รบกวนถามเรื่องพระโสดาบันค่ะ

 
Salapao
วันที่  3 ก.ค. 2550
หมายเลข  4173
อ่าน  3,498

พระโสดาบันละสังโยชน์ได้ ๕ คืออย่างไร และสังโยชน์ ๑๐ นั้นไม่เกิดต่อไป นั้นคืออย่างไร

ขอบคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 4 ก.ค. 2550

พระโสดาบัน เป็นพระอริยบุคคลขั้นแรก ท่านดับกิเลสได้บางอย่าง กิเลสบางอย่างต้องละด้วยปัญญาขั้นพระอนาคามี หรือปัญญาขั้นพระอรหันต์ ฉะนั้น เมื่อแสดงกิเลสโดยนัยสังโยชน์ ๑๐ (พระสูตร) พระโสดาบันละสังโยชน์ได้ ๕ คือทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อิสสา และมัจฉริยะ ส่วนมานะ ละได้ด้วยปัญญาขั้นพระอรหันต์ พระโสดาบันละมานะที่ไม่ตรงตามเป็นจริงเท่านั้น

[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 330

ถามว่า สังโยชน์ ๑๐ นั้นไม่เกิดต่อไป เพราะเหตุใด

ตอบว่า ก่อนอื่น สังโยชน์ ๕ คือทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อิสสาและมัจฉริยะ ไม่เกิดต่อไป ด้วยโสดาปัตติมรรค สังโยชน์ ๒ คือ กามราคะ ปฏิฆะอย่างหยาบ ไม่เกิดต่อไปด้วยสกทาคามิมรรค. สังโยชน์ ๒ คือกามราคะ ปฏิฆะอย่างละเอียด ไม่เกิดต่อไปด้วยอนาคามิมรรค สังโยชน์ ๓ คือ มานะ ภวราคะและอวิชชา ไม่เกิดต่อไปด้วยอรหัตตมรรค

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
udomjit
วันที่ 4 ก.ค. 2550

อนุโมทนาค่ะ แล้วกามราคะกับภวราคะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 4 ก.ค. 2550

กามราคะ หมายถึง ความพอใจติดข้องในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ภวราคะ หมายถึง ความยินดีพอใจในภพ ความมี ความเป็นหรือการเกิดขึ้นเป็นบุคคลในภพต่างๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
udomjit
วันที่ 4 ก.ค. 2550

ขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 4 ก.ค. 2550

พระโสดาบันละความเห็นผิดและความสงสัยได้แต่ละมานะยังไม่ได้ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 4 ก.ค. 2550

พระโสดาบันละวิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และในสภาพธรรมทั้งหลาย ท่านละความเห็นผิด และในข้อประพฤติปฏิบัติผิด ท่านก็ละได้หมด ละความความตระหนี่ ๕ อย่าง คือ ตระหนี่ลาภ ตระหนี่คำสรรเสริญ ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ธรรมะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 5 ก.ค. 2550

นอกจากนี้ พระโสดาบันท่านยังละอคติ ๔ ได้อีกด้วย รวมทั้งกิเลสที่เป็นเหตุให้ไปสู่อบายภูมิ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Natty_T
วันที่ 6 ก.ค. 2550

โสดาบัน ผู้ถึงกระแสที่จะนำไปสู่นิพพาน, พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผล มี ๓ ประเภท คือ ๑. เอกพีซี เกิดอีกครั้งเดียว ๒. โกลังโกละ เกิดอีก ๒-๓ ครั้ง ๓. สัตตักขัตตุปรมะ เกิดอีก ๗ ครั้ง เป็นอย่างมาก

๑.) โสดาปัตติมรรคบุคคล คือ บุคคลในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่เรียกว่า โสดาปัตติมรรคจิตโสดาปัตติมรรคบุคคลนี้นับเป็นอริยบุคคลขั้นแรก และได้ชื่อว่าเป็นผู้หยั่งลงสู่กระแสพระนิพพานแล้ว มรรคจิตในขั้นนี้จะทำลายกิเลสได้ดังนี้คือ

(ในที่นี้จะใช้สัญโยชน์ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการแบ่งประเภทของกิเลส เป็นหลักในการอธิบาย - ดูเรื่องสัญโยชน์ ๑๐ ประกอบ)

- สักกายทิฏฐิ

- วิจิกิจฉา

- สีลพตปรามาส

รวมทั้งโลภะ (ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ, ขัดเคืองใจ, กังวลใจ, เครียด, กลัว) โมหะ (ความหลง คือไม่รู้ธรรมชาติที่แท้จริงของสรรพสิ่ง) ในขั้นหยาบอื่นๆ อันจะเป็นผลให้ต้องไปเกิดในอบายภูมิ (เดรัจฉาน, เปรต, อสุรกาย, นรก) ด้วย

๒.) โสดาปัตติผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าโสดาบัน คือผู้ที่ผ่านโสดาปัตติมรรคมาแล้ว

คุณสมบัติที่สำคัญของโสดาบันก็คือ

- พ้นจากอบายภูมิตลอดไป คือ จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอีกเลย เพราะจิตใจมีความประณีตเกินกว่าที่จะไปเกิดในภูมิเหล่านั้นได้ (ใครจะไปเกิดในภูมิใดนั้น ขึ้นกับสภาพจิตตอนใกล้ตายที่เรียกว่ามรณาสันนวิถี ถ้าขณะนั้นจิตมีสภาพเป็นอย่างไร ก็จะส่งผลให้ไปเกิดใหม่ในภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับสภาพจิตนั้นมากที่สุด)

- อีกไม่เกิน ๗ ชาติจะบรรลุเป็นพระอรหันต์

- มีศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน จะไม่คิดเปลี่ยนศาสนาอีกเลย

- มีศีล ๕ บริบูรณ์ (ไม่ใช่แค่บริสุทธิ์) คือ ความบริสุทธิ์ของศีลนั้นเกิดจากความบริสุทธ์/ความประณีตของจิตใจจริงๆ ไม่ใช่ใจอยากทำผิดศีล แต่สามารถข่มใจไว้ได้ คือ ใจสะอาดจนเกินกว่าจะทำผิดศีลห้าได้

๑. เคารพพระพุทธเจ้า

๒. เคารพพระธรรม

๓. เคารพพระอริยสงฆ์

๔. มีศีล ๕ บริสุทธิ์

องค์โสดาบันมีแค่นี้

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
suntarara
วันที่ 31 ต.ค. 2550

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
suwit02
วันที่ 19 ก.พ. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
สุภาพร
วันที่ 23 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ธีรวุฒิ
วันที่ 23 มี.ค. 2552

พระโสดาบันละมานะที่ไม่ตรงตามเป็นจริงเท่านั้น

มานะที่ไม่ตรงตามความเป็นจริงเป็นอย่างไรครับ?

-ขอความอนุเคราะห์จากท่านผู้รู้ด้วยครับ-

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
prachern.s
วันที่ 24 มี.ค. 2552

มานะที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง เช่น ตนเองมีคุณธรรม ทรัพย์หรือชาติ ต่ำกว่าเขา แต่สำคัญตนว่า มีคุณธรรม มีทรัพย์ มีชาติตระกูล เป็นต้น สูงกว่าเขา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
nopwong
วันที่ 23 ธ.ค. 2555

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 4 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 27 พ.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ