พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สิงคาลมาตาเถรีอปทานที่ ๔ (๓๕) ว่าด้วยบุพจริยาของพระสิงคาลมาตาเถรี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41605
อ่าน  544

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 677

เถรีอปทาน

ขัตติยกัญญาวรรคที่ ๔

สิงคาลมาตาเถรีอปทานที่ ๔ (๓๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระสิงคาลมาตาเถรี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 677

สิงคาลมาตาเถรีอปทานที่ ๔ (๓๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระสิงคาลมาตาเถรี

[๑๗๔] ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมารผู้เป็นนายกของโลก พระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวงเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ครั้งนั้นดิฉันเกิดในสกุลอำมาตย์ที่รุ่งเรือง ด้วยรัตนะต่างๆ เป็นตระกูลมั่งคั่ง เจริญ มีทรัพย์ มาก ในพระนครหังสวดี

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 678

ดิฉันมีมหาชนเป็นบริวารไปกับบิดา ได้ ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วออกบวชเป็นภิกษุณี

ครั้นบวชแล้ว เว้นบาปกรรมทั้งหลาย ละวจีทุจริต ชำระอาชีวะบริสุทธิ์ มีความเลื่อมใส เพราะเคารพมากในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ขวนขวายในการฟังธรรม มีความ ปรารถนาเห็นพระพุทธเจ้า

ในครั้งนั้น ดิฉันได้ฟังภิกษุณีองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ฝ่ายสัทธาธิมุตติ จงปรารถนาตำแหน่งนั้น แล้วได้บำเพ็ญไตรสิกขา.

ครั้งนั้น พระสุคตเจ้าผู้มีพระอัธยาศัย ประกอบด้วยกรุณา ตรัสกะดิฉันว่าบุคคลผู้มี ศรัทธาไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีในพระตถาคต มีศีล งามที่พระอริยะรักใคร่สรรเสริญ มีความเลื่อมใส ในพระสงฆ์ มีความเห็นตรง

นักปราชญ์เรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่เป็นหมัน เพราะฉะนั้น บุคคล ผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย พึงหมั่นประกอบศรัทธา ศีล ความ เลื่อมใสและความเห็นธรรม ดิฉันได้ฟังพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว มี ความเบิกบานใจ ได้ทูลถามถึงความปรารถนาของ ดิฉัน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 679

ครั้งนั้น พระสุคตเจ้าผู้นำชั้นพิเศษ ผู้มี ปัญญาไม่ทราบ มีพระคุณนับไม่ถ้วนทรงพยากรณ์ ว่า ท่านเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า มีธรรมงาม จัก ได้ตำแหน่งนั้นที่ท่านปรารถนาดีแล้ว

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ พระศาสดา พระนามว่าโคดม มีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

ท่านจักได้เป็นธรรมทายาทแห่งพระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมนิรมิต เป็นมารดาแห่งสิงคาลมาณพ จักได้เป็นสาวิกา ของพระศาสดา. ครั้งนั้น ดิฉันได้ฟังพระพุทธพยากรณ์ นั้นแล้ว มีความยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระพิชิตมารผู้เป็นนายกของโลก ด้วยความ ปฏิบัติทั้งหลาย จนสิ้นชีวิต

ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้แล้วนั้นและด้วย การตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในภพหลังครั้งนี้ดิฉันเกิดในสกุลเศรษฐี มีความเจริญ สั่งสมรัตนะไว้มาก ในพระนคร ราชคฤห์อันอุดม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 680

บุตรของดิฉันชื่อสิงคาลมาณพ ยินดีใน ทางผิด แล่นไปสู่ทิฏฐิอันรกชัฏ มีการบูชาทิศเป็น เบื้องหน้า ย่อมไหว้ทิศต่างๆ

พระพุทธเจ้าผู้นำชั้นพิเศษ เสด็จเข้าไปสู่ พระนครราชคฤห์ เพื่อทรงรับบิณฑบาต ทอด พระเนตรเห็นบุตรของดิฉันแล้ว ประทับยืนอยู่ที่ หนทางตรัสแสดงธรรมแก่บุตรของดิฉัน แต่เขา ยังมีความเห็นผิดอยู่อย่างเต็ม ธรรมาภิสมัยได้มี แก่บุรุษและสตรี ๒ โกฏิ

ครั้งนั้นดิฉันไปในที่ประชุมนั้นได้ฟังสุคต ภาษิตแล้ว ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วออกบวช เป็นภิกษุณี

ดิฉันผู้ปรารถนาเห็นพระพุทธเจ้า เจริญ พุทธานุสสติอยู่ไม่นาน ก็ได้บรรลุอรหัตตผล

ดิฉันได้เห็นพระพุทธเจ้าอยู่ร่ำไป มิได้เบื่อ ชมพูพระรูปเป็นที่เพลินตา เป็นพระรูปที่เกิดแต่ พระบารมีทั้งปวง เป็นดังว่าเรือนหลวงที่ประกอบ ด้วยสิริ มีพระลักษณะงานทั่วไป

พระพิชิตมารโปรดในคุณสมบัตินั้น จึง ทรงตั้งดิฉันไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า

ภิกษุณีมารดาของสิงคาลมาณพเป็นผู้เลิศ กว่าภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายสัทธาธิมุตติ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 681

ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มี ความชำนาญในฤทธิ์ มีความชำนาญในทิพโสตธาตุ มีความชำนาญในเจโตปริยญาณ

ย่อมรู้ปุพเพนิวาสญาณและทิพยจักษุอัน หมดจดวิเศษ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว บัดนี้ ภพใหม่มิได้มีอีก

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันมีญาณ ในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณ เกิดขึ้น ในสำนักของพระองค์

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน พระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระภิกษุณีมารดาสิงคาลมาณพได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล.

จบสิงคาลมาตาเถริยาปทาน