จูฬสุคันธเถราปทานที่ ๑๐ (๕๕๐) ว่าด้วยบุพจริยาของพระจูฬสุคันธเถระ
[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 406
เถราปทาน
ภัททิยวรรคที่ ๕๕
จูฬสุคันธเถราปทานที่ ๑๐ (๕๕๐)
ว่าด้วยบุพจริยาของพระจูฬสุคันธเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 406
จูฬสุคันธเถราปทานที่ ๑๐ (๕๕๐)
[๑๔๐] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้ามีพระนามว่า กัสสปะผู้เป็นพงศ์พันธ์พรหม ทรงพระยศ ใหญ่ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย ได้เสด็จ อุบัติขึ้นแล้ว
พระองค์สมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ มี พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ มีพระรัศมีล้อมรอบข้างละวา ประกอบด้วยข่ายรัศมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 407
ทรงยังสัตว์ให้ยินดีได้เหมือนพระจันทร์ แผดแสงเหมือนพระอาทิตย์ ทำให้เยือกเย็น เหมือนเมฆ เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือนสาคร
มีศีลเหมือนแผ่นดิน มีสมาธิเหมือนขุน เขาหิมวันต์ มีปัญญาเหมือนอากาศ ไม่ข้องเหมือน กับลมฉะนั้น
ครั้งนั้น เราเกิดในสกุลใหญ่ มีทรัพย์และ ธัญญาหารมากมาย เป็นที่สั่งสมแห่งรัตนะต่างๆ ในพระนครพาราณสี
เราได้เข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้เป็นนายกของ โลก ซึ่งประทับนั่งอยู่กับบริวารมากมาย ได้สดับ อมตธรรมอันนำมาซึ่งความยินดีแห่งจิต
พระพุทธองค์ทรงพระมหาปุริส ลักษณะ ๓๒ ประการ มีนักษัตรฤกษ์ดีเหมือนพระจันทร์ ทรงสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ บานเหมือนต้น พระยารัง
อันข่ายคือพระรัศมีแวดวง มีพระรัศมี รุ่งเรืองเหมือนภูเขาทอง มีพระรัศมีล้อมรอบ ด้านละวา มีรัศมีนับด้วยร้อยเหมือนอาทิตย์
มีพระพักตร์เหมือนทองคำเป็นพระพิชิต มารผู้ประเสริฐ เป็นเหมือนภูเขาอันให้เกิดความ ยินดี มีพระหฤทัยเต็มด้วยพระกรุณา มีพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 408
คุณปานดังสาคร มีพระเกียรติปรากฏแก่โลก เหมือนเขาสิเนรุซึ่งเป็นภูเขาสูงสุด มีพระยศ เป็น ที่ปลื้มใจ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นเดียวกับ อากาศ เป็นนักปราชญ์
มีพระทัยไม่ข้องในที่ทั้งปวงเหมือนลม เป็นผู้นำ เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์เหมือนแผ่นดิน เป็นมุนีพระองค์ที่ ๗
อันโลกไม่เข้าไปฉาบทาได้ เหมือนปทุม ไม่ติดน้ำฉะนั้น เป็นผู้เช่นกับกองไฟ เผาทำลาย พวกมีวาทะผิด
พระองค์เป็นเสมือนยาบำบัดโรค ทำให้ ยาพิษคือกิเลสพินาศ ประดับด้วยกลิ่นคือคุณ เหมือนภูเขาคันธมาทน์
เป็นนักปราชญ์ที่เป็นบ่อเกิดของคุณ ดุจ ดังสาครเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย ฉะนั้น และเป็นเหมือนม้าสินธพอาชาไนย เป็นผู้นำออก ซึ่งมลทินคือกิเลส
ทรงย่ำยีมารและเสนามารเสียได้ เหมือน นายทหารใหญ่ผู้มีชัยโดยเด็ดขาด ทรงเป็นใหญ่ เพราะรัตนะคือโพชฌงค์เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 409
ทรงเป็นผู้เยียวยาพยาธิคือโทสะเหมือนกับหมอ ใหญ่ ทรงเป็นศัลยแพทย์ผ่าฝีมือคือทิฏฐิ เหมือน ศัลยแพทย์ผู้ประเสริฐสุด
ครั้งนั้น พระองค์ทรงส่องโลกให้โชติช่วง อันมนุษย์และทวยเทพ สักการะเป็นดัง พระอาทิตย์ ส่องแสงสว่างให้แก่นรชน ฉะนั้น ทรงแสดง พระธรรมเทศนาในบริษัททั้งหลาย
พระองค์ทรงพร่ำสอนอย่างนี้ว่า บุคคลจะ มีโภคทรัพย์มากได้ เพราะให้ทาน จะเข้าถึงสุคติ ได้เพราะศีล จะดับกิเลสได้ เพราะภาวนา ดังนี้
บริษัททั้งหลายฟังเทศนานั้นอันให้เกิด ความแช่มชื่นมาก ไพเราะทั้งเบื้องต้นท่ามกลาง และที่สุด มีรสใหญ่ ประหนึ่งน้ำอมฤต เราได้ สดับพระธรรมเทศนาของพระพิชิตมาร จึงถึง พระสุคตเจ้าสรณะ นอบน้อมตราบเท่าสิ้นชีวิต
ครั้งนั้น เรานั้นได้เอาของหอมมีชาติ ๔ ทาพื้นพระคันธกุฎีของพระมหามุนีเดือนหนึ่ง ๘ วัน โดยตั้งปณิธานให้สรีระที่ปราศจากกลิ่นหอม ให้มีกลิ่นหอม ครั้งนั้น พระพิชิตมารได้ตรัส พยากรณ์เราผู้จะได้มีกลิ่นหอมว่า
นระใดเอาของหอมทาพื้นพระคันธกุฎี คราวเดียว ด้วยผลของกรรมนั้น นระนี้เกิดใน ชาติใดๆ จักเป็นผู้มีตัวหอมทุกชาติไป จักเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 410
ผู้เจริญด้วยกลิ่นคือคุณ จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะปริ- นิพพาน
เพราะกรรมที่ทำไว้ดีแล้ว และเพราะการ ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ก็ในภพสุดท้ายในบัดนี้ เราเกิดในสกุล อันมั่งคั่ง เมื่อเรายังอยู่ในครรภ์มารดา มารดา เป็นหญิงมีกลิ่นตัวหอม
และในเวลาที่เราคลอดจากครรภ์มารดา นั้น พระนครสาวัตถีหอมฟุ้งเหมือนกับถูกอบด้วย กลิ่นตัวหอมทุกอย่าง
ขณะนั้นฝนดอกไม้อันหอมหวล กลิ่น ทิพย์อันน่ารื่นรมย์ใจ และธูปมีค่ามาก หอมฟุ้ง ไป
เราเกิดในเรือนหลังใด เรือนหลังนั้น เทวดาได้เอาธูปและดอกไม้ล้วนแต่มีกลิ่นหอม และเครื่องหอมมาอบ
ก็ในเวลาที่เรายังเยาว์ ตั้งอยู่ในปฐมวัย พระศาสดาผู้เป็นสารถีฝึกนระ ทรงแนะนำบริษัท ของพระองค์ที่เหลือแล้ว
เสด็จมายังพระนครสาวัตถี พร้อมด้วย พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมด ครั้งนั้น เราได้ พบพุทธานุภาพจึงออกบวช
เราเจริญธรรม ๔ ประการ คือ ศีล สมาธิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 411
ปัญญา และวิมุตติอันยอดเยี่ยม แล้วบรรลุธรรม เป็นที่สิ้นอาสวะ
ในคราวที่เราออกบวช ในคราวที่เราเป็น พระอรหันต์ และในคราวที่เราจักนิพพาน ได้มี ฝนมีกลิ่นหอมตกลงมา
ก็กลิ่นสรีระอันประเสริฐสุดของเรา ครอบงำจันทน์อันมีค่า ดอกจำปาและดอกอุบล เสีย และเราไปในที่ใดๆ ก็ย่อมจะข่มขี่กลิ่น เหล่านี้เสียโดยประการทั้งปวง ฟุ้งไปเช่นนั้น เหมือนกัน
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้น ได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือก แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่
การที่เราได้มายังสำนักของพระพุทธเจ้า ของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุ แล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำ เสร็จแล้ว
คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอน ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระจูฬสุคันธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.
จบจูฬสุคันธเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 412
๕๕๐. อรรถกถาจูฬสุคันธเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้:-
อปทานของท่านพระจูฬสุคันธเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า อิมมฺหิ ภทฺทเก กปฺเป ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ดูก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ นั้นๆ ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ท่านได้บังเกิดใน ตระกูลซึ่งสมบูรณ์ด้วยสมบัติ ในกรุงพาราณสี บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ฟัง ธรรมในสำนักของพระศาสดาแล้ว นมัสการอยู่ทุกเมื่อ ถวายมหาทาน นำ เอาของหอมโดยชาติ ๔ อย่าง๑ ฉาบไล้พระคันธกุฎีพระผู้มีพระภาคเจ้าเดือน ละ ๗ ครั้ง. เขาได้ส่งความปรารถนาไว้ว่า ขอให้กลิ่นหอมอย่างดียิ่ง จง บังเกิดแก่สรีระของข้าพระองค์ในสถานที่ที่ได้เกิดแล้วเกิดแล้วเถิด. พระผู้มี พระภาคเจ้า ได้ตรัสพยากรณ์กะเขาแล้ว. เขาดำรงอยู่ในตลอดอายุ บำเพ็ญ บุญไว้เป็นอันมาก จุติจากอัตภาพนั้นไปบังเกิดในเทวโลก กระทำกลิ่นสรีระ ให้หอมฟุ้งทั่วกามาวจรโลก จึงได้ปรากฏชื่อว่า สุคันธเทวบุตร. เทพบุตร นั้น ได้เสวยสมบัติเทวโลกแล้ว จุติจากอัตภาพนั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ได้ บังเกิดในตระกูลที่มีโภคะมากมาย. ด้วยกลิ่นแห่งสรีระของมารดาเขา เรือน ทั้งสิ้นและพระนครทั้งสิ้น ได้มีกลิ่นหอมเป็นอันเดียวกัน. ในขณะเขาเกิดแล้ว สาวัตถีนครทั้งสิ้น ได้เป็นคล้ายกับผอบของหอม. ด้วยเหตุนั้น มารดาบิดา จึงได้ตั้งชื่อเขาว่า สุคันธะ. เขาได้ถึงความเจริญวัยแล้ว. ในคราวนั้นพระ
๑. กลิ่นหญ้าฝรั่น กลิ่นกฤษณา กลิ่นกำยาน กลิ่นบุปผชาติ กลิ่น ๔ อย่างนี้ เรียกว่า จตุชาติ คันธะ หรือเรียกว่า จตุชาติสุคันธะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 413
ศาสดาได้เสด็จถึงสาวัตถี ได้ทรงรับพระเชตวันมหาวิหาร. นายสุคันธะนั้น เห็นพระศาสดาพระองค์นั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส บวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔. ตั้งแต่วันที่ท่านเกิดขึ้นจนถึงปรินิพพาน ในระหว่างนี้ กลิ่นหอมเท่านั้นฟุ้งตลบไปในที่ทั้งหลายเช่นที่นอนและที่ยืนเป็นต้น. แม้พวกเทวดาก็ยังโปรดจุณทิพย์และดอกไม้หอมทิพย์ลงถวาย.
ก็พระเถระนั้น ครั้นได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตน เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อิมมฺหิ ภทฺทเก กปฺเป ดังนี้. คำนั้นทั้งหมดมีเนื้อความพอที่จะกำหนดได้โดยง่ายทีเดียว เพราะมีนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง และเพราะมีเนื้อความง่าย. ความต่างกันแห่งบุญและความต่างกันแห่งชื่ออย่างเดียวเท่านั้นเป็นความแปลกกันแล.
จบอรรถกถาจูฬสุคันธเถราปทาน
จบอรรถกถาภัททิยวรรคที่ ๕๕
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ลกุณกฏภัททิยเถราปทาน
๒. กังขาเรวตเถราปทาน
๓. สีวลีเถราปทาน
๔. วังคีสเถราปทาน
๕. นันทกเถราปทาน
๖. กาฬุทายีเถราปทาน
๗. อภยเถราปทาน
๘. โลมสติยเถราปทาน
๙. วนวัจฉเถราทาน
๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน
และในวรรคนี้มีคาถา ๓๑๖ คาถาจบภัททิยวรรคที่ ๕๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 414
รวมวรรค
๑. กณิการวรรค
๒. ผลทายกวรรค
๓. ติณทายกวรรค
๔. กัจจายนวรรค
๕. ภัททิยวรรค
บัณฑิตคำนวณคาถาไว้แผนกหนึ่ง รวมได้ ๙๘๔ คาถา และประกาศอปทานรวมได้ ๕๕๐ อปทาน พร้อมกับอุทานคาถา มีคาถา รวม ๖,๒๑๘ คาถา.
จบพุทธาปทาน ปัจเจกพุทธาปทาน และเถราปทานตั้งแต่เท่านี้