พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ยสเถราปทานที่ ๑ (๕๕๑) ว่าด้วยบุพจริยาของพระยสเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41559
อ่าน  414

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 415

เถราปทาน

ยสวรรคที่ ๕๖๑

ยสเถราปทานที่ ๑ (๕๕๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระยสเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 415

ยสวรรคที่ ๕๖ (๑)

ยสเถราปทานที่ ๑ (๕๕๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระยสเถระ

[๑๔๑] ครั้งเมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นพญานาค ได้นำพระพุทธเจ้า พระนามว่า สุเมธะ พร้อม ด้วยพระภิกษุสงฆ์ผู้ดำลงสู่มหาสมุทร สู่ภาคพื้นที่ อยู่ของข้าพเจ้า อันสำเร็จด้วยการเนรมิตเป็นอย่าง ดี มีสระโบกขรณี ที่เนรมิตเป็นอย่างดี มีเสียง นกจากพรากร่ำร้องขับกล่อมอยู่.

ภพที่อยู่นั้น มุงบังด้วยดอกมณฑารพ ด้วยดอกปทุมและดอกอุบล นที ก็ไหลผ่านไปใน ที่นั้นๆ มีท่าขึ้นลงเป็นที่รื่นรมย์ใจ.

คลาคล่ำไปด้วยหมู่ปลาและเต่า หมู่นก นานาพันธุ์ ก็โบยบินอยู่เบื้องบน นกยูงและนก กะเรียนก็ร่อนร้อง นกดุเหว่าก็ร่ำร้องซ้องสำเนียง เสนาะ.

นกเขา นกคับแค นกจากพราก นก เป็ดน้ำ นกกะทา นกสาลิกา นกกะปูด นก ออกก็มีอยู่ในที่นั้น.


๑. วรรคนี้ในบาลีไทย ขาดหายไป แต่ของฉบับภาษาอื่นและอรรถกถา จึงนำมาเพิ่ม ให้ครบ พร้อมทั้งเพิ่มเลขข้อต่อจากข้อ ๑๔๐ ไปตามลำดับ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 416

หมู่หงส์ และนกกระเรียน ส่งเสียงร้อง ดัง นกแสกสีน้ำตาลก็มีมาก ภพที่อยู่นั้น สมบูรณ์ ด้วยรัตนะทั้งประการ เช่นแก้วมณี แก้วมุกดา และแล้วประพาฬ.

ต้นไม้เล่า ก็สำเร็จด้วยทองทั้งสิ้น ลำต้น ต่างก็โอนเอนไปมา ส่องแสงแวววาวทั้งวันทั้งคืน ภพที่อยู่มีทุกสิ่งตลอดกาล.

มีนักดนตรีหญิงหกหมื่น ขับกล่อมทั้ง เย็นทั้งเช้า มีสตรีหนึ่งหมื่นหกพันนาง แวดล้อม บำรุงเราตลอดการ.

ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส มีใจเป็นสุข ถวาย บังคมพระพุทธเจ้า พระนามว่า สุเมธะ ผู้เป็น นายกของโลกผู้มีพระยศใหญ่นั้น ในกาลที่พระองค์เสด็จออกจากภพของข้าพเจ้า.

ครั้นข้าพเจ้าถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า แล้ว ทูลนิมนต์พระองค์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ พระสุเมธพุทธเจ้าผู้จอมปราชญ์ ผู้เป็นนายกของ โลก พระองค์นั้น ทรงรับนิมนต์แล้ว.

ครั้นแล้ว ทรงแสดงธรรมถลาแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ส่งพระมหามุนีเสด็จกลับแล้ว ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าแล้ว จึงกลับเข้าสู่ภพ ของข้าพเจ้า.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 417

ข้าพเจ้า บอกกับบริวารชนทั้งหมดที่ กำลังประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้นว่า ในเวลาเช้าวัน รุ่งขึ้น พระพุทธเจ้าจักเสด็จมายังภพของเรา.

พวกเราเหล่าใด ทั้งที่อยู่ในสำนักของ พระองค์แม้พวกเราเหล่านั้น ไม่ใช่จะได้ลาภโดย ง่ายนัก จึงพวกเราจักบูชาพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ ผู้เป็นพระศาสดา.

เมื่อเรา จัดตั้งภัตตาหารและน้ำฉันเสร็จ แล้ว จึงไปกราบทูลภัตกาล พระพุทธเจ้า ผู้เป็น นายกของโลกพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ผู้ชำนาญ ในฤทธิ์จำนวนหนึ่งแสนรูป จะเสด็จเข้ามาแล้ว.

ข้าพเจ้าได้ทำการต้อนรับพระองค์ ด้วย การประโคมด้วยดนตรีเครื่องห้า พระองค์ ผู้เป็น บุรุษสูงสุด ประทับนั่งบนตั่งอันสำเร็จด้วยทองคำ ล้วน.

ได้มีการมุงบังในเบื้องบน ครั้งนั้น อาสนะสำเร็จด้วยทองทั้งนั้น พัดวีชนี ก็พัด โบกพระองค์ผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์.

ได้อังคาส พระพุทธองค์ พร้อมด้วย พระภิกษุสงฆ์ ให้อิ่มหนำ ด้วยข้าวและน้ำอัน เพียงพอ แล้วได้ถวายคู่ผ้าแด่พระองค์ และพระภิกษุสงฆ์องค์ละคู่.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 418

พระสุเมธพุทธเจ้า พระองค์นั้น ผู้ควร รับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางพระภิกษุ สงฆ์แล้ว จะตรัสพระดำรัส จึงตรัสพระคาถา เหล่านี้ ว่า

บุคคลใด อังคาสเราด้วยข้าวและน้ำ ให้ เราเหล่านี้ทั้งหมดอิ่มพอแล้ว เราจะสรรเสริญผู้นั้น พวกท่านจงฟังเรากล่าวเถิด.

ตลอดกาล ๑,๘๐๐ กัป ผู้นั้น จักชื่นชม ยินดีอยู่ในเทวโลก จักชื่นชมอยู่ในความเป็น พระราชา ๑,๐๐๐ ครั้ง แล้วจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ.

เมื่ออุบัติในกำเนิดใด ก็อุบัติแต่ในกำเนิด เทวดาและมนุษย์เท่านั้น เครื่องมุงบังอันสำเร็จ ด้วยทองล้วน ก็จักกั้นอยู่เบื้องบนเขา.

ในกัปที่สามหมื่น พระมหาบุรุษ พระนามว่า โคตมะ โดยพระโคตร จักทรงสมภพใน พระราชวงศ์แห่งพระเจ้าโอกกากราช จักเป็น พระศาสดาในโลก.

เขาจักเป็นทายาทในธรรมของพระองค์ จักเป็นพระโอรส โดยธรรมเนรมิต เพราะกำหนด รู้อาสวะทั้งสิ้นแล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 419

เมื่อเขานั่งในท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์ เขาจักบรรลือสีหนาท มนุษย์ทั้งหลาย จักสร้าง ฉัตรเบื้องบนจิตกาธารแล้วฌาปนกิจบนจิตการธาร ภายใต้ฉัตร.

สามัญผลเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าโดยลำดับ บรรดากิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้เผาหมดสิ้นแล้ว เมื่ออยู่ในเรือนยอด หรือโคนต้นไม้ ข้าพเจ้าก็ ไม่มีความหวาดกลัวเลย.

ในกัปที่สามหมื่น ข้าพเจ้า ได้ถวาย ทานใดไว้ในกาลนั้น เพราะทานนั้นในกาลนี้ ข้าพเจ้ามิได้รู้จักทุคติเลย อันนี้เป็นผลของการ ถวายทานทั้งสิ้น.

ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายหมดสิ้นแล้ว ภพทั้งหลาย ข้าพเจ้าถอนขึ้นแล้ว ข้าพเจ้าตัด เครื่องผูกพันขาดสิ้นแล้ว เสมือนช้างตัดเครื่อง ผูกออกแล้วฉะนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้าได้เป็นผู้มาดีแล้วแล ข้าพเจ้า ได้บรรลุวิชชาสามในสำนักของพระพุทธเจ้า ของ เรา คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำ เสร็จแล้ว.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 420

ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ อภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้กระทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของ พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระยสเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ แล.

จบยสเถราปทาน

ยศวรรคที่ ๕๖

๕๕๑.อรรถกถาสเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๕๖ ดังต่อไปนี้:- อปทานของท่านพระยสเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มหาสนุทฺทํ โอคฺคยฺห ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธะ ท่านได้เป็นนาคราชผู้มี อานุภาพมาก ได้นำภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขไปยังภพของตนแล้ว ได้ถวายมหาทาน. ได้ถวายไตรจีวรที่มีค่ามากให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครอง ได้ถวายคู่แห่งผ้า และเครื่องสมณบริขารทั้งปวงอันมีค่ามากกะพระภิกษุรูปละ คู่. ด้วยบุญกรรมอันนั้น เขาได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในกาล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ได้เกิดเป็นบุตรเศรษฐี นำเอา

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 421

รัตนะ ๗ ประการบูชารอบต้นมหาโพธิ์. ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ได้บวชแล้วในพระศาสนา ได้บำเพ็ญสมณธรรม. ด้วยความ ประพฤติอย่างนี้เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเฉพาะแต่สุคติอย่างเดียว ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เป็นบุตรของเศรษฐีผู้มีสมบัติมาก ในกรุง พาราณสี ได้บังเกิดในท้องของธิดาเศรษฐี ชื่อนางสุชาดา ผู้ถวายข้าวปายาส ผสมน้ำมันแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าถึงชื่อ เขาชื่อว่า ยสะ เป็นผู้ละเอียดอ่อน อย่างยิ่ง ยสะนั้นมีปราสาท ๓ หลัง คือ หลังหนึ่ง สำหรับอยู่ในฤดูหนาว หลังหนึ่งสำหรับอยู่ในฤดูร้อน หลังหนึ่งสำหรับอยู่ในฤดูฝน. เขาอยู่ในปราสาท ฤดูฝน ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน มีนักดนตรีสตรีล้วนบำเรออยู่. มิได้ลงมา ยังพื้นปราสาทชั้นล่างเลย. เขาอยู่บนปราสาทประจำฤดูหนาวตลอด ๘ เดือน ปิดบานประตูหน้าต่างอย่างสนิทดี อยู่ประจำบนปราสาทนั้นนั่นแล. เขาอยู่ บนปราสาทประจำฤดูร้อน อันสมบูรณ์ด้วยบานประตูและหน้าต่างมากมาย อยู่ประจำบนปราสาทนั้นนั่นแล. กิจการงานที่เกี่ยวกับการนั่งเป็นต้น บน ภาคพื้นไม่มี เพราะมือและเท้าของเขาละเอียดอ่อน. เขาลาดพื้นให้เต็มไปด้วย ปุยนุ่นและปุยงิ้วเป็นต้นแล้ว จึงทำการงานบนหมอนที่รองพื้นนั้น. เมื่อความ เพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้ง ๕ กำลังบำเรอขับกล่อมอยู่ ยสกุลบุตรนอนหลับ ก่อนเขา คล้ายเทวบุตรผู้อยู่ในเทวโลกอย่างนั้นแล แม้เมื่อพวกบริวารชน นอนหลับ. และประทีปน้ำมันยังลุกโพลงอยู่ตลอดราตรี. ครั้นต่อมา ยสกุลบุตร ตื่นก่อนเขาทั้งหมด ได้พบเห็นบริวารชนของตนนอนหลับใหล บางนางก็มี พิณอยู่ที่รักแร้ บางนางก็มีตระโพนอยู่ที่ข้างลำคอ บางนางก็มีเปิงมางอยู่ที่ รักแร้ บางนางก็สยายผม บางพวกก็มีน้ำลายไหล บางพวกก็บ่นเพ้อละเมอ บางพวกก็นอนแบมือคล้ายซากศพในป่าช้า ครั้นได้มองเห็นแล้ว โทษจึงได้

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 422

ปรากฏชัดแก่ยสกุลบุตรนั้น จิตเบื่อหน่ายแล้วมีความดำรงมั่น. ลำดับนั้นแล ยสกุลบุตร จึงได้เปล่งอุทานว่า ผู้เจริญทั้งหลาย ที่นี่วุ่นวายหนอ ผู้เจริญ ทั้งหลาย ที่นี่ขัดข้องหนอ.

ลำดับนั้นแล ยสกุลบุตรจึงสวมรองเท้าทองคำ เข้าไปยังประตู นิเวศน์ พวกอมนุษย์เปิดประตูแล้วด้วยคิดว่า ใครๆ อย่าทำอันตรายแก่ยสกุลบุตร เพื่อจะได้ออกจากเรือนบวช ดังนี้. ลำดับนั้นแล ยสกุลบุตรจึงเข้า ไปยังประตูพระนคร พวกอมนุษย์เปิดประตูแล้วด้วยคิดว่า ใครๆ อย่าทำ อันตรายแก่ยสกุลบุตร เพื่อจะได้ออกจากเรือนไปบวชดังนี้. ลำดับนั้น ยสกุลบุตร จึงได้เข้าไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันแล.

ก็ในสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จลุกขึ้นในเวลาเช้ามืด เสด็จจงกรมในเวลาจงกรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นยสกุลบุตรแต่ไกลเทียว ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นแล้ว จึงเสด็จลงจากที่จงกรม ประทับนั่งบนบัญญัตตาอาสน์. ลำดับนั้นแล ยสกุลบุตร ได้เปล่งอุทานในที่ ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้เจริญทั้งหลาย ที่นี่วุ่นวายหนอ ผู้เจริญ ทั้งหลาย ที่นี่ขัดข้องหนอ ดังนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะยสกุลบุตรนั้นว่า ยสะ ที่นี่แลไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ยสะ เธอจงมานั่งเถิด เราจักแสดงธรรม ให้เธอฟัง. ลำดับนั้นแล ยสกุลบุตร ดีใจร่าเริงว่า เราได้ยินว่าที่ไม่ วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้องดังนี้แล้ว ดีใจ ถอดรองเท้าทองคำออกแล้ว เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วจงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว ก็นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษของกามทั้งหลาย ความต่ำช้าคือสังกิเลส

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 423

แล้วทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ แก่ยสกุลบุตรผู้นั่งแล้ว ณ ส่วนข้างหนึ่ง แล้วแล. ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงทราบถึงยสกุลบุตรนั้นว่า มี จิตสมควร มีจิตอ่อนโยน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตร่าเริง มีจิตแจ่มใส จึงได้ทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงเอง อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค. จิตอันปราศจากธุลี จิตอัน ปราศจากมลทิน คือธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแก่ยสกุลบุตร ณ ที่นั่งนั้นนั่นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีเหตุเป็นแดนเกิด สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับเป็นธรรมดา เปรียบเหมือนผ้าอันบริสุทธิ์ สะอาดปราศจากจุดดำ พึงควรรับน้ำย้อมที่ดีได้ ทันที.

ลำดับนั้นแล มารดาของยสกุลบุตรนั้น ไปยังปราสาท มองไม่เห็น ยสกุลบุตร จึงเข้าไปหาท่านเศรษฐีคหบดี พอเข้าไปหาแล้วจึงกล่าวกะท่าน เศรษฐีคฤหบดีนั่นว่า ท่านคฤหบดี ยสะ บุตรของท่านไม่เห็นปรากฏ. ลำดับ นั้นแล ท่านเศรษฐีคหบดี จึงส่งพวกทูตม้าเร็วไปทั้ง ๔ ทิศแล้ว ตนเอง ก็เข้าไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน. ท่านเศรษฐีคฤหบดี ได้พบแต่รองเท้า ทองคำถอดไว้ ครั้นเห็นแล้ว จึงได้ติดตามเข้าไป. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ ทอดพระเนตรเห็นเศรษฐีคฤหบดี ผู้มาแต่ที่ไกลทีเดียว ครั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงมีพระดำริว่า ไฉนหนอ เราพึง แสดงฤทธิ์ให้เศรษฐีคฤหบดีผู้นั่งอยู่แล้วในที่นี้มองไม่เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ แล้วในที่นี่ ดังนี้. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้แสดงฤทธิ์อย่าง พระดำริแล้ว. ลำดับนั้น เศรษฐีคฤหบดี จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี พระภาคเจ้า ได้เห็นยสกุลบุตรบ้างไหม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่าน

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 424

คฤหบดี เชิญนั่งก่อน ท่านนั่งแล้วในที่นี้ ก็จึงได้เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ แล้วในที่นี้ ต่อมาเศรษฐีคฤหบดี คิดว่า นัยว่าเรานั่งแล้วในที่นี้เท่านั้น จัก ได้เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่แล้วในที่นี้เป็นแน่ ดังนี้แล้ว จึงร่าเริงดีใจ ถวาย บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่งแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่เศรษฐีคฤหบดีผู้นั่งอยู่แล้ว ณ ที่สมควรนั้นแล ฯลฯ ท่านเศรษฐีคฤหบดี เป็นผู้มีความเชื่อในคำสั่งสอนของพระศาสดา โดยมิต้อง อาศัยผู้อื่นเป็นปัจจัย ได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระดำรัสน่ายินดียิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระดำรัสน่ายินดี ยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของ ที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือจุดไฟให้สว่างไสวในที่มืด ด้วยคิดว่า รูปทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่คนนัยน์ตาดี ดังนี้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ ฉันนั้นเช่นกัน ทรงแสดงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายแล้วแล. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมเจ้า และพระภิกษุ สงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น ไป ข้าพระองค์ขอถึงสรณะจนตลอดชีวิต. ท่านเศรษฐีนั้น ได้เป็นอุบาสก (ผู้กล่าวถึงสรณะ ๓) คนแรกในโลกแล.

ลำดับนั้นแล เมื่อพระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่บิดาของยสกุลบุตร ยสกุลบุตรได้พิจารณาถึงภูมิธรรมตามที่คนเห็นแล้ว ตามที่ตนทราบแล้ว จิต หลุดพ้นจากอาสาวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงมีพระดำริว่า เมื่อเราแสดงธรรมแก่บิดาของยสกุลบุตร ยสกุลบุตรก็พิจารณาถึงภูมิธรรมตามที่ตนเห็นแล้ว ตามที่ตนทราบแล้ว จิตหลุดพ้น

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 425

แล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น ยสกุลบุตรไม่สมควรเวียนมา เพื่อ ความเป็นคนเลว เพื่อบริโภคกามคุณ เหมือนคนครองเรือนในกาลก่อน ถ้ากระไรเราพึงระงับอิทธาภิสังขารนั้นเสีย.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงระงับอิทธาภิสังขารนั้นเสีย ท่านเศรษฐีคฤหบดีได้เห็นแล้วซึ่งยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่แล้วแล ครั้นได้เห็นแล้ว จึงได้กล่าวกะยสกุลบุตรนั้นว่า พ่อยสะเอ๋ย! มารดาของเจ้า กำลังได้ประสบ ความเศร้าโศกปริเทวนาการมาก เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาเถิด. ลำดับนั้นแล ยสกุลบุตรได้แลดูพระผู้มีพระภาคเจ้า. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ ตรัสกะท่านเศรษฐีคฤหบดีนั้นว่า ท่านคฤหบดี ท่านจะสำคัญยสกุลบุตรนั้น อย่างไรธรรมที่ยสกุลบุตรได้เห็นแล้ว ได้ทราบแล้ว ด้วยเสกขญาณ ด้วยเสกขทัสสนะเหมือนกับท่าน เมื่อยสกุลบุตรนั้น พิจารณาถึงภูมิธรรมตามที่ตน เห็นแล้ว ตามที่ตนทราบแล้ว จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น เขาเป็นผู้สมควรเพื่อจะเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เพื่อบริโภคกามคุณ เหมือนคนครองเรือนในกาลก่อนอย่างนั้นหรือ. ท่านเศรษฐีกราบทูลว่า มิใช่ อย่างนั้น พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรมที่ยสกุลบุตร ได้เห็นแล้ว ได้ทราบแล้วด้วยเสกขญาณ ด้วยเสกขทัสสนะ เหมือนกับท่าน แต่เมื่อยสกุลบุตรนั้น ได้พิจารณาถึงภูมิธรรมตามที่ตนเห็นแล้ว ตามที่คน ทราบแล้ว จิตก็หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น ท่านคฤหบดี ยสกุลบุตรแล เป็นผู้ไม่สมควรเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เพื่อบริโภค กามคุณ เหมือนกับคนครองเรือน ในกาลก่อนเลย. ท่านเศรษฐีคหฤบดี ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเป็นลาภของยศกุลบุตรแล้วหนอ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ยสกุลบุตรได้ดีแล้วหนอ จิตของยสกุลบุตรหลุดพ้นแล้วจาก อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 426

จงทรงรับนิมนต์เสวยภัตตาหาร ในวันพรุ่งนี้ โดยมียสกุลบุตรเป็นปัจฉาสมณะ เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพแล้ว. ลำดับนั้นแล ท่านเศรษฐีคฤหบดี ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกขึ้น จากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป. ลำดับ นั้นแล ยสกุลบุตร เมื่อเศรษฐีคฤหบดีหลีกไปไม่นาน ก็ได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จง เป็นภิกษุมาเถิด แล้วได้ตรัสว่า ธรรมเรากล่าวไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด. พระวาจานั้นแลได้เป็นอุปสมบท ของท่านผู้มีอายุนั้น.

ก็ครั้นท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศเรื่องราวที่ตนได้เคยประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า มหาสมุทฺทํ โอคฺคยฺห ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุทฺทํ มีความหมายว่า ชื่อว่า สมุทร เพราะอันบุคคลพึงแสดงชี้ด้วยดี ด้วยแหวนตรา อีกความหมายหนึ่งชื่อว่า สมุทร เพราะผุดขึ้น กระเพื่อม ชำระด้วยดี คือทำเสียงครั่นครื้น ย่อม เคลื่อนไหวเป็นลูกคลื่น, สมุทรนั้นด้วย ใหญ่ด้วย ชื่อว่า มหาสมุทร ซึ่งมหาสมุทรนั้น. บทว่า โอคฺคยฺห ความว่า จมลงแล้ว เข้าไปภายในคือเข้าไป ภายในมหาสมุทรนั้น ก็คำว่า โอคฺคยฺห ความว่าไหลท่วมเข้าไปในภายในคือ ไหลเข้าไปภายในมหาสมุทรนั้น. บทนั้นพึงทราบว่าเป็นทุติยาวิภัตติ ลงใน อรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ. บทว่า ภวนํ เม สุมาปิตํ ความว่า ชื่อว่า ภวนะ เพราะ เป็นที่มี ที่เกิด ที่อยู่อาศัย คือ เป็นที่เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยอิริยาบถ ๔ ในที่อยู่ นั้น วิมานนั้นเป็นของเรา ปราสาทนั้นคือนครที่เราสร้างไว้แล้วเป็นอย่างดี

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 427

ด้วยเรือนยอดมีปราการ ๕ แห่ง หมายความว่า สร้างเป็นอย่างดีด้วยกำลังของ ตน. บทว่า สุนิมฺมิตา โปกฺขรณี ความว่า ชื่อว่า โปกขรณี เพราะเป็นสระ ใหญ่ดี ถึง ไป เป็นไป สร้างไว้แล้วโดยครู่เดียว อธิบายว่า เพราะสร้างให้ มีพร้อมด้วย ปลา เต่า ดอกไม้ ทราย ท่าลง และน้ำหวานเป็นต้น. บทว่า จกฺกวากูปกูชิตา เชื่อมความว่า สระโปกขรณีนั้นมีนกจากพราก ไก่ป่า และ หงส์ เป็นต้นร้องกึกก้องบันลือเสียง. เบื้องหน้าต่อแต่นี้ไป การพรรณนาถึง แม่น้ำ ป่า สัตว์ปีกชนิดสองเท้าและสี่เท้า การได้พบเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สุเมธะ และการนิมนต์แล้ว ถวายทานตามลำดับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธะ ทุกประเด็นบัณฑิตพอจะกำหนดได้โดยง่ายทีเดียว.

ในบทว่า โลกาหุติปฏิคฺคหํ นี้ มีความหมายว่า เครื่องบูชาและ สักการะในโลก เรียกว่า โลกาหุติ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรับเครื่อง บูชาและสักการะของชาวโลก คือ กามโลก, รูปโลกอรูปโลก เพราะเหตุนั้น จึงรวมเรียกว่า โลกาหุติปฏิคฺคหํ อธิบายว่า ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธะ. เรื่องราวเกี่ยวกับการประทานพยากรณ์ และการบรรลุพระอรหัตตผลที่เหลือ บัณฑิตพอจะกำหนดรู้ได้โดยง่ายทีเดียว.

จบอรรถกถายสเถราปทาน