จะสังเกต หรือ ระลึกรู้?
是觀察還是覺知?
จะสังเกต หรือ ระลึกรู้?
Sarah: 傳統上我們會認為練習就是要有個特定的方法去遵循,但那其實就會是有個”我”可以去作這個或作那個。
ซาร่า: เดิมเรามักจะคิดว่าการฝึกการปฏิบัติ จะต้องมีวิธีการโดยเฉพาะ แต่จริงๆ แล้วนั่นคือการมีตัวเราที่จะไปทำสิ่งนี้หรือสิ่งนั้นได้
佛陀教導裡所指的練習其實是指智慧的培養。從出生到死亡都只是法在生滅,都是無我,也不是我的。輪迴中最珍貴的時刻是智慧生起瞭解到法是無我的那一刻。如果不能瞭解現在這一刻的法,比如去看的眼識和被看到的色塵,去聽的耳識和被聽到的聲塵,那麼就會一直在無明中。
การฝึกปฏิบัติในคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น หมายถึงการอบรมเจริญปัญญา ตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งหมดเป็นเพียงธรรมะที่เกิดดับ ไม่มีเรา และไม่ใช่ของเรา ขณะที่มีค่าที่สุดในสังสารวัฏฏ์ คือขณะที่ปัญญาเกิดขึ้นรู้ตรงสภาพธรรมะว่าไม่มีเรา ถ้าไม่เข้าใจธรรมะในขณะนี้ เช่นจิตเห็นกับรูปที่จิตเห็น จิตได้ยินกับเสียงที่จิตได้ ก็จะอยู่ในความไม่รู้ต่อไป
Jon: 現在有練習嗎?
จอน: เดี๋ยวนี้มีฝึกไหม?
問: 您指的 "練習" 是指保持覺知的狀態嗎?
ผู้ถาม: ฝึกในที่นี้หมายถึงให้มีสติ อยู่ในสภาพที่รู้ตัวใช่ไหม?
Jon: 你對練習的瞭解是什麼呢?
จอน: แล้วคุณเข้าใจเกี่ยวกับการฝึกว่าอย่างไร?
問: 練習是一種覺知,是一種觀照,也就是類似我們是一個旁觀者去練習佛陀的教導,把書上學到的,實際去觀察,這是所謂的練習。
ผู้ถาม: ฝึก คือการที่มีความรู้ตัว คอยเฝ้าดูอย่างหนึ่ง ซึ่งคล้ายกับว่าเราเป็นผู้สังเกตุการณ์ โดยอยู่ข้างๆ แล้วฝึกฝนปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ คอยสังเกตสิ่งที่เรียนมาจากในตำรา นี้คือการฝึกฝนการปฏิบัติ
Jon: 練習就是覺知和智慧,這是佛陀的教導。那麼覺知和智慧生起的因緣條件是什麼呢?
จอน: ฝึกฝน คือ สติและปัญญา นี่คือคำสอนของพระพุทธองค์ แล้วมีเหตุปัจจัยอะไรที่จะให้สติและปัญญานั้นเกิดได้?
問: 要去思維法。
ผู้ถาม: ต้องไตร่ตร่องธรรมะ
Jon: 是的,但在思維法之前要先聽到正確的佛法,要先瞭解佛陀正確的教導。所謂的思維法指的是什麼呢?
จอน: ใช่ แต่ว่าก่อนที่จะไตร่ตรองธรรมะ ต้องมีการฟังพระธรรมที่ถูกต้องก่อน ต้องเข้าใจถูกในคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน แล้วที่กล่าวว่าไตร่ตรองนั้นมุ่งหมายถึงอย่างไร?
問: 就是去觀察法,因為如果我們沒有保持一個警覺的心,心很容易跟隨著情境走。如果我們像觀察員一樣去觀察法,這就是智慧生起的因緣條件。
ผู้ถาม: ก็คือไปสังเกตธรรมะ เพราะว่าถ้าหากเราไม่รักษาจิตให้มีความระลึกรู้ ก็จะไหลไปตามสภาวะนั้นโดยง่าย หากเราเป็นเหมือนผู้สังเกตุการณ์ที่คอยเฝ้าระวังสังเกตธรรมะ นี่ก็จะเป็นเหตุปัจจัยที่ให้ปัญญาเกิดได้
Jon: 思維法指的是聽到了佛法,對法有興趣想要知道更多。
จอน: การไตร่ตรองธรรมะ คือการที่ได้ฟังพระธรรมแล้ว มีความสนใจที่จะรู้และเข้าใจเพิ่มขึ้น
Ajhan Sujin: 智慧的累積,必須是從現在這一刻去瞭解現在正在出現的法。所以只是聆聽佛法是不夠的,必須要去思惟現在這一刻有什麼是真的。 現在就有法在生起滅去,但還沒有足夠的智慧去瞭解那個真相。如果一直錯過這一刻,就沒辦法真正瞭解佛法。
อ.สุจินต์: การสะสมของปัญญาต้องเริ่มจากการเข้าใจสภาพธรรมะที่กำลังปรากฎเดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ดังนั้นเพียงฟังพระธรรมนั้นยังไม่พอ ต้องมีการพิจารณาสภาพธรรมะตามความเป็นจริงในขณะนี้ด้วย ซึ่งขณะนี้ก็มีสภาพธรรมะที่กำลังเกิดดับ แต่กำลังปัญญายังไม่พอที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริง ถ้ายังคงพลาดไปจากขณะนี้ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเข้าใจธรรมะจริงๆ
現在有覺知嗎?
ขณะนี้มีสติไหม?
問: 有。
ผู้ถาม: มี
Ajhan Sujin: 覺知到什麼?
อ.สุจินต์: สติระลึกรู้อะไร?
問: 覺知到我現在聽到的; 覺知到坐在沙發時接觸到軟; 腳踩在地上時接觸到硬。
ผู้ถาม: สติระลึกรู้ตรงที่เรากำลังได้ยิน รู้ตรงตอนที่นั่งลงบนโซฟากระทบกับโซฟาที่นุ่ม ตอนที่เท้าเหยียบอยู่บนพื้นก็กระทบกับแข็ง
Ajhan Sujin: 當覺知到聲音時會有其它的法嗎?
อ.สุจินต์: ในขณะที่ระลึกรู้ตรงเสียงจะมีสภาพธรรมะอื่นๆ ปรากฎไหม?
問: 有。
ผู้ถาม: มี
Ajhan Sujin: 不 不會有其他的法出現,當聲音被覺知到時,那一刻的世界就只會是聲音。當在想著那一刻 已經不是聽的那一刻了。
อ.สุจินต์: ไม่ถูกแล้ว ขณะนั้นต้องไม่มีสภาพธรรมะอื่นปรากฎเลย ในขณะที่ระลึกรู้ตรงเสียง โลกในขณะนั้นก็จะมีเพียงเสียงเท่านั้นที่ปรากฏ ขณะที่คิด ก็ไม่ใช่ขณะที่ได้ยินแล้ว
Sarah: 念生起覺知的對象只會是法,一次只會有一個法,不會有其它的。現在我們大都把法都混淆在一起了。 當色塵被看到時,是什麼看到那個色塵呢?
ซาร่า: สติเกิดขึ้นระลึกรู้ว่าเป็นเพียงธรรมะเท่านั้น รู้ธรรมะที่เกิดขึ้นทีละหนึ่ง จะไม่มีสิ่งอื่นเลย ส่วนใหญ่เรามักจะยังรู้หลายอย่างรวมๆ กันอยู่ ในขณะที่เห็นสี อะไรที่เห็นสี?
問: 是名法。
ผู้ถาม: คือนามธรรม
Sarah: 當智慧生起清楚的瞭解什麼是法的時候,一定會先有幾個類型的心去經驗色塵。
ซาร่า: ในขณะที่ปัญญาเกิดขึ้นรู้สภาพธรรมนั้นอย่างชัดเจน ต้องมีจิตเกิดขึ้นรู้สีก่อนหลายขณะ
問: 所以當你觸碰到地板時身體碰觸到硬,是身識去經驗到硬。
ผู้ถาม: ดังนั้นตอนที่คุณสัมผัสกับพื้น กายก็กระทบกับแข็ง เป็นสภาพรู้ทางกายที่รู้แข็ง
Sarah: 是的,不管有沒有聽過佛陀的教導,去看的那一刻就只會是眼識去看,不是我在看。同樣地,當碰觸到的那一刻,是身識碰觸到,不是我碰觸到。
ซาร่า: ถูกต้อง ไม่ว่าจะเคยได้ยินคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ก็ตาม ขณะที่จิตเกิดขึ้นเห็น เห็นก็เป็นเพียงจิตเห็นเท่านั้น ไม่ใช่เราเห็น เช่นเดียวกันกับขณะที่กายกระทบสัมผัสก็เป็นเพียงจิตที่สามารถรู้สิ่งที่กระทบทางกายเท่านั้น ไม่ใช่เรากระทบสัมผัส
Jon: 如果不刻意去觀察會有覺知嗎?
จอน: หากไม่มีความจงใจตั้งใจที่จะสังเกต จะมีสติระลึกรู้ได้ไหม?
問: 覺知會自然生起,不用刻意去觀察。
ผู้ถาม: ความระลึกรู้นั้นเขาเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องมีความจงใจตั้งใจที่จะไปสังเกต
Jon: 去觀察的那一刻和覺知到的那一刻有什麼不同呢?
จอน: ขณะที่สังเกตกับขณะที่ระลึกรู้ตรงนั้นเหมือนกันไหม?
問: 觀察是刻意的,覺知是自然地知道。
ผู้ถาม: สังเกตนั้นมีความจงใจตั้งใจ ส่วนความระลึกรู้นั้นเขาเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติของเขาเอง
Jon: 是的,觀察和覺知是不同的。那佛陀的教導是念覺知還是觀察?
จอน: ใช่ การสังเกตกับความระลึกรู้นั้นต่างกัน ในคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สติ คือการระลึกรู้ตัวหรือว่าการสังเกต?
問: 是念覺知。
ผู้ถาม: สติคือการระลึกรู้
Jon: 在刻意要去觀察某個對象時,那一刻是善還是不善?
จอน: ในขณะที่มีความจงใจตั้งใจที่จะไปสังเกต ขณะนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล?
問: 是不善,是貪的欲望。
ผู้ถาม: เป็นอกุศล เป็นความต้องการ
Jon: 所以如果想要刻意的去觀察,就不會是正確的覺知生起的因緣條件。
จอน: ดังนั้นถ้ามีความตั้งใจที่จะไปสังเกต นั่นไม่ใช่เหตุปัจจัยให้ความระลึกรู้ที่ถูกต้องเกิดขึ้นได้
問: 如果知道貪愛生起,我想要去觀察這是不對的,這樣子的當下其實我的智慧就出現了,因為我知道這樣子是不對的。
ผู้ถาม: ถ้ารู้ว่าโลภะเกิด มีเราต้องการที่จะสังเกตนี่คือผิด การเข้าใจอย่างนี้ในขณะนั้น คือปัญญาของเราได้เกิดขึ้นแล้ว เพราะเหตุว่าเรารู้ว่าสภาพแบบนั้นคือผิด
Jon: 覺知生起的因緣條件是如理作意 (yonisomanasikara) 而不是刻意去觀察。一旦有個我想法要去觀察這一刻的法是什麼的時候,那就不會是覺知了。
จอน: สิ่งที่จะเป็นปัจจัยให้การระลึกรู้เกิดขึ้น คือการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) แต่ไม่ใช่ตั้งใจที่จะไปสังเกต เมื่อไหร่ก็ตามที่มีเราอยากจะไปสังเกตสภาพธรรมะนั้นว่าคืออะไร ขณะนั้นไม่ใช่สติ
Ajhan Sujin: 當聲音真的被覺知到的那一刻,聲音的真實本質是很清楚地被覺知到,不會是某個音樂,也不會是我的聲音。 比如現在正在討論佛法 諸位會知道這是我的聲音,但其實聲音就只是聲音,聲音不屬於任何人 不是我的。當那個聲音滅去之後,很快就有其它的法生起滅去。因為法的生滅無比之快,所以會認為在那裡的是有個什麼東西 或是 誰的聲音 這是錯誤見解是邪見。
อ.สุจินต์: ขณะที่ระลึกรู้ตรงเสียงจริงๆ ขณะนั้นลักษณะของเสียงจะปรากฎอย่างชัดเจน จะไม่เป็นเสียงดนตรีชนิดหนึ่งใดชนิดใด และจะไม่เป็นเสียงของดิฉันด้วย เช่นในขณะนี้เรากำลังสนทนาธรรมกันอยู่ ทุกท่านที่อยู่ที่นี่ก็จะทราบดีว่านี่คือเสียงของดิฉัน แต่จริงๆ แล้วเสียงเป็นเสียงเท่านั้น เสียงไม่ใช่เสียงของใคร เสียงไม่ใช่ของเรา ในขณะที่เสียงนั้นดับไป ด้วยความรวดเร็ว สภาพธรรมะอื่นๆ ก็เกิดขึ้นแล้วดับไป แต่เพราะเหตุว่าการเกิดดับสืบต่อของธรรมะนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วสุดที่จะประมาณได้ ดังนั้นจึงเข้าใจว่าสิ่งที่อยู่ตรงนั้นเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ เสียงของคนใดคนหนึ่ง นี่คือความเห็นที่ผิด คือมิจฉาทิฏฐิ
智慧分為三個階段: 理智上的瞭解"pariyatti",直接去經驗的瞭解"patipatti"以及直接穿透的瞭解"pativedha"。現在我們都還只是在研習三藐三佛陀的言教 學習教理理智上的智慧還很弱。然而不同階段的智慧必須要很清楚的區別,不然我們會誤以為我們已經是在某個階段了。
ปัญญามี 3 ระดับ คือปัญญาขั้นปริยัติ ปัญญาขั้นปฏิบัติ ปัญญาขั้นปฏิเวธ ขณะนี้เรายังอยู่ในขั้นการศึกษาคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเข้าใจในขั้นปริยัติยังอ่อนมาก ในแต่ละขั้นก็ต้องเข้าใจความแตกต่างให้ชัดเจน มิฉะนั้นก็จะเข้าใจผิดนึกว่าตัวเองอยู่ในขั้นไหนๆ ไปแล้ว
現在有覺知嗎?
เดี๋ยวนี้มีการระลึกรู้ไหม?
問: 現在專心在聽,我知道我在聽,這是不是覺知呢?
ผู้ถาม: เดี๋ยวนี้มีการตั้งใจฟัง และรู้ด้วยว่ากำลังฟังอยู่ อย่างนี้ ไม่ใช่การระลึกรู้หรือ?
Ajhan Sujin: 在理智上瞭解佛法的階段其實還是有個"我"的存在,是"我"在聽,是"我"在想。但當正念真的生起的那一刻,那個法就只是被經驗的法而已。
อ.สุจินต์: การเข้าใจธรรมะในขั้นปริยัตินั้น จริงๆ แล้วก็ยังมีความเป็นเราอยู่ เป็นตัวเราที่กำลังฟัง เป็นตัวเราที่กำลังคิด แต่หากสติสัมปชัญญะเกิดขึ้นจริงๆ ในขณะนั้น สิ่งนั้นก็จะเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้นเอง
問: 請問覺知一定會有智慧伴隨嗎?
ผู้ถาม: ขอเรียนถามว่าการระลึกรู้นั้นต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วยใช่ไหม?
Ajhan Sujin: 覺知 (念心所) 指的是沒有忘記什麼是善的。當我們去幫助別人時,那時候一定有覺知或念心所,但不一定會有智慧伴隨。
อ.สุจินต์: การระลึกรู้ (สติเจตสิก) คือ สภาพที่ไม่ลืมในความเป็นกุศล ในขณะที่เราช่วยเหลือผู้อื่น ขณะนั้นต้องมีการระลึกรู้หรือมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าขณะนั้นต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วย
問: 覺知和智慧是兩個不同的心所,智慧是否最終導向涅槃呢?
ผู้ถาม: การระลึกรู้ (สติเจตสิก) และปัญญา (ปัญญาเจตสิก) เจตสิกสองดวงที่ต่างกันนี้ ท้ายที่สุดคือปัญญาที่จะนำไปสู่พระนิพพานใช่ไหม?
Ajhan Sujin: 什麼是涅槃? 要回到為什麼要聽聞佛法 ,學習佛法的目的是什麼?
อ.สุจินต์: นิพพานคืออะไร? ต้องกลับไปที่ทำไมถึงฟังพระธรรม? ศึกษาพระธรรมเพื่ออะไร?
問: 一開始是想要去除煩惱汙染雜質。但學了一段時間,覺得好像可以通往涅槃。
ผู้ถาม: แรกเริ่มคือต้องการกำจัดกิเลส แต่พอศึกษามาสักระยะหนึ่งรู้สึกว่าสามารถไปสู่นิพพานได้
Ajhan Sujin: 如果不知道現在出現的是什麼,要如何通往涅槃。現在我們都還在學習的階段,智慧都還很弱,要先開始學習瞭解什麼是法。 現在有苦嗎?
อ.สุจินต์: หากไม่เข้าใจว่าสิ่งที่กำลังปรากฎเดี๋ยวนี้คืออะไร แล้วจะไปสู่นิพพานได้อย่างไร? เดี๋ยวนี้เรากำลังอยู่ในขั้นการศึกษา ปัญญายังอ่อนมาก ต้องเริ่มศึกษาเพื่อที่จะเข้าใจก่อนว่า ธรรมะคืออะไร? เดี๋ยวนี้มีทุกข์ไหม?
問: 沒有,但如果不瞭解就會有苦。
ผู้ถาม: ไม่มี แต่ถ้าหากว่าไม่เข้าใจก็มีทุกข์
Ajhan Sujin: 佛陀說諸行無常"sabbe sankhara anicca",諸行皆苦"sabbe sankhara dukkha",諸法無我"sabbe dhamma anatta",一切法的生起是有適當的因緣條件而生起然後就滅去,不受任何控制,所以是不可能得到真正的滿足,這就是苦。這一刻五蘊不斷地生滅, 是無常 是苦 沒有什麼是恆常的。 如果不能瞭解現在這一刻正在生滅的法,又怎麼可能止息苦呢?
อ.สุจินต์: พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “สัพเพ สังขารา อนิจจา สัพเพ สังขารา ทุกขา สัพเพ ธัมมา อนัตตา” ธรรมะทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย เกิดแล้วก็ดับไป ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร จึงไม่สามารถนำความสุขที่แท้จริงมาให้ได้ นี่คือทุกข์ ซึ่งขณะนี้ขันธ์ ๕ ก็กำลังเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีอะไรสักอย่างที่คงอยู่หรือเที่ยงเลย หากยังไม่เข้าใจสภาพธรรมะที่กำลังเกิดดับในขณะนี้ แล้วจะดับทุกข์ได้อย่างไร?
敬感恩阿姜舒淨 (Ajhan Sujin Boriharnwanaket) 的恩惠
น้อมเคารพในคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
謹以此施法之功德與我們在輪迴裡每一世的父母 師長 同修 親友 仙人 各位讀者及其他一切眾生分享
กุศลในการนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศแด่บิดามารดาในทุกภพทุกชาติ ครูบาอาจารย์ ญาติมิตรสหาย เทวดา และผู้อ่าน รวมถึงสัตว์ทั้งหลาย
By line group Just Dhamma
หมายเหตุ
ที่มา : การสนทนาธรรมออนไลน์ระหว่างท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ กับ ชาวจีน
สรุปใจความภาษาจีน โดย 陳品彤 เฉินผิ่นถง (คุณแพท)
แปลภาษาไทย โดย คุณปาล สว่างพัฒนกุล (黃如蓮)
อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... บทความแปลภาษาจีน