พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

พาหิยเถราปทานที่ ๖ (๕๓๖) ว่าด้วยบุพกรรมของพระพาหิยเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 พ.ย. 2564
หมายเลข  41543
อ่าน  649

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 274

เถราปทาน

กัจจายนวรรคที่ ๕๔

พาหิยเถราปทานที่ ๖ (๕๓๖)

ว่าด้วยบุพกรรมของพระพาหิยเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 274

พาหิยเถราปทานที่ ๖ (๕๓๖)

ว่าด้วยบุพกรรมของพระพาหิยเถระ

[๑๒๖] ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นายก มีพระรัศมีใหญ่ เลิศกว่า ไตรโลก มีพระนามชื่อว่าปทุมุตตระ ได้เสด็จ อุบัติขึ้นแล้ว

เมื่อพระมุนี ตรัสสรรเสริญคุณของภิกษุ ผู้ตรัสรู้ได้เร็วพลันอยู่ เราได้ฟังแล้วชอบใจ จึง ได้ทำสักการะแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แสวงหา คุณอันใหญ่

ถวายทานแด่พระมหามุนีพร้อมด้วยพระสาวกตลอด ๗ วัน ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า แล้วปรารถนาฐานันดรนั้นในกาลนั้น

ลำดับนั้นพระสัมพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ เราว่า จงดูพราหมณ์ที่หมอบอยู่แทบเท้าของเรานี้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 275

ผู้สมบูรณ์ด้วยโสมนัส มีผิวพรรณเหมือนเด็กอายุ ๑๖ ปี

มีร่างกายอันบุญกรรมสร้างสรรให้คล้าย ทองคำ ผุดผ่อง ผิวบาง ริมฝีปากแดงเหมือน ผลตำลึงสุก มีฟันขาวคมเรียบเสมอ

มากด้วยกำลังคือคุณ มีกายและใจสูง เพราะโสมนัส เป็นบ่อเกิดแห่งกระแสน้ำ คือ คุณ มีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสด้วยปีติ

เขาปรารถนาตำแหน่งแห่งภิกษุผู้ตรัสรู้ ได้โดยเร็วพลัน พระมหาวีรเจ้าพระนามว่าโคดม จักเสด็จอุบัติขึ้นในอนาคตกาล

เขาจักเป็นธรรมทายาทของพระมหาวีรเจ้าพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต จัก ได้เป็นสาวกของพระศาสดามีนามชื่อว่าพาหิยะ

ก็ครั้งนั้น เราเป็นผู้ยินดี หมั่นกระทำ สักการะพระมหามุนีเจ้า ตราบเท่าสิ้นชีวิต จุติแล้ว ได้ไปสวรรค์ ดุจไปที่อยู่ของตนฉะนั้น

เราจะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ย่อมเป็นผู้ถึง ความสุข เพราะกรรมนั้นชักนำไป เราจึงได้ ท่องเที่ยวไปเสวยราชสมบัติ

เมื่อพระศาสนาของพระกัสสปธีรเจ้าเสื่อม ไปแล้ว เราได้ขึ้นสู่ภูเขาอันล้วนแล้วด้วยหิน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 276

บำเพ็ญเพียรตามคำสอนของพระชินสีห์ เป็นผู้มี ศีลบริสุทธิ์ มีปัญญา ทำกิจพระศาสนาของพระชินสีห์ เรา ๕ คนด้วยกัน จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปสู่เทวโลก

เราเกิดเป็นบุรุษชื่อพาหิยะ ในภาระกัจฉ- นครอันเป็นเมืองอุดม ภายหลัวได้แล่นเรือไป ยังสมุทรสาคร ซึ่งมีความสำเร็จเพียงเล็กน้อย

ไปได้ ๒ - ๓ วันเรือก็อัปปาง ครั้งนั้น เราตกลงไปยังมหาสมุทร อันเป็นที่อยู่แห่งมังกร ร้ายกาจ น่าหวาดเสียว

ครั้งนั้น เราพยายามว่ายข้ามทะเลใหญ่ ไปถึงท่าสุปปารกะ มีคนรู้จักน้อย

เรานุ่งผ้ากรองเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต ครั้ง นั้น หมู่ชนเป็นผู้ยินดีกล่าวว่า นี้พระอรหันต์ ท่านมาที่นี่

พวกเราสักการะพระอรหันต์ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอนและเภสัชแล้วจักเป็นผู้มีความสุข

ครั้งนั้น เราได้ปัจจัยอันเขาสักการะบูชา ด้วยปัจจัยเหล่านั้น เกิดความดำริโดยไม่แยบคาย ขึ้นว่า เราเป็นพระอรหันต์

ครั้งนั้น บรุพเทวดารู้ว่าวาระจิตของเรา จึง ตักเตือนว่าท่านหารู้ช่องทางแห่งอุบายไม่ ที่ไหน จะเป็นพระอรหันต์เล่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 277

ครั้งนั้น เราอันเทวดานั้นตักเตือนสลดใจ จึงสอบถามเทวดานั้น พระอรหันต์ผู้ประเสริฐ กว่านรชนในโลกนี้คือใคร อยู่ที่ไหน

เทวดานั้นบอกว่า

พระพิชิตมารผู้มีพระปัญญามาก ผู้มี ปัญญาเสมือนแผ่นดินประเสริฐ ประทับอยู่ที่กรุง สาวัตถี แคว้นโกสล พระองค์เป็นโอรสของ เจ้าศากยะ เป็นพระอรหันต์ ไม่มีอาสวะ ทรง แสดงธรรมเพื่อบรรลุพระอรหันต์.

เราได้สดับคำของเทวดานั้นแล้ว อิ่มใจ เหมือนคนกำพร้าได้ขุมทรัพย์ ถึงความอัศจรรย์ เบิกบานใจที่จะได้พบพระอรหันต์อันอุดมชวนมอง พึงใจ มีอารมณ์ไม่มีที่สุด

ครั้งนั้น เราออกจากที่นั้นไปด้วยตั้งใจ ว่าเมื่อเราชนะกิเลสได้ ก็จะได้เห็นพระพักตร์ อันปราศจากมลทิน ของพระศาสดาทุกทิพาราตรี กาล เราไปถึงแคว้นอันน่ารื่นรมย์นั้นแล้ว ได้ ถามพวกพราหมณ์ว่า พระศาสดาผู้ยังโลกให้ยินดี ประทับอยู่ที่ไหน

ครั้งนั้น พราหมณ์ทั้งหลาย ตอบว่า พระศาสดา อันนราชรและทวยเทพถวายวันทนา เสด็จเข้าไปสู่บุรีเพื่อทรงแสวงหาพระกระยาหาร

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 278

แล้ว พระองค์ก็เสด็จกลับมา ท่านขวนขวาย ที่จะเข้าเฝ้าพระมุนีเจ้า ก็จงรีบเข้าไปถวายบังคม พระองค์ผู้เป็นเอกอัครบุคคลนั้นเถิด

ลำดับนั้น เรารีบไปยังเมืองสาวัตถีบุรี อันอุดม ได้พบพระองค์ผู้ไม่กำหนัดในอาหาร ไม่ทรงนุ่งด้วยความโลภ ทรงยังอมตธรรมให้โชติ ช่วง อยู่ ณ พระนครนี้ ประหนึ่งว่าเป็นที่อยู่ของ สิริ พระพักตร์โชติช่วงเหมือนรัศมีพระอาทิตย์ ทรงถือบาตร กำลังเสด็จโคจรบิณฑบาตอยู่

ครั้นพบพระองค์แล้วเราจึงได้หมอบลง กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดม ขอพระองค์โปรด เป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ ผู้เสียหายไปในทาง ผิดด้วยเถิด

พระมุนีผู้สูงสุดได้ตรัสว่า เรากำลังเที่ยว บิณฑบาต เพื่อประโยชน์แก่การยังสัตว์ให้ข้าม พ้น เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะแสดงธรรมแก่ท่าน

ครั้งนั้น เราปรารถนาแรงกล้าในธรรม จึงได้ทูลอ้อนวอนพระพุทธเจ้าซ้ำแล้วซ้ำเล่า พระองค์ได้ตรัสพระธรรมเทศนาสุญญตบทอันลึกซึ้งแก่เรา

เราได้สดับธรรมของพระองค์แล้ว บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ เป็นผู้มีอายุจบสิ้น โอ เราเป็นผู้อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว... คำสอน ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 279

พระพาหิยทารุจิริยเถระผู้ได้กล่าวการ พยากรณ์อย่างนี้แล้ว ล้มลงที่กองหยากเยื่อ เพราะ แม่โคภูตผีมองไม่เห็นตัวขวิดเอา พระเถระผู้มี ปรีชามาก เป็นนักปราชญ์ ครั้นกล่าวบุรพจริต ของตนแล้ว ท่านปรินิพพาน ณ พระนครสาวัตถี เมืองอุดมสมบูรณ์

สมเด็จพระฤาษีผู้สูงสุด เสด็จออกจาก พระนคร ทอดพระเนตรเห็นท่านพระพาหิยะผู้ นุ่งผ้าคากรองนั้น ผู้เป็นนักปราชญ์ มีความ เร่าร้อนอันลอยเสียแล้ว ล้มลงที่ภูมิภาค ดุจเสา คันธงถูกลมล้มลง ฉะนั้น หมดอายุ กิเลสแห้ง ทำกิจพระศาสนาของพระชินสีห์เสร็จแล้ว

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระสาวก ทั้งหลาย ผู้ยินดีในพระศาสนามาสั่งว่า ท่าน ทั้งหลายจงช่วยกันจับร่างของเพื่อนสพรหมจารี แล้วเผาเสีย

จงสร้างสถูปบูชา เขาเป็นคนมีปรีชา มาก นิพพานแล้ว สาวกผู้ทำตามคำของเราผู้นี้ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายที่ตรัสรู้ได้เร็วพลัน

คาถาแม้ตั้งพัน ถ้าประกอบด้วยบทที่ แสดงความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์ไซร้ คาถาบท เดียวที่บุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ก็ประเสริฐ กว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 280

น้ำ ดิน ไฟ และ ลม ไม่ตั้งอยู่ นิพพานใด ในนิพพานนั้น บุญกุศลส่องไปไม่ ถึง พระอาทิตย์ส่องแสงไม่ถึง

พระจันทร์ก็ส่องแสงไม่ถึง ความมืดก็ไม่ มี อนึ่ง เมื่อใด พราหมณ์ผู้ชื่อว่ามุนีเพราะความ เป็นผู้นิ่ง รู้จริงด้วยตนเองแล้ว

เมื่อนั้นเขาพ้นจากรูป อรูป สุขและ ทุกข์ พระโลกนาถผู้เป็นมุนี เป็นที่นับถือของ โลกทั้งสาม ได้ภาษิตไว้ด้วยประการดังกล่าวมา ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระพาหิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบพาหิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 281

๕๓๖. อรรถกถาพาหิยเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระทาหิยพารุจิริยเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า อิโต สตสหสฺสมฺหิ ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ นั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้พระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิด ในตระกูลพราหมณ์ ถึงความสำเร็จในศิลปะของพวกพราหมณ์แล้ว เป็นผู้มี ความรู้ไม่ขาดตกบกพร่องในเวทางคศาสตร์ทั้งหลาย. วันหนึ่งได้ไปยังสำนัก ของพระศาสดา ขณะฟังธรรมมีใจเลื่อมใส ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระ ศาสดาทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้ขิปปาภิญญา (ตรัสรู้ ได้เร็วไว) เป็นผู้ประสงค์จะได้ตำแหน่งนั้นบ้าง จึงได้ถวายทานแด่ภิกษุ สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ตลอด ๗ วัน โดยล่วง ๗ วันไปแล้ว จึง หมอบลงที่บาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ไป พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงได้สถาปนา ภิกษุใดไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้ขิปปาภิญญา ในอนาคตกาล แม้ ข้าพระองค์ก็พึงเป็นเหมือนภิกษุรูปนั้น คือ พึงเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้ขิปปาภิญญา ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูด้วยอนาคตังสญาณแล้ว ทรงทราบว่าสำเร็จผลแน่ จึงทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล เขาบวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม ว่าโคคม จักเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้ขิปปาภิญญาแล. เขาได้ทำบุญไว้เป็นอัน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 282

มากจนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้บังเกิดในเทวโลก ได้เสวยสมบัติ ในกามาวจร ๖ ชั้นในเทวโลกนั้นแล้ว. ก็ได้เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมบัติ เป็นต้นในมนุษยโลกอีกหลายร้อยโกฏิกัปป์ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เขาได้บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรินิพพานแล้ว จึงได้บวชแล้ว. เมื่อพระศาสนา เสื่อมสิ้นลง ภิกษุ ๗ รูป มองเห็นความประพฤติผิดของบริษัท ๔ ถึงความสังเวชสลดจิต พากันเข้าไป ป่า คิดว่า พวกเราจักกระทำที่พึ่งแก่ตนเองตลอดเวลาที่พระศาสนายังไม่เสื่อม สิ้นไป จึงพากัน ไหว้พระสุวรรณเจดีย์แล้ว ได้มองเห็นภูเขาลูกหนึ่งในป่านั้น จึงพูดขึ้นว่า ผู้มีความห่วงใยในชีวิต จงกลับไปเสีย ผู้ไม่ห่วงใยในชีวิต จงพา กันขึ้นไปยังภูเขาลูกนี้เถิด แล้วจึงพาดพะอง ทั้งหมดพากันขึ้นไปยังภูเขาลูก นั้นแล้ว ผลักพะองให้ตกไปแล้วต่างก็บำเพ็ญสมณธรรม. ในบรรดาภิกษุทั้ง ๗ รูปเหล่านั้น พระสังฆ์เถระได้บรรลุพระอรหัต โดยล่วงไปเพียงราตรีเดียว เท่านั้น. พระเถระนั้นเคี้ยวไม้สีฟันชื่อนาคลดา ในสระอโนดาด ล้างหน้า แล้ว นำเอาบิณฑบาตมาจากอุตตรกุรุทวีปแล้ว พูดกะภิกษุเหล่านั้นว่า ผู้มี อายุ จงฉันบิณฑบาตนี้เถิด. ภิกษุเหล่านั้นพูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกเราได้ กระทำกติกาอย่างนี้ไว้แล้วหรือว่า รูปใดบรรลุพระอรหัตก่อน รูปที่เหลือ จงบริโภคฉันบิณฑบาตที่รูปนั้นนำมาแล้ว. พระเถระถามว่า ผู้มีอายุ ข้อนั้น มิใช่เป็นเช่นนั้น. ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ก็ถ้าว่าแม้พวกเราจักได้ทำคุณวิเศษ ให้บังเกิดขึ้นได้เหมือนอย่างท่านไซร้ ตนเองก็จักนำมาบริโภคฉันเอง ดังนี้ จึงไม่ปรารถนาแล้ว.

ในวันที่ ๒ พระเถระรูปที่ ๒ ได้เป็นพระอนาคามี ได้นำเอาบิณฑบาต มาแล้วอย่างนั้นเหมือนกันแล้ว นิมนต์ให้ภิกษุนอกนี้ฉัน ภิกษุเหล่านั้นกล่าว แล้วอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ พวกเราได้ทำกติกากัน ไว้แล้วหรือว่า พวกเราจักไม่

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 283

ฉันบิณฑบาตที่พระมหาเถระนำมา จักฉันบิณฑบาตเฉพาะที่พระอนุเถระนำ มาแล้ว. พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ ก็ข้อนั้นมิใช่เป็นเช่นนั้น. ภิกษุเหล่านั้น กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม้พวกเราจักทำคุณวิเศษให้บังเกิดขึ้นเหมือน อย่างพวกท่านอย่างนั้นแล้ว ก็จักอาจเพื่อขบฉันตามความเป็นอย่างบุรุษของ ตนของตน ดังนี้ ไม่ปรารถนาแล้ว. ในบรรดาภิกษุเหล่านั้นพระเถระที่ได้ บรรลุพระอรหัต ได้ปรินิพพานแล้ว. พระเถระรูปที่ ๒ ได้เป็นพระอนาคามี ได้ไปบังเกิดพรหมโลก ภิกษุอีก ๕ รูปนอกนี้ไม่สามารถจะทำคุณวิเศษให้ บังเกิดขึ้นได้ จึงเศร้าโศกใจในวันที่ ๗ ได้กระทำกาละไปบังเกิดในเทวโลก. ได้เสวยทิพยสุขในเทวโลกนั้นแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ จุติจากอัตภาพนั้น แล้ว บังเกิดในมนุษยโลก. ในบรรดาชน ๕ คนเหล่านั้น คนหนึ่งได้เป็น พระราชาพระนามว่าปุกกุสะ คนหนึ่งชื่อว่ากุมารกัสสปะ อยู่ในกรุงตักกสิลา แคว้นคันธาระ คนหนึ่งชื่อว่า พาหิยทารุจิริยะ คนหนึ่งชื่อว่าทัพพมัลลบุตร และคนหนึ่งชื่อว่า สภิยปริพพาชกแล. ในบรรดาชน ๕ คนเหล่านั้น พาหิยทารุจิริยะคนนี้ ได้บังเกิดในตระกูลพ่อที่ท่าสุปปารกะ ถึงความสำเร็จใน พาณิชยกรรมแล้ว มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก. เขาได้ขึ้นเรือไปต่างประเทศ พร้อมกับพวกพ่อค้าซึ่งกำลังเดินทางไปยังสุวรรณภูมิ เดินทางไปได้เล็กน้อย เรือก็อัปปาง ผู้คนที่เหลือ ก็กลายเป็นภักษาของปลาและเต่า เหลือเขาเพียง คนเดียวเท่านั้น เกาะไม้กระดานแผ่นหนึ่งพยายามว่ายน้ำ ในวันที่ ๗ ก็ล่วง ถึงฝั่งแห่งท่าสุปปากะ. เขาไม่มีผ้านุ่งและผ้าห่ม เขามองไม่เห็นใครอื่น จึง เอาปอผูกท่อนไม้แห้งแล้ว นุ่งและห่ม ถือเอากระเบื้องจากเทวสถานได้ไป ยังท่าสุปปารกะ. พวกมนุษย์เห็นเขาเข้าแล้ว ต่างก็พากันให้ยาคูและภัตร เป็นต้นแล้ว ยกย่องว่า ท่านผู้นี้คนเดียวเป็นพระอรหันต์. เมือพวกชาวบ้าน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 284

นำเอาผ้านุ่งผ้าห่มมาให้มากมายเขาจึงคิดว่า ถ้าว่า เราจะนุ่งหรือจะห่มผ้าไซร้ ลาภและสักการะของเราก็จักเสื่อมสิ้นไป จึงพูดห้ามผ้าเหล่านั้น เสียแล้ว ใช้สอย เฉพาะแต่ผ้าเปลือกไม้อย่างเดียว.

ลำดับนั้น เมื่อเขาได้รับยกย่องจากประชาชนเป็นอันมากว่า เป็น พระอรหันต์ พระอรหันต์ดังนี้ จึงมีความปริวิตกเกิดขึ้นในใจอย่างนี้ว่า พวก ที่เป็นพระอรหันต์ หรือว่าปฏิบัติดำเนินไปเพื่อบรรลุพระอรหัตมีอยู่ในโลกนี้ ตัวเราก็เป็นผู้หนึ่งของพวกนั้น. เขาเลี้ยงชีวิตด้วยการงานที่หลอกลวงคนอื่น โดยทำนองนั้นแล.

ในพระศาสนาแห่งพระกัสสปทศพล เมื่อชนทั้ง ๗ คนในรูปยัง ภูเขาบำเพ็ญสมณธรรม คนหนึ่งได้เป็นพระอนาคามีได้ไปบังเกิดในพรหมโลก ชั้นสุทธวาส ตรวจดูพรหมสมบัติของตน รำพึงถึงสถานที่ที่ตนมาแล้ว ขึ้น ไปยังภูเขา เห็นที่บำเพ็ญสมณธรรมแล้ว รำพึงถึงสถานที่ที่คนที่เหลือไปเกิด รู้ว่าท่านหนึ่งปรินิพพานแล้ว และรู้ว่า นอก อีก ๕ คนไปบังเกิดในเทวโลก ชั้นกามาวจร ได้รำพึงถึงคนทั้ง ๕ เหล่านั้นตามกาลอันสมควร. เมื่อรำพึงว่า ก็ในเวลานี้คนทั้ง เหล่านั้นไปบังเกิดในที่ไหนหนอ จึงได้เห็นทารุจิริยะ ผู้อาศัยท่าสุปปารกะเลี้ยงชีวิต ด้วยการงานคือการหลอกลวงแล้ว คิดว่า ผู้นี้เป็น คนพาลฉิบหายแล้วหนอ เขาบำเพ็ญสมณธรรมในกาลก่อน ไม่ได้ฉันบิณฑ- บาตแม้ที่พระอรหันต์นำมาแล้ว โดยความอุกฤษฏ์ยิ่ง บัดนี้เป็นผู้ไม่สมควร เพราะเหตุแห่งต้อง อ้างว่าเป็นพระอรหันต์เที่ยวหลอกลวงชาวโลกอยู่ ไม่รู้ ว่าพระทศพล ทรงอุบัติขึ้นแล้ว เราจะไปทำให้เกิดความสังเวช จักให้เขา ได้ทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว ดังนี้ ในขณะนั้นนั่นแล จึงลงจาก พรหมโลกแล้วได้ปรากฏข้างหน้าทารุจิริยะ ในระหว่างภาคราตรี ณ ที่ท่า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 285

สุปปารกะ. ทารุจิริยะนั้น ได้เห็นแสะสว่างส่องมาในที่อยู่ของตน จึงออกมา ข้างนอก เห็นท้าวมหาพรหมเข้า จึงประคองอัญชลีถามว่า ท่านเป็นใครหนอ. ท้าวมหาพรหมตอบว่า เราเป็นสหายเก่าของท่าน ได้บรรลุอนาคามิผลแล้ว ไปบังเกิดในพรหมโลก หัวหน้าของพวกเราทั้งหมด เป็นพระอรหันต์ปรินิพพานแล้ว ส่วนพวกท่าน ๕ คน ไปบังเกิดในเทวโลก บัดนี้เรานั้นได้เห็น ท่านเลี้ยงชีวิตด้วยการงานคือการหลอกลวงในที่นี้ จึงได้มาเพื่อสั่งสอนท่าน แล้วกล่าวถึงเหตุนี้ว่า พาหิยะ ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ ทั้งไม่ใช่เป็นผู้ปฏิบัติ ตามหนทางพระอรหัตเลย ท่านจะเป็นพระอรหันต์ หรือว่าท่านจะเป็นผู้ปฏิบัติ ตามหนทางพระอรหัตด้วยปฏิปทาใด ปฏิปทาแม้นั้นไม่ได้มีแก่ท่านเลย. ลำดับ นั้น ท้าวมหาพรหมได้บอกเขาว่า พระศาสดาทรงอุบัติขึ้นแล้ว และได้บอก เขาว่า พระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ได้ส่งเขาไปด้วยสั่งว่า จงไปเฝ้า พระศาสดาเถิด แล้วก็ได้กลับไปยังพรหมโลกตามเดิม.

ฝ่ายพาหิยะ มองดูท้าวมหาพรหมผู้ยืนกล่าวอยู่ในอากาศแล้ว คิดว่า โอ เราได้กระทำกรรมหนักหนอ เรามิได้เป็นพระอรหันต์ แต่คิดว่าเป็นพระอรหันต์แล้ว ท้าวมหาพรหมกล่าวกะเราว่า ท่านไม่ใช่เป็นพระอรหันต์เลย ทั้งท่านก็มิได้ปฏิบัติตามหนทางพระอรหัตด้วยดังนี้ คนอื่นที่เป็นพระอรหันต์ ในโลกนี้ มีหรือไม่หนอ. ลำดับนั้น พาหิยะจึงถามเทวดานั้นว่า เมื่อเป็นเช่น นั้นพวกใครเล่า เป็นพระอรหันต์ หรือว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามหนทางพระอรหัต. ลำดับนั้น เทวดาจึงบอกเขาว่า พาหิยะ ในอุตตรชนบทมีพระนครหนึ่ง ชื่อ สาวัตถี บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น กำลังประทับอยู่ในพระนครนั้น พาหิยะ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็น

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 286

พระอรหันต์ และทรงแสดงธรรมเพื่อให้คนเป็นพระอรหันต์. ในส่วนแห่ง ราตรีนั้น พาหิยะได้ฟังถ้อยคำของเทวดาแล้ว มีความสังเวชสลดใจ จึงได้ ออกจากท่าสุปปารกะในขณะนั้นนั่นเอง แล้วได้ไปยังกรุงสาวัตถีโดยคืน เดียวแล. ก็เมื่อขณะกำลังเดินทางไปด้วยอานุภาพแห่งเทวดา และด้วยอานุภาพ ของพระพุทธเจ้าจึงทำให้เขาเดินทางไปได้ถึง ๑๒๐ โยชน์ ถึงกรุงสาวัตถี.

ในขณะนั้น พระศาสดากำลังเสด็จเข้าไปยังกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต เขาเข้าไปยังพระเชตวันแล้ว ถามพวกภิกษุมากรูป ผู้กำลังเดินจงกรมอยู่ ในที่กลางแจ้งว่า บัดนี้ พระศาสดาเสด็จไปไหนเสียเล่า? พวกภิกษุตอบว่า พระศาสดาเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้วถามว่า คุณมาจากไหนเล่า? เขาตอบว่า ผมมาจากท่าสุปปารกะขอรับ. ถามว่า คุณออกเดินทางเวลาเท่าไร? เขาตอบว่า ผมออกเดินทางเมื่อเย็นวานนี้ ขอรับ. พวกภิกษุกล่าวต้อนรับว่า คุณเดินทางมาไกล เชิญนั่ง ล้างเท้าทาน้ำมันเสียก่อน พักผ่อนสักหน่อย ใน เวลาไม่นานนัก จักได้เห็นพระศาสดา. พาหิยะกราบเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผมไม่รู้ถึงอันตรายในชีวิตของพระศาสดา หรือว่าของตัวผมเอง ผมไม่ได้ยืน พัก ไม่ได้นั่งพักในที่ไหนเลย เดินทางมาถึง ๑๒๐ โยชน์โดยราตรีเดียวเท่า นั้น ผมจักขอเข้าเฝ้าพระศาสดาเสียก่อนแล้ว จึงพักผ่อนภายหลัง เขาพูด อย่างนั้นแล้วก็รีบร้อน เข้าไปยังกรุงสาวัตถี ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่ง กำลังเสด็จจาริกไปด้วยพระพุทธสิริอันหาที่เปรียบมิได้ คิดว่า เป็นเวลานาน หนอที่เราได้พบพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้ ตั้งแต่ที่ได้พบเห็นแล้วก็ น้อมสรีระไปแล้ว กราบลงที่ระหว่างถนนด้วยเบญจางคประดิษฐ์จับที่ข้อพระบาทไว้มั่นแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงแสดงธรรมเถิด ขอพระสุคตเจ้า จงทรงแสดงธรรมเถิด ซึ่งจะได้เป็น

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 287

ไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนาน. ลำดับนั้น พระศาสดาทรง ตรัสห้ามเขาไว้ว่า เวลานี้มิใช่กาล พาหิยะ เราจะเข้าไปยังละแวกบ้านเพื่อ บิณฑบาต.

พาหิยะ ได้สดับพระดำรัสนั้นแล้ว จึงกราบทูลวิงวอนอีกว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ผู้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์ ไม่เคยได้อาหารคือคำข้าวไม่มี ข้าพระองค์ไม่รู้อันตรายในชีวิตของพระองค์ หรือว่าของข้าพระองค์ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด ขอพระสุคตเจ้า จงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด. พระศาสดา ตรัสห้าม อย่างนั้นนั่นแลแม้ครั้งที่ ๒. นัยว่าพระศาสดาได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า ตั้งแต่ เวลาที่พาหิยะนี้เห็นแล้ว สรีระทั้งสิ้นของเขามีปีติท่วมทับหาระหว่างมิได้ กำลังแห่งปีติที่มีกำลังมาก แม้จะได้ฟังธรรมแล้ว ก็จักไม่สามารถเพื่อบรรลุ ได้เลย จงพักผ่อนด้วยมัชฌัตตุเปกขาเสียก่อน เพราะเมื่อเขาเดินทางมาสิ้น หนทางถึง ๑๒๐ โยชน์ โดยราตรีเดียวเท่านั้น จงระงับความเหน็ดเหนื่อย อันนั้นเสียก่อน เพราะเหตุนั้นพระศาสดา จึงตรัสห้ามถึง ๒ ครั้ง เขาทูลขอ ในครั้งที่ ๓ ประทับยืนอยู่ในระหว่างทางนั่นแล ได้ทรงแสดงธรรมโดย อเนกปริยายโดยนัยเป็นต้นว่า เพราะเหตุนั้นในข้อนี้ เธอพึงศึกษาอย่างนี้

พาหิยะ เมื่อเธอเห็นแล้ว จักเป็นสักว่าเห็น. พาหิยะนั้นขณะกำลังฟังธรรม ของพระศาสดาอยู่นั่นแล ได้ทำอาสวะทั้งปวงให้หมดสิ้นไปแล้ว ได้บรรลุ พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔. พาหิยะนั้น ในขณะที่ได้บรรลุพระอรหัตแล้วนั่นแล ระลึกถึงบุรพกรรมของตน เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนได้เคย ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อิโต สตสหสฺสมฺหิ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 288

คำนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง นั่นแล. ข้าพเจ้าจักกระทำการพรรณนาเฉพาะบทที่ยากเท่านั้น.

บทว่า หสนํ ปจฺจเวกฺขณํ ความว่า พิจารณาความสมบูรณ์ด้วย โสมนัส คือมีวรรณะ ของคนวัยหนุ่มวัยสาว ละเอียดอ่อนยิ่งนัก. บทว่า เหมยญฺโญปจิตงค์ ความว่า ผู้มีอวัยวะสรีระร่างกายอันบุญกรรมสร้างสรรให้ คล้ายกับเส้นทองคำ. บทว่า ปลมฺพพิมฺพตมฺโพฏฐํ ความว่า มีริมผีปากทั้ง ๒ ข้างเป็นสีแดงคล้ายกับผลตำลึงสุก. บทว่า เสตติณฺหสมํ ทิชํ ความว่า มีฟัน เสมอคล้ายกระทำการคัคด้วยเครื่องคัคเหล็กและโลหะอันคมด้วยหินลับมีดชั้นดี ทำให้เสมอ. บทว่า ปีติสมฺผุลฺลิตานนํ ความว่า มีใบหน้าเบิกบานด้วย ดีด้วยปีติ คือมีหน้าแจ่มใสเช่นกับพื้นกระจก. บทว่า ขิปฺปาภิญฺญสฺส ภิกฺขฺโน ความว่า แห่งภิกษุผู้สามารถเพื่อจะตรัสรู้ได้โดยพิเศษยิ่งโดยเร็วพลัน คือ ใน ขณะที่ยกธรรมขึ้นแสดงเท่านั้น. บทว่า สคฺคํ อคํ สภวนํ ยถา ความว่า เรา ได้ไปสูโลกสวรรค์ซึ่งคล้ายกับบ้านเรือนของตนฉะนั้น. บทว่า น ตฺวํ อุปายมคฺคญฺญ ความว่า เธอมิใช่เป็นผู้รู้หนทางอันเป็นอุบายให้ได้บรรลุพระนิพพาน. บทว่า สตฺถุโน สทา ชินํ มีโยชนาว่า เราพ่ายแพ้ต่อความกำเริบ จักได้เห็นพระชินเจ้า ผู้มีพระพักตร์อันผ่องใสดุจพื้นกระจก ของพระศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดกาลทั้งปวง คือ จักออกไปเพื่อเข้าเฝ้า. บทว่า ทิเช อปุจฉึ กุหึ โลกนนฺทโน ความว่า เราได้ถามพวกผู้เกิดสองครั้ง คือพราหมณ์ ได้แก่ พวกภิกษุว่า พระศาสดาผู้ทรงกระทำให้ชาวโลกเลื่อมใส ประทับ อยู่ ณ ที่ไหน. บทว่า สโสว ขิปฺปํ มุนิทสฺสนุสฺสุโก ความว่า เป็นผู้มีความ พยายามอุตสาหะในการเห็นพระมุนีเจ้า คือ ในการเห็นพระตถาคตเจ้า ดุจ กระต่ายหมายจันทร์ ฉะนั้น ย่อมบรรลุโดยพลัน. บทว่า ตุวฏํ คนฺตฺวา คือไป โดยเร็วพลัน. บทว่า ปิณฺฑตฺถํ อปิหาคิธํ ความว่า อาศัยบิณฑบาตไม่ละโมบ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 289

ปราศจากความละโมบ ไม่กำหนัด ไม่มีตัณหา. บทว่า อโลลกฺขํ เชื่อมความ ว่า เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่เหลียวมองดูข้างโน้นข้างนี้ เสด็จเที่ยว ไปเพื่อบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีอันอุดม. บทว่า สิรินิยสงฺกาสํ ความว่า คล้ายกับที่อยู่อันงดงามด้วยสิริลักษณะและอนุพยัญชะ คือ เช่นกับเสาค่ายอัน ลุกโพลง. บทว่า รวิทิตฺติหรานนํ ความว่ามณฑลหน้ามุขอันลุกโชติช่วง คล้าย กับมณฑลพระอาทิตย์นี้รุ่งโรจน์ฉะนั้น. บทว่า กุปเถ วิปฺปนฏฺฐสฺส ความ ว่า ขอพระองค์จงเป็นสรณะ คือจงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ ผู้หลงทาง ปฏิบัติผิดในหนทางที่บัณฑิตติเตียน คือ ในหนทางที่มีอันตราย. คำว่า โคตม ความว่า พาหิยะย่อมร้องเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยพระโคตร. บทว่า น ตตฺก สกฺกา โชตนฺติ ความว่า หมู่ดาวมีประกายพรึกที่เรืองแสง เป็นต้น สมบูรณ์ด้วยรัศมีสุกเปล่งปลั่ง ย่อมไม่รุ่งโรจน์อับแสงไป. คำที่เหลือ มี เนื้อความง่ายทั้งนั้นแล. พาหิยะนั้น ครั้นได้ประกาศเรื่องราวที่ตนเคยได้ ประพฤติมาแล้วในกาลก่อนอย่างนั้นแล้ว จึงได้ทูลขอบรรพชากะพระผู้มีพระภาคเจ้าในขณะนั้นนั่นแล. และเขาถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า บาตร และจีวรของเธอมีครบแล้วหรือ จึงกราบทูลว่า ยังไม่ครบพระเจ้าข้า. ลำดับ นั้น พระศาสดาจึงตรัสกะเขาว่า ถ้าอย่างนั้น เธอจงไปแสวงหาบาตรและ จีวรมาเถิด แล้วก็เสด็จหลีกไป. ได้ทราบมาว่าเขาบำเพ็ญสมณธรรมมาสิ้น ๒ หมื่นปี กล่าวว่า ธรรมดาว่าภิกษุได้ปัจจัยทั้งหลายมาด้วยตัวเอง ไม่ห่วงใย ภิกษุรูปอื่น ตนเองเท่านั้นย่อมสมควรเพื่อจะใช้สอยเอง ดังนี้แล้ว จึงไม่ได้ ทำการสงเคราะห์ด้วยบาตรหรือจีวรแม้แก่ภิกษุรูปหนึ่งเลย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า บาตรและจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ จักไม่เกิดขึ้นแก่เราแน่ จึงมิได้ประทานการบรรพชาด้วยเอหิภิกขุ. อมนุษย์ผู้มีเวรกันในกาลก่อน เข้า สิงในร่างของโคแม่ลูกอ่อนตัวหนึ่ง ขวิดเขาเข้าที่โคนขาข้างซ้าย นำเขาผู้

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 290

กำลังแสวงหาบาตรและจีวร ซึ่งฉุดดึงเอาท่อนผ้าออกจากกองหยากเยื่อแม้นั้น ให้ถึงความสิ้นชีวิตไป. พระศาสดา เสด็จจาริกไปบิณฑบาตแล้วทรงกระทำ ภัตรกิจเสร็จแล้ว ขณะกำลังเสด็จออกพร้อมกับพวกภิกษุมากรูป ได้ทอด พระเนตรเห็นร่างของพาหิยะ ซึ่งฟุบจมกองหยากเยื่อแล้ว ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงประคองพาหิยทารุจิริยะนี้ไป ดังนี้ แล้ว ประทับ ยืนที่ประตูเรือนแห่งหนึ่ง ทรงสั่งพวกภิกษุว่า จงนำร่างนี้ขึ้นเตียงนำออก ไปจากประตูเมืองแล้ว ให้ทำการฌาปนกิจ เก็บเอาธาตุไว้ก่อเป็นสถูป. พวกภิกษุเหล่านั้นช่วยกันก่อสร้างสถูปบรรจุพระธาตุไว้ที่หนทางใหญ่ แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ได้กราบทูลให้ทรงทราบถึงการงานที่คนได้ทำเสร็จ แล้ว แต่นั้นมาในท่ามกลางสงฆ์ก็เกิดถ้อยคำขึ้นว่า พระตถาคตเจ้า ทรงบังคับ ให้เก็บเอาพระธาตุบรรจุไว้ที่เจดีย์ หนทางไหนหนอ ที่พาหิยะนั้นได้บรรลุแล้ว เขาเป็นสามเณร หรือว่า ภิกษุหนอแล. พระศาสดาทรงทำเรื่องนั้น ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพาหิยะ ทารุจิริยะดำรงอยู่ในพระอรหัต แล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนาเพิ่มเติมขึ้นอีก. และพระศาสดาได้ตรัสบอกว่า พาหิยะนั้นปรินิพพานแล้ว จึงทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พาหิยะ ทารุจิริยะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเราผู้ตรัสรู้ได้ โดยพลันแล.

ลำดับนั้น พวกภิกษุจึงกราบทูลถามพระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ พระองค์ตรัสว่า พาหิยะ ทารุจิริยะบรรลุพระอรหัตแล้ว เขาได้บรรลุ พระอรหัตในเวลาใดพระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน เวลาที่เขาได้ฟังธรรมของเราแล้ว. พวกภิกษุทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 291

ก็พระองค์ตรัสแสดงธรรมแก่เขาเมื่อไร พระศาสดาตรัสว่า เมื่อเวลาที่เรา จาริกไปเพื่อภิกษา ยืนอยู่ระหว่างถนน. พวกภิกษุทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระองค์ประทับยืนอยู่ระหว่างถนนแสดงธรรมเพียงเล็กน้อย เขายังคุณ วิเศษให้บังเกิดขึ้น ได้ด้วยพระธรรมเพียงเท่านั้นได้อย่างไร. ลำดับนั้น พระศาสดา จึงตรัสกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าคิดว่า ธรรมของเราน้อยหรือมาก ด้วยว่าคาถา ๑,๐๐๐ คาถา ที่ประกอบด้วยบทอัน หาประโยชน์มิได้ แม้จะมีเป็นอเนกก็ตาม ย่อมไม่ประเสริฐเลย ส่วนว่า บทแห่งคาถา แม้บทเดียวที่ประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมประเสริฐแท้ ดังนี้ เมื่อจะทรงสืบต่ออนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

หากว่าคาถาที่ประกอบด้วยบทอันไม่มี ประโยชน์แม้มีตั้ง ๑,๐๐๐ คาถา บทแห่งคาถาเพียง คาถาเดียว ที่ตนได้ฟังแล้วสงบได้ ประเสริฐกว่า คาถาตั้ง ๑,๐๐๐ นั้น.

ในเวลาจบเทศนา สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรมาภิสมัยแล.

จบอรรถกถาพาหิยเถราปทาน