พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

โลมสติยเถราปทานที่ ๘ (๕๔๘) ว่าด้วยบุพจริยาของพระโลมสติยเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 พ.ย. 2564
หมายเลข  41555
อ่าน  428

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 396

เถราปทาน

ภัททิยวรรคที่ ๕๕

โลมสติยเถราปทานที่ ๘ (๕๔๘)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระโลมสติยเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 396

โลมสติยเถราปทานที่ ๘ (๕๔๘)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระโลมสติยเถระ (๑)

[๑๓๘] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็น (เผ่าพันธุ์) พรหม มีพระยศใหญ่ ประเสริฐกว่านักปราชญ์ ได้เสด็จอุบัติ ขึ้นแล้ว.

ครั้งนั้น เราและสหายชื่อว่า จันทนะ ได้บรรพชาในพระศาสนา บำเพ็ญกิจพระศาสนา ที่ท้ายร้านตลาด.

จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เข้าถึงสวรรค์ ชั้นดุสิตทั้งสองคน ครอบงำเทพบุตรที่เหลือใน ดุสิตนั้น ด้วยการฟ้อน การขับ การประโคม และด้วยองค์ ๑๐ มีรูปเป็นต้นอันเป็นทิพย์ อยู่ เสวยมหันตสุขตราบเท่าสิ้นอายุ

จุติจากดุสิตนั้นแล้ว จันทนเทพบุตรเข้า ถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนเราเกิดเป็นโอรสของ เจ้าศากยะในพระนครกบิลพัสดุ์.

ในคราวที่พระศาสดาผู้นายกของโลก อัน พระอุทายีเถระเชิญเสด็จมาถึงพระนครกบิลพัสดุ์ เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เจ้าศากยะ.


๑.ในบางสูตรเป็นพระโลมสกังคิยเถระ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 397

ครั้งนั้น พวกเจ้าศากยะมีมานะจัด ไม่ รู้จักคุณของพระพุทธเจ้า เป็นคนกระด้างเพราะ ชาติ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่นอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า

พระพิชิตมารผู้เป็นมุนี ทรงทราบความ ดำริของเจ้าศากยะเหล่านั้น จึงได้เสด็จจงกรมใน อากาศ ยังธุลีพระบาทให้ตกลง เหมือนเมฆยังฝน ให้ตกลงแล้วเหมือนเปลวไฟลุกโพรงอยู่ฉะนั้น

ทรงแสดงพระรูปที่ไม่กระสับกระส่าย แล้วทรงหายไปเสียอีก แม้พระองค์เดียวก็เป็น มากองค์ได้ แล้วกลับเป็นพระองค์เดียวอีก.

ทรงแสดงความมืดและแสงสว่าง ทรง ทำปาฏิหาริย์มากมาย ทรงปราบพวกพระญาติให้หมดมานะ

ขณะนั้นเองมหาเมฆอันตั้งขึ้นในทวีปทั้ง ๔ ยังฝนให้ตกลงแล้ว ก็ในครั้งนั้น พระพุทธเจ้า ได้ตรัสเทศนาเวสสันดรชาดก

คราวนั้น กษัตริย์เหล่านั้นทุกๆ พระองค์ กำจัดความเมาอันเกิดจากชาติได้แล้ว ถึง พระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ ในกาลนั้น พระเจ้า สุทโธทนะได้ตรัสว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน มีจักษุโดยรอบ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓ ที่หม่อมฉัน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 398

ถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระองค์ ก็ใน ครั้งพระองค์ประสูติ แผ่นดินไหว หม่อมฉันก็ ได้ถวายบังคม และครั้งที่เงาไม้หว้าไม่เอนเอียง หม่อมฉันก็ได้ถวายบังคมพระองค์

ครั้งนั้น เราเห็นพุทธนุภาพนั้นแล้ว เป็นผู้อัศจรรย์ใจจึงได้บรรพชา เป็นคนบูชา มารดา จึงได้อาศัยอยู่ในพระนครกบิลพัสดุ์นั่น เอง

ครั้งนั้น จันทนเทพบุตรได้เข้ามาหาเรา แล้ว ถามถึงนัยแห่งผู้มีราตรีเดียวเจริญทั้งย่อและ พิสดาร

ครั้งนั้น เราอันจันทนเทพบุตรตักเตือน แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดาผู้นำของนรชน ได้สดับ ภัทเทกรัตตสูตร เป็นผู้สลดใจ รักใคร่ป่า

ได้บอกลามารดาว่า จักอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว เมื่อถูกมารดาท่านปรามว่า ท่านเป็นคนละเอียด อ่อน

เราได้ตอบว่า เราจักทำหญ้าคา หญ้าเลา แฝก หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย ให้แหลก ละเอียดทั้งหมดด้วยอก พอกพูนวิเวก

ครั้งนั้น เราได้เข้าป่า นึกถึงคำสอนของ พระพิชิตมาร คือ ภัทเทกรัตตสูตร ได้บรรลุ พระอรหัตแล้ว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 399

ผู้มีปัญญาไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สิ่งใด ที่ล่วงไป แล้ว สิ่งนั้น ก็ละไปแล้ว และสิ่งใดที่ยังมาไม่ ถึง สิ่งนั้นก็ยังไม่ถึง

ก็บุคคลได้เห็นแจ้งธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะ หน้า ในที่นั้นๆ ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน บุคคลนั้นมาร้องแจ้งธรรมนั้นแล้ว ควรเจริญธรรม นั้นไว้เนืองๆ

ความเพียร ควรทำเสียในวันนี้แหละ เพราะใครเล่า จะพึงรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่งนี้ การผัดเพี้ยนกับพระยามัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีเลย

มุนีผู้สงบระงับ ย่อมกล่าวสรรเสริญ บุคคลผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเพียรเผากิเลส ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างนี้นั้น แลว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ ดังนี้แล้วได้บรรลุ อรหัต

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระโลมสติยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบโลมสติยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 400

๕๔๘. อรรถกถาโลมกังคิยเถราปทาน (๑)

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระโลมสกังคิยเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า อิมมฺหิ ภทฺทเก กปฺเป ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ นั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ท่านได้บังเกิดใน ตระกูลพราหมณ์ได้มีศรัทธาเลื่อมใสแล้ว. อีกคนหนึ่งชื่อว่า จันทนะ ได้เป็น สหายของเขา, พวกเขาทั้งสองคน ได้ฟังพระธรรมเทศนาในสำนักของพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใสบวชแล้ว ได้รักษาศีลจนตลอดชีวิต ได้เสวยทิพยสุข จนตลอดพุทธันดรหนึ่งแล้ว. ทั้งสองคนนั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ คนหนึ่ง ได้มาบังเกิดในตระกูลสักยะ อีกคนหนึ่ง ที่มีชื่อว่า จันทนะ ได้บังเกิดเป็น เทพบุตรอยู่ในภพดาวดึงส์. ลำดับนั้น ท่านได้มอบเห็นอิทธิปาฏิหาริย์ฝน โบกขรพรรษที่พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระกาฬุทายีผู้เลื่อมใสในสักยะตระกูล กราบทูลให้ทรงยินดีแล้ว ทรงกระทำการข่มมานะของพวกเจ้าสักยะ แสดง พระ.ธรรมคือเวสสันดรชาดกแล้ว มีใจเลื่อมใสบวชแล้ว ได้ฟังพระธรรม เทศนาภัทเทกรัตตสูตร ที่ตรัสไว้แล้วในมัชฌิมนิกาย อยู่ในป่า อนุสรณ์ถึง เทศนาคำสั่งสอนในภัทเทกรัตตสูตรแล้ว ส่งญาณไปตามลำดับของเทศนานั้น ตั้งใจบำเพ็ญกัมมัฏฐาน ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.

ครั้นท่านได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตนเกิด ความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่คนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาล


๑. บาลีว่า โลมสติเถราปทาน.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 401

ก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อิมมฺหิ ภทฺทเก กปฺเป ดังนี้. คำว่า กัป ในคำว่า กปฺเป นั้นมี ๔ อย่างเท่านั้นคือ สารกัป วรกัป มัณฑกัป และภัททกัป. ใน บรรดากัปทั้ง ๔ อย่างนั้น พระพุทธเข้าพระองค์เดียว ทรงอุบัติขึ้นในกัปใด กัปนี้ชื่อว่า สารกัป, พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์หรือ ๓ พระองค์ ทรงอุบัติขึ้น ในกัปใด กัปนี้ชื่อว่า วรกัป. พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ทรงอุบัติขึ้นในกัปใด กัปนี้ชื่อว่า มัณฑกัป. พระพุทะเจ้า พระองค์ทรงอุบัติขึ้นในกัปใด กัปนี้ ชื่อว่า ภัททกัป. แต่ในที่อื่นท่านกล่าวกัปไว้ ๕ อย่าง อย่างคือ:-

กัปมี ๕ อย่างคือ สารกัป มัณฑกัป สารมัณฑกัป วรกัป และภัททกัป. พระผู้นำโลก ย่อมทรงอุบัติขึ้น ในบรรดากัปทั้ง ๕ อย่างเหล่านี้ ตามลำดับคือ:-

พระพุทธเจ้า ๑ พระองค์ ทรงอุบัติขึ้น ในสารกัป พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ทรงอุบัติ ขึ้นในสารมัณฑกัป พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ ทรง อุบัติขึ้นในสารมัณฑกัป พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ ทรงอุบัติขึ้นในวรกัป พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ทรงอุบัติขึ้นในภัททกัป.

บรรดากัปเหล่านั้น กัปนี้ได้มีชื่อว่า ภัททกัป เพราะประดับไปด้วย พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ คือ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า พระโคดมพุทธเจ้า และพระเมตเตยยพุทธเจ้า. เชื่อม ความว่า เพราะฉะนั้น พระกัสสปพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงอุบัติขึ้นแล้วใน ภัททกกัปนี้. คำที่เหลือ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาโลมสกังคิยเถราปทาน