พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

รัฐปาลเถราปทานที่ ๑๑ (๕๖๑) ว่าด้วยบุพจริยาของพระรัฐปาลเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41569
อ่าน  552

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 496

เถราปทาน

ยสวรรคที่ ๕๖

รัฐปาลเถราปทานที่ ๑๑ (๕๖๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระรัฐปาลเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 496

รัฐปาลเถราปทานที่ ๑๑ (๕๖๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระรัฐปาลเถระ

[๑๕๑] ข้าพเจ้า ได้ถวายพญาช้างเชือก ประเสริฐ มีงาใหญ่งอนงามเสมือนงอนไถ แด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ เจริญที่สุดของโลก ผู้คงที่.

ข้าพเจ้า เป็นนายควาญช้าง นั่งอยู่บน คอช้าง อันตกแต่งให้งามด้วยเศวตฉัตร ได้จ่าย ทรัพย์แล้วให้สร้างสังฆารามทั้งหลังนั้น.

ข้าพเจ้าได้สละทรัพย์ ๕๔,๐๐๐ กหาปณะ ให้สร้างปราสาททั้งหลาย กระทำการถวายทาน ด้วยเครื่องไทยมีราคามาก แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระคุณใหญ่.

พระมหาวีรเจ้า ผู้สัพพัญญู ผู้เป็นบุคคล ผู้เลิศ ทรงยังมหาชนทั้งหมดให้ร่าเริงอยู่ ทรง แสดงอมตบทแล้ว.

พระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงกระทำธรรมนั้น ให้แจ้งแก่ข้าพเจ้า ประทับ นั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว ได้ตรัสพระคาถา เหล่านี้ ว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 497

ผู้นี้ ได้สละทรัพย์ ๕๔,๐๐๐ กหาปณะ กระทำปราสาทแล้ว เราจะกล่าวถึงวิบาก ท่าน ทั้งหลายจงฟัง เราจะกล่าววิบากนั้น

ผู้นี้สละทรัพย์ ๑๘,๐๐๐ กหาปณะ ให้ สร้างเรือนยอด เขาจักเกิดในวิมาน และวิมาน เหล่านั้น จักสำเร็จด้วยทองทั้งหลัง.

เขา จักเป็นจอมเทวดา ๕๐ ครั้ง จัก เสวยรัชสมบัติและเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๘ ครั้ง

ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ พระมหาบุรุษ จักทรง สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช ทรงมีพระนาม โดยพระโคตรว่า โคตมะ จักทรงเป็นพระศาสดา ในโลก.

ครั้นเขาจุติจากเทวโลก อันกุศลมูล ตักเตือนแล้ว ในกาลนั้น เขาจักเกิดในตระกูลที่ มั่งคั่ง มีโภคะมาก.

ภายหลัง เขาบวชแล้ว อันกุศลมูล ตักเตือนแล้ว จึงได้นามว่า รัฐปาละ จักได้เป็น สาวกของพระศาสดา.

เขา มีความเพียรอันตั้งไว้แล้ว เข้าไป สงบ ปราศจากอุปธิแล้ว ในเมื่อบริษัทยังมีอาสวะ อยู่ แต่เขาจักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ นิพพาน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 498

ข้าพเจ้าพยายามแล้วออกบวช ละทิ้ง โภคะและสมบัติทั้งหลาย ข้าพเจ้า ไม่มีความ รักใคร่ในโภคะสมบัติ อันเป็นเสมือนก้อนเขฬะ ฉะนั้น.

ข้าพเจ้าทรงไว้ซึ่งการนำธุระคือความเพียร ไป ซึ่งการนำไปซึ่งธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก โยคะและซึ่งกายในภพสุดท้าย ในพระศาสนาของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้เผาสิ้นแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้าเป็นผู้มาดีแล้วแล ฯลฯ คำสอน ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ปฏิสัมภิทา ๔ ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระรัฐปาละเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบรัฐปาลเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 499

๕๖๑. อรรถกถารัฐปาลเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระรัฐปาลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ นั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิด ในตระกูลคฤหบดีมหาศาล ในพระนครหังสาวดี ก่อนหน้าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงอุบัตินั่นแล พอเจริญวัยแล้ว บิดาล่วงลับดับชีวิตไป เองก็ดำรงเพศเป็นฆราวาสครองเรือน ได้เห็นทรัพย์สมบัติ ที่มีอยู่ในตระกูล วงศ์อันหาปริมาณมิได้ ตามที่คนผู้รักษาเรือนคลังรัตนะแสดงให้ทราบแล้ว จึงคิดว่า ปู่ย่า ตายาย เป็นต้นของเรา ไม่อาจเพื่อจะถือเอากองทรัพย์สมบัติ มีประมาณเท่านี้ ไปกับตนได้เลย แต่เราควรที่จะถือเอาแล้วจึงไป จึงได้ให้ มหาทานแก่หมู่คนทั้งหลายมีคนกำพร้าเป็นต้น. เขาได้บำรุงพระดาบสผู้ได้ อภิญญารูปหนึ่ง บุญนั้นจึงส่งเขาให้เป็นใหญ่ในเทวโลก เขาบำเพ็ญบุญ ทั้งหลายจนตลอดชีวิตแล้ว จุติจากอัตภาพนั้น ได้ไปเกิดเป็นเทวดา. เทวดา นั้น ได้ครอบครองเทวราชสมบัติในเทวโลกนั้น ดำรงอยู่จนตลอดอายุ จุติ จากอัตภาพนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นลูกชายคนเดียวแห่งตระกูล ซึ่งสามารถเพื่อจะ ทำรัฐที่แตกกันแล้วในโลกมนุษย์ให้ทรงอยู่ได้ ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ได้ทรงประกาศ พระธรรมจักรอันบวชให้เป็นไปแล้ว ทรงยังเวไนยสัตว์ ให้ได้บรรลุถึงภูมิ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 500

อันเกษม กล่าวคือมหานครได้แก่พระนิพพาน. ลำดับนั้น กุลบุตรผู้นั้น ได้บรรลุนิติภาวะแล้วโดยลำดับ วันหนึ่ง ได้ไปยังพระวิหารพร้อมกับ พวก อุบาสกอุบาสิกา ได้เห็นพระศาสดากำลังทรงแสดงธรรม มีจิตเลื่อมใส นั่ง อยู่ที่ท้ายบริษัทแล้ว.

ก็โดยสมัยนั้น พระศาสดาได้ทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง ที่เลิศกว่าพวกบรรพชิตผู้มีศรัทธาทั้งหลาย. เขาได้เห็นการสถาปนานั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส จึงปรารถนาเพื่อจะได้ตำแหน่งนั้นบ้าง ได้ทำมหาทานให้เป็นไป แล้วตลอด ๗ วัน ได้ทำปณิธานด้วยเครื่องสักการะใหญ่แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร. พระศาสดา ทรงเห็นว่าปณิธานนั้นจะ สำเร็จได้โดยหาอันตรายมิได้ จึงทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล ในพระศาสนา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โคคม เขาจักเป็นผู้เลิศกว่าพวกบรรพชิต ผู้มีศรัทธา. เขาถวายบังคมพระศาสดาและไหว้ภิกษุสงฆ์แล้ว จึงลุกขึ้นจาก อาสนะหลีกไป. เขาอยู่ในโลกมนุษย์นั้น ได้บำเพ็ญบุญไว้มากมายจนตลอด อายุแล้ว จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน กัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ไป ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ผุสสะ เมื่อพระราชโอรส ๓ พระองค์ ซึ่งเป็นพระภาดาต่างพระมารดากับพระศาสดา กำลังบำรุงปฏิบัติพระศาสดาอยู่ ตนเองได้ทำกิจเนื่องด้วยสหายกับพระราชโอรสเหล่านั้น เพื่อจะได้บำเพ็ญบุญ. เขาได้สั่งสมบุญกุศลนั้นไว้เป็นอันมาก ในภพนั้นอย่างนั้นแล้ว จึงได้ท่องเที่ยวไปในเฉพาะแต่สุคติภพเท่านั้น ใน พุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนของรัฐปาลเศรษฐี ในถุลลโกฏฐิตนิคม แคว้นกุรุ. เพราะเขาเกิดในตระกูลที่สามารถเพื่อจะทำรัฐที่แตกแล้วให้ดำรงอยู่ ได้ จึงได้มีชื่อตามลำดับวงศ์นั้นแลว่า รัฐปาล. เขามีบริวารมากมาย เติบโต

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 501

ถึงความเป็นหนุ่มตามลำดับ มารดาบิดาได้ให้แต่งงานกับหญิงสาวรูปงาม และ ได้ให้ดำรงอยู่ในยศอันยิ่งใหญ่ ได้เสวยสมบัติเช่นกับทิพยสมบัติ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปในชนบท. ในแคว้นกุรุ ได้เสด็จไปถึงบ้าน ถุลลโกฏฐิตะตามลำดับ. กุลบุตรชื่อว่า รัฐปาลได้สดับเหตุการณ์นั้นแล้วจึง เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ได้ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้ศรัทธา แต่ มารดาบิดาขออนุญาตให้ก็แสนยากลำบาก ต้องทำการอดอาหารถึง ๗ วัน จึงได้ เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลขอบวชแล้ว ได้บวชในสำนักของพระเถระรูปหนึ่ง ตามรับสั่งของพระศาสดา ท่านได้บำเพ็ญกัมมัฏฐานโดยโยนิโสมนสิการ เจริญวิปัสสนาแล้ว ได้บรรลุพระอรหัต.

ครั้นกาลต่อมา ท่านระลึกถึงบุรพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัส ใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนได้เคยประพฤติมาในกาลก่อน จึงกล่าวคำ เริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุนาโค โส มยา ทินฺโน ความว่า ในคราวที่เป็นมหาธนเศรษฐี ในสมัยที่สละเสบียง ทั้งหมดไปในทาน นาคที่ดี คือพญาช้าง ได้เป็นผู้อันเราถวายแล้ว. เมื่อจะ แสดงถึงพญาช้างนั้น ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อีสาทนฺโต ดังนี้. งาเท่า งอนรถ คือมีงาประมาณเท่างอนแห่งรถ, พญาช้างนั้นอันเราถวายแล้ว. บทว่า อุรุฬฺหวา ได้แก่ สามารถใช้เป็นพาหนะของพระราชา, หรือเหมาะ สมแก่พระราชา. บทว่า เสตจฺฉตฺโต ความว่า ประกอบด้วยฉัตรสีขาวตั้งไว้ เพื่อประดับประดา. บทว่า ปโสภิโต ความว่า สมบูรณ์ด้วยรูปโฉม อัน งดงามด้วยมีสายคาดอันห้อยย้อย. บทว่า สกปฺปโน สหตฺถิโป ความว่า ประกอบด้วยเครื่องอลังการสำหรับช้าง ประกอบด้วยนายควาญผู้รักษาช้าง. อธิบายว่า พญาช้างผู้เป็นเช่นนี้ เราได้ถวายแล้วแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 502

พระนามว่า ปทุมุตตระ. บทว่า มยา ภตฺตํ กาเรตฺวาน เธอมีความว่า เมื่อเราได้ช่วยกันสร้างพระวิหารแล้ว ได้ช่วยกันบำรุงนิตยภัตรแด่พวกภิกษุ ประมาณโกฏิรูปผู้จำพรรษาอยู่แล้ว ได้มอบถวายแด่พระมเหสีเจ้า. บทว่า ชลชุตฺตมนามโก ความว่า ชื่อว่า ชลชะ เพราะเกิดจากน้ำ, อันนั้นคืออะไร, คือดอกปทุม, อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระนามว่า ปทุมุตตระ เพราะมีนามเสมอกับดอกปทุมและเพราะเป็นผู้สูงสุด. คำที่เหลือในที่ ทั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถารัฐปาลเถราปทาน

จบอรรถกถายสวรรคที่ ๕๖

อรรถกถาอปทาน ชื่อว่า วิสุทธชนวิลาสินี เป็นอรรถกถาอปทาน ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวก และพระเถระ

จบบริบูรณ์เพียงเท่านี้แล.

นิคมนกถา

ขอมนุษยโลกทั้งหมดพร้อมทั้งเทวโลก จงทราบถึงอรรถกถาแห่ง อปทานนี้ ซึ่งบัณฑิตผู้ได้มีความฉลาดทำการอาราธนาโดยเฉพาะตั้ง ๗ เดือน ผู้แสวงหาโพธิสมภาร ผู้ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎก ได้นำมาแล้ว เพื่อตัดข่ม ด้วยคุณมากรอบด้าน ผู้ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎก ได้นำมาแล้ว เพื่อตัดข่ม และติชม ตัณหา มานะ และทิฏฐิเป็นต้น ของสัตว์ทั้งปวง มีพระอานันทเถระเป็นอาทิ ผู้เป็นประทีปในหมู่เถรวงศ์ ผู้มีคุณเช่นความมักน้อยเป็นต้น อยู่ในเกาะสิงหลแล.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 503

ด้วยกุศลกรรมนี้ ขอมลทินมีความโลภ เป็นต้น โรคมีโรคตาเป็นต้น ความทุกข์ต่างๆ ชนิด ภัยมีการทะเลาะเป็นต้น จนกลายเป็นได้ รับความทุกข์ ผู้ก่อการอันไม่เป็นประโยชน์มีโจร เป็นต้น ของปวงประชาในโลกนี้ จงพินาศไป.

ขอเวรและบาปธรรม ๕ ประการของ ข้าพเจ้า จงพินาศไปดุจฝนและลมกำจัดความร้อน ให้พินาศไปฉะนั้น ขอให้ข้าพเจ้าจงได้กำจัดความร้อน ให้พินาศไปฉะนั้น ขอให้ข้าพเจ้าจงได้ดำเนินถึง พระนิพพาน ด้วยหนทางอันประเสริฐคือมรรคมี องค์ ๘ ประการเถิด.

ขอให้ข้าพเจ้า จงย่ำยีทิฏฐิทั้งปวงและ ปาปธรรมมีราคะโทสะเป็นต้นได้ จงตัดสังสารวัฏฏ์ เข้าถึงสวรรค์และนิพพานเถิด. ในอาณาเขต ทั้งหมด คือตั้งแต่ภวัคคพรหมจนถึงในอเวจีนรก ขอสัตว์ทั้งปวง จงได้พากันประพฤติตามธรรม เถิด โลกทั้ง ๓ ก็จักได้มีความอบอุ่นแล.