ไฉนหนอ ขอให้สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา พึงเสื่อมไป [จูฬเวทัลลสูตร]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ -หน้า 368 จูฬยมกวรรค มหาธรรมสมาทานสูตรที่ ๖
๖. จูฬเวทัลลสูตร
[๕๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า:-
"ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ส่วนมาก มีความใคร่อย่างนี้ มีความพอใจอย่างนี้ มีความประสงค์อย่างนี้ว่า " ไฉนหนอ ขอให้สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่า
ใคร่ ไม่น่าพอใจ พึงเสื่อมไป, ขอให้สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
พึงเจริญแทนที่เถิด" แต่ทั้งๆ ที่สัตว์เหล่านั้น มีความใคร่อย่างนั้น มีความพอ
ใจอย่างนั้น มีความประสงค์อย่างนั้น, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่
น่าพอใจ ก็ยังเจริญขึ้นมาจนได้, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ กลับ
เสื่อมไป. ในข้อนั้นพวกเธอเข้าใจว่าเพราะเหตุไร"
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ต่อจากกระทู้ ไฉนหนอ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 369 ข้อความบางตอนจาก มหาธรรมสมาทานสูตร
[๕๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสอย่างนี้ว่า :-
"ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้รับการศึกษา ไม่เห็นพวกพระอริย
เจ้า ไม่ฉลาดต่อคุณธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในคุณธรรม
ของพระอริยเจ้า. ไม่เห็นพวกคนดี ไม่ฉลาดต่อคุณธรรมของคนดี ไม่ได้รับ
การแนะนำในคุณธรรมของคนดี, ไม่รู้จักสิ่งที่ควรเสพ, ไม่รู้จักสิ่งที่ไม่ควร
เสพ, ไม่รู้จักสิ่งที่ควรคบ, ไม่รู้จักสิ่งที่ไม่ควรคบ. เมื่อเขาไม่รู้จักสิ่งที่ควร
เสพ,...ไม่ควรเสพ,..ควรคบ,...ไม่ควรคบ, ก็เสพสิ่งที่ไม่ควรเสพ ไม่เสพสิ่ง
ที่ควรเสพ; คบสิ่งที่ไม่ควรคบ. ไม่คบสิ่งที่ควรคบ, เมื่อเขาเสพสิ่งที่ไม่ควร
เสพ ไม่เสพสิ่งที่ควรเสพ, คบสิ่งที่ไม่ควรคบ ไม่คบสิ่งที่ควรคบเข้า, สิ่งที่ไม่
น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เจริญยิ่งขึ้น, สิ่งที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ก็เสื่อมหายไป. ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เหตุ เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น. ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 198
๑. ปัตตกัมมสูตร ว่าด้วยธรรม ๔ ประการ
[๖๑] ครั้งนั้นอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า ฯลฯ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๔ ประการนี้เป็นที่
ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ
ขอโภคสมบัติจงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางที่ชอบ นี่เป็นธรรมประการที่ ๑
อัน เป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก
ครั้นได้โภคสมบัติโดยทางที่ชอบแล้ว ขอยศจงมีแก่เราพร้อมกับญาติ
พร้อมกับพวกพ้อง นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ อัน เป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ
หาได้โดยยากในโลก
ครั้นได้โภคสมบัติโดยทางที่ชอบแล้ว ได้ยศพร้อมกับญาติพร้อมกับ
พวกพ้องแล้ว ขอเราจงเป็นอยู่นาน รักษาอายุอยู่ได้ยั่งยืน นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๓ อันเป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก
ครั้นได้โภคสมบัติโดยทางที่ชอบแล้ว ได้ยศพร้อมกับญาติพร้อมกับ
พวกพ้องแล้ว เป็นอยู่นาน รักษาอายุอยู่ได้ยั่งยืนแล้ว เมื่อกายแตกตายไป
ขอเราจงไปสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ อันเป็นที่ปรารถนา
รักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก