ภิกษุฟ้องคดีต้องอาบัติหรือไม่

 
wittawat
วันที่  31 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41847
อ่าน  3,201

ปัจจุบันมีกรณีที่โยมทำภัตตาหารหกใส่พระภิกษุ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม การที่พระภิกษุนั้นไปโรงพัก และฟ้องคดีกับตำรวจ เรียกค่าทำขวัญด้วยเงิน 3 ล้านบาท ด้วยความโกรธ แต่ต่อมาบอกว่าเพียง ให้โยมมาขอโทษก็เพียงพอ และจะถอนฟ้อง การกระทำประเภทนี้ ได้แก่ การฟ้องคดี การเรียกร้องค่าทำขวัญ เป็นต้น เป็นการประพฤติตามพระธรรมวินัยหรือไม่ และต้องอาบัติประการใดบ้าง กราบอาจารย์วิทยากรแสดงความละเอียดด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 1 ม.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระภิกษุเป็นเพศที่ขัดเกลากิเลสเป็นอย่างยิ่ง มีความประพฤติที่ดีงาม ทั้งทางกาย ทางวาจา ตามพระธรรมวินัย สิ่งใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อพอกพูนกิเลส ภิกษุในพระธรรมวินัย ทำไม่ได้เลย เพราะนั่นจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมเกิดพอกพูนสะสมมากยิ่งขึ้น สำหรับประเด็นภิกษุเรียกค่าเสียหาย นั่นก็เท่ากับเรียกเงินจากคฤหัสถ์ ภิกษุจะทำอย่างนี้ไม่ได้เลย น่าเกลียดเป็นอย่างยิ่ง เป็นเหตุให้ล่วงละเมิดพระวินัยได้ เช่น รับเงิน ก็เป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ และ การไม่พฤติเอื้อเฟื้อตามพระธรรมวินัย ก็เป็นอาบัติปาจิตตีย์

ถ้าหากคฤหัสถ์ทำผิดจริงๆ หน้าที่ของภิกษุ คือ ให้อภัย ไม่โกรธ และยิ่งถ้าคฤหัสถ์ไม่ได้มีเจตนาที่จะทำผิดอย่างนั้น ภิกษุก็ยิ่งไม่ควรจะโกรธเลย

กรณีการฟ้องทางการ มีตัวอย่างในพระวินัยปิฎกให้ได้ศึกษาเทียบเคียงตามความเป็นจริง คือ ถ้ามีโจรมาขโมยบริขารของภิกษุณี หากภิกษุณี แจ้งกับเจ้าหน้าที่ทางการ ด้วยเจตนาประสงค์หวังร้ายกับโจร หวังให้โจรถูกลงโทษ เพราะความโกรธที่ขโมยของของตนไป อย่างนี้ ย่อมไม่ควร เพราะเพศบรรพชิตเป็นเพศที่ขัดเกลา การกระทำอย่างนั้น ไม่ได้ขัดเกลากิเลสเลย แต่ถ้าหากแจ้งกับเจ้าหน้าที่ทางการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทางการทำการอารักขา และต้องการเอาของที่ตนถูกขโมยคืนเท่านั้น โดยไม่ได้หวังร้ายกับโจรเลย และไม่ได้ระบุตัวโจร ด้วย แต่ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทางการในการดำเนินการตามขั้นตอนของบ้านเมืองต่อไป การกระทำของตนเพียงต้องการความปลอดภัย และต้องการได้ของคืน เท่านั้น การแจ้งความต่อทางการอย่างนั้น ย่อมสามารถที่จะทำได้ ครับ

ขอเชิญคลิกฟัง/อ่าน คำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวเขตต์
เพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ ครับ

แนวทางเจริญวิปัสสนา แผ่นที่ ๘ (ครั้งที่ 421-480)

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 1 ม.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wittawat
วันที่ 2 ม.ค. 2565

กราบอนุโมทนาครับ ดูเหมือน ถ้าภิกษุบอกเจาะตัว ด้วยความต้องการทรัพย์ของอีกบุคคลหนึ่ง ถ้าได้เงินมาจริงก็เป็นอาบัติ และอาจจะถึงปราชิกก็เป็นได้ หากมีจิตคิดลักขโมยเงินของบุคคลอื่น ใช่ไหมครับ

แต่กรณีบอกไม่เจาะตัว เพื่อต้องการอารักขา และแม้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะไปตรวจสอบและเจอทีหลังเองนั้น ก็ไม่ได้มีโทษผิดประการใด

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
talaykwang
วันที่ 3 ม.ค. 2565

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ