พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นันทาเถรีอปทานที่ ๕ (๒๕) ว่าด้วยบุพจริยาของพระนันทาเถรี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41596
อ่าน  567

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 620

เถรีอปทาน

กุณฑลเกสวรรคที่ ๓

นันทาเถรีอปทานที่ ๕ (๒๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระนันทาเถรี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 620

นันทาเถรีอปทานที่ ๕ (๒๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระนันทาเถรี

[๑๖๕] ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมารผู้เป็นนายกของโลก พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้น แล้ว พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าผู้ฉลาดในวิธีเทศนา ตรัสสอนเหล่าสัตว์ให้รู้แจ้ง ทรงช่วย สรรพสัตว์ให้ข้ามแล้ว ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้น ได้เป็นอันมาก

ทรงพระกรุณาอนุเคราะห์ แสวงหา ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ทรงตั้งพวกเดียรถีย์ที่ มาถึงแล้วทั้งหมดไว้ในเบญจศีล

พระศาสนาของพระองค์ไม่อากูล ว่างเปล่าจากพวกเดียรถีย์ งดงามไปด้วยพระอรหันต์ ทั้งหลายที่มีความชำนาญ เป็นผู้คงที่

พระองค์เป็นพระมหามุนีมีพระกายสูง ๕๘ ศอก มีพระรัศมีงามปานทองคำที่มีค่า มี พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ

มีพระชนมายุแสนปี พระองค์ดำรงอยู่ โดยกาลเท่านั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นได้เป็น อันมาก.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 621

ครั้งนั้น ดิฉันเกิดในสกุลเศรษฐีมีความ รุ่งเรืองด้วยรัตนะต่างๆ ในเมืองหังสวดี เป็นผู้ เพียบพร้อมไปด้วยความสุขมาก

ดิฉัน เข้าไปเฝ้าพระมหาวีรเจ้าพระองค์ นั้น ได้ฟังพระธรรมเทศนา อันประกาศปรมัตถธรรมอย่างจับใจยิ่ง ซึ่งเป็นอมตธรรม ครั้งนั้น ดิฉันมีความเลื่อมใส ได้นิมนต์พระพุทธเจ้าผู้เป็น นายกของโลกพร้อมด้วยพระสงฆ์ ได้ถวายมหาทานแด่พระองค์ด้วยมือของตน

ได้ซบเศียรลงใกล้พระมหาวีรเจ้าพร้อม ด้วยพระสงฆ์ปรารถนาตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุณี ทั้งหลายฝ่ายที่มีฌาน.

ครั้งนั้น พระสุคตเจ้าผู้ฝึกนรชนที่ยังไม่ ได้ฝึก เป็นสรณะของโลกสาม ผู้เป็นใหญ่ ทรง นรชนไว้ให้ดี ทรงพยากรณ์ว่า

ท่านจักได้ตำแหน่งที่ปรารถนาดีแล้วนั้น ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ พระศาสดาพระนามว่า โคดม มีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จัก เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ท่านผู้เจริญจักได้เป็นธรรม ทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอัน ธรรมนิรมิต จักเป็นสาวิกาของพระองค์ มีนาม ชื่อว่านันทา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 622

ครั้งนั้น ดิฉันได้ฟังพระพุทธพจน์นั้น แล้วมีใจยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุง พระพิชิตมารผู้เป็นนายกชั้นพิเศษ ด้วยปัจจัย ทั้งหลายตลอดชีวิตด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้ดีนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างกาย มนุษย์แล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

จุติจากสวรรค์ชั้นนั้นแล้ว ดิฉันไปสู่ สวรรค์ชั้นยามา จุติจากนั้นแล้วไปสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้วไปสวรรค์ชั้นนิมมานรดี จุติจาก นั้น แล้วไปสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

ด้วยอำนาจบุญกรรมนั้น ดิฉันเกิดใน ภพใดๆ ก็ได้ครองตำแหน่งราชเมหสีในภพนั้นๆจุติจากสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว มาเกิดเป็นมนุษย์ ได้ครองตำแหน่งอัครมเหสี ของพระเจ้าจักรพรรดิ และพระเจ้าเอกราช

เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้มี ความสุขในที่ทุกสถาน ท่องเที่ยวไปในกัปเป็น อเนก.

ในภพหลังที่มาถึงบัดนี้ ดิฉันเป็นพระธิดาแห่งพระเจ้าสุทโธทนะในกรุงกบิลพัสดุ์ เป็น ผู้มีรูปสมบัติอันประชาชนสรรเสริญ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 623

ราชสกุลนั้น เห็นดิฉันมีรูปงามเป็นสิริ จึงพากันชื่นชม เพราะฉะนั้นดิฉันจึงมีนามว่า นันทา เป็นผู้มีรูปลักษณะสวยงาม

ในพระนครกบิลพัสดุ์ซึ่งเป็นเป็นธานีที่รื่นรมย์นั้น นอกจากพระนางยโสธรา ปรากฏว่า ดิฉันงามกว่ายุวนารีทั้งปวง

พระภาดาพระองค์ใหญ่เป็นพระพุทธเจ้า ผู้เลิศในไตรโลก พระภาดาองค์รองก็เป็นพระอรหันต์ ดิฉันยังเป็นคฤหัสถ์อยู่ผู้เดียว พระมารดาทรงตักเตือนว่า

ดูก่อนพระราชสุดา ลูกรักเกิดในศากยสกุล เป็นพระอนุชาแห่งพระพุทธเจ้า เมื่อเว้น จากนันทกุมารแล้วจักได้ประโยชน์อะไรในวังเล่า

รูปถึงมีความเจริญ ก็มีความแก่เป็น อวสาน บัณฑิตรู้กันว่าไม่สะอาด เมื่อยังเจริญ มิได้มีโรค แต่มีโรคในตอนปลาย ชีวิตมีมรณะ เป็นที่สุด

รูปของเธอนี้ แม้ว่าจะงามจูงใจให้นิยม ดุจดวงจันทร์ที่ใคร่กัน เมื่อตกแต่งด้วยเครื่อง ประดับมากอย่าง ก็ยิ่งมีความงามเปล่งปลั่งเป็นที่ กำหนัด

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 624

เป็นที่ยินดีแห่งนัยน์ตาทั้งหลายคล้ายกะ ว่าทรัพย์ของโลกที่บูชากัน เป็นรูปที่ให้เกิดความ สรรเสริญ เพราะบุญมากที่บำเพ็ญไว้ เป็นที่ ชื่นชมแห่งวงศ์โอกกากราช

ไม่ช้านานเท่าไร ชราก็จักมาย่ำยี ลูกรัก จงละพระราชฐานและรูปที่บัณฑิตตำหนิ ประพฤติพรหมจรรย์เถิด. ดิฉันผู้ยังหลงใหลด้วยความเจริญแห่งรูป ได้ฟังพระดำรัสของพระมารดาแล้ว ก็ออกบวช แต่ร่างกาย แต่มิได้ออกบวชด้วยความเต็มใจ ดิฉันระลึกถึงตัวเองอยู่ด้วยความเพ่งฌานเป็นอันมาก พระมารดาตรัสตักเตือนเพื่อให้ประพฤติ ธรรม แต่ดิฉันมิได้ขวนขวายในธรรมจริยานั้น.

ครั้งนั้น พระพิชิตมารผู้ทรงพระมหากรุณา ทอดพระเนตรเห็นดิฉันผู้มีผิวหน้าดังดอก บัว ทรงนิรมิตหญิงคนหนึ่งงามน่าชม น่าชอบใจ ยิ่งนัก มีรูปงามกว่าดิฉัน ในคลองจักษุของดิฉัน ด้วยอานุภาพของพระองค์ เพื่อให้ดิฉันเบื่อหน่าย ในรูป

ดิฉันเป็นคนสวย เห็นหญิงมีร่างกายสวย ยิ่งกว่า คิดเพ้อไปว่า เราเห็นหญิงมนุษย์ดังนี้มี ผล เป็นลาภนัยน์ตาของเรา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 625

เชิญเถิดแม่คนงาม แม่จงบอกสิ่งที่ต้อง ประสงค์แก่ฉัน ฉันจะให้ แม่จงบอกสกุล นาม และโคตรของแม่ ซึ่งเป็นที่รักแห่งแม่แก่ฉันเถิด.

แม่คนงาม เวลานี้ยังไม่ใช่กาลแห่ง ปัญหา แม่จงให้ฉันอยู่บนตัก อวัยวะทั้งหลาย ของฉันจะทับอยู่ แม่ให้ฉันหลับสักครู่เถิด

แต่นั้นแม่คนสวยพึงพิงศีรษะตักฉัน นอนหลับไป ของแข็งหยาบตกลงที่หน้าผาก ของแม่คนสวย

ต่อมาฝีก็ปรากฏขึ้นพร้อมกับที่ของแข็งตก ลงถูกนางนั้น หัวฝีก็แตกออกแล้วมีเครื่องโสโครก คือหนองและเลือดไหลออก

หน้าที่แตกแล้วมีกลิ่นเน่าปฏิกูล ตัวทั่ว ไปก็บวมเขียว แม่คนสวยมีสรรพางค์สั่น หายใจ ถี่เสวยทุกข์ของตนอยู่ รำพันอย่างน่าสมเพช.

เพราะแม่คนสวยประสบทุกข์ ฉันก็มี ทุกข์ ต้องทุกข์เวทนา จมอยู่ในมหาสมุทร ขอ แม่คนสวยจงเป็นที่พึ่งของฉัน

หน้าที่งามของแม่หายไปไหน จมูกที่ โด่งงามของแม่หายไปไหน ริมฝีปากที่สวยเหมือน สีลูกมะพลับสุกของแม่หายไปไหน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 626

วงหน้างามคล้ายดวงจันทร์และ ลำคอ ละม้ายต่อมทองคำของแม่หายไปไหน ใบหูของ แม่เป็นดังพวงดอกไม้ มีสีเสียไปแล้ว

ถันทั้งคู่ของแม่ เหมือนดอกบัวตูม แตกแล้ว มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไปคล้ายกะว่าศพเน่า

แม่มีเอวกลมกล่อม มีตะโพกผึ่งผาย แม่เต็มไปด้วยสิ่งชั่วถ่อย โอ รูปไม่เที่ยง

อวัยวะที่เนื่องในสรีระทั้งหมดมีกลิ่นปฏิ- กูล น่ากลัว น่าเกลียด เหมือนซากศพที่เขาทิ้ง ไว้ในป่าช้า เป็นที่ยินดีของพวกพาลชน

ครั้งนั้น พระภาดาของดิฉันผู้เป็นนายก ของโลก ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา ทอด พระเนตรเห็นดิฉันมีจิตสลด ได้ตรัสพระคาถา เหล่านี้ว่า

ดูก่อนนันทา เธอจงดูรูปที่ที่กระสับกระส่าย เปื่อยเน่าดังซากศพ จงอบรมจิตให้ตั้งมั่น มี อารมณ์เดียว ด้วยอสุภารมณ์

รูปนี้ เป็นฉันใด รูปเธอ ก็เป็นฉันนั้น รูปเธอ เป็นฉันใด รูปนี้ ก็เป็นฉันนั้น รูปนี้ มีกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไป พวกคนพาลยินดียิ่งนัก

พวกบัณฑิตผู้มิได้เกียจคร้าน ย่อม พิจารณาเห็นรูปเป็นอย่างนั้นทั้งกลางคืนกลางวัน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 627

เธอจงเบื่อหน่าย พิจารณาดูรูปนั้นด้วยปัญญาของ คน.

ลำดับนั้น ดิฉันได้ฟังคาถาเป็นสุภาษิต แล้วมีความสลดใจ ตั้งอยู่ในธรรมนั้น ได้บรรลุ ซึ่งอรหัตตผล

ในกาลนั้น ดิฉันนั่งอยู่ในที่ไหนๆ ก็มี ฌานเป็นเบื้องหน้า พระพิชิตมารทรงพอพระทัย ในคุณสมบัตินั้น จึงทรงตั้งดิฉันไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะ

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระนันทาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบนันทาเถรีอปทาน