พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สีวลิเถราปทานที่ ๓ (๕๔๓) ว่าด้วยบุพจริยาของพระสีวลิเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 พ.ย. 2564
หมายเลข  41550
อ่าน  407

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 332

เถราปทาน

ภัททิยวรรคที่ ๕๕

สีวลิเถราปทานที่ ๓ (๕๔๓)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระสีวลิเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 332

สีวลิเถราปทานที่ ๓ (๕๔๓)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระสีวลิเถระ

[๑๓๓] ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระพิชิต มารพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้มีจักษุในธรรมทั้งปวง เป็นผู้นำ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ศีลของพระองค์ ใครๆ ก็คำนวณไม่ได้ สมาธิของพระองค์เปรียบ ด้วยแก้ววิเชียร ฌานอันประเสริฐของพระองค์ ใครๆ ก็นับไม่ได้ และวิมุตติของพระองค์ก็หา อะไรเปรียบมิได้

พระนายกเจ้าทรงแสดงธรรมในสมาคม มนุษย์ เทวดา นาคและพรหม ซึ่งเกลื่อนกล่น ไปด้วยสมณะและพราหมณ์

พระพุทธองค์ก็แกล้วกล้าในบริษัท ทรง ตั้งสาวกของพระองค์ ผู้มีลาภมากมีบุญ ทรงซึ่ง ฤทธิ์อันรุ่งเรือง ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 333

ครั้งนั้น เราเป็นกษัตริย์ในพระนครหังสวดี ได้ยินพระพิชิตมารตรัสถึงคุณเป็นอันมากของ พระสาวก ดังนั้น จึงได้นิมนต์พระชินสีห์พร้อม ทั้งพระสาวก ให้เสวยและฉันถึง ๗ วัน ครั้น ถวายมหาทานแล้วก็ได้ปรารถนาฐานันดรนั้น

พระธีรเจ้าผู้ประเสริฐกว่าบุรุษ ทอดพระเนตรเห็นเราหมอบอยู่แทบพระบาทในคราวนั้น จึงได้ตรัสพระดำรัสด้วยพระสุรเสียงอันดัง

ลำดับนั้น มหาชน ทวยเทพ คนธรรพ์ พรหมผู้มีฤทธิ์มากและสมณพราหมณ์ ผู้ใคร่จะฟัง พระพุทธพจน์ ต่างประณตน้อมถวายนมัสการ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษผู้เป็นอาชาไนย ข้าพระองค์ทั้งหลายขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้า แต่พระองค์ผู้เป็นอุดมบุรุษ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอนอบน้อมแด่พระองค์

พระมหากษัตริย์ได้ถวายทานกว่า ๗ วัน ข้าพระองค์ทั้งหลายประสงค์จะฟังผลของมหาทาน นั้น ข้าแต่พระมหามุนีขอได้ทรงโปรดพยากรณ์ เถิด

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงคอยสดับภาษิตของเรา ทักษิณาที่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 334

ตั้งไว้ในพระพุทธเจ้าผู้มีคุณหาประมาณมิได้พร้อม ทั้งพระสงฆ์ ใครเล่าจะเป็นผู้ถือเอามากล่าว เพราะทักษิณานั้น มีผลหาประมาณมิได้ อีกประการหนึ่งกษัตริย์ผู้มีโภคะมานี้ ทรงปรารถนา ฐานันดรอันอุดมว่า ถึงเราก็พึงเป็นผุ้ได้ลาภมาก เหมือนภิกษุชื่อสุทัสสนะฉะนั้นเถิด มหาบพิตร จักได้ฐานันดรนี้ในอนาคต

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ไปพระศาสดามี พระนามว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์ของพระเจ้า โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

กษัตริย์องค์นี้จักได้เป็นธรรมทายาทของ พระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรม เนรมิต จักเป็นสาวกของพระศาสดา นามชื่อว่า สีวลี

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีแล้ว และเพราะ การตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้พระโลกนายก พระนามว่าวิปัสสี ผู้มีพระเนตรงดงาม ทรงเห็น แจ้งธรรมทั้งปวง ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 335

ครั้งนั้น เราเป็นคนโปรดปรานของสกุล หนึ่งในพระนครพันธุมวดี และเป็นคนที่หมั่น ขยันขวนขวายในกิจการงาน ครั้งนั้น พระราชา พระองค์หนึ่งตรัสสั่งให้นายช่างสร้างพระอาราม ซึ่งปรากฏว่าใหญ่โต ถวายสมเด็จพระวิปัสสี ผู้แสวงหาประโยชน์ใหญ่

เมื่อการสร้างพระอารามสำเร็จแล้ว ชน ทั้งหลายได้ถวายมหาทานซึ่งเข้าใจว่าของเคี้ยว ชนทั้งหลาย ค้นคว้าหานมส้มใหม่และน้ำผึ้ง ไม่ได้ เวลานั้น เราถือนมส้มใหญ่และน้ำผึ้งไป เรือนของนายงาน ชนทั้งหลายที่แสวงหานมส้ม ใหญ่และน้ำผึ้งพบเราเข้า ของสองสิ่งเขาได้ให้ ราคาตั้งพันกหาปณะก็ยังไม่ได้ไป

ครั้งนั้น เราคิดว่าของสองสิ่งนี้เราไม่มี กะใจที่จะขายมัน ชนเหล่านี้ทั้งหมดสักการะพระตถาคต ฉันใด แม้เราก็จะทำสักการะในพระผู้นำ โลกกับพระสงฆ์ ฉันนั้นก็เหมือนกัน

ครั้งนั้น เราได้นำเอาไปแล้ว ผสมนม ส้มกับน้ำผึ้งป่าด้วยกัน แล้วถวายแด่พระโลกนาถ พร้อมทั้งพระสงฆ์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 336

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีแล้วและเพราะการ ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ต่อมา เราได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้มียศ ใหญ่ในพระนครพาราณสี ในครั้งนั้น เราเคือง ศัตรูจึงสั่งให้ทหารทำการล้อมประตูเมืองศัตรู ไว้

ประตูที่ถูกล้อมของพระราชาผู้มีเดชรักษา ไว้ได้เพียงวันเดียว เพราะผลของกรรมนั้น เรา จงต้องตกนรกอันร้ายกาจที่สุด

และในภพสุดท้ายในบัดนี้ เราเกิดใน โกลิยบุรี พระชนนีของเราพระนามว่าสุปปวาสา พระชนกของเรา พระนามว่ามหาลิลิจฉวี เรา เกิดในราชวงศ์เพราะบุญกรรม เพราะการล้อม ประตูเมืองให้ผล เราจึงต้องประสบทุกข์อยู่ใน พระครรภ์ของพระมารดาถึง ๗ ปี

เราต้องหลงทวารอยู่อีก ๗ วัน เพียบ พร้อมไปด้วยมหันตทุกข์ พระมารดาของเรา ต้องประสบทุกข์ด้วยเช่นนี้ ก็เพราะให้ฉันทะใน การล้อมประตูเมือง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 337

เราอันพระพุทธเจ้าทรงอนุเคราะห์ จึง ออกจากพระครรภ์พระมารดาโดยสวัสดีเราได้ออก บวชเป็นบรรพชิต ในวันที่เราคลอดออกมานั่นเอง

ท่านพระสารีบุตรเถระ เป็นอุปัชฌาย์ของ เราพระโมคคัลลานเถระผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ มีปรีชา มาก เมื่อปลงผมให้ ได้อนุศาสน์พร่ำสอนเรา เราได้บรรลุอรหัตเมื่อกำลังปลงผมอยู่ ทวยเทพ นาคและมนุษย์ ต่างก็น้อมนำปัจจัยเข้ามาถวาย เรา

เพราะเศษของกรรมที่เราเป็นผู้เบิกบาน บูชาพระผู้นำชน พิเศษพระนามว่าปทุมุตตระและ พระนามว่าวิปัสสี ด้วยปัจจัยทั้งหลายโดยพิเศษ เราจึงได้ลาภอันอุดมไพบูลย์ทุกแห่งหน คือ ใน ป่า ในบ้าน ในน้ำ บนบก

ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นำโลก ชั้นเลิศ พร้อมด้วยภิกษุสามหมื่นรูป เสด็จ ไปเยี่ยมท่านพระเรวตะ

พระพุทธเจ้าผู้มีพระปรีชาใหญ่ มีความ เพียรมาก เป็นนายกของโลก พร้อมด้วยพระสงฆ์ เป็นผู้อันเราบำรุงด้วยปัจจัยที่เทวดานำเข้า มาถวายเราได้เสด็จไปเยี่ยมท่านเรวตะแล้ว ภาย หลังเสด็จกลับมายังพระเชตวันมหาวิหารแล้วจึง ทรงแต่งตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 338

พระศาสดาผู้ทรงประพฤติประโยชน์แก่ สัตว์ทั้งปวง ได้ตรัสสรรเสริญเราในท่ามกลาง บริษัทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาสาวก ของเรา ภิกษุสีวลีเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายที่มี ลาภมา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสีวลีเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

จบสีวลิเถราปทาน

๕๔๓. อรรถกถาสีวลิเถรปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระสีวลีเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ นั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิด ในเรือนอันมีสกุล ได้ไปยังพระวิหารโดยนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง ยืนอยู่ท้ายบริษัท ก็กำลังฟังธรรม ในเห็นพระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระศาสดา ทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้มีลาภ แล้วคิดว่า ใน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 339

อนาคตกาลแม้เราก็ควรเป็นเช่นภิกษุรูปนี้บ้าง จึงได้นิมนต์พระทศพล ถวาย มหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน แล้ว ได้ตั้งความ ปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยกรรมดีที่สั่งสมไว้นี้ ข้าพระองค์ มิได้ปรารถนาสมบัติอื่นเลย หากแต่ในอนาคตกาล ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง แม้ข้าพระองค์พึงก็เป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้มีลาภ เหมือนเช่นภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่เลิศนั้นเถิด.

พระศาสดา ทรงเห็นว่าเขาไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์ว่าความ ปรารถนาของเธอนี้ จักสำเร็จในสำนักของพระโคดมพุทธเจ้าในอนาคตกาล แล้วเสด็จหลีกไป. กุลบุตรนั้น ได้กระทำกุศลไว้จนตลอดชีวิตแล้ว ได้เสวย สมบัติทั้ง ๒ ในเทวโลกและมนุษยโลก ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เขาได้เกิดในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลจากพันธุมดีนคร ใน สมัยนั้น ชนชาวพันธุมดีนคร ได้สนทนากันกับพระราชาแล้ว ได้ถวายทาน แด่พระทศพลเจ้า.

วันหนึ่ง คนทั้งหมดได้รวมเป็นพวกเดียวกัน เมื่อจะถวายทานก็ ตรวจดูว่า ความเลิศแห่งทานของพวกเรามีหรือไม่หนอ ไม่ได้เห็นน้ำผึ้ง และนมส้ม. คนเหล่านั้นจึงคิดว่าพวกเราจักนำมาจากที่ไหนหนอ จึงมอบ หน้าที่ให้พวกบุรุษยืนอยู่ที่หนทางจากชนบทเข้าพระนคร. ครั้งนั้น กุลบุตร คนนั้นถือเอาหม้อนมส้มมาจากบ้านของตน เดินทางไปยังเมือง ด้วยคิดว่า เราจักแลกนำอะไรบางอย่างมา ดังนี้ มองไปเห็นสถานที่อันมีความผาสุก คิดว่า เราจักล้างหน้า ชำระล้างมือและเท้าให้สะอาดก่อนแล้วจึงจักเข้าไป ดังนี้แล้วได้มองเห็นรังผึ้งอันไม่มีตัวผึ้งประมาณเท่าหัวไถ คิดว่า สิ่งนี้

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 340

เกิดขึ้นแล้วแก่เราด้วยบุญ จึงถือเอาแล้ว เข้าไปยังพระนคร. บุรุษที่ชาว พระนครมอบหมายหน้าที่ให้ เห็นเขาแล้วจึงถามว่า แน่ะเพื่อน ท่านนำน้ำผึ้ง เป็นต้นนี้มาเพื่อใคร. เขาตอบว่า นาย เรามิได้นำมาเพื่อใคร สิ่งนี้เราขาย. บุรุษนั้นจึงพูดว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงถือเอากหาปณะนี้แล้ว จงให้น้ำผึ้ง และนมส้มนั้นเถิด.

เขาคิดว่า น้ำผึ้งเป็นต้นนี้มิได้มีค่ามากสำหรับเราเลย แต่บุรุษนี้ย่อม ให้ราคามากโดยการให้ราคาครั้งเดียวเราจักพิจารณาดูต่อแต่นั้นเขาจึงกล่าวกะ ชาวเมืองนั้นว่า เราจะไม่ยอมให้ด้วยราคาเพียงกหาปณะเดียว. บุรุษชาวเมือง จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านรับกหาปณะ ๒ อันไป แล้วจงให้น้ำผึ้งเป็นต้น เถิด เขากล่าวว่า ถึงจะให้กหาปณะ ๒ อัน เราก็ไม่ยอมให้. บุรุษชาวเมือง เพิ่มกหาปณะขึ้นด้วยอุบายนั้น จนถึงพันกหาปณะ. เขาคิดว่า เราไม่ควร เพิ่มราคาขึ้น หยุดไว้ก่อน เราจักถามถึงการงานที่ผู้นี้จะพึงทำ. ลำดับนั้นเขา จึงกล่าวกะบุรุษชาวเมืองนั้นว่า น้ำผึ้งเป็นต้นนี้ มิได้มีค่ามีราคามากเลย แต่ ท่านให้ราคาเสียมากมาย ท่านจะรับน้ำผึ้งเป็นต้นนี้ไปเพราะจะทำอะไร. บุรุษ ชาวเมืองชี้แจงว่า ท่านผู้เจริญ ชาวพระนครในที่นี้ ได้ขัดแย้งกับพระราชา กำลังถวายทานแด่พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า มองไม่เห็นน้ำผึ้งเป็นต้น ทั้งสองนี้ ในทานอันเลิศ จึงใช้ให้เรามาแสวงหา ถ้าว่าจักไม่ได้น้ำผึ้งเป็นต้น ทั้งสองนี้ไซร้ พวกชาวเมือง ก็จักมีความพ่ายแพ้แน่ เพราะฉะนั้นเราให้ ทรัพย์พันกหาปณะแล้ว จะขอรับน้ำผึ้งเป็นต้นนี้ไป. เขากล่าวว่า ก็น้ำผึ้ง เป็นต้นนี้ สมควรแก่พวกชาวเมืองเท่านั้นหรือ หรือว่า สมควรเพื่อให้แก่ ชนเหล่าอื่นก็ได้. บุรุษชาวเมืองตอบว่า น้ำผึ้งเป็นต้นนี้ เรามิได้ห้ามเพื่อจะ ให้แก่ใคร. เขากล่าวว่ามีใครบ้างไหม ที่ให้ทรัพย์พันหนึ่งตลอดวันหนึ่งใน

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 341

ทานของพวกชาวพระนคร. บุรุษชาวเมืองตอบว่า ไม่มีดอกเพื่อน. เขากล่าวว่า น้ำผึ้งเป็นต้นนี้ ที่เราให้แก่พวกชาวเมืองเหล่านั้น ท่านจงรู้ว่ามีค่าราคาตั้งพัน เชียวนะ. บุรุษชาวเมืองตอบว่า ใช่ เรารู้. เขากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นจงไป ท่านจงบอกให้พวกชาวเมืองรู้ว่า บุรุษคนหนึ่ง ไม่ยอมให้สิ่งของเหล่านี้ด้วย มูลค่าสองพัน เขาประสงค์จะร่วมกับพวกท่านให้ด้วยมือของตนเอง พวกท่าน จึงหมดความกังวล เพราะเหตุแห่งสิ่งของทั้งสองอย่างนี้เถิด. บุรุษชาวเมือง กล่าวว่า ท่านจงเป็นพยานของผู้มีส่วนเป็นหัวหน้าในทานนี้ด้วยเถิด แล้วก็ ไป ส่วนกุลบุตรนั้น ได้เอากหาปณะที่ตนเก็บไว้เพื่อเสบียงเดินทางจากบ้าน ไปซื้อเครื่องเทศ ๕ อย่างแล้ว ทำให้ป่น นำเอาน้ำส้มมาจากนมส้มแล้ว คั้น รังผึ้งลงในนั้น ปรุงด้วยจุณเครื่องเทศ ๕ อย่างแล้ว ใส่ลงในใบบัวตระเตรียม สิ่งนั้นเรียบร้อยแล้ว ถือไปนั่งในที่ไม่ไกลพระทศพล. เมื่อมหาชนเป็นอันมาก นำเอาสักการะไป เขามองดูวาระที่จะถึงแก่ตนในลำดับ รู้ช่องทางแล้ว จึงเข้าเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักการะอันยากไร้นี้ เป็นของข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดอาศัยความอนุเคราะห์ข้าพระองค์ รับ สักการะนี้เถิด. พระศาสดาทรงอนุเคราะห์เขา ทรงรับสักการะนั้น ด้วยบาตร ศิลา อันท้าวมหาราชทั้ง ๔ ถวายแล้ว ได้ทรงอธิษฐานโดยประการที่เมื่อ ถวายแก่ภิกษุ ๖ ล้าน ๘ แสนรูป สักการะก็ไม่หมดไป.

กุลบุตรนั้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสร็จภัตรกิจเรียบร้อย แล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่งแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว วันนี้พวกชาวพันธุมดีนครนำ สักการะมาถวายพระองค์ ด้วยผลแห่งกายถวายสักการะนี้ แม้ข้าพระองค์พึง เป็นผู้เลิศด้วยลาภและเลิศด้วยยศ ในภพที่เกิดแล้วเกิดแล้วเถิด พระศาสดา

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 342

ตรัสว่า จงเป็นอย่างปรารถนาเถิดกุลบุตร แล้วทรงกระทำภัตตานุโมทนาแก่ เขา และชาวพระนคร แล้วก็เสด็จหลีกไป. กุลบุตรคนนั้น ทำกุศลจนตลอด ชีวิตแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลก และมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้ ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพระราชธิดาสุปปวาสา. จำเดิมแค่เวลาที่เขาถือปฏิสนธิ มา คนทั้งหลายย่อมนำเอาบรรณาการ ๕๐๐ สิ่งมาถวายแด่พระนางสุปปวาสา ทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า. ลำดับนั้นพระนางทรงยืนใช้ให้คนเอามือแตะกระเช้า พืช เพื่อจะทดลองบุญบารมีของเขา. ร้อยสลากจากพืชแต่ละเมล็ด ย่อมรวม ลงในพันสลาก. จากนาแต่ละกรีสก็เกิดข้าวมีประมาณ ๕๐ เกวียน ๖๐ เกวียน เมื่อพระราชธิดาเอาพระหัตถ์ไปแตะที่ประตูฉาง แม้ในเวลาที่ฉางยังเต็มเปี่ยม เมื่อคนทั้งหลายมารับเอาไป ก็เต็มขึ้นอีกด้วยบุญ. แม้จากหม้อที่เต็มเปี่ยมด้วย ภัตร ชนทั้งหลายกล่าวว่า เป็นบุญของพระราชธิดา ดังนี้แล้ว เมื่อให้แก่ใคร คนใคคนหนึ่ง ตลอดเวลาที่ยังไม่ดึงมือออก ภัทรก็ยังไม่พร่องไป. ขณะที่ ทารกยังอยู่ในท้องนั่นแล ได้ล่วงไปแล้ว ๗ ปี.

ก็เมื่อพระครรภ์แก่เต็มที่แล้ว พระนางได้เสวยทุกขเวทนามากตลอด ๗ วัน พระนางทูลเชิญพระราชสวามีมาแล้วตรัสว่า ก่อนตาย หม่อมฉันจักขอ ถวายทานขณะยังมีชีวิตอยู่. ดังนี้แล้วทรงส่งพระราชสวามีไปยังสำนักของพระ ศาสดาว่า ข้าแต่พระสวามี ขอพระองค์จงไป กราบทูลให้พระศาสดาทรงทราบ ความเป็นไปนี้แล้ว จงนิมนต์พระศาสดามา และพระศาสดา ตรัสพระดำรัส อันใด พระองค์จงกำหนดพระดำรัสนั้นให้ดี แล้วกลับมาบอกแก่หม่อมฉัน. พระสวามีนั้นเสด็จไปถึงแล้ว กราบทูลข่าวสาสน์ของพระนางให้พระศาสดาทรง ทราบแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางโกลิยธิดาฝากถวายบังคมมาที่ พระบาทของพระศาสดา. พระศาสดาทรงอาศัยความอนุเคราะห์พระนาง ตรัสว่า ขอพระนางสุปปวาสาโกลิยธิดา จงเป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเถิด จง

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 343

คลอดบุตรที่หาโรคมิได้เถิด. พระสวามีนั้น ทรงฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ก็ถวาย บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มุ่งตรงไปยังบ้านของตน. สัตว์ผู้มาบังเกิดใน ครรภ์ได้คลอดออกจากท้องของพระนางสุปปวาสา ง่ายดายดุจเทน้ำออกจาก ธรมกรกฉะนั้น เรียบร้อยก่อนที่พระสวามีจะมาถึง ประชาชนที่มีมานั่งแวดล้อม มีน้ำตาคลอ เริ่มจะร้องไห้ ก็กลับเป็นหัวเราะร่าดีใจเมื่อพระสวามีของ พระนางกลับมาแจ้งข่าวสาสน์อันน่ายินดีให้ได้ทราบ. พระสวามีนั้น ทรงเห็น กิริยาท่าทางของคนเหล่านั้นแล้ว ทรงคิดว่า ชรอยว่าพระดำรัสที่พระทศพลตรัส แล้ว คงจักสำเร็จผลไปในทางที่ดีเป็นแน่. พระสวามีนั้น พอเสด็จมาถึงแล้ว ก็ตรัสถึงพระดำรัสของพระศาสดาแก่พระราชธิดา. พระราชธิดาตรัสว่า ความ ภักดีในชีวิตที่พระองค์นิมนต์พระศาสดาแล้วนั้นแหละ จักเป็นมงคล ขอพระองค์ จงไปนิมนต์พระทศพลตลอด ๗ วัน. พระราชสวามีทรงกระทำตามพระดำรัส ของพระนางแล้ว. ชนทั้งหลายได้ยังมหาทานให้เป็นไปแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วันแล้ว. ทารกนั้น เป็นผู้ทำจิตใจของหมู่ญาติที่ กำลังเร่าร้อนให้ดับสนิทคือทำให้กลายเป็นความเย็น เพราะเหตุนั้น หมู่ญาติ จึงตั้งชื่อเขาว่า สีวลี. ตั้งแต่เวลาที่ได้เกิดมาแล้ว ทารกนั้นได้เป็นผู้แข็งแรง อดทนได้ในการงานทั้งปวง (มีกำลังดี) เพราะค่าที่เขาอยู่ในครรภ์มานานถึง ๗ ปี. พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ ได้ทำการสนทนาปราศรัยกับเขาใน วันที่ ๗. แม้พระศาสดา ก็ได้ตรัสพระคาถานี้ไว้ว่า.

บุคคลใดล่วงพ้นหนทางลื่น หล่ม สงสาร โมหะได้ ข้ามฝั่งแล้ว มีความเพียรเพ่งพินิจไม่มี ความหวั่นไหว หมดความสงสัย ดับแล้วเพราะ ไม่ยึดมั่นถือมั่น เราเรียกบุคคลนั้นว่าเป็น พราหมณ์.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 344

ลำดับนั้น พระเถระได้กล่าวกะเด็กนั้นอย่างนี้วา เธอได้รับความ ทุกข์เห็นปานนี้ การบวชจะไม่ควรหรือ. เด็กคนนั้นตอบว่าเมื่อได้รับ อนุญาตก็จะพึงบวช ขอรับ. พระนางสุปปวาสา เห็นเด็กนั้นกำลังพูดกับ พระเถระ จึงคิดว่า ลูกของเรา กำลังพูดเรื่องอะไรกับพระธรรมเสนาบดี หนอแล จึงเข้าไปหาพระเถระถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ลูกชายของ ดิฉัน พูดเรื่องอะไรกับพระคุณเจ้า พระเถระพูดว่า เด็กนั่น พูดถึงความทุกข์ ในการอยู่ในครรภ์ที่ตนเองได้เสวยมาแล้ว แล้วพูดว่า กระผมได้รับอนุญาต แล้ว จักบวช. พระนางตรัสว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดีละ. ขอให้พระคุณเจ้าให้เขาบวชเถิด. พระเถระจึงนำเขาไปยังวิหารแล้ว ได้ให้ตจปัญจกกัมมัฏฐานแล้ว ก็ให้เขาบวช พร่ำสอนว่า สีวลีเอ๋ย! หน้าที่เกี่ยวกับโอวาท อย่างอื่นของเธอไม่มี เธอจงพิจารณา ถึงความทุกข์ที่เธอได้เสวยมาแล้ว ตลอด ๗ ปีเถิด. ท่านตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมจักได้รู้ถึงภาระของ ท่านเกี่ยวกับการบวชบ้าง เพื่อผมจักได้ทำตาม. ก็พระสีวลีนั้น ได้ดำรงอยู่ใน โสดาปัตติผล ในขณะที่เขาปลงมวยผมชั้นที่ ๑ ลง ได้ดำรงอยู่ในสกทาคามิผล ในขณะที่ปลงมวยผมชั้นที่ ๒ ลง ได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล ในขณะที่เขา ปลงมวยผมชั้นที่ ๓ ลง การปลงผมทั้งหมดได้อย่างเรียบร้อย และการกระทำ ให้แจ้งซึ่งพระอรหัตตผลได้มีแล้วในเวลาไม่ก่อนไม่หลังแล.

ต่อมา ได้มีถ้อยคำเกิดขึ้นในหมู่ภิกษุว่า โอ พระเถระถึงจะมีบุญ อย่างนี้ ก็ยังอยู่ในครรภ์ของมารดาถึง ๗ ปี ๗ เดือน แล้วยังอยู่ในครรภ์ หลงอีก ๗ วัน. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก เธอกำลังนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อพวกภิกษุกราบทูลให้ทรงทราบ แล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้ มิใช่กระทำกรรมไว้ในชาติ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 345

นี้เท่านั้นแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล ก่อนแต่พุทธุปบาทกาลนั่นแล กุลบุตรผู้นี้ ได้บังเกิดในราชตระกูลในกรุง พาราณสี พอพระราชบิดาสวรรคตแล้ว ก็ได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ ได้ ปรากฏว่าสมบูรณ์ด้วยสมบัติ ในคราวนั้นพระราชาในปัจจันตชนบทพระองค์ หนึ่ง ทรงดำริว่า เราจักยึดเอาราชสมบัติให้ได้ แล้วจึงเสด็จมาล้อมพระนคร เอาไว้ ได้ตั้งค่ายพักแรมแล้ว. ลำดับนั้น พระราชาได้มีสมานฉันท์เป็น อันเดียวกันกับพระราชมารดา สั่งให้ปิดประตูทั้ง ๔ ทิศ ตั้งค่ายป้องกันตลอด ๗ วัน ความหลงประตูได้มีแก่พวกคนที่จะเข้าไป และคนที่จะออกมาครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ประกาศธรรมในมิคทายวิหาร. พระราชาได้ทรง สดับแล้ว จึงทรงมีรับสั่งให้เปิดประตูเมืองแล. แม้พระเจ้าปัจจันตราชา ก็ทรง หนีไปแล้ว. ด้วยวิบากแห่งกรรมอันนั้น เขาจึงได้เสวยความทุกข์ในอบายมี นรกเป็นต้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ แม้จะได้บังเกิดในราชตระกูลก็ตาม ยังได้ เสวยความทุกข์เห็นปานนี้ร่วมกับพระราชมารดา. ก็ตั้งแต่เวลาที่ท่านได้บวช แล้ว ปัจจัย ๔ ย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุสงฆ์ตามปรารถนา. เรื่องในอดีตต้น ได้บังเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้.

ในกาลต่อมา พระศาสดาได้เสด็จไปยังพระนครสาวัตถี. พระเถระ ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักทดลองกำลังบุญของข้าพระองค์ ขอพระองค์จงประทานภิกษุให้ ๕๐๐ องค์เถิด. พระศาสดาตรัสว่าเธอจงพาไปเถิดสีวลี. พระสีวลีนั้นได้พา ภิกษุ ๕๐๐ องค์ไปแล้ว มุ่งหน้าไปยังหิมวันตประเทศ ถึงหนทางปากดง. เทวดาที่สิง อยู่ ณ ต้นนิโครธอันพระเถระนั้นเห็นแล้วเป็นครั้งแรก ได้ถวาย ทานแล้วตลอด ๗ วัน. เพราะเหตุนั้น พระเถระนั้นจึงกล่าวว่า :-

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 346

ท่านจงดูต้นนิโครธเป็นครั้งที่ ๑ ภูเขา บัณฑวะเป็นครั้งที่ ๒ แม่น้ำอจิรวดีเป็นครั้งที่ ๓ แม่น้ำสาครอันประเสริฐ เป็นครั้งที่ ๔ ภูเขาหิมวันต์เป็นครั้งที่ ๕ ท่านเข้าถึงสระฉัททันต์ เป็น ครั้งที่ ๖ ภูเขาคันธมาทน์เป็นครั้งที่ ๗ และที่อยู่ ของพระเรวตะ เป็นครั้งที่ ๘

ประชาชนทั้งหลาย ได้ถวายทานในที่ทุกแห่งตลอด ๗ วัน เท่านั้น. ก็ในบรรดา ๗ วัน นาคทัตตเทวราช ที่ภูเขาคันธมาทน์ ได้ถวายบิณฑบาต ชนิดน้ำนมวันหนึ่ง ได้ถวายบิณฑบาตชนิดเนยใสวันหนึ่ง ลำดับนั้นภิกษุสงฆ์ จึงกล่าวกะท่านว่า ผู้มีอายุ แม่โคนมที่เขารีดนมถวายแด่เทวราชนี้ มิได้ปรากฏ การบีบน้ำนมส้ม ก็มิได้ปรากฏ แน่ะเทวราช ผลนี้เกิดขึ้นแก่ท่านแต่กาลไร. เทวราชา ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผลนี้ เป็นผลแห่งการถวายสลากภัตรน้ำนม ในกาลแห่งพระกัสสปทศพล.

ในกาลต่อมา พระศาสดา ได้ทรงกระทำการต้อนรับพระขทิรวนิยเรวตเถระ. อย่างไร คือ ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร กราบทูลพระศาสดา ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นัยว่า พระเรวตะผู้เป็นน้องชายของข้าพระองค์ บวชแล้ว เธอจะพึงยินดียิ่ง (ในพระศาสนา) หรือไม่พึงยินดี ข้าพระองค์ จักไปเยี่ยมเธอ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่าพระเรวตะเริ่มทำความเพียร เจริญวิปัสสนา จึงทรงห้าม (พระสารีบุตร) ถึง ๒ ครั้ง ในครั้งที่ ๓ เมื่อ พระสารีบุตรทูลอ้อนวอนอีก ทรงทราบว่า พระเรวตะบรรลุพระอรหัตแล้ว จึงตรัสว่า สารีบุตร แม้เราเองก็จักไป เธอจงบอกให้พวกภิกษุได้ทราบด้วย.

พระเถระสั่งให้ภิกษุทั้งหลายมาประชุมกันแล้ว แจ้งให้ภิกษุทั้งหมดได้ ทราบด้วยคำว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดา ทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไป สู่ที่จาริก พวกท่านผู้มีความประสงค์จะตามเสด็จด้วย ก็จงมาเถิด. ในกาลที่

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 347

พระทศพลจะเสด็จไปเพื่อสู่ที่จาริก ชื่อว่าพวกภิกษุผู้ที่มักชักช้าอยู่ มีจำนวน น้อย โดยมากมีความประสงค์จะคามเสด็จมีจำนวนมากกว่า เพราะตั้งใจกันว่า พวกเราจักได้เห็นพระสรีระอันมีวรรณะดุจทองคำของพระศาสดา หรือว่า พวกเราจักได้ฟังพระธรรมกถาอันไพเราะ เพราะเหตุนั้น พระศาสดามีภิกษุ สงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จออกไปด้วยพระประสงค์ว่า จักเยี่ยมพระเรวตะ.

ณ ที่ประเทศแห่งหนึ่ง พระอานนทเถระถึงหนทาง ๒ แพร่ง แล้ว กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญตรงนี้มีหนทาง ๒ แพร่ง ภิกษุสงฆ์จะไปทางไหน พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสถามว่า อานนท์ หนทางไหน เป็นหนทางตรง. พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หนทางตรงมีระยะประมาณ ๓๐๐ โยชน์ เป็นหนทางที่มีอมนุษย์ ส่วนหนที่ อ้อมมีระยะทาง ๖๐ โยชน์ เป็นหนทางสะดวกปลอดภัย มีภิกษาดีหาง่าย. พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ สีวลีได้มาพร้อมกับพวกเรามิใช่หรือ. พระอานนท์ กราบทูลว่า ใช่ พระสีวลีมาแล้วพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น พระสงฆ์จงไปตามเส้นทางตรงนั้นแหละ เราจักได้ทดลองบุญของพระสีวลี. พระศาสดามีพระภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จขึ้นสู่เส้นทาง ๓๐ โยชน์ เพื่อจะ ทรงทดลองบุญของพระสีวลีเถระ.

จำเดิมแต่ที่ได้เสด็จไปตามหนทาง หมู่เทวดาได้เนรมิตพระนคร ในที่ทุกๆ โยชน์ ช่วยกันจัดแจงพระวิหารเพื่อเป็นที่ประทับ และที่อยู่แด่ ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. พวกเทวบุตรซึ่งเป็นดุจกรรมกรที่พระราชาทรงส่งไป ได้ถือเอาข้าวยาคูและของเคี้ยวเป็นต้นไป ถามอยู่ว่า พระผู้เป็นเจ้าสีวลีไปไหน ดังนี้แล้ว จึงไป. พระเถระให้ช่วยกันถือเอาสักการะ และสัมมานะแล้วไปเฝ้าพระศาสดา. พระศาสดา ได้ทรงเสวยร่วมกับภิกษุสงฆ์.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 348

โดยทำนองนี้แหละ พระศาสดาเมื่อจะทรงเสวยสักการะ เสด็จไปวันละโยชน์ เป็นอย่างสูงจนล่วงพ้นหนทางกันดาร ๓๐ โยชน์เสด็จถึงที่อยู่ของพระทิรวนิยเรวตเถระแล้ว. พระเถระทรงว่าพระศาสดาเสด็จมา จึงเนรมิตวิหารจำนวน เพียงพอแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขและเนรมิตพระคันธกุฏีที่ประทับ กลางคืนและประทับกลางวันแด่พระทศพล ด้วยฤทธิ์ ณ ที่อยู่ของตนนั่นแหละ แล้วออกไปทำการต้อนรับพระตถาคตเจ้า. พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ตามหนทางที่ประดับตกแต่งแล้ว. ครั้นเมื่อพระตถาคต เสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฎีแล้ว พวกภิกษุจึงค่อยเข้าไปยังเสนาสนะที่ถึงแล้วตามลำดับพรรษา. พวกเทวดาคิดว่า เวลานี้มิใช่เวลาอาหาร จึงได้นำเอาน้ำปานะ ๘ อย่างถวาย. พระศาสดา ทรงดื่มน้ำปานะร่วมกับพระภิกษุสงฆ์. เมื่อพระตถาคต เสวย สักการะและสัมมานะโดยทำนองนี้นั่นแหละ เวลาผ่านไปแล้วครึ่งเดือน

ลำดับนั้น ภิกษุผู้ไม่พอใจบางพวก นั่งแล้วในที่แห่งหนึ่งพากันยก เรื่องขึ้นสนทนากันว่า พระทศพล ตรัสว่า พระน้องชายแห่งอัครสาวกของ เราดังนี้ แล้วเสด็จมาเพื่อทอดพระเนตรภิกษุผู้เป็นช่างก่อสร้างเห็นปานนี้ พระเชตวันมหาวิหาร หรือว่า พระวิหารเช่นเวฬุวันวิหารเป็นต้น จักทำอะไร ในสำนักแห่งวิหารนี้ได้ ถึงภิกษุรูปนี้ ก็เป็นผู้ทำการก่อสร้างงานเห็นอย่างนี้ จักบำเพ็ญสมณธรรมอะไรได้. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงดำริว่า เมื่อเราอยู่ ในที่นี้นานไป สถานที่นี้จักกลายเป็นที่เกลื่อนกล่น ธรรมดาพวกภิกษุผู้อยู่ใน ป่า ต้องการความสงบเงียบมีอยู่ การอยู่ด้วยความผาสุก จักไม่มีแก่พระเรวตะแน่. แต่นั้นก็เสด็จไปสู่ที่พักกลางวันของพระเถระ. แม้พระเถระก็อยู่ เพียงผู้เดียวอาศัยแผ่นกระดานพาดยึดที่ท้ายจงกรม นั่งบนหลังแผ่นหินแล้ว ได้มองเห็นพระศาสดา เสด็จมาแต่ไกลเทียว จึงลุกขึ้นต้อนรับแล้ว.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 349

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเธอว่า เรวตะ สถานที่นี้มีเนื้อร้าย เธอได้ฟังเสียงช้างม้าเป็นต้นที่ดุร้ายแล้ว จะทำอย่างไร? พระเถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาว่าความยินดีในการอยู่ป่า บังเกิดขึ้นแล้วแก่ ข้าพระองค์ ก็เพราะได้ฟังเสียงของสัตว์เหล่านั้นแล. ณ สถานที่นั้นพระศาสดา ได้ตรัสถึงชื่อว่า อานิสงส์ในการอยู่ป่า ด้วยพระคาถา ๕๐๐ พระคาถาแต่ พระเรวตเถระ วันรุ่งขึ้นเสด็จไปบิณฑบาตในสถานที่ไม่ไกล ตรัสเรียก พระเรวตเถระมาแล้ว ได้ทรงกระทำพวกภิกษุผู้ที่กล่าวโทษพระเถระให้หลง ลืมไม้เท้า รองเท้า ทะนานน้ำมันและร่มแล้ว. พวกภิกษุเหล่านั้น พากัน กลับมาเพื่อนำบริขารของตนไป แม้จะย้อนไปตาเส้นทางที่มาแล้วก็ตาม แต่ เดินไปตามเส้นทางที่ประดับตกแต่งแล้ว แต่วันนั้น เดินไปตามทางขรุขระ ในที่นั้นต้งอนั่งยองๆ ต้องเดินเข้า. ภิกษุเหล่านั้นพากันเดินเหยียบย่ำกอไม้ พุ่มไม้ และหนาม ไปถึงสถานที่ที่ตนเคยอยู่ จำได้ว่าร่มของตนคล้องไว้ที่ ตอตะเคียนตรงนั้น ตรงนั้น จำได้ว่ารองเท้าไม้เท้าและทะนานน้ำมันอยู่ ตรงนั้น. ในตอนนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงทราบว่า ภิกษุรูปนี้มีฤทธิ์ จึงถือเอา บริขารของตน แล้วพากันพูดว่า สักการะเห็นปานนี้ ย่อมเป็นสักการะที่ พระเถระจัดแจงไว้เพื่อพระทศพล ดังนี้แล้ว จึงได้พากันไป.

ในเวลาที่พวกภิกษุพากันนั่งแล้วในเรือนของตน นางวิสาขาอุบาสิกา จึงเรียนถามพวกภิกษุที่ล่วงหน้ามาก่อนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สถานที่อยู่ของ พระเรวตะเป็นที่น่าจับใจไหมหนอ? พวกภิกษุกล่าวว่า ดูก่อนอุบาสิกา น่า จับใจ เสนาสนะนั้นมีส่วนเปรียบด้วยนันทวันและจิตตลดาวันแล. ต่อมานาง วิสาขาก็ถามพวกภิกษุผู้พากันมาภายหลังกว่าภิกษุเหล่านั้นบ้างว่า พระคุณเจ้า สถานที่อยู่ของพระเรวตะเป็นที่น่าพอใจไหม? ภิกษุเหล่านั้น ตอบว่า อย่า

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 350

ถามเลย อุบาสิกา สถานที่นั้นเป็นที่ไม่สมควรจะกล่าว ภิกษุรูปนั้น ย่อมอยู่ ในสถานที่ซึ่งมีแต่ที่แห้งแล้ง ก้อนกรวด ก้อนหิน ขรุขระและตอไม้เท่านั้น แล.

นางวิสาขา ได้ฟังถ้อยคำของพวกภิกษุผู้มาก่อนและมาหลังแล้ว คิด ว่า ถ้อยคำของภิกษุพวกไหนหนอเป็นความจริง จึงถือเอาของหอมและ ระเบียบดอกไม้ภายหลังภัตรไปสู่ที่บำรุงของพระทศพลเจ้า ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง กราบทูลถามพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุบางพวกพากันนินทาที่อยู่ของพระเรวตเถระ สถานที่อยู่นั้นเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนวิสาขา ที่อยู่จะเป็นสถานที่อยู่รื่นรมย์ หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่ว่า จิตของพระอริยะทั้งหลายย่อมยินดีในสถานที่ใด สถานที่ นั้นนั่นแหละชื่อว่าสถานที่รื่นรมย์ใจ ดังนี้แล้วจึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

พระอรหันต์อยู่ในที่ใด จะเป็นบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นย่อม เป็นภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ใจ.

ในกาลต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้าแล้ว ทรงสถาปนาพระเถระนั้นไว้ในตำแหน่งอันเลิศว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย พระสีวลีเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีลาภ.

ลำดับนั้น ท่านพระสีวลีเถระ ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับเอตทัคคะ แล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตนแล้ว เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศ ถึงเรื่องราวที่ตนได้เคยประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. ข้าพเจ้า จักกระทำการพรรณนาเนื้อความ เฉพาะบทที่ยากเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 351

บทว่า สีลํ ตสฺส อสงฺเขยฺย ความว่า ศีลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระพระองค์นั้น กำหนดนับไม่ได้ สิกขาบททั้งหลายที่ ตรัสไว้แล้ว อย่างนี้ว่า:-

สังวรวินัยเหล่านี้คือ จำนวน ๙ พันโกฏิ, ๑๘๐ โกฏิ, ๕ ล้าน และอื่นอีก ๓๖ พระสัม- พุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว คือ ทรงแสดงไว้แล้ว โดยมุขเปยยาล ในสิกขาวินัยสังวรแล.

อธิบายว่า ก็ศีลของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันใครๆ ไม่อาจจะกำหนด นับได้โดยสิ้นเชิง. บทว่า สมาธิวชิรูปโม ความว่า เพชรที่อยู่ ย่อมทำ การตัดรัตนะเช่น แก้วอินทนิล แก้วไพฑูรย์ แก้วมณี แก้วผลึก และเพชรตาแมว เป็นต้น ให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ ฉันใด สมาธิในโลกุตตรมรรคของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือย่อมแทง ย่อมทำลาย ย่อมตัดได้เด็ดขาดซึ่งธรรมทั้งหลายอันเป็นฝ่ายตรงกันข้ามและเป็นข้าศึก.

บทว่า อสงฺเขยฺยํ าณวรํ ความว่า หมู่แห่งพระญาน เช่น พระสยัมภูญาณและพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้นของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งสามารถ เพื่อจะรู้และแทงตลอดอริยสัจ ๔ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ และสังขตธรรมและ อสังขตธรรมทั้งหลายได้ อันบุคคลกำหนดนับไม่ได้ คือ ปราศจากการนับ โดยประเภทเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันเป็นต้น. บทว่า วิมุตฺติ จ อโนปมา ความว่าวิมุตฺติ ๔ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ไม่มีข้ออุปมา ปราศจากข้ออุปมา เพราะพ้นจากสังกิเลสทั้งหลาย อันใครๆ ไม่สามารถเพื่อจะอุปมาว่า เป็น เช่นกับสิ่งเหล่านี้. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสีวลิเถราปทาน