็ทรงอนุสรณ์ระลึกถึงพระสังฆคุณว่า สุปฏิปนฺโน

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 246

ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้ แล้วเสด็จไปได้ พอเสด็จพระราชดำเนินล่วงพ้นแม่น้ำแม้นั้นไปได้ พระราชา ได้ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ ประการ แผ่ซ่านออกจาก พระสรีระของพระศาสดา สว่างไสวรอดออกจากกิ่งค่าคบและใบของต้นนิโครธ แล้ว ทรงพระดำริว่า แสงสว่างนี้ มิใช่แสงสว่างของพระจันทร์ มิใช่แสง สว่างของพระอาทิตย์ มิใช่แสงสว่างของเทวดา มาร พรหม ครุฑ และนาค อย่างใดอย่างหนึ่งเลย เราเดินทางมาเพื่ออุทิศพระศาสดา เห็นทีจักได้พบเห็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเป็นแน่ ในบัดดลนั้นเองพระราชาพระองค์นั้น ก็ เสด็จลงจากหลังม้า น้อมพระสรีระเข้าไปเฝ้าพระศาสดาตามแนวแสงแห่งพระรัศมี ได้เสด็จเข้าไปภายในพระพุทธรัศมีดุจดำลงไปที่มโนศิลารส ฉะนั้น พระราชาพระองค์นั้น ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ก็ประทับนั่ง ณ สถานที่ อันสมควรข้างหนึ่งพร้อมกับอำมาตย์พันคน พระศาสดา ตรัสอนุปุพพีกถา แก่คนเหล่านั้น พอจบพระธรรมเทศนา พระราชาพร้อมกับบริวารก็ดำรงอยู่ ในโสดาปัตติผล.

ลำดับนั้น ชนทั้งหมดลุกขึ้นแล้ว ทูลขอบวช พระศาสดา ทรงใคร่ครวญ ว่า บาตรและจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ จักมาประสิทธิ์แก่กุลบุตรเหล่านี้หรือไม่ หนอ ก็ทรงทราบว่า กุลบุตรเหล่านั้นได้เคยถวายจีวรพันผืน แด่พระปัจเจกพุทธเจ้าพันองค์ ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ได้ถวายจีวร สองหมื่นผืน แด่ภิกษุสองหมื่นองค์ การมาแห่งบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วย ฤทธิ์ จึงไม่เป็นเหตุอัศจรรย์แก่กุลบุตรเหล่านั้นเลย ดังนี้แล้ว ทรงเหยียด

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 247

พระหัตถ์ขวาตรัสว่า พวกเธอ จงเป็นภิกษุมาเกิด จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด ในขณะนั้นนั่นเอง ภิกษุเหล่านั้นก็ได้ทรง บริวาร ๘ เป็นดังพระเถระมีพรรษาตั้ง ๖๐ พรรษาฉะนั้น เหาะขึ้นสู่เวหาส แล้ว ก็กลับลงมาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรด้านหนึ่ง.

ฝ่ายพวกพ่อค้าเหล่านั้น เดินทางไปยังกรุงราชคฤห์แล้ว กราบทูล ข่าวสารที่พระราชาส่งไปถวายแด่พระราชเทวีให้ทรงทราบ เมื่อพระราชเทวี ตรัสว่า จงเข้ามา จึงเข้าไปยืน ณ ที่สมควรด้านหนึ่ง ที่นั้นพระราชเทวีจึง ตรัสถามพวกพ่อค้าเหล่านั้นว่า พ่อคุณ เพราะเหตุไรจึงเดินทางมานี่ พวก พ่อค้าจึงกราบทูลว่า พระราชาทรงส่งพวกข้าพระพุทธเจ้ามาเฝ้าพระองค์ นัยว่า พระองค์จะพระราชทานทรัพย์ ๓ แสน แก่พวกข้าพระองค์ พระราชเทวี ตรัสว่า พนาย! พวกท่านพูดมากไปแล้ว พวกท่านทำประโยชน์อะไรใน สำนักของพระราชา พระราชาทรงเลื่อมใสในเรื่องอะไร จึงรับสั่งให้พระราช ทานทรัพย์ถึงเพียงนี้ แก่พวกท่าน. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระราชเทวี พวกข้าพระองค์มิได้กระทำเรื่องอะไรอย่างอื่นเลย เพียงแค่แจ้งข่าวสารอย่าง หนึ่งให้ทรงทราบเท่านั้น พระราชเทวีตรัสถามว่า พ่อคุณ อาจพอที่จะบอก ข่าวสารนั้นแม้แก่เราบ้างได้หรือ. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า อาจ พระเจ้าข้า แล้วบ้วนปากด้วยสุวรรณภิงคาร กราบทูล ว่า ข้าแต่พระราชเทวี พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก แม้พระราชเทวี พระองค์นั้น พอได้สดับคำนั้น แล้ว เป็นผู้มีพระเสรีระอันปีติถูกต้องแล้วไม่อาจจะกำหนดอะไรๆ ได้ถึง ๓ ครั้ง ในครั้งที่ ๔ ได้ทรงสดับว่า พระพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้นแล้ว จึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 248

พ่อคุณในเพราะบทนี้ พระราชาทรงพระราชทานทรัพย์ให้พ่อเท่าไร. พวก พ่อค้ากราบทูลว่า ๑ แสนพระเจ้าข้า. พระราชเทวีตรัสว่า พ่อคุณ พระราชา พระราชทานทรัพย์ ๑ แสนแก่พวกท่าน เพราะได้สดับข่าวสารถึงขนาดนี้ นับว่าทรงกระทำไม่สมควรเลย เราจะให้ทรัพย์ ๓ แสน ในเพราะบรรณา การอันยากแค้นของเรา แก่พวกท่าน พวกท่านได้กราบทูลเรื่องอะไรอย่างอื่น อีกหรือไม่ พวกพ่อค้าเหล่านั้น กราบทูลถึงข่าวสาร ๒ อย่างแม้นอกนี้ให้ ทรงทราบว่า เรื่องนี้ และเรื่องนี้ พระราชเทวี ไม่อาจจะกำหนดอะไรๆ ได้ตลอด ๓ วาระ เหมือนกับนัยที่กล่าวแล้วในตอนแรกนั่นแล ทุกๆ ครั้งที่ ๔ ได้พระราชทานทรัพย์ครั้งละ ๓ แสน รวมความว่า พวกพ่อค้าเหล่านั้น ได้รับทรัพย์ทั้งหมดไปถึง ๑๒ แสน.

ลำดับนั้น พระราชเทวีจึงตรัสถามพวกพ่อค้าเหล่านั้นว่า พ่อคุณ พระราชาเสด็จไปในที่ไหนเล่า พวกพ่อค้าจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวี ระราชา ตรัสว่า เราจักบวชอุทิศพระศาสดาแล้วก็เสด็จไป พระราชเทวี ตรัสถามว่า ข่าวสารอะไรที่พระราชาพระองค์นั้น ได้มอบแก่เรามีไหม พวกพ่อค้ากราบ ทูลว่า นัยว่า ทรงสละมอบความเป็นใหญ่ทั้งหมดแด่พระองค์ นัยว่า พระองค์จงเสวยสมบัติตามความสุขสำราญเถิด. พระราชเทวี ตรัสถามว่า พวก อำมาตย์ไปไหนเสียเล่าพ่อคุณ. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระราชเทวี แม้ พวกอำมาตย์เหล่านั้นก็พูดว่า พวกเราจักบวชกับพระราชาแล้วไปแล้ว พระราชเทวีพระองค์นั้น จึงรับสั่งเรียกหาพวกภรรยาของอำมาตย์เหล่านั้นมาแล้ว ตรัสว่า แม่คุณ สามีของพวกเจ้าสั่งไว้ว่า พวกเราจักบวชกับพระราชา แล้ว

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 249

ก็พากันไปแล้ว พวกเจ้าจักทำอะไร. พวกภรรยาของอำมาตย์เหล่านั้นจึงทูล ถามว่า ข้าแต่พระราชเทวี ข่าวสารอะไร ที่พวกสามีส่งฝากมาถึงพวกหม่อมฉัน พระราชเทวีตรัสว่า ได้ทราบว่า พวกอำมาตย์เหล่านั้นได้สละมอบสมบัติ ของตนแก่พวกเธอ ได้ทราบว่า พวกเธอจงบริโภคสมบัติตามสบายเถิด พวก ภรรยาของอำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลถามว่า ข้าแต่พระราชเทวี พวกเราจัก กระทำอย่างไรดีเล่า. พระราชเทวีตรัสว่า เบื้องแรก พระราชาของพวกเรา พระองค์นั้น ดำรงอยู่ในหนทาง เอาทรัพย์ ๓ แสนบูชาพระรัตนตรัยแล้ว สละพระราชสมบัติที่คล้ายกับก้อนเขฬะ ออกไปได้ด้วยตั้งพระราชหฤทัยว่า เรา จักบวช แม้เราได้สดับข่าวสารของพระรัตนตรัย ก็นำเอาทรัพย์ ๙ แสน บูชาพระรัตนตรัยนั้นแล้ว ก็ขึ้นชื่อว่าสมบัตินั้น มิใช่จะเป็นทุกข์แด่พระราชา อย่างเดียวเท่านั้น ย่อมเป็นทุกข์แม้แก่เราเหมือนกัน ใครจักคุกเข่าลงที่พื้นดิน แล้ว อ้าปากรับก้อนเขฬะที่พระราชาถ่มแล้วเล่า เราไม่มีความต้องการสมบัติ เราจักบวชอุทิศพระศาสดา. พวกภรรยาของพวกอำมาตย์เหล่านั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระราชเทวี ถึงพวกข้าพระองค์ ก็จักบวชพร้อมกับพระองค์. พระราช เทวีตรัสว่า ถ้าพวกเจ้าอาจสามารถ ก็นับว่าเป็นการดี. พวกภรรยาของพวก อำมาตย์เหล่านั้น กราบทูลว่า พวกข้าพระองค์ อาจสามารถ พระเจ้าข้า พระราชเทวีตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นพวกเจ้าจงมา แล้วรับสั่งให้ตระเตรียมรถ พันคันเสร็จแล้ว ก็เสด็จขึ้นรถ เสด็จออกไปพร้อมกับพวกภรรยาของอำมาตย์ เหล่านั้น ในระหว่างทางได้ทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำสายแรก ได้ตรัสถาม เหมือนอย่างที่พระราชาตรัสถามครั้งแรกเช่นกัน ได้ทรงสดับความเป็นไปทั้ง

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 250

หมดแล้ว จึงตรัสว่า พวกเธอจงแลดูหนทางที่พระราชาเสด็จไปแล้วซิ เมื่อ พวกภรรยาของอำมาตย์เหล่านั้น กราบทูลว่า พวกหม่อมฉันมองไม่เห็น รอยเท้าของม้าสินธพเลย แล้วตรัสว่า พระราชาทรงกระทำสัจจกิริยาว่า เรา เป็นผู้ออกไปเพื่ออุทิศพระรัตนตรัยแล้ว ทรงระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย จึงจักเสด็จไปแล้ว แม้เราออกมา ก็เพื่ออุทิศพระรัตนตรัย ด้วยอานุภาพแห่ง พระรัตนตรัย ขอน้ำนี้จงอย่าเป็นดุจน้ำแก่เราเลย ดังนี้ ทรงอนุสรณ์ถึงคุณ ของพระรัตนตรัย รถพันคันก็แล่นไปได้ แม่น้ำได้เป็นเช่นกับแผ่นหินดาด. รถทุกคันเปียกเพียงแค่ขอบล้อเท่านั้นแล แม่น้ำอีก ๒ สายนอกนี้พระนางและ ทุกคนก็ได้ข้ามไปแล้ว ด้วยอุบายวิธีนี้นั่นแล.

พระศาสดา ได้ทรงทราบว่าหญิงเหล่านั้นมาแล้ว จึงทรงอธิษฐาน โดยประการที่พวกภิกษุผู้เป็นสามีซึ่งนั่งอยู่แล้วในสำนักของพระองค์ให้มองไม่ เห็นหญิงเหล่านั้น แม้พระราชเทวีกำลังเสด็จมา ได้ทอดพระเนตรเห็นพระรัศมี ซึ่งแผ่ซ่านออกจากพระสรีระของพระศาสดาแล้ว ก็ได้ทรงจินตนาการ เช่นเดียวกับพระเจ้ามหากัปปิยนะเหมือนกัน แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวาย บังคมประทับยืนอยู่ สถานที่อันสมควรข้างหนึ่งแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้ามหากัปปินะ เสด็จออกเพื่ออุทิศพระองค์ (บัดนี้) พระเจ้า มหากัปปินะพระองค์นั้น ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ขอพระองค์จงแสดง พระราชาพระองค์นั้น ให้ปรากฏแก่พวกหม่อมฉันเถิดพระเจ้าข้า. พระศาสดา ตรัสว่า เชิญพวกเธอนั่งก่อนเถอะ พวกเธอจักได้พบเห็นพระราชาพระองค์ นั้นในที่นี้แหละ. หญิงเหล่านั้น แม้ทั้งหมดร่าเริงดีใจพูดกันว่า นัยว่าพวกเรา

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 251

นั่งแล้วในที่นี้แหละ. จักได้พบเห็นพวกสามีของพวกเราแน่ ดังนี้ จึงนั่งแล้ว. พระศาสดาได้ตรัสแสดงอนุปุพพีกถา (แก่หญิงทั้งหมด) ในเวลาจบเทศนา พระนางอโนชาเทวี ก็บรรลุโสดาปัตติผลพร้อมกับหญิงเหล่านั้น พระมหากัปปินะเถระพร้อมด้วยพระบริวาร ได้สดับพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรง แสดงแก่หญิงเหล่านั้นแล้ว ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔. ใน ขณะนั้น พระศาสดาได้ทรงแสดงให้หญิงเหล่านั้นเห็นภิกษุเหล่านั้นได้ ก็ใน ขณะที่หญิงเหล่านั้นมาถึงแล้ว ได้เห็นพวกสามีของตน ซึ่งทรงผ้ากาสาวะ มี ศีรษะโล้นเข้า จิตก็จะไม่พึงมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ จะไม่พึงอาจเพื่อที่จะทำ มรรคและผลให้บังเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เวลาที่พวกเธอมีศรัทธา ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวแล้ว พระศาสดาจึงทรงแสดงภิกษุเหล่านั้นผู้ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว แก่หญิงเหล่านั้น แม้หญิงเหล่านั้นได้เห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว ก็ได้ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วเรียนว่า ท่านผู้เจริญ กิจแห่งบรรพชิตของ ท่านถึงที่สุดแล้ว ดังนั้นแล้ว ถวายบังคมพระศาสดา ยืน ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลขอบรรพชา.

ในขณะที่หญิงเหล่านั้น กล่าวคำขอบรรพชาอย่างนี้พระศาสดา ได้ ทรงดำริถึงการมาของนางอุบลวรรณาเถรี ในบัดดลที่พระศาสดาทรงดำริ แล้วเท่านั้น นางอุบลวรรณาเถรีนั้น ก็มาโดยทางอากาศ รับเอาหญิง เหล่านั้น ทั้งหมดนำไปยังสำนักภิกษุณีโดยทางอากาศแล้ว จึงให้บรรพชา ไม่ นานเท่าไรนักหญิงเหล่านั้น ทั้งหมด ก็ได้บรรลุพระอรหัต พระศาสดาได้ทรง พาภิกษุพันรูปไปยังพระเชตวันวิหารโดยทางอากาศ สดับมาว่า ณ ที่พระเชตวัน

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 252

นั้น ท่านพระมหากัปปินะเที่ยวเปล่งอุทานว่า อโห สุขํ อโห สขํ โอ้ สุข จริงหนอ โอ้ สุขจริงหนอ ในสถานที่ต่างๆ มีที่พักกลางคืนเป็นต้น ภิกษุ ทั้งหลายจึงได้กราบทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ พระมหากัปปิยนะ เที่ยวเปล่งอุทานว่า โอ สุขจริงหนอ โอ สุขจริงหนอ ดังนี้ คงจะเปล่งอุทานปรารภถึงความสุขอัน เกิดแต่พระราชสมบัติของตน กระมัง พระศาสดา รับสั่งให้เรียกพระมหากัปปินะนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า กัปปินะ ทราบว่า เธอเปล่งอุทานปรารภถึงความสุขอันเกิดแก่กามจริง หรือ. พระมหากัปปินะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่าข้าพระองค์เปล่งอุทานปรารภถึงความสุขนั้น หรือว่าข้าพระ องค์เปล่งอุทานปรารภถึงความสุขอื่น. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเรา จะได้เปล่งอุทานปรารภถึงความสุขอันเกิดแก่กาม (หรือว่า) ความสุขอันเกิดแก่ราชสมบัติก็หามิได้ หากแต่ธรรมปีติ ย่อม บังเกิดขึ้นแก่บุตรของเราผู้ประพฤติธรรมอยู่เท่านั้น เธอปรารภถึงอมตมหานิพพานจึงได้เปล่งอุทานอย่างนั้น ดังนี้ เมื่อจะทรงสืบต่ออนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาว่า.

ผู้มีปีติในธรรม มีใจผ่องใสแล้ว ย่อม อยู่เป็นสุข บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า ประกาศแล้ว ในกาลทุกเมื่อ ดังนี้.

ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย พระกัปปินะได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายหรือเปล่า? พวกภิกษุ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 253

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระมหากัปปินะ เป็นผู้มีความขวนขวาย น้อย ประกอบอยู่ด้วยความสุขที่เป็นไปในทิฏฐธรรม ไม่ยอมให้แม้กระทั่ง โอวาท. พระศาสดาทรงมีรับสั่งให้เรียกพระเถระมาแล้ว ตรัสถามว่า กัปปินะ ทราบว่าเธอไม่ยอมให้แม้กระทั่งโอวาทแก่พวกภิกษุอันเตวาสิก จริงไหม? พระมหากัปปินะกราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า พราหมณ์ เธออย่าได้กระทำอย่างนั้นเลย ตั้งแต่วันนี้ไป เธอจงแสดงธรรมแก่พวกภิกษุ ที่เข้ามาหาแล้ว. พระเถระทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย เศียรเกล้าว่า สาธุ ดีละ พระเจ้าข้า ดังนี้แล้วจึงโอวาทให้สมณะพันรูป ดำรง อยู่ในพระอรหัต ด้วยการโอวาทเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงสถาปนาพระสาวกของพระองค์ไว้ตามลำดับ จึงได้ทรง สถาปนาไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระมหากัปปินะ เป็น ผู้เลิศกว่าสาวกทั้งหลายของเราผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุแล.

พระเถระได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้วอย่างนี้ ระลึกถึงบุรพกรรมของ ตน ได้เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่คนเคยได้ประพฤติมา แล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. บทว่า อุทิโต อชฏากาเส ได้แก่ ผุดขึ้น ตั้งขึ้น ปรากฏในอากาศทั้งสิ้น อธิบาย ว่า คล้ายพระอาทิตย์ปรากฏกลางอากาศในฤดูสุรทกาล ฉะนั้น. บทว่า อกฺขทสฺโส ตทา อาสึ ความว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระนั้น เราได้เป็นผู้มีปกติเห็นสาระ คือ เป็นผู้มีปกติเห็นประโยชน์ (เป็นผู้พิพากษาชี้ขาด) ได้ปรากฏเป็นอาจารย์.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 254

บทว่า สาวกสสฺ กตาวิโน เชื่อมความว่า ได้ฟังพระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งกำลังทรงประกาศคุณของพระสาวกผู้กล่าว สอนภิกษุ คือ ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่เลิศ ได้แก่ทรงประกอบไว้ในหน้าที่ ที่เป็นไปติดต่อกัน ทรงยังใจของเราให้ร่าเริงยินดี.

บทว่า หํสสมภาโค ได้แก่ มีส่วนเสมอกับหงส์. บทว่า หํสทุนฺทุ- ภินิสฺสโน เชื่อมความว่า มีพระสุรเสียงดุจหงส์ คือ มีพระดำรัสคล้ายกับเสียง มโหระทึกและกลองเภรี ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูมหาอำมาตย์ผู้นี้เถิด. บทว่า สมุคฺคตตนูรุหํ ความว่า มีขนลุกขึ้นชูชันด้วยดี หรือว่ามีใจฟูขึ้น (ด้วยปีติ). บทว่า ชีมูตวณฺณํ ความว่า มีวรรณะเสมอ ด้วยแก้วมุกดา คือ มีรัศมีแผ่ซ่านออกจากสรีระงดงาม. บทว่า ปิณํสํ แปลว่า มีพระอังสาบริบูรณ์. บทว่า ปสนฺนนยนานนํ ความว่า มีนัยน์ตาและใบหน้า ผ่องใส.

บทว่า กตาวิโน เชื่อมความว่า มหาอำมาตย์นี้นั้น ปรารถนาตำแหน่ง ของภิกษุผู้บำเพ็ญกุศลมาแล้ว ดำรงอยู่ในตำแหน่งอันเลิศเพราะเขามีความ พลอยยินดี คือมีใจร่าเริง บทว่า สตโส อนุสาสิยา ความว่า พร่ำสอนด้วย อำนาจถ้อยคำอันเป็นธรรมสม่ำเสมอเป็นเหตุ. บทว่า พาราณสิยมาสนฺเน ได้ แก่ในหมู่บ้านช่างหูกใกล้พระนครพาราณสี. บทว่า ชาโต เกนิยชาติยํ ความ ว่า เกิดในตระกูลช่างทอผ้า คือ ในตระกูลช่างหูก. คำที่เหลือ มีเนื้อความ พอที่จะกำหนดได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถามหากัปปินเถราปทาน