พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วังคีสเถราปทานที่ ๔ (๕๔๔) ว่าด้วยบุพจริยาของพระวังคีสเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 พ.ย. 2564
หมายเลข  41551
อ่าน  344

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 352

เถราปทาน

ภัททิยวรรคที่ ๕๕

วังคีสเถราปทานที่ ๔ (๕๔๔)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระวังคีสเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 352

วังคีสเถราปทานที่ ๔ (๕๔๔)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระวังคีสเถระ

[๑๓๔] ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้มีจักษุในธรรม ทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระศาสนาของพระองค์ วิจิตรไปด้วยพระอรหันต์ ทั้งหลายเหมือนคลื่นในสาคร และเหมือนดาวใน ท้องฟ้า พระพิชิตมารผู้สูงสุด อันมนุษย์พร้อม ทั้งทวยเทพ อสูรและนาคห้อมล้อม ในท่ามกลาง หมู่ชนซึ่งเกลื่อนกล่นไปด้วยสมณะและพราหมณ์

พระพิชิตมารผู้ถึงที่สุดโลก ทรงทำโลก ทั้งหลายให้ยินดีด้วยพระรัศมี พระองค์ยังดอก ปทุม คือเวไนยสัตว์ให้ชื่นบานด้วยพระดำรัส ทรง สมบูรณ์ด้วยเวสารัชชธรรม ๔ เป็นอุดมบุรุษ และ ความกลัวแลความยินดีให้เด็ดขาด ทรงถึงธรรม อันเกษม องอาจกล้าหาญ

พระผู้เลิศในโลกทรงปฏิภาณซึ่งฐานะของ ผู้เป็นโจกอันประเสริฐและพุทธภูมิทั้งสิ้น ไม่มี ใครจะทักท้วงได้ในฐานะไหนๆ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 353

เมื่อพระพุทธเจ้าผู้คงที่พระองค์นั้นบันลือ สีหนาทอันน่าสะพรึงกลัว ย่อมไม่มีเทวดามนุษย์ หรือพรหมบันลือตอบได้

พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้าในบริษัท ทรง แสดงธรรมอันประเสริฐ ช่วยมนุษย์พร้อมทั้ง เทวดาให้ข้ามวัฏสงสาร ทรงประกาศธรรมจักร

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสรรเสริญคุณ เป็นอันมากของพระสาวก ผู้ได้รับสมมติว่า เลิศ กว่าภิกษุผู้ที่มีปฏิภาณทั้งหลาย แล้วทรงตั้งท่าน ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์ชาวเมืองหังสวดี เป็นผู้ได้รับสมมติว่าเป็นคนดี รู้แจ้งพระเวททุก คัมภีร์ มีนามว่า วังคีสะ เป็นที่ไหลออกแห่งนัก ปราชญ์

เราเข้าไปเฝ้าพระมหาวีรเจ้าพระองค์นั้น สดับพระธรรมเทศนานั้นแล้วได้ปีติอันประเสริฐ เป็นผู้ยินดีในคุณของพระสาวก จึงได้นิมนต์ พระสุคต ผู้ทำให้โลกให้เพลิดเพลิน พร้อมด้วย พระสงฆ์ให้เสวยและฉัน ๗ วันแล้ว นิมนต์ให้ ครองผ้า.

ในครั้งนั้น เราได้หมอบลงแทบพระบาท ทั้งสองด้วยเศียรเกล้า ได้โอกาสจึงยืนประนม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 354

อัญชลีอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เป็นผู้ร่าเริงกล่าว สดุดีพระชินสีห์ผู้สูงสุดว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นที่ไหลออกแห่งนักปราชญ์ ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นฤาษีสูงสุด ข้าพระองค์ขอ นอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เลิศกว่า โลกทั้งปวง ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงทำความไม่มีภัย ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงย่ำยีมารข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงทำทิฏฐิให้ไหลออก ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงประทานสันติสุข ข้าพระองค์ขอนอบน้อม แด่พระองค์.

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงทำให้เป็นที่นับถือ ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ พระองค์เป็นที่พึ่งของชนทั้งหลายผู้ไม่มีที่พึ่ง ทรง ประทานความไม่มีภัยแก่คนทั้งหลายที่กลัว เป็น ที่คุ้นเคยของคนทั้งหลาย ที่มีภูมิธรรมสงบระงับ เป็นที่พึ่งที่ระลึกของคนทั้งหลายผู้แสวงหาที่พึ่ง ที่ ระลึก

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 355

เราได้ชมเชยพระสัมพุทธเจ้าด้วยคำกล่าว สดุดีมีอาทิอย่างนี้ แล้วได้กล่าวสรรเสริญพระคุณ อันใหญ่ จึงได้บรรลุคติของภิกษุผู้กล้าว่านักพูด

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปฏิญาณ ไม่มีที่สิ้นสุดได้ตรัสว่า ผู้ใดเป็นผู้เลื่อมใสนิมนต์ พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสาวก ให้ฉันสิ้น ๗ วัน ด้วยมือทั้งสองของตน และได้กล่าวสดุดีคุณของ เรา ปรารถนาตำแหน่งแห่งภิกษุผู้กล้ากว่านักพูด

ในอนาคตกาล ผู้นั้นจักได้ตำแหน่งนี้ สมดังมโนรถปรารถนา เขาจักได้เสวยทิพยสมบัติ และมนุษย์สมบัติมีประมาณไม่น้อย

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามี พระนามว่าโคดมซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้น พราหมณ์นี้จักได้เป็นธรรม ทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรส อันธรรมเนรมิต จักเป็นสาวกของพระศาสดามี นามชื่อว่า วังคีสะ

เราได้สดับพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้วเป็น ผู้มีความเบิกบาน มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุง พระพิชิตมารด้วยปัจจัยทั้งหลายในกาลครั้งนั้น จน ตราบเท่าสิ้นชีวิต

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 356

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น และเพราะ การตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้วได้ไป สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในภพสุดท้ายในบัดนี้ เราเกิดในสกุล ปริพาชก เมื่อเราเกิดในครั้งหลัง มีอายุได้ ๗ ปี แต่กำเนิด เราเป็นผู้รู้เวททุกคัมภีร์แกล้วกล้าใน วาทศาสตร์มีเสียงไพเราะ มีถ้อยคำวิจิตร ย่ำยี วาทะของผู้อื่น

เพราะเราเกิดที่วังคชนบท และเราเป็น ใหญ่ในถ้อยคำ เราจึงชื่อว่า วังคีสะ เพราะ ฉะนั้นถึงแม้ชื่อของเราจะเป็นเลิศ ก็เป็นชื่อสมมติ ตามโลก

ในเวลาที่เรารู้เดียงสาตั้งอยู่ในปฐมวัย เรา ได้พบท่านพระสารีบุตรเถระในพระนครราชคฤห์ อันรื่นรมย์

จบภาณวารที่ ๒๕

ท่านถือบาตร สำรวมดี ตาไม่ลอกแลก พูดแต่พอประมาณ แลดูเพียงชั่วแอก เที่ยว บิณฑบาตอยู่

ครั้นเราเห็นท่านแล้วก็เป็นผู้อัศจรรย์ใจ ได้กล่าวบทคาถาอันวิจิตร เป็นหมวดหมู่เหมือน ดอกกรรณิการ์ ที่ร้อยไว้แล้ว

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 357

ท่านบอกแก่เราว่าพระสัมพุทธเจ้าผู้นำ โลก เป็นศาสดาของท่าน ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตรเถระผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์นั้น ได้พูดแก่ เราเป็นอย่างดียิ่ง

เราอันพระเถระผู้คงที่ให้ยินดีด้วยปฏิภาณ อันวิจิตร เพราะทำถ้อยคำที่ปฏิสังยุตด้วยวิราคธรรมเห็นได้ยาก สูงสุด จึงซบศีรษะลงแทบเท้า ของท่านแล้วก็กล่าวว่า ขอได้โปรดให้กระผม บรรพชาเถิด ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรบุตรผู้มี ปัญญามาก ได้นำเราไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

เราซบเศียรลงแทบพระบาทแล้ว นั่งลง ในที่ใกล้พระศาสดา พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้ตรัสถามเราว่า ดูก่อน วังคีสะ ท่านรู้ศีรษะของคนที่ตายไปแล้วว่า จะ ไปสู่สุคติหรือทุคติด้วยวิชาพิเศษของท่านจริง หรือ

ถ้าท่านสามารถก็ขอให้ท่านบอกมาเถิด เมื่อเรากราบทูลว่า เป็นศีรษะของคนที่เกิดใน นรกและเทวดา

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นำของ โลกได้แสดงศีรษะของพระขีณาสพ ลำดับนั้น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 358

เราเหมดมานะ จึงได้ทูลอ้อนวอนขอบรรพชา ครั้นบรรพชาแล้ว ได้กล่าวสดุดีพระสุคตเจ้าโดย ไม่เลือกสถานที่ ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย พากันโพนทนาว่า เราเป็นจิตตกวี

ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าผู้ชั้นวิเศษได้ ตรัสถามเราเพื่อทดลองว่า คาถาเหล่านี้ย่อมแจ่มแจ้งโดยควรแก่คนทั้งหลายผู้ตรึกตรอง แล้วมิใช่หรือ

เราทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ข้าพระองค์ไม่ใช่นักกาพย์กลอน แต่ว่าคาถาทั้ง หลายแจ่มแจ้งโดยควรแก่เหตุแก่ข้าพระองค์

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนวังคีสะ ถ้ากระนั้นท่านาจงกล่าวคาถาสดุดีพระธีรเจ้าผู้เป็น พระฤาษีสูงสุดแล้ว พระพิชิตมารทรงพอพระทัย ในคราวนั้น จึงทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

เราดูหมิ่นภิกษุอื่นๆ ก็เพราะปฏิภาณอัน วิจิตร เราเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก จึงเกิดความสลดใจ เพราะเหตุนั้นได้บรรลุพระอรหัต

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ไม่มีใคร อื่นที่จะเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ที่มีปฏิภาณเหมือน ดัง วังคีสะภิกษุนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่าน ทั้งหลายจงทรงจำไว้อย่างนี้

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 359

กรรมที่เราได้ทำไว้ในกัปที่แสน ได้ แสดงแก่ผลแก่เราแล้วในอัตภาพนี้ เราหลุดพ้น จากกิเลส เหมือนลูกศรพ้นจากแล่งฉะนั้น กิเลส ทั้งหลายเราเผาเสียแล้ว

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน ทั้งหลายพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระวังคีสเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบวังคีสเถราปทาน

๕๔๔. อรรถกถาวังคีสเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระวังคีสเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ นั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิด ในตระกูลที่มีโภคะมากมาย ในหังสวดีนคร เจริญวัยแล้วได้ไปยังพระวิหาร พร้อมกับชาวพระนคร ผู้กำลังเดินไปเพื่อฟังธรรม ขณะ กำลังฟังธรรม ได้ เห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวก ภิกษุผู้มีปฏิภาณแล้ว ได้บำเพ็ญกรรมที่ดียิ่งแด่พระศาสดาแล้ว ตั้งความ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 360

ปรารถนาไว้ว่า ในอนาคตกาล แม้เราก็พึงเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้มีปฏิภาณ บ้าง ดังนี้ ได้รับการพยากรณ์จากพระศาสดาแล้ว ก็บำเพ็ญแต่กุศลกรรมจน ตลอดชีวิต แล้ว ได้เสวยสมบัติทั้งสองในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกรุงสาวัตถี เพราะมี ปริพาชิกาเป็นมารดา ในกาลย่อมา จึงได้ปรากฏว่า ปริพพาชก และ มีชื่อว่า วังคีสะ เล่าเรียนไตรเพทแล้ว เพราะไตรเพทนั้นจึงทำอาจารย์ให้ ยินดี ได้ศึกษามนต์ชนิดที่สามารถจะรู้ได้ด้วยหัวกระโหลก เอาเล็บดีดหัว กระโหลกแล้ว ย่อมรู้ว่า สัตว์ผู้นี้ได้บังเกิดในกำเนิดโน้น.

พวกพราหมณ์ พากันคิดว่า อาชีพนี้ เป็นทางเครื่องเลี้ยงชีวิตของ พวกเรา จึงพาวังคีสะนั้นท่องเที่ยวไปในหมู่บ้าน ตำบลและตัวเมือง. วังคีสะ ประกาศให้ผู้คนนำเอาศีรษะ เฉพาะของพวกคนผู้ตายไปแล้ว ภายในขอบเขต ๓ ปีมาแล้ว เอาเล็บคิดแล้วกล่าวว่า สัตว์ผู้นี้ บังเกิดแล้วในกำเนิดโน้น ดังนี้แล้ว ให้ชนเหล่านั้นนำเอามาเพื่อกำจัดตัดความสงสัยของมหาชนเสียแล้ว ก็ให้หัวกระโหลกบอกถึงคติของตนของตน. ด้วยเหตุนั้น มหาชนจึงเลื่อมใส อย่างยิ่งในตัวเขา. เขาอาศัยมนต์อันนั้น ย่อมได้เงิน ๑๐๐ กหาปณะบ้าง ๑,๐๐๐ กหาปณะบ้าง จากมือของมหาชน พวกพราหมณ์ อาศัยวังคีสะพา กันเที่ยวไปแล้วตามความสบายใจ. วังคีสะได้สดับพระคุณทั้งหลายของพระศาสดาแล้ว ได้มีความประสงค์จะเข้าไปเฝ้าพระศาสดา. พวกพราหมณ์ พา กันห้ามว่า พระสมณโคดมจักเอามายาเข้ากลับใจท่านเสีย.

วังคีสะ ไม่เชื่อคำของพราหมณ์เหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดา กระทำการปฏิสันถารแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. พระศาสดาตรัสถามเขาว่า วังคีสะ เธอรู้ศิลปะอะไรบ้าง. วังคีสะกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 361

ใช่แล้ว ข้าพระองค์ รู้มนต์อย่างอนึ่งชื่อว่า มนต์สำหรับดีดหัวกระโหลก โดย การที่ข้าพระองค์ เอาเล็บดีดศีรษะแม้ของคนที่ตายแล้ว ภายในระยะเวลา ๓ ปี ก็จะรู้ถึงที่ที่เขาไปบังเกิดแล้วได้. ลำดับนั้น พระศาสดารับสั่งให้ภิกษุนำเอา ศีรษะของผู้ที่บังเกิดในนรก ๑ ศีรษะ ศีรษะของคนที่บังเกิดในหมู่มนุษย์ ๑ ศีรษะ ศีรษะของผู้บังเกิดในหมู่เทวดา ๑ ศีรษะ ศีรษะของผู้ปรินิพพาน แล้ว ๑ ศีรษะ ให้แสดงแก่วังคีสะนั้น. เขาดีดศีรษะที่ ๑ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สัตว์ผู้นี้ไปบังเกิดในนรก. พระศาสดาตรัสว่า ดีละ วังคีสะ เธอเห็นแล้วด้วยดี แล้วตรัสถามอีกว่า สัตว์ผู้นี้ ไปบังเกิดทีไหน? วังคีสะ กราบทูลว่า ในมนุษยโลกพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามอีกว่า สัตว์ผู้นี้ ไปบังเกิดที่ไหน วังคีสะกราบทูลว่า ในเทวโลกพระเจ้าข้า. วังคีสะ ได้กราบทูลที่บังเกิดของสัตว์ทั้ง ๓ ได้อย่างถูกต้อง. แต่เมื่อเอาเล็บดีดศีรษะ ของผู้ปรินิพพานแล้ว ก็ไม่เห็นเบื้องต้นและเบื้องปลาย. ลำดับนั้น พระศาสดา จึงตรัสถามเขาว่า วังคีสะไม่สามารถหรือ วังคีสะกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์คอยดูนะ ขอให้ข้าพระองค์พิจารณาดูก่อน ดังนี้แล้ว แม้จะพยายามร่ายมนต์กับไปกลับมา ก็ไม่สามารถจะรู้ศีรษะของพระขีณาสพ ด้วยมนต์ภายนอก. ลำดับนั้น เหงื่อได้ไหลออกจากศีรษะของเขาแล้ว. เขา ละอายใจได้แต่นิ่งเงียบไป. ลำดับนั้น พระศาสดา จึงได้ตรัสกะเขาว่า ลำบาก ใจนักหรือ วังคีสะ. วังคีสะ กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ใช่แล้ว ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะรู้ถึงที่บังเกิดของศีรษะนี้ได้ ถ้าพระองค์ทรงทราบ ขอจงตรัสบอก. พระศาสดาตรัสว่า วังคีสะ เรารู้ถึงศีรษะนี้ได้อย่างดี เรารู้ ยิ่งกว่านี้ ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถานี้ว่า.

ผู้ใดรู้การจุติและการอุบัติของสัตว์ทั้งปวงสัตว์ ได้ทั้งหมด เรากล่าวผู้นั้น ซึ่งไม่ขัดข้อง ไปดี

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 362

แล้ว รู้แล้วว่า เป็นพราหมณ์. เทวดา คนธรรพ์ และหมู่มนุษย์ ไม่รู้ทางไปของผู้ใด เรากล่าว ผู้นั้น ผู้สิ้นอาสวะ เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็น พราหมณ์ ดังนี้.

วังคีสะนั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นขอพระองค์ จงประทานวิชานั้นให้แก่ข้าพระองค์เถิด แล้ว แสดงความเคารพนั่งเฝ้า พระศาสดาแล้ว. พระศาสดาตรัสว่า เราจะให้แก่คนที่มีเพศเสมอกับเรา. วังคีสะคิดว่า เราควรทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเรียนมนต์นี้ให้ได้ จึง เข้าไปหาพวกพราหมณ์พูดว่า เมื่อเราออกบวชพวกท่านก็อย่าคิดอะไรเลย เราเรียนมนต์แล้ว จักได้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีปทั้งสิ้น แม้พวกท่านก็ จักมีชื่อเสียงไปกับเรานั้นด้วย. วังคีสะนั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว ทูลขอ บวชเพื่อต้องการมนต์. ก็ในเวลานั้นพระนิโครธกัปปเถระ อยู่ในสำนักของ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสั่งเธอว่า นิโครธกัปปะ เธอจงบวชวังคีสะผู้นี้ด้วยเถิด ดังนี้แล้ว ทรงบอก (สมถะ) กัมมัฏฐานคือ อาการ ๓๒ และวิปัสสนากัมมัฏฐานให้แล้ว. พระวังคีสะนั้น เมื่อกำลังสาธยาย กัมมัฏฐานคืออาการ ๓๒ อยู่ ก็เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว. พวก พราหมณ์เข้าไปหาวังคีสะนั้นแล้ว ถามว่า วังคีสะผู้เจริญ ท่านเล่าเรียนศิลปะ ในสำนักของพระสมณโคดมจบแล้วหรือ. พระวังคีสะตอบว่า ใช่ เราเล่า เรียนจบแล้ว. พวกพราหมณ์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงมา พวกเราจักไป กัน ประโยชน์อะไรด้วยการศึกษาศิลปะ. พระวังคีสะ ตอบว่า พวกท่านจง ไปกันเถิด เราไม่มีกิจที่จะพึงทำร่วมกับพวกท่าน. พวกพราหมณ์ กล่าวว่า บัดนี้ ท่านตกอยู่ภายใต้อำนาจของพระสมณโคดม พระสมณโคดมใช้มายา

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 363

กลับใจท่านเสียแล้ว พวกเราจักทำอะไรในสำนักของท่านได้ ดังนี้แล้ว จึง หลีกไปตามหนทางที่มาแล้วนั่นเอง. พระวังคีสะเจริญวิปัสสนาแล้วกระทำให้ แจ้งพระอรหัต.

พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้วอย่างนั้น ก็ระลึกถึงบุรพกรรมของตน เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วใน กาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. ข้าพเจ้าจัก พรรณาเฉพาะบทที่มีเนื้อความยากเท่านั้น. บทว่า ปภาหิ อนุรญฺชนฺโต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระพระองค์นั้น ทรงเปล่งปลั่ง รุ่งเรือง สวยงาม โชติช่วงด้วยพระรัศมี มีแสงสว่างด้วยฉัพพรรณรังสี มี สีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น. บทว่า เวเนยฺยปทุมานิ โส ความว่า พระอาทิตย์ คือพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ. ทรงยังดอกปทุมคือเวไนยชนให้ตื่น ให้ เบิกบานโดยพิเศษ ด้วยรัศมีแห่งพระอาทิตย์ กล่าวคือพระดำรัสของพระองค์ ได้แก่ ทรงกระทำให้ผลิผลได้ ด้วยการบรรลุอรหัตตมรรคแล. บทว่า เวสารชฺเชหิ สมฺปนฺโน ความว่า สมบูรณ์ พรั่งพร้อมคือประกอบพร้อมแล้ว ด้วยจตุเวสารัชชญาณ สมตามที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า:-

พระพุทธเจ้า ทรงแกล้วกล้าเป็นอย่างดี ในฐาน ๔ เหล่านี้คือ ในเมื่อมีอันตราย ในธรรม เครื่องนำออกจาวัฏฏะ ในความเป็นพระพุทธเจ้า และในการทำอาสวะให้สิ้นไปห ดังนี้.

บทว่า วาคีโส วาทิสูทโน ความว่า เป็นใหญ่คือเป็นประธานของพวก นักปราชญ์ คือ พวกบัณฑิต. พึงทราบว่า ควรจะกล่าวว่า วาทีโส แต่กล่าวไว้ อย่างนั้น เพราะทำ ท อักษรให้เป็น ค อักษร. ชื่อว่า วาทิสูทนะ เพราะทำ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 364

อรรถะของตนให้เป็นอรรถะอื่น คือ ให้ไหลออก ได้แก่ ทำให้ชัดเจน บทว่า มารมสนา มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า มารมสนะ เพราะถูกต้อง ลูบคลำ ทำลายมาร ๕ มีขันธมารเป็นต้นได้. บทว่า ทิฏฺสูทนา มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ทิฏฐิสูทนะ เพราะความเห็นตามทิฏฐิคือจริงตามที่โลกกล่าว ย่อม หลั่งไหลออก คือแสดงถึงความไหลออก. บทว่า วิสฺสามภูมิ สนฺตานํ ความว่า ภูมิเป็นที่พัก ที่เป็นที่หยุดอยู่ ได้แก่เป็นที่เข้าไปสงบของสัตว์ผู้ ต้องสืบต่อ ผู้ลำบากอยู่ในสงสารสาครทั้งสิ้น ด้วยการบรรลุมรรคมีโสดาปัตติ- มรรคเป็นต้น. บทว่า ตโตหํ วิหตารมฺโก ความว่า เพราะได้เห็นพระสรีระ ของพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราฆ่าความหัวดื้อ ทำความแข่งดีให้ พินาศไป กำจัดมานะเสียไม่มัวเมาแล้ว จึงอ้อนวอนขอการบวชแล้ว. คำที่ เหลือมีเนื้อความพอจะรู้ได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถาวังคีสเถราทาน