พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วิชชีปุตตเถราปทานที่ ๕ (๕๕๕) ว่าด้วยบุพจริยาของพระวัชชีปุตตเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41563
อ่าน  452

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 457

เถราปทาน

ยสวรรคที่ ๕๖

วิชชีปุตตเถราปทานที่ ๕ (๕๕๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระวัชชีปุตตเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 457

วิชชีปุตตเถราปทานที่ ๕ (๕๕๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระวัชชีปุตตเถระ

[๑๔๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มี พระรัศมีเป็นพัน เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ผู้อันใครๆ เอาชนะไม่ได้ ทรงออกจากนิโรธ แล้ว จะเสด็จไปสู่ที่โคจร.

ข้าพเจ้า มีผลไม้อยู่ในมือ เห็นพระศาสดาเสด็จเข้ามา มีจิตเลื่อมใส มีใจแช่มชื่น จึงถวายผลไม้หมดทั้งพวง.

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ ข้าพเจ้าได้ถวาย ผลไม้ใด ในครั้งนั้น ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้า ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 458

ข้าพเจ้าได้เผากิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้าเป็นผู้มาดีแล้วแล ฯลฯ คำสอน ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ทำเสร็จแล้ว.

ปฏิสัมภิทา ๔ ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระวัชชีปุตตเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบวัชชีปุตตเถราปทาน

๕๕๕. อรรถกถาวัชชีปุตตเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระวัชชีปุตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สหสฺสรํสี ภควา ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ นั้นๆ ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ ได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งกำลังเที่ยว ภิกขาจารอยู่ มีใจเลื่อมใสได้ถวายผลกล้วย ด้วยบุญกรรมนั้น เขาจึงได้ท่อง-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 459

เที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดเป็นลิจฉวี ราชกุมารในเมืองเวสาลี. เพราะท่านเป็นโอรสของเจ้าวัชชี จึงได้รับสมัญญา ว่า วัชชีบุตร. ท่านเป็นหนุ่ม ในเวลาที่ศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างเป็นต้น เพราะสมบูรณ์ด้วยเหตุ จึงเป็นผู้มีอัธยาศัยใคร่จะออกจากทุกข์เที่ยวไป ได้ ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธาบวชในสำนักของพระศาสดา บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ไม่นานเท่าไรนัก ก็ได้อภิญญา ๖. ก็ ท่านเป็นผู้ได้อภิญญา ๖ ในกาลต่อมา เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้วไม่นาน นัก จึงทำหมายกำหนดการเพื่อสังคายนาพระธรรม เมื่อพระมหาเถระทั้งหลาย ประชุมกันในที่นั้นๆ วันหนึ่ง ได้เห็นท่านพระอานนท์ซึ่งเป็นพระเสขบุคคล มีบริษัทใหญ่แวดล้อมกำลังแสดงธรรมอยู่. เมื่อจะทำความอุตสาหะให้เกิดขึ้น เพื่อบรรลุมรรคผลที่สูงขึ้นไปกว่าท่านพระอานนท์นั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า:-

โคตมะเอ่ย! ท่านจงเข้าไปยังโคนต้นไม้ ในป่า จงตั้งพระนิพพานไว้ในหทัย จงเจริญ ภาวนาและอย่าประมาท พูดซุบซิบนินทาคนอื่น จักทำประโยชน์เช่นไร ให้สำเร็จแก่ท่านได้เล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุกฺขมูลคหนํ ความว่า ป่าที่มีโคนต้นไม้ จริงอยู่ ป่าไม่มีโคนต้นไม้ก็มีอยู่ และโคนต้นไม้ที่ไม่มีในป่าก็มี. บรรดา บทเหล่านั้น ท่านแสดงถึงความไม่มีอันตรายคือลมและแดด เพราะเป็นสถานที่ อันสมบูรณ์ด้วยร่มเงา ด้วยศัพท์ว่า รุกขมูละ ท่านแสดงถึงความไม่มีอันตราย คือลม เพราะปราศจากสายลมและแสดงถึงความไม่เบียดเสียดด้วยฝูงชน ไว้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 460

ด้วย คหนะ ศัพท์. และท่านได้ประกอบบททั้งสองนั้นมุ่งถึงการบำเพ็ญเพียร ทางภาวนา. บทว่า ปสกฺกิย แปลว่าเข้าไปแล้ว. บทว่า นิพฺพานํ หทยสฺมึ โอปิย ความว่า ตั้งพระนิพพานไว้ในหทัย คือ ทำไว้ในจิตว่าเราปฏิบัติอย่างนี้แล้ว จะพึงบรรลุพระนิพพานได้. บทว่า ฌาย ความว่า จงเพ่งด้วยการเพ่งไตรลักษณะ คือ จงเจริญมรรคภาวนาอันประกอบด้วยวิปัสสนาภาวนา. ท่านเรียก พระธรรมภัณฑาคาริกโดยโคตรว่า โคตมะ. บทว่า มา จ ปมาโท ความว่า อย่าถึงความประมาทในกุศลธรรมทั้งปวงเลย. บัดนี้ ความประมาทเช่นใดมีแก่ พระเถระ เมื่อจะแสดงถึงการห้ามความประมาทนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กึ เต พิฬิพิฬิกา กริสฺสติ การพูดซุบชิบนินทาคนอื่นจักทำประโยชน์เช่นไรให้ สำเร็จแก่ท่านได้เล่า ดังนี้ไว้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พิฬิพิฬิกา ความ ว่า กิริยาที่ซุบซิบนินทาคนอื่น ความเป็นไปแห่งเสียงซุบซิบนินทาคนอื่น ไม่มีประโยชน์อย่างไร การบัญญัติของหมู่ชนอันเช่นกับเสียงซุบชิบนินทาคน อื่นก็อย่างนั้นแล. บทว่า กึ เต กรสฺสติ ความว่า การซุบซิบนินทาคนอื่นจัก ทำประโยชน์เช่นไรให้สำเร็จแก่ท่านได้เล่า เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้ให้โอวาท ว่า ท่านจงละการบัญญัติว่าคน จงขวนขวายในประโยชน์ของตนเถิด.

พระเถระได้ฟังคำนั้นแล้ว เกิดความสลดใจตามคำอันระบายออกซึ่ง ความหอมฟุ้งที่ท่านผู้อื่นได้กล่าวแล้ว ทำราตรีโดยมากให้ล่วงไปด้วยการจงกรมพยายามเจริญวิปัสสนา เข้าไปสู่ที่นอนและที่นั่ง พอนั่งบนเตียงเท่านั้น ก็คิดว่า เราจะนอนพักผ่อนสักเล็กน้อย ดังนี้แล้วจึงยกเท้าขึ้นจากพื้นพอศีรษะ ถึงหมอน ในขณะที่สรีระอยู่ในอากาศนั่นแล (อยู่ในท่าอิริยาบถ) ก็ได้ บรรลุพระอรหัต.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 461

ในกาลต่อมา พระวัชชีปุตตเถระเกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศ ถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า สหสฺสรํสี ภควา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสรํสี ซึ่งในที่นี้ควร จะกล่าวว่า อเนกสตสหสฺสรํสี บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้แล้วว่า สหสฺสรํสี ก็เพื่อสะดวกในการประพันธ์คาถา. คำที่เหลือมีเนื้อความพอที่ จะกำหนดได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถาวัชชีปุตตเถราปทาน