พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

กุมารกัสสปเถราปทานที่ ๕ (๕๓๕) ว่าด้วยบุพจริยาของพระกุมารกัสสปเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 พ.ย. 2564
หมายเลข  41542
อ่าน  433

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 266

เถราปทาน

กัจจายนวรรคที่ ๕๔

กุมารกัสสปเถราปทานที่ ๕ (๕๓๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระกุมารกัสสปเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 266

กุมารกัสสปเถราปทานที่ ๕ (๕๓๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระกุมารกัสสปเถระ

[๑๒๕] ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นายก ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทั้งปวง เป็นนักปราชญ์ มีพระนามว่าปทุมุตตระ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์มีชื่อเสียง โด่งดัง รู้จบไตรเพท เที่ยวไปในที่พักสำราญ กลางวัน ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นายกของ โลก กำลังทรงประกาศสัจจะ ๔ ทรงยัง มนุษย์พร้อมด้วยทวยเทพให้ตรัสรู้ กำลังทรง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 267

สรรเสริญพระสาวกของพระองค์ ผู้กล่าวธรรม กถาวิจิตรอยู่ในหมู่มหาชน

ครั้งนั้น เราชอบใจ จึงได้นิมนต์พระตถาคตแล้วประดับประดามณฑปให้สว่างไสวด้วย รัตนะนานาชนิด ด้วยผ้าอันย้อมด้วยสีต่างๆ นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ให้เสวยและ ฉันในมณฑปนั้น เรานิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อม ด้วยพระสาวกให้เสวยและฉันโภชนะมีรสอันเลิศ ต่างๆ ถึง ๗ วัน

แล้วเอาดอกไม้ที่สวยงามต่างๆ ชนิดบูชา แล้วหมอบลงแทบบาทมูล ปรารถนาฐานันดรนั้น

ครั้งนั้น พระมุนีผู้ประเสริฐมีความเอ็นดูเป็นที่อาศัยอยู่แห่งกรุณา ได้ตรัสว่า จงดูพราหมณ์ นี้ ผู้มีปากและตาเหมือนดอกปทุมมากด้วยความ ปรีดาปราโมทย์ มีกายและใจฟูขึ้นเพราะโสมนัส นำความร่าเริงมา จักษุเบิกกว้าง มีความปรารถนา ในศาสนาของเรา หมอบลงแทบบาทมูลาของเรา มีความประพฤติมั่น มีใจโสมนัส เขาปรารถนา ฐานันดรนั้น คือ การกล่าวธรรมกถาอันวิจิตร

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 268

ผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดา พระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมเนรมิต จัก มีนามว่ากุมารกัสสปะเป็นสาวกของพระศาสดา

เพราะอำนาจดอกไม้และผ้าอันวิจิตรกับ รัตนะ เขาจักถึงความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวธรรมกถาอันวิจิตร

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีแล้ว และเพราะการ ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป สวรรค์ดาวดึงส์

เราท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ เหมือนตัวละครหมุนเวียนอยู่กลางเวทีเต้นรำ ฉะนั้น เราเป็นบุตรของเนื้อชื่อสาขะหยั่งลงใน ครรภ์แห่งแม่เนื้อ

ครั้งนั้น เมื่อเราอยู่ในท้องมารดาของ เรา ถึงเวรที่จะต้องถูกฆ่า มารดาของเราถูกเนื้อ สาขะทอดทิ้ง จึงยึดเอาเนื้อนิโครธเป็นที่พึ่ง

มารดาของเราอันพญาเนื้อนิโครธ ช่วย ให้พ้นจากความตาย สละเนื้อสาขะแล้ว ตัก เตือนเราผู้เป็นบุตรของตัวในครั้งนั้นอย่างนี้ว่า

ควรคบหาแต่เนื้อโครธเท่านั้น ไม่ควร เข้าไปคบหาเนื้อสาขะ ตายในสำนักเนื้อนิโครธ ประเสริฐกว่า มีชีวิตอยู่ในสำนักเนื้อสาขะจะประเสริฐอะไร.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 269

เรา มารดาของเรา และเนื้อนอกจากนี้ อันเนื้อนิโครธ ผู้เป็นเป็นนายฝูงนั้นพร่ำสอน อาศัย โอวาทของเนื้อนิโครธนั้น จึงได้ไปยังที่อยู่อาศัยคือ ส คือ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์อันรื่นรมย์ ประหนึ่งว่าไป ยังเรือนของตัวที่ทิ้งจากไป ฉะนั้น.

เมื่อพระศาสนาของพระกัสสปธีรเจ้า กำลังถึงความสิ้นสูญอันตรธาน เราได้ขึ้นภูเขาอัน ล้วนด้วยหิน บำเพ็ญเพียรตามคำสอนของพระพิชิตมาร

ก็บัดนี้ เราเกิดในสกุลเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ มารดาของเรามีครรภ์ ออกบวช เป็นภิกษุณี พวกภิกษุณี รู้ว่ามารดาของเรามีครรภ์ จึงนำไปหาพระเทวทัต พระเทวทัตนั้น กล่าวว่า จงนาสนะภิกษุณีผู้ลามกนี้เสีย

ถึงในบัดนี้มารดาบังเกิดเกล้าของเรา เป็น ผู้อันพระพิชิตมารจอมมุนีทรงอนุเคราะห์ไว้ จึง ได้ถึงความสุขในสำนักของภิกษุณี

พระเจ้าแผ่นดินพระนามว่าโกศล ได้ ทรงทราบเรื่องนั้นจึงทรงเลี้ยงดูเราไว้ด้วยเครื่อง บริหารแห่งกุมาร และตัวเรามีชื่อว่ากัสสปะ เพราะ อาศัยท่านพระมหากัสสปเถระ เราจึงถูกเรียกว่า กุมารกัสสปะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 270

เพราะได้สดับพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า กายเช่นเดียวกับจอมปลวก

จิตของเราจึงพ้นอาสวะทั้งปวง เราได้รับ ตำแหน่งเอตทัคคะ ก็เพราะทรมานพระเจ้าปายาสิ

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระกุมารกัสสปะได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบกุมารกัสสปเถราปทาน

จบภาณวารที่ ๒๔

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 271

๕๓๕. อรรถกถากุมารกัสสปเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระกุมารกัสสปเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า อิโต สตสหสฺสมฺหิ ดังนี้.

ได้ทราบว่า พระเถระรูปนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม ว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว วัน หนึ่ง ขณะที่กำลังฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่ง พระศาสดาทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เสิศกว่าภิกษุผู้กล่าวธรรมถถาอัน วิจิตร แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้นบ้าง จึงตั้งปณิธานไว้ กระทำบุญ ทั้งหลาย อันเหมาะแก่ตำแหน่งนั้น ดำรงชีวิตอยู่จนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพ นั้น ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้ง ๒ แล้ว ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เขาได้บังเกิดในเรือนอัน มี สกุล บวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว บำเพ็ญ สมณธรรม ท่องเที่ยวไปเฉพาะในสุคติทั้งหลายอย่างเดียว ได้เสวยทิพยสุข และมนุษยสุขแล้วในพุทธุปบาทกาลนี้เขาได้บังเกิดในท้องของลูกสาวเศรษฐี คนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์. ทราบว่า ลูกสาวเศรษฐีนั้น ในเวลาที่เป็นเด็ก หญิงนั้นแล มีความประสงค์จะบวช จึงขออนุญาตมารดาบิดา เมื่อไม่ได้รับ อนุญาตให้บวชจึงไปยังตระกูลสามี ได้มีครรภ์ แต่ไม่รู้ว่ามีครรภ์นั้น จึงคิด แล้วว่า เราจักทำให้สามียินดี (ทำให้ถูกใจสามี) แล้วจึงจักขออนุญาตบวช. เมื่อนางจะทำให้ถูกใจสามี จึงชี้ถึงโทษของสรีระโดยนัยเป็นต้นว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 272

ถ้าว่าในภายในของร่างกายนี้ จะพึงกลับ ออกมาในภายนอกไซร้ บุคคลก็จะต้องถือท่อนไม้ คอยไล่หมู่กาและหมู่สุนัขแน่นอน ดังนี้.

จึงทำสามีผู้ประเสริฐนั้น ให้ยินดีแล้ว

หญิงนั้น ได้รับอนุญาตจากสามีแล้ว ไม่รู้ว่ามีครรภ์จึงได้บวชใน หมู่นางภิกษุณีฝ่ายของพระเทวทัต. พวกนางภิกษุณีได้เห็นว่านางมีครรภ์ จึงไปถามพระเทวทัต. พระเทวทัตนั้นตัดสินว่า นางภิกษุณีนี้ไม่เป็นสมณะ. นางภิกษุณีนั้นจึงคิดว่า เรามิได้บวชอุทิศพระเทวทัต. แต่เราบวชอุทิศ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ จึงได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทูลถามพระทศพล. พระศาสดา ทรงมอบหมายให้พระอุบาลีเถระรับหน้าที่ไป พระเถระ สั่งให้เรียกตระกูลชาวพระนครสาวัตถี และนางวิสาขาอุบาสิกามาแล้ว เมื่อจะ วินิจฉัยเรื่องนั้นพร้อมกับบริษัทผู้มีความขัดแย้ง จึงกล่าวว่า นางได้มีครรภ์ ก่อนบวช ครรภ์ไม่มีอันตรายบวชแล้ว. พระศาสดาได้ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า อุบาลีวินิจฉัยอธิกรณ์ถูกต้องดีแล้ว จึงทรงประทานสาธุการแก่พระเถระ.

นางภิกษุณีรูปนี้ ได้ตลอดบุตรรูปร่างงดงามดุจทองคำ. พระเจ้า ปเสนทิโกศล ทรงพระดำริว่า การเลี้ยงดูทารก จะเป็นความกังวลใจแก่พวก นางภิกษุณี จึงทรงรับสั่งให้แก่พวกญาติแล้ว รับสั่งให้เลี้ยงดู. พวกญาติได้ ตั้งชื่อทารกนั้นว่า กัสสปะ. ในกาลต่อมามารดาประดับตกแต่งแล้ว นำไป เฝ้าพระศาสดาแล้วทูลขอบรรพชาแล้ว. ก็เพราะท่านบวชในเวลาที่เป็นเด็ก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเรียกกัสสปะมา พวกเธอจงให้ ผลไม้หรือว่าของที่ควรเคี้ยวนี้แก่กัสสปะ พวกภิกษุจึงทูลถามว่า กัสสปะไหน.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 273

ต่อมาในเวลาเจริญวัยแล้ว จึงปรากฏชื่อว่า กุมารกัสสปะ เพราะตั้งชื่อเสีย ใหม่ว่ากุมารกัสสปะ และเพราะเป็นบุตรที่พระราชาทรงชุบเลี้ยง.

จำเดิมแต่บวชแล้ว ท่านก็บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน และศึกษา เล่าเรียนพระพุทธวจนะ. ลำดับนั้น ท้าวมหาพรหมผู้เป็นพระอนาคามีเกิด ในชั้นสุทธาวาส ได้บำเพ็ญสมณธรรมบนยอดภูเขาร่วมกับท่านคิดว่า เราจัก ชี้ทางวิปัสสนาแล้ว กระทำอุบายเพื่อบรรลุมรรคผลได้ ดังนี้แล้ว จึงแต่ง ปัญหาขึ้น ๑๕ ข้อแล้ว บอกแก่พระเถระผู้อยู่ในป่าอัมธวันว่า ท่านควรถาม ปัญหาเหล่านั้น กะพระศาสดา. ทีนั้นท่านจึงทูลถามปัญหาเหล่านั้นกะพระผู้มี พระภาคเจ้า. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ทรงวิสัชนาแก่เธอแล้ว. พระเถระ เล่าเรียนปัญหาเหล่านั้น โดยทำนองที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วทั้งหมด ยัง วิปัสสนาให้ถือเอาซึ่งห้องแล้ว ได้บรรลุพระอรหัต.

พระกุมารกัสสปะนั้น พอได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตน ได้เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่คุ้นเคยได้ ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อิโต สตสหสฺสมหิ ดังนี้ คำใดในคาถานั้น มีเนื้อความซ้ำกับที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง คำนั้น ทั้งหมด ข้าพเจ้าจักไม่พรรณนา ข้าพเจ้าจักพรรณนาเฉพาะบทที่ยากๆ เท่านั้น.

บทว่า อาปนฺนสตฺตา เม มาตา ความว่า มารดาของเรามีครรภ์แก่ เป็นหญิงมีครรภ์ ได้แก่มีครรภ์แก่ใกล้เวลาคลอด. บทว่า วมฺมิกสทิสํ กายํ ความว่า ขึ้นชื่อว่า สรีระเป็นเช่นกับจอมปลวก พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง แสดงคือทรงประกาศไว้ว่าร่างกายนี้มีช่องอยู่ช่อง ซึ่งไหลไปอยู่เป็นนิตย์ เปรียบเหมือนจอมปลวกมีช่องเล็กช่องใหญ่ข้างโน้นข้างนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของ สัตว์ทั้งหลาย เช่น มอดและตัวปลวกเป็นต้น ฉันนั้นเหมือนกัน อธิบายว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 274

ครั้นได้สดับพระดำรัสนั้นแล้ว จิตของเราไม่ยึดถืออาสวะทั้งหลาย พ้นแล้วจาก กิเลสได้โดยพิเศษ คือ ดำรงอยู่แล้วในพระอรหัตตผล. ในกาลต่อมา พระศาสดาได้ทรงทราบจากภิกษุทั้งหลายในที่นั้นๆ ว่า พระเถระนั้นเป็นผู้กล่าว ธรรมกถาได้อย่างวิจิตร จึงทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย กุมารกัสสปะนี้ เป็นผู้เลิศแห่งภิกษุสาวกของเรา ผู้กล่าว ธรรมกถาให้วิจิตรแล.

จบอรรถกถากุมารกัสสปเถราปทาน