ความเพียร

 
บรรณวิท
วันที่  28 ก.ย. 2548
หมายเลข  418
อ่าน  1,392

ความเพียรและความเกียจคร้าน ในแง่ของสติปัฏฐาน 4 หมายถึงอะไรครับ คำว่า "ทำให้เป็นผู้มีความอาจหาญร่าเริงในธรรมกถา" หมายความว่าอย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 29 ก.ย. 2548

ความเพียรในสติปัฏฐาน หมายถึง ความเพียรในกุศล คือ เพียรเพื่อละอกุศล เพียรเจริญกุศลฯ (สัมมัปปธาน ๔)

ความเกียจคร้าน หมายถึง อกุศลจิต

คำว่า อาจหาญร่าเริงในธรรมกถา โปรดอ่านคำอธิบายในอรรถกถาโดยตรง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 29 ก.ย. 2548

[เล่มที่ 12] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

ทรงให้เขาอาจหาญในธรรมที่เป็นกุศลนั้น คือ กระทำเขาให้มีความอุตสาหะ ทำให้เขาร่าเริง ด้วยความเป็นผู้มีอุตสาหะนั้นและคุณที่มีอยู่อย่างอื่น ทรงให้ฝน คือ พระธรรมรัตนะตกลง แล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 29 ก.ย. 2548

[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

บทว่า ให้อาจหาญ ทำให้จิตใจของพระราชานั้นผ่องใส ด้วยการบรรเทาความวิปฏิสาร

บทว่า ให้ร่าเริง คือ กล่าวสรรเสริญว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์เมื่อถวายทานอยู่ทรงกระทำดีแล้ว ดังนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
study
วันที่ 29 ก.ย. 2548

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 660

บทว่า สมุตฺเตชกา ความว่า ทำจิตของบุคคลทั้งหลายผู้ดำรงอยู่ในกุศลธรรมอย่างนี้ให้อาจหาญด้วยดี ด้วยการแนะนำในการบำเพ็ญอธิจิตขั้นสูงขึ้นไป คือ ทำจิตของเขาให้ผ่องใสด้วยการพิจารณาโดยประการที่เขาจะบรรลุคุณวิเศษได้

บทว่า สมฺปหํสกา ความว่า ทำจิตของบุคคลเหล่าอื่นนั้นให้ร่าเริงด้วยดี ด้วยคุณวิเศษตามที่ได้แล้วและที่จะพึงได้ในขั้นสูง คือ ทำจิตของเขาให้ยินดีด้วยดี ด้วยอำนาจความพอใจที่ได้แล้ว.

อีกประการหนึ่ง บทว่า สมุตฺเตชกา ความว่า ยังผู้ฟังให้ผ่องใสหรือรุ่งเรืองด้วยดีทีเดียว ด้วยการให้เกิดอุตสาหะในการรับเอาเนื้อความนั้น

บทว่า สมฺปหํสกา ความว่า ยังผู้ฟังให้ร่าเริง คือ ให้ยินดีด้วยดีทีเดียว ซึ่งเนื้อความนั้นด้วยการแสดงอานิสงส์ในการปฏิบัติ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ก.พ. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ