ปัญหาลูกก้าวร้าว และกินจุ

 
Nuchareeya
วันที่  6 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41650
อ่าน  667

คำถามจาก คุณณัฐวัสส์ จารุรัตนพงศ์

สมาชิก Line OpenChat ชมรมบ้านธัมมะ มศพ.

1. ลูกก้าวร้าว มีการสนทนาหาเหตุปัจจัย และทางแก้ไข พฤติกรรมลูกก้าวร้าว

2. ลูกมีปัญหาการกินมากเกินไป

คุณพ่อคุณแม่ ควรเข้าใจประเด็นนี้อย่างไร?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1. ลูกก้าวร้าว มีการสนทนาหาเหตุปัจจัย และทางแก้ไข พฤติกรรมลูกก้าวร้าว

แต่ละคนก็แต่ละหนึ่ง สะสมอุปนิสัยมาแตกต่างกัน ใครก้าวร้าว ลูก หรือ ธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไป สะสมโทสะมามาก จึงเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส คือ โทสะได้เป็นธรรมดา เข้าใจความจริงว่า กิเลสเป็นกิเลส ไม่ใช่ลูกเราโกรธ แม้ในขั้นการฟังก็จะเบา เพราะเมื่อไหร่ยิ่งยึดถือว่าลูกเราไม่ดี ก็เดือดร้อนหนักขึ้น กิเลสตนเองก็แก้ไม่ได้ เพราะไม่ได้เข้าใจความจริงว่าเป็นธรราม บังคับไม่ได้ ก็จะหาทาง หาวิธีจัดการ เพราะฉะนั้น พ่อแม่ควรเข้าใจตัวเองก่อน จึงจะเข้าใจลูกได้ เข้าใจอะไร เข้าใจความจริงว่ามีแต่ธรรม และเมื่อยังเป็นปุถุชน หนาด้วยกิเลสก็เป็นธรรมดาที่กิเลสเกิด เข้าใจความจริงในความเป็นอนัตตาเท่าไหร่ ก็เข้าใจตัวเอง เข้าใจชีวิต เข้าใจลูก เบาสบายขึ้น จึงแนะนำด้วยควาหมวังดี ในสิ่งที่ถูกกับลูก ลูกไม่เข้าใจ โกรธ ก็เข้าใจอีกว่าสะสมมาแบบนี้ ทั้งหมดเป็นธรรม นี่คือ ประโยชน์ของการเข้าใจพระธรรม ครับ เชิญคลิกฟังวีดีโอ ครับ

2. ลูกมีปัญหาการกินมากเกินไป

สามารถแนะนำในสิ่งที่ถูกอย่างค่อยเป็นค่อยไป แสดงถึงความเป้นอนัตตาที่เข้าใจว่า แต่ละหนึ่งสะสมมา เป็นธรรมทั้งหมด ก็แสดงความจริงแต่ไม่ลืมอนัตตานั่นเองครับ

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ ๓๗๗

๖. เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล [๑๖๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเจ้าปเสนทิโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อาโรคฺยปรมา ลาภา " เป็นต้น.

พระราชาเสวยพระกระยาหารจุ

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระราชาเสวยข้าวสุก แห่งข้าวสารหนึ่งทะนาน ด้วยสูปะและพยัญชนะ อันสมควรแก่ข้าวสุกนั้น. วันหนึ่ง ท้าวเธอเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ยังไม่บรรเทาความเมาเพราะภัตเลย เสด็จไปสู่สำนักของพระศาสดา มีพระรูปอึดอัด ทรงพลิกกลับไปมาข้างโน้นข้างนี้อยู่ แม้ถูกความหลับครอบงำ เมื่อไม่สามารถจะทรงผทมตรงได้ จึงประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " มหาบพิตร พระองค์ยังไม่ทันพักผ่อนเลย เสด็จมาแล้วหรือ? " พระราชา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ตั้งแต่เวลาบริโภคแล้วหม่อมฉันมีทุกข์มาก.

อุบายแก้การบริโภคอาหารจุ

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " มหาบพิตร การบริโภคมากเกินไป เป็นทุกข์อย่างนี้ " ดังนี้แล้ว ตรัสสอนด้วยพระคาถานี้ว่า :- " ในกาลใด บุคคลเป็นผู้กินจุ มักง่วง และมัก นอนหลับ กระสับกระส่าย เป็นดุจสุกรใหญ่ที่เขา

เลี้ยงด้วยอาหาร, ในกาลนั้น เขาเป็นคนมึนซึม ย่อม เข้าห้องบ่อยๆ ." แล้วตรัสว่า " มหาบพิตร การบริโภคโภชนะแต่พอประมาณ จึงควร, เพราะผู้บริโภคพอประมาณ ย่อมมีความสุข " เมื่อจะทรงโอวาทให้ยิ่ง จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :- " คนมีสติทุกเมื่อ รู้ประมาณในโภชนะที่ได้แล้ว นั้น มีเวทนาเบาบาง, (อาหารที่บริโภคแล้ว) เลี้ยง อายุอยู่ ค่อยๆ ย่อยไป " พระราชาไม่อาจจะทรงเรียนพระคาถาได้. แต่ตรัสกะเจ้าหลานชื่อสุทัสนะ ซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ว่า " พ่อ เธอจงเรียนคาถานี้. " สุทัส-นะนั้นทรงเรียนคาถานั้นแล้ว ทูลถามพระศาสดาว่า " ข้าพระองค์จะกระทำอย่างไร พระเจ้าข้า? " ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า " เมื่อพระราชาเสวยอยู่ ท่านพึงกล่าวคาถานี้ในกาลเสวยก้อนที่สุด, พระราชาทรงกำหนดเนื้อความได้แล้ว จักทรงทิ้งก้อนข้าวนั้น, ในการหุงภัตเพื่อพระราชา เธอพึงให้ลดข้าวสารมีประมาณเท่านั้น ด้วยอันนับเมล็ดข้าวในก้อนข้าวนั้น. " สุทัสนะนั้นทูลรับว่า " ดีละ พระเจ้าข้า เมื่อพระราชาเสวยเวลาเช้าก็ตาม เวลาเย็นก็ตาม ก็กล่าวคาถานั้นขึ้นในการเสวยก้อนสุดท้าย แล้วให้ลดข้าวสาร ด้วยอันนับเมล็ด ในก้อนข้าวที่พระราชานั้นทรงทิ้ง. แม้พระราชาทรงสดับคาถาของสุทัส-นะนั้นแล้ว รับสั่งให้พระราชทานทรัพย์ครั้งละพัน.

โดยสมัยอื่นอีก พระราชานั้นทรงตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีข้าวสุกทะนานหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ทรงถึงความสุขแล้ว ได้มีพระสรีระอันเบา. ภายหลังวันหนึ่ง ท้าวเธอเสด็จไปสำนักพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดาแล้วทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ความสุขเกิดแก่หม่อมฉันแล้ว หม่อมฉันเป็นผู้สามารถ จะติดตามจับเนื้อก็ได้ ม้าก็ได้, เมื่อก่อนหม่อมฉันมีการยุทธ์กับหลาน; บัดนี้หม่อมฉันให้ธิดาชื่อว่าวชิรกุมารีแก่หลานแล้ว ให้บ้านนั้น ทำให้เป็นค่าน้ำอาบของธิดานั้นนั่นแล. ความทะเลาะกับหลานนั้นสงบแล้ว, สุขแท้เกิดแล้วแก่หม่อมฉันเพราะเหตุแม้นี้. แม้แก้วมณีของพระเจ้ากุสะ ซึ่งหายไปแล้วในเรือนของหม่อมฉันในวันก่อน; บัดนี้แก้วมณีแม้นั้นมาสู่เงื้อมมือแล้ว, ความสุขแท้เกิดแล้วแก่หม่อมฉัน เพราะเหตุแม้นี้, หม่อมฉันปรารถนาความคุ้นเคยกับเหล่าสาวกของพระองค์ จึงทำแม้ธิดาแห่งญาติของพระองค์ไว้ในเรือน, ความสุขแท้เกิดแล้วแก่หม่อมฉัน เพราะเหตุแม้นี้. " พระศาสดาตรัสว่า " มหาบพิตร ชื่อว่าความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง, ทรัพย์แม้เช่นกับความเป็นผู้สันโดษ ด้วยวัตถุตามที่ตนได้แล้ว ไม่มี, ชื่อว่าญาติเช่นกับด้วยผู้คุ้นเคยกัน ไม่มี, ชื่อว่าความสุขอย่างยิ่ง เช่นกับด้วยพระนิพพาน ไม่มี " จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๖. อาโรคฺยปรมา ลาภา สนฺตุฏฐิปรมํ ธนํ วิสฺสาสปรมา ญาติ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ

"ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรค เป็นอย่างยิ่ง, ทรัพย์มีความสันโดษ เป็นอย่างยิ่ง, ญาติมีความ คุ้นเคย เป็นอย่างยิ่ง, พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง"

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

-แต่ละคนก็เป็นแต่ละหนึ่ง หลากหลายตามการสะสม การก้าวร้าว ความประพฤติไม่เหมาะไม่ควรประการต่างๆ นั้น มาจากอกุศลทั้งหมดเลย เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น เป็นธรรมดาของผู้ที่ยังไม่ได้ดับกิเลส เมื่อได้เหตุได้ปัจจัย กิเลสก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ กิเลส ไม่ว่าจะเกิดกับใครก็ไม่ดี ทั้งนั้น ซึ่งเมื่อว่าโดยสภาพธรรมแล้ว ก็ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน มีแต่ธรรเท่านั้น

ตราบใดที่ยังไม่เห็นคุณของพระธรรม ก็ไม่มีทางที่จะขัดเกลาละคลายกิเลสใดๆ ได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรจะเป็นที่พึ่งได้ นอกจากความเข้าใจพระธรรม เท่านั้น ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่เฉพาะเด็ก แต่ทุกคน ควรเห็นประโยชน์ของพระธรรม แล้วใครจะเห็นประโยชน์ของพระธรรม? ก็ตามการสะสมของแต่ละบุคคล ถ้าสะสมเหตุที่ดีมา เคยเห็นประโยชน์ของพระธรรมมาแล้ว ก็ย่อมจะมีโอกาสได้ฟังได้ศึกษา ได้รับประโยชน์จากพระธรรมตามกำลังปัญญาของตน

ผู้ที่เป็นบิดามารดาย่อมหวังดีต่อบุตร การเกื้อกูลที่ดีที่สุด คือ ให้เขาได้เข้าใจความจริง มุ่งประโยชน์แก่เขา อดทนที่จะพร่ำสอน ผลจะเป็นอย่างไร ก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ครับ

-ประเด็นเรื่องกินจุ อยากให้ได้อ่านชาดกนี้เพิ่มเติม ครับ

พินาศเพราะไม่รู้จักประมาณ [สุกชาดก]

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Sea
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

กราบอนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ