วันมาฆบูชา - โอวาทปาฏิโมกข์

 
พุทธรักษา
วันที่  5 ก.ค. 2550
หมายเลข  4188
อ่าน  3,158

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วันมาฆบูชา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ พระจันทร์เต็มดวง เป็นวันอุโบสถพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" ใจความมีว่า

ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสพระนิพพานว่าเป็นยอดผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่จัดว่าเป็นบรรชิต ผู้เบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ชื่อว่าสมณะ

การไม่ทำบาป ทั้งปวง ๑ การทำกุศลให้ถึงพร้อม ๑ ความยังจิตให้ผ่องแผ้ว ๑ ๓ อย่างนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

การไม่ว่าร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ การสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑ ประกอบความเพียรในอธิจิต ๑

๖ อย่างนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

จาก ฑีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร

คัดลอกจากหนังสือ คุยกันวันพุธ โดย คณะสหายธรรม

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 5 ก.ค. 2550

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (มาฆบูชา) เกิดมีจตุรงคสันนิบาต ซึ่งประกอบด้วย

๑. วันนั้นเป็นวันมาฆปูรณมี คือ วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือนมาฆะ จึง เรียกว่า มาฆบูชา

๒. พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย

๓. พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ที่ได้บรรลุพร้อมอภิญญา ๖

๔. พระภิกษุ เหล่านั้นทั้งหมด ได้รับการอุปสมบท จากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา) ทรงเทศนา "โอวาทปาติโมกข์"

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ก.ค. 2550

ในวันที่ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือฤกษ์เดียวกับวันมาฆบูชา พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขารครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 6 ก.ค. 2550

วันมาฆบูชาท่านพระสารีบุตรได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ด้วยค่ะ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 6 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 7 ก.พ. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 7 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
opanayigo
วันที่ 9 ก.พ. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
saifon.p
วันที่ 9 ก.พ. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Komsan
วันที่ 9 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wichai_a
วันที่ 10 ก.พ. 2552

อะไรคือการไม่ทำบาปทั้งปวง อะไรคือการทำกุศลให้ถึงพร้อม และอะไรคือความยังจิตให้ผ่องแผ้ว ธรรมะใดจึงเป็นอุปการะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
พุทธรักษา
วันที่ 11 ก.พ. 2552

เรียน ท่านวิทยากร ด้วยความเคารพข้าพเจ้าลองค้นหาความหมายโดยละเอียดของ คำว่า "ศีลสังวร" ได้ข้อมูลมาดังนี้

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[243] สังวร ๕ (ความสำรวม, ความระวังปิดกั้นบาปอกุศล — restraint) สังวรศีล (ศีลสังวร, ความสำรวมเป็นศีล — virtue as restraint)

ได้แก่ สังวร ๕ อย่าง คือ

๑. ปาฏิโมกขสังวร (สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ รักษาสิกขาบทเคร่งครัดตามที่ทรงบัญญัติไว้ในพระปาติโมกข์— restraint by the monastic code of discipline)

๒. สติสังวร (สำรวมด้วยสติ คือ สำรวมอินทรีย์มีจักษุ เป็นต้น ระวังรักษามิให้บาปอกุศลเข้าครอบงำ เมื่อเห็นรูป เป็นต้น— restraint by mind—fulness) = อินทรียสังวร

๓. ญาณสังวร (สำรวมด้วยญาณ คือ ตัดกระแสกิเลสมีตัณหาเป็นต้นเสียได้ด้วยใช้ปัญญาพิจารณา มิให้เข้ามาครอบงำจิต ตลอดถึงรู้จักพิจารณาเสพปัจจัยสี่— restraint by knowledge) = ปัจจัยปัจจเวกขณ์

๔. ขันติสังวร (สำรวมด้วยขันติ คือ อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย ถ้อยคำแรงร้าย และทุกขเวทนาต่างๆ ได้ ไม่แสดงความวิการ — restraint by patience)

๕. วิริยสังวร (สำรวมด้วยความเพียร คือ พยายามขับไล่ บรรเทา กำจัดอกุศลวิตกที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปเป็นต้น ตลอดจนละมิจฉาชีพ เพียรแสวงหาปัจจัยสี่เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาชีพ ที่เรียกว่าอาชีวปาริสุทธิ— restraint by energy) = อาชีวปาริสุทธิ.

ในคัมภีร์บางแห่งที่อธิบายคำว่าวินัย แบ่งวินัยเป็น ๒ คือ สังวรวินัย กับปหานวินัยและจำแนกสังวรวินัยเป็น ๕ มีแปลกจากนี้เฉพาะข้อที่ ๑ เป็น สีลสังวร. (ดู สุตฺต.อ. 1/9 ; สงฺคณี.อ. 505; SnA.8; DhsA.351)

วิสุทฺธิ. 1/8;
ปฏิสํ.อ. 16 ;
วิภงฺค.อ. 429

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖

จึงขอความกรุณา ช่วยตรวจทาน และเทียบเคียงให้ด้วยค่ะเพื่อความเข้าใจที่ละเอียด ถูกต้อง ประกอบการพิจารณาต่อไปหากมีข้อความคลาดเคลื่อนประการใด ขออภัยด้วยค่ะ

ขอขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
พุทธรักษา
วันที่ 11 ก.พ. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 04188 ความคิดเห็นที่ 10 โดย wichai_a

อะไรคือการไม่ทำบาปทั้งปวง อะไรคือการทำกุศลให้ถึงพร้อม และอะไรคือความยังจิตให้ผ่องแผ้ว ธรรมะใดจึงเป็นอุปการะ

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงสอนให้ละบาป (คือ ละอกุศลธรรมทั้งปวง) ด้วยศีลสังวรยังกุศล (คือ เจริญกุศลธรรมทั้งปวง) ด้วยสมถะ และวิปัสสนายังจิตใจให้ผ่องแผ้ว ด้วยอรหัตตผล

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
wichai_a
วันที่ 17 ก.พ. 2552
ขอบพระคุณครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
paderm
วันที่ 17 ก.พ. 2552
อนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
pamali
วันที่ 29 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
nopwong
วันที่ 9 ก.พ. 2557

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 20 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 24 พ.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ