พระภิกษุขนย้ายสิ่งของในวัดกลับบ้านแล้วลาสิกขามีโทษประการใดบ้าง

 
wittawat
วันที่  1 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41612
อ่าน  1,067

ปัจจุบัน มีพระภิกษุที่บวช แล้วได้รับการบริจาคก็ดี และมีทรัพย์สมบัติเกิดขึ้น เช่น อาหาร สิ่งของต่างๆ เป็นต้น เมื่อภิกษุนั้นก่อนจะลาสิกขา ได้ขนย้ายสิ่งของเหล่านั้นกลับบ้าน เพื่อหวังจะใช้สอยในอนาคต เมื่อเปลี่ยนเป็นเพศฆราวาส การกระทำเช่นนี้ต้องอาบัติในฐานะของความเป็นพระภิกษุประการใด และเมื่อหมดจากความเป็นพระภิกษุไปเป็นฆราวาสแล้ว อาบัติจะไม่ติดตามมาสู่เพศฆราวาสใช่หรือไม่ แต่การกระทำเช่นนี้ จะนำโทษมีประการใดมาสู่บุคคลที่กระทำบ้างครับ ขอให้ท่านอาจารย์วิทยากร กรุณาอธิบายด้วย กราบอนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 2 ธ.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ได้เรียนถามอาจารย์วิชัยเพื่อเติมในประเด็นนี้ ครับ

พระภิกษุบวชเข้ามาเพื่อละ สละกิเลส ซึ่งข้อความในธรรมทายาทสูตร แสดงความจริงไว้ว่าของเหล่านั้นเป็นเหมือนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะคฤหัสถ์ถวายด้วยศรัทธา ในการเกื้อกูล เคารพ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา อันมีพระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงตรัสรู้ความจริงเป็นสำคัญครับ

ซึ่งสิกขาบทโดยตรงยังไม่มีในข้อเหล่านี้ แต่ย่อมควรเป็นผู้ที่จะละอาย มีความสำนึกว่า สิ่งต่างๆ ที่ได้มาในคราวเมื่อเป็นพระภิกษุ ไม่ใช่สมบัติส่วนตัว แม้เขาจะให้ส่วนตัว แต่ก็ไม่ใช่สมบัติตน เป็นสมบัติของพระศาสนานี้ ครับ ควรไหมที่จะเอากลับไป แต่ควรสละเป็นสำคัญ โดยเฉพาะเงินและทอง ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 2 ธ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wittawat
วันที่ 2 ธ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 2 ธ.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

แม้ว่าจะสละเพศจากพระภิกษุ เป็น คฤหัสถ์แล้ว จะไม่มีอาบัติอีกต่อไป ก็ตาม เพราะอาบัติ มีเฉพาะในขณะที่เป็นพระภิกษุแล้วได้ทำในสิ่งที่ไม่เหมาะควร แต่เมื่อได้สละเพศอันสูงยิ่งไปแล้ว สิ่งที่มีอยู่ในขณะที่เป็นพระภิกษุ ก็จะไม่เป็นของคฤหัสถ์ผู้นั้นอีกต่อไป ก็ต้องเป็นอันสละด้วย จึงเป็นภาระหน้าที่ของคณะสงฆ์ที่จะมาดำเนินการจัดการในสิ่งของนั้น ให้เป็นไปตามพระธรรมวินัยต่อไป ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
petsin.90
วันที่ 2 ธ.ค. 2564

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Witt
วันที่ 3 ธ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ