การยินดีกับผู้ทำกรรมชั่ว ทำให้เราได้รับวิบากด้วยไหม

 
lokiya
วันที่  1 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41613
อ่าน  546

..


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 2 ธ.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การยินดีพอใจในกรรมที่ไม่ดีที่ผู้อื่นกระทำ ไม่ได้ถึงกับเป็นอกุศลกรรม แต่เป็นอกุศลจิตของผู้นั้นครับ

เชิญอ่านคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์เรื่องนี้ได้ที่นี่ ครับ

เรื่องของ มโนกรรม ไม่ใช่เพียงอยู่เพียงใจ คิดไปเถอะค่ะทั้งวันทั้งคืน แต่ไม่ได้กระทำกรรมตามที่คิดก็ไม่สำเร็จ เช่นอยากจะได้ของคนอื่น แล้วก็นึกไปอยากจะได้ของของเขา จะเป็นการได้ของบุคคลอื่นมาได้อย่างไร นั่งคิดไปๆ ไม่มีวันที่ของคนอื่นจะมาเป็นของท่านได้สำหรับผู้ที่คิดอย่างนั้น

เพราะฉะนั้น ก็ต้องมีการล่วงออกไปทางกาย หรือ ทางวาจา แต่ว่าสำหรับการกระทำทางกายที่ไม่เป็นมโนกรรม มี เป็นแต่เพียงกายกรรม เช่น เวลาที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด อาจจะเป็นของที่ไม่ทราบว่าเจ้าของอยู่ที่ไหน และก็เห็นว่าเป็นสิ่งที่เล็กน้อย และไม่ได้คิดมาก่อนด้วยว่า ต้องการของสิ่งนี้ แต่เมื่อผ่านไปเห็นเข้า เช่น ดอกไม้ในสวน หรืออะไรก็ตามแต่ ของในป่าหรืออะไรอย่างนั้น แล้วก็คิดว่าต้องการของสิ่งนั้น แล้วก็เด็ดไปถือไปจะเป็นผลไม้ หรือดอกไม้ก็ตาม ถ้ามีผลไม้ที่หล่นอยู่ใต้ต้น เมื่อมีความอยากได้ ก็เก็บเอาไป ขณะนั้นก็เป็นกายกรรม แต่ไม่เป็นมโนกรรม

เพราะฉะนั้น กายกรรมไม่เป็นมโนกรรม วจีกรรมไม่เป็นมโนกรรม ที่แสดงเรื่องของกรรม ๓ ก็เพื่อที่จะแยกให้เห็นว่า กายกรรมไม่ใช่มโนกรรม วจีกรรมไม่ใช่มโนกรรม แต่สำหรับมโนกรรมที่เป็นมโนกรรมโดยคิดอยู่ในใจเฉยๆ ไม่ได้ล่วงไปทางกายทางวาจานั้นไม่สามารถจะสำเร็จลงไปได้ แต่ว่าต่างกับกายกรรมและวจีกรรม โดยที่ว่ามโนกรรมมีความตั้งใจเกิดขึ้นทางใจก่อน จึงจัดเป็นมโนกรรม

ถ้าโกรธคนหนึ่งแล้วก็คิดที่จะฆ่าคนนั้น แล้วก็จ้างคนอื่นไปฆ่าคนนั้น ขณะนั้นการฆ่าที่สำเร็จลงไปเป็นมโนกรรม แม้ว่าเป็นปาณาติบาตซึ่งเป็นข้อของกายกรรมก็จริง แต่กรรมนั้นสำเร็จลง เพราะมโนกรรม ไม่ใช่เพียงกายกรรม แต่ถ้าโกรธระงับไม่อยู่ เลยเกิดประทุษร้ายคนนั้น แล้วคนนั้นตาย ขณะนั้นก็เป็นกายกรรม ซึ่งไม่มีความผูกพยาบาทคิดมาก่อนเลยว่าต้องการที่จะฆ่าคนนั้น แต่เกิดบันดาลโทสะ หรือป้องกันตัว หรืออะไรก็ตามแต่ซึ่งทำให้บุคคลนั้นตายไป ขณะนั้นก็เป็นกายกรรม ซึ่งไม่ใช่มโนกรรม

เพราะฉะนั้น องค์ของมโนกรรมก็ดี หรือองค์ของกายกรรม วจีกรรมก็ดี เป็นการแสดงให้เห็นว่า ผลที่เกิดขึ้นจากกาย จากวาจานั้นๆ เป็นกายกรรม หรือว่า เป็นมโนกรรม

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 2 ธ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
lokiya
วันที่ 2 ธ.ค. 2564

อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 1 โดย paderm

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การยินดีพอใจในกรรมที่ไม่ดีที่ผู้อื่นกระทำ ไม่ได้ถึงกับเป็นอกุศลกรรม แต่เป็นอกุศลจิตของผู้นั้นครับ

เชิญอ่านคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์เรื่องนี้ได้ที่นี่ ครับ

เรื่องของ มโนกรรม ไม่ใช่เพียงอยู่เพียงใจ คิดไปเถอะค่ะทั้งวันทั้งคืน แต่ไม่ได้กระทำกรรมตามที่คิดก็ไม่สำเร็จ เช่นอยากจะได้ของคนอื่น แล้วก็นึกไปอยากจะได้ของของเขา จะเป็นการได้ของบุคคลอื่นมาได้อย่างไร นั่งคิดไปๆ ไม่มีวันที่ของคนอื่นจะมาเป็นของท่านได้สำหรับผู้ที่คิดอย่างนั้น

เพราะฉะนั้น ก็ต้องมีการล่วงออกไปทางกาย หรือ ทางวาจา แต่ว่าสำหรับการกระทำทางกายที่ไม่เป็นมโนกรรม มี เป็นแต่เพียงกายกรรม เช่น เวลาที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด อาจจะเป็นของที่ไม่ทราบว่าเจ้าของอยู่ที่ไหน และก็เห็นว่าเป็นสิ่งที่เล็กน้อย และไม่ได้คิดมาก่อนด้วยว่า ต้องการของสิ่งนี้ แต่เมื่อผ่านไปเห็นเข้า เช่น ดอกไม้ในสวน หรืออะไรก็ตามแต่ ของในป่าหรืออะไรอย่างนั้น แล้วก็คิดว่าต้องการของสิ่งนั้น แล้วก็เด็ดไปถือไปจะเป็นผลไม้ หรือดอกไม้ก็ตาม ถ้ามีผลไม้ที่หล่นอยู่ใต้ต้น เมื่อมีความอยากได้ ก็เก็บเอาไป ขณะนั้นก็เป็นกายกรรม แต่ไม่เป็นมโนกรรม

เพราะฉะนั้น กายกรรมไม่เป็นมโนกรรม วจีกรรมไม่เป็นมโนกรรม ที่แสดงเรื่องของกรรม ๓ ก็เพื่อที่จะแยกให้เห็นว่า กายกรรมไม่ใช่มโนกรรม วจีกรรมไม่ใช่มโนกรรม แต่สำหรับมโนกรรมที่เป็นมโนกรรมโดยคิดอยู่ในใจเฉยๆ ไม่ได้ล่วงไปทางกายทางวาจานั้นไม่สามารถจะสำเร็จลงไปได้ แต่ว่าต่างกับกายกรรมและวจีกรรม โดยที่ว่ามโนกรรมมีความตั้งใจเกิดขึ้นทางใจก่อน จึงจัดเป็นมโนกรรม

ถ้าโกรธคนหนึ่งแล้วก็คิดที่จะฆ่าคนนั้น แล้วก็จ้างคนอื่นไปฆ่าคนนั้น ขณะนั้นการฆ่าที่สำเร็จลงไปเป็นมโนกรรม แม้ว่าเป็นปาณาติบาตซึ่งเป็นข้อของกายกรรมก็จริง แต่กรรมนั้นสำเร็จลง เพราะมโนกรรม ไม่ใช่เพียงกายกรรม แต่ถ้าโกรธระงับไม่อยู่ เลยเกิดประทุษร้ายคนนั้น แล้วคนนั้นตาย ขณะนั้นก็เป็นกายกรรม ซึ่งไม่มีความผูกพยาบาทคิดมาก่อนเลยว่าต้องการที่จะฆ่าคนนั้น แต่เกิดบันดาลโทสะ หรือป้องกันตัว หรืออะไรก็ตามแต่ซึ่งทำให้บุคคลนั้นตายไป ขณะนั้นก็เป็นกายกรรม ซึ่งไม่ใช่มโนกรรม

เพราะฉะนั้น องค์ของมโนกรรมก็ดี หรือองค์ของกายกรรม วจีกรรมก็ดี เป็นการแสดงให้เห็นว่า ผลที่เกิดขึ้นจากกาย จากวาจานั้นๆ เป็นกายกรรม หรือว่า เป็นมโนกรรม

ขออนุโมทนา

จากที่ อ.เผดิม กล่าวว่า การยินดีพอใจกับกรรมที่ผู้อื่นกระทำเป็นแค่อกุศลจิตไม่เป็นอกุศลกรรม แต่มีปรากฏพระสูตรที่พระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าเป็นเด็กชาวประมง ยินดีกับคนฆ่าปลา วิบากนั้นทำให้ชาติที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าปวดศีรษะ เหมือนกับว่าแค่ยินดีกับกรรมชั่วก็จะได้ผลเป็นวิบากจิต เช่นเดียวกัน ตรงนี้ขัดแย้งกันหรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 2 ธ.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียนความคิดเห็นที่ ๓ ครับ


ข้อความแสดงไว้โดยย่อ แต่ก็ต้องพิจารณาถึงความเป็นอกุศลกรรมบถ ว่า จะต้องมีการล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา ไม่ใช่เพียงแค่ยินดีในใจเท่านั้น อาจจะมีการแสดงกิริยาอาการเห็นดีด้วยกับเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น ก็ได้ จึงเป็นอกุศลกรรมบถที่สามารถทำให้เกิดวิบากในภายหน้าได้ ครับ

[เล่มที่ 70] ข้อความใน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๓๐ มีดังนี้

อาพาธที่ศีรษะ คือเวทนาที่ศีรษะ ชื่อว่า สีสทุกขะ ทุกข์ที่ศีรษะ.ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นชาวประมง ในหมู่บ้านชาวประมง. วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นกับพวกบุรุษชาวประมง ไปยังที่ที่ฆ่าปลา เห็นปลาทั้งหลายตาย ได้ทำโสมนัสให้เกิดขึ้นในข้อที่ปลาตาย นั้น แม้บุรุษชาวประมงที่ไปด้วยกัน ก็ทำความโสมนัสให้เกิดขึ้นอย่างนั้นเหมือนกัน. ด้วยอกุศลกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยทุกข์ในอบายทั้ง ๔ ในอัตภาพหลังสุดนี้ ได้บังเกิดขึ้นตระกูลศากยราช พร้อมกับบุรุษเหล่านั้นแม้จะได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับแล้ว ก็ยังได้เสวยความเจ็บป่วยที่ศีรษะด้วยตนเอง และเจ้าศากยะเหล่านั้น ถึงความพินาศกันหมดในสงครามของเจ้าวิฑูฑภะ


...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
petsin.90
วันที่ 2 ธ.ค. 2564

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
lokiya
วันที่ 2 ธ.ค. 2564

อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 4 โดย khampan.a

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียนความคิดเห็นที่ ๓ ครับ


ข้อความแสดงไว้โดยย่อ แต่ก็ต้องพิจารณาถึงความเป็นอกุศลกรรมบถ ว่า จะต้องมีการล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา ไม่ใช่เพียงแค่ยินดีในใจเท่านั้น อาจจะมีการแสดงกิริยาอาการเห็นดีด้วยกับเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น ก็ได้ จึงเป็นอกุศลกรรมบถที่สามารถทำให้เกิดวิบากในภายหน้าได้ ครับ

[เล่มที่ 70] ข้อความใน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๓๐ มีดังนี้

อาพาธที่ศีรษะ คือเวทนาที่ศีรษะ ชื่อว่า สีสทุกขะ ทุกข์ที่ศีรษะ.ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นชาวประมง ในหมู่บ้านชาวประมง. วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นกับพวกบุรุษชาวประมง ไปยังที่ที่ฆ่าปลา เห็นปลาทั้งหลายตาย ได้ทำโสมนัสให้เกิดขึ้นในข้อที่ปลาตาย นั้น แม้บุรุษชาวประมงที่ไปด้วยกัน ก็ทำความโสมนัสให้เกิดขึ้นอย่างนั้นเหมือนกัน. ด้วยอกุศลกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยทุกข์ในอบายทั้ง ๔ ในอัตภาพหลังสุดนี้ ได้บังเกิดขึ้นตระกูลศากยราช พร้อมกับบุรุษเหล่านั้นแม้จะได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับแล้ว ก็ยังได้เสวยความเจ็บป่วยที่ศีรษะด้วยตนเอง และเจ้าศากยะเหล่านั้น ถึงความพินาศกันหมดในสงครามของเจ้าวิฑูฑภะ


...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

แต่การยินดีกับผู้ทำกรรมชั่วเช่นการฆ่าปลา แม้จะแสดงอาการเห็นดีด้วยตามที่ อ. กล่าว หรือ แค่เปล่งเสียงเท่านั้น กรรมบถก็ไม่ครบองค์ อาจจะไม่ครบในข้อ 4, 5 คือข้อ พยายามฆ่า หรือ การฆ่านั้นสำเร็จ จึงไม่น่าจะได้รับวิบากจิตด้วย อาจเป็นเพียงอกุศลจิตเท่านั้น อ.khampan คิดเห็นเป็นประการใด อยากให้อธิบายละเอียดขึ้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 3 ธ.ค. 2564

เรียน ความคิดเห็นที่ ๖ ครับ

ธรรม ละเอียดมาก ตามความเป็นจริงแล้ว วิบากที่เกิดขึ้นนั้น ต้องมาจากเหตุคือ กุศลกรรม กับ อกุศลกรรม เท่านั้น ดังนั้น เมื่อพระองค์ได้รับอกุศลวิบาก ก็ต้องมาจากเหตุที่เป็นอกุศลกรรม ในอดีต ไม่ใช่เพียงแค่อกุศลจิต เท่านั้น แต่ต้องล่วงออกมาทางกาย หรือ ทางวาจา ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 4 ธ.ค. 2564

ผมเข้าใจว่า อกุศลกรรมบถ สามารถให้ผลในปฎิสนธิกาลและปวัตติกาล

อกุศลกรรมและอกุศลจิต ให้ผลเฉพาะปวัตติกาล

ไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่ครับ เรียนถาม อ.คำปั่นครับ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 5 ธ.ค. 2564

เรียนความคิดเห็นที่ ๘ ครับ

อกุศลกรรมบถ ที่ครบองค์ให้สามารถให้ผลในปฏิสนธิกาล และ ในปวัตติกาล ได้ด้วย
อกุศลกรรมบถ ที่ไม่ครบองค์ สามารถให้ผลในปวัตติกาล คือ หลังเกิดแล้วได้ ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
พัชรีรัศม์
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

อนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ