ฉันทเจตสิก กับ เจตนาเจตสิก
欲心所 與 思心所
ฉันทเจตสิก กับ เจตนาเจตสิก
問:倘若我們想要去做一件事情或者是要去喝杯水,那個時候是意圖還是慾望,因為我分不清 “欲心所” (chanda)和 “思心所”(cetana)這兩者的差別是什麼?
ผู้ถาม: ถ้าเรามีความต้องการที่จะไปทำอะไรสักอย่าง หรือว่าต้องการที่จะไปดื่มน้ำสักแก้ว ขณะนั้นคือความจงใจตั้งใจหรือว่าเป็นความพอใจ? เพราะว่าถ้าจะแยกแยะความแตกต่างระหว่างฉันทเจตสิกและเจตนาเจตสิก ทั้งสองเจตสิกนี้ต่างกันอย่างไร?
Ajhan Sujin:首先,每一刻生起的法是非常地多,“心所” 並不是單獨的生起,每一刻都有許多不同的 “心所” 伴隨 “心” 一起生起,倘若 “心所” 沒有清楚的成為被覺知瞭解的對象,我們怎麼能去辨別這些法的不同? 因此我們討論佛法,學習這些法彼此之間的不 同,但是,在能夠真的直接經驗覺知這些不同的法之前,我們是沒有辦法真的能確定辨別那一個是那一個的。
อ.สุจินต์: ก่อนอื่นธรรมะที่เกิดขึ้นในทุกๆ ขณะมีเยอะแยะมากมาย ไม่สามารถเกิดขึ้นมาเดี่ยวๆ ตามลำพังได้ อย่างจิต ๑ ขณะ ก็มีเจตสิกมากมายเกิดขึ้นพร้อมกับจิต ถ้าเจตสิกที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นอารมณ์ที่ปรากฎอย่างชัดเจนให้ระลึกรู้เข้าใจได้ เราจะสามารถเห็นความแตกต่างของสภาพธรรมนั้นได้อย่างไร? ดังนั้น เราจึงสนทนาธรรม ศึกษาความต่างกันของสภาพธรรมแต่ละอย่าง แต่ก่อนที่จะระลึกรู้ตรงสภาพธรรมแต่ละอย่างได้จริงๆ นั้น เราไม่อาจที่จะไปแยกแยะได้ชัดเจนว่าสภาพธรรมแต่ละอย่างนั้นต่างกันอย่างไร
比如說,“觸心所” 因為它碰觸了所緣,“心” 和其它"心所"才能去經驗這個所緣,在眼識之 後也有 “尋心所” 它會投向或者是去思維那個所緣,這些法其實是很細微的,並沒那麼容易被知道,所以我們學習佛法學習目前正在出現的法,慢慢的在文字上,一個一個認識清楚,即使是果報心 “眼識” 的那一刻也是有 “思心所” (cetana) ,因此學習各種 “心所” 與 “心” 一起生起的法,但是我們還沒有真正如實的一個法一個法的瞭解,重點是瞭解法的真實本質並不是誰的 “無我”(anatta)也不知道是那一個法會出現被瞭解。
เช่น ผัสสเจตสิก เพราะผัสสเจตสิกกระทบอารมณ์ จิตและเจตสิกอื่นๆ จึงเกิดขึ้นรู้ในอารมณ์นั้น หลังจากจิตเห็นเกิดแล้วดับไป ก็มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นเจตสิกที่จรดหรือตรึกในอารมณ์นั้น สภาพธรรมเหล่านี้เป็นสภาพธรรมที่ละเอียดมาก ไม่สามารถที่จะรู้ได้โดยง่าย ดังนั้นถ้าจะศึกษาพระธรรม ก็คือศึกษาสิ่งที่กำลังมีจริงที่กำลังปรากฏให้รู้ได้เฉพาะหน้า ค่อยๆ รู้จัก ค่อยๆ เข้าใจในคำหรือพยัญชนะแต่ละหนึ่งๆ ที่ทรงแสดงไว้ ถึงแม้ว่าจะเป็นวิบากจิตอย่างขณะที่เป็นจิตเห็นนั้น ก็มีเจตนาเจตสิก เพราะเหตุนี้แม้เราจะศึกษาจิตและเจตสิกต่างๆ ที่เกิดร่วมกัน แต่เราก็ยังไม่ได้เข้าใจสภาพธรรมแต่ละหนึ่งจริงๆ ที่สำคัญที่สุดคือ เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ว่าไม่ใช่ใคร ไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา และไม่อาจที่จะทราบได้เลยว่า สภาพธรรมใดจะปรากฎให้รู้ได้เมื่อไหร่
“思心所” 每一刻都會同心生起,但是 “思心所” 現在並沒有出現,在日常生活中也會有意圖想要去某個地方去買什麼東西,即使是現在正在討論佛法的這一刻,有沒有 “思心所” 這個法出 現? 另外一個法 “欲心所”(chanda)巴利文的意思;是興趣或者是想要去作,舉個例子;就如我的妹妹她很喜歡畫畫可是我不會,我們有不同的興趣,現在有任何那個去經驗的心有呈現出來被瞭解嗎!都沒有。
เจตนาเจตสิกเกิดพร้อมกับจิตดับพร้อมกับจิตทุกขณะ แต่เดี๋ยวนี้เจตนาเจตสิกยังไม่ปรากฎ ในชีวิตประจำวันก็มีความจงใจตั้งใจที่อยากจะไปซื้อของบางอย่างในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง แม้ในขณะนี้ที่กำลังสนทนาธรรมกันอยู่ เจตนาเจตสิกปรากฎในขณะนี้หรือเปล่า? ส่วนสภาพธรรมอีกอย่าง คือ ฉันทเจตสิก นี่คือภาษาบาลี แปลว่า มีความพอใจสนใจที่จะกระทำ ตัวอย่างน้องสาวของดิฉันพอใจในการวาดภาพมาก แต่สำหรับดิฉันไม่มีความสนใจพอใจในเรื่องนั้น เรามีความพอใจสนใจในสิ่งที่ต่างกัน ขณะนี้มีสิ่งที่จิตรู้ปรากฎออกมาให้เข้าใจแล้ว หรือยัง? ยังไม่มีเลย
“眼識” 的功能就是去看,巴利文是 (Dasana kicca) 。現在有沒有在看? 在 “眼識” 之前是有心的執行它的功能,“眼識” 之後也有另外的心生起執行它的功能,但是它們並沒有出現被知道。 不像現在就是有正在看,其實每一刻都會有 “思心所” ,不論是在做什麼 在走 在移動,一定都有 “思心所” 在那裡,只是它沒有那麼清楚的被呈現出來。
หน้าที่ของจิตเห็น บาลีใช้คำว่า ทัสสนกิจ ขณะนี้มีเห็นไหม? ก่อนจิตเห็นเกิด ก็มีจิตที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของตน หลังจิตเห็นดับ ก็มีจิตเกิดขึ้นอีก แต่จิตเหล่านั้นก็ไม่ได้ปรากฎให้รู้ได้ ไม่เหมือนกับขณะนี้ที่กำลังเห็นอยู่ ตามความเป็นจริงจิตทุกขณะนั้นมีเจตนาเจตสิก เกิดร่วมด้วย ไม่ว่ากำลังทำอะไร กำลังเดิน กำลังขยับ เจตนาเจตสิกก็มีอยู่ที่นั่นแน่นอน เพียงแต่ไม่ได้ปรากฎออกมาอย่างชัดเจน
比如說,把手舉起來,那一刻一定有 “思心所” ,但是它並沒有被知道,舉手起來的那一刻其實也有 “欲心所”,也一樣沒有被知道,所以這一刻的 “思心所” 沒有被知道,那一刻的 "欲心所" 我們當然也不會曉得。
ในขณะที่ยกมือ ขณะนั้นต้องมีเจตนาเจตสิก แต่ไม่ได้ปรากฎให้รู้ และขณะที่ยกมือก็มีฉันทเจตสิก แต่ก็ไม่ได้ปรากฎให้รู้เช่นกัน เพราะฉะนั้นเจตนาเจตสิกในขณะนี้ยังไม่รู้ ฉันทเจตสิกในขณะนั้นเราก็ย่อมไม่รู้เช่นกัน
當我們講到興趣的時候,“欲心所” , 我們有沒有興趣聽聞佛法聆聽佛陀的教導,一般來說是沒有 “欲念” 興趣要聽聞佛法,通常的興趣 “欲念” 是在別的地方,雖然這些 “心所” 在生起的時候沒有即時直接的被知道,但是可以去想到 它們的不同,
ในขณะที่พูดถึงความพอใจที่จะกระทำนั้น เรามีความพอใจในการฟังพระธรรมหรือเปล่า? โดยทั่วไปแล้วคือไม่มีฉันทะในการที่จะสนใจฟังพระธรรม แต่มักจะสนใจในอย่างอื่น ถึงแม้ว่ายังไม่รู้ตรงสภาพในขณะที่เจตสิกเหล่านี้เกิดขึ้น แต่ก็สามารถที่จะคิดถึงความต่างกันได้
在智慧生起的那一刻,智慧當然能夠知道真相的益處是什麼,但是智慧沒有生起去瞭解真相的時候,就沒有善的 “欲念” 生起,我們當然要學習去瞭解這些法生起的時候 “思心所” 和 “欲心所” 的差別。
ในขณะที่ปัญญาเกิด ปัญญาสามารถรู้ในประโยชน์ของการเข้าใจความจริง แต่ในขณะที่ไม่มีปัญญาเกิดขึ้นเข้าใจความจริง ฉันทะก็ไม่ได้เป็นไปกับกุศลจิต การศึกษาเจตนาเจตสิกและฉันทเจตสิกก็เพื่อที่จะเข้าใจความต่างกันของสภาพธรรมคนละอย่าง
在培養正道之路 “欲心所” (chanda)是培養 三十七道品(bodhipakkhiyadhamma)的其中一個,但“思心所” 並不是。 現在在看的這一刻,誰能知道有沒有 “思心所”(cetana)“欲心所”(chanda)“七遍一切心” (sabbacittasadharana)呢? “眼識” 就是在看的那一刻,“眼識” 是果報心,這個時候同眼識心生起的 “思心所” 也是果報心所,它並沒有造業,它是過去的業所帶來的結果,“眼識” 的那一刻為什麼沒有 “欲心所” 因為它是業帶來的結果,是果報成熟了並不是你要不要 “欲心所” 欲不欲的問題,而是果報成熟 “眼識” 看的心就生起了。
ในการอบรมเจริญหนทางที่ถูกต้องนั้น ฉันทเจตสิกเป็นหนึ่งในโพธิปักขิยธรรม 37 ส่วนเจตนาเจตสิกนั้นไม่ได้เป็น ในขณะนี้ที่กำลังเห็น ใครสามารถที่จะรู้ว่ามีเจตนาเจตสิกที่เป็นหนึ่งในสัพพจิตตสาธารณเจตสิกไหม? จิตเห็น ก็คือขณะที่กำลังเห็น จิตเห็นเป็นวิบากจิต เจตนาเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตเห็นในขณะนี้ ก็เป็นวิบากเจตสิกด้วยเช่นกัน จิตเห็นเกิดขึ้น ไม่ได้กระทำกรรม เพียงเกิดขึ้นเป็นผลของกรรมที่เคยกระทำไว้แล้ว เพราะอะไรขณะที่จิตเห็นเกิดจึงไม่มีฉันทเจตสิก? เพราะเหตุว่าการเห็นเป็นเพราะกรรมที่เคยกระทำไว้แล้วให้ผล ไม่ได้เป็นเพราะว่าพอใจที่จะเห็นจึงเห็น หรือสนใจที่จะเห็นจึงเห็น แต่เป็นเพราะว่าเมื่อถึงเวลาของกรรมที่จะให้ผลนั้นสุกหงอม จิตเห็นก็ต้องเกิดขึ้นเห็น
要知道每一刻每一刻在那裡的是什麼!也是隨著智慧的累積到了一定的程度,才能真正區分每一刻每一刻出現的真相是什麼。
ต้องรู้ว่าสิ่งที่อยู่ที่นั้นแต่ละขณะๆ นั้นคืออะไร ก็ต้องเป็นไปตามระดับของปัญญาที่ได้สะสมมา จึงจะสามารถแยกได้จริงๆ ว่าความจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะนั้นคืออะไร
現在有 “欲心所” 想要聽聞佛法,瞭解佛法,但 是真正瞭解真相的那一刻,那個時候的 “欲心所” 並沒有足夠的因緣條件生起,
เดี๋ยวนี้ก็มีฉันทเจตสิกความพอใจที่จะฟังพระธรรม เข้าใจพระธรรม แต่เหตุปัจจัยที่จะทำให้เข้าใจฉันทเจตสิกในขณะนั้นได้จริงๆ ยังไม่พอ
比如說,有些人可能會有欲望想要瞭解三藐三佛陀的教導,但是他只能停留在文字上,知道很多各種法不同的分類,但它並沒有真正的隨著智慧加深累積的慾望 “欲心所” 能夠直接經驗法,現在這一刻有許多不同的法,不是只有一個法只有一個心所生起,實際上是有非常多的法一起生起,這就是我們要去瞭解這些法都是非我,不是我的 “無我”(anatta)並沒有我去支配法的生滅。
เช่น บางท่านก็อาจจะมีความต้องการที่จะเข้าใจคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ท่านก็หยุดอยู่ตรงขั้นพยัญชนะเท่านั้น รู้เรื่องความต่างกันของธรรมแต่ละอย่างมากมาย แต่ก็ไม่ได้มีฉันทะที่เกิดพร้อมกับปัญญาที่เข้าใจตรงสภาพธรรมจริงๆ ซึ่งในขณะนี้ก็มีสภาพธรรมต่างๆ มากมาย ไม่ได้มีเพียงสภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่ง หรือเจตสิกใดเจตสิกหนึ่งเท่านั้นที่เกิดขึ้น ความจริงคือมีสภาพธรรมหลายอย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน นี่จึงเป็นสิ่งที่เราต้องเข้าใจความจริงของสภาพธรรมว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีเรา เป็นอนัตตา ไม่สามารถบังคับบัญชาให้สภาพธรรมนั้นเกิดดับได้
現在有沒有意圖 “思心所”? 現在有沒有慾望 “欲心所” ,當我們說現在的這一刻其實已經有無數的 “心” 跟 “心所” 生滅了,因此而學習三藐三佛陀的教導,是慢慢的瞭解真相,瞭解智慧的累積是有許多不同的階段,在文字上在理智上的瞭解跟真正的直接經驗法這是非常大的距離,現在有許多的法在生滅但我們沒有辦法去知道它,所以現在要先瞭解的是,現在正在經驗的是什麼? 因為什麼是 “心” 什麼是 “心所” 都還不知道,就像這一刻是 “心” 在經驗還是 “心所” 在經驗。
เดี๋ยวนี้มีเจตนาเจตสิกไหม? เดี๋ยวนี้มีฉันทเจตสิกไหม? ในขณะที่เราพูดว่าเดี๋ยวนี้ขณะนี้ จริงๆ แล้วมีจิตและเจตสิกเกิดดับมากมายนับไม่ถ้วน เพราะเหตุนี้จึงศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ค่อยๆ เข้าใจความจริง เข้าใจการสะสมของปัญญาซึ่งมีหลายระดับที่ต่างกัน ความเข้าใจในขั้นพยัญชนะ กับ ความเข้าใจในสภาพธรรมจริงๆ นั้นแตกต่างและห่างไกลกันมาก เดี๋ยวนี้มีสภาพธรรมมากมายกำลังเกิดดับแต่ก็ไม่รู้ ดังนั้น สิ่งที่ควรเข้าใจก่อนเดี๋ยวนี้คือ ขณะนี้เดี๋ยวนี้สิ่งที่กำลังรู้นั้นคืออะไร? เพราะเหตุว่าอะไรคือจิต อะไรคือเจตสิก ก็ยังไม่รู้เลย ก็เหมือนกับขณะนี้เป็นจิตที่กำลังรู้หรือเป็นเจตสิกที่กำลังรู้
比如說,在生氣的時候,生氣它是一個 “心所” 那它的特徵是什麼? 是不是應該被瞭解? 同樣的當智慧的累積還不夠,我們總是有我想要去瞭解,事實上那個法是怎麼被稱呼並不重要,重要的是呈現出來的特徵是跟其它的法是不一 樣,有不同的特徵,有智慧去思考也不是我在思慧,當智慧沒有生起,在那裡的法又怎麼能被瞭解呢? 現在在那裡的是什麼? 這不應該被瞭解嗎? 通常是還沒有足夠的興趣想要去瞭解現在正在出現的法,卻是有興趣 “欲心所”(chanda)去想別的事情,就算是在想著佛陀的話只是想著文字上的意義而已。
อย่างเช่น ขณะที่กำลังโกรธ โกรธคือเจตสิกชนิดหนึ่ง แล้วลักษณะของโกรธคืออะไร? เป็นสิ่งที่ควรที่จะเข้าใจไหม? ก็เหมือนกับในขณะที่การสะสมของปัญญานั้นยังไม่พอ เราก็มักจะมีตัวเราที่อยากจะเข้าใจ ความจริงคือแม้สภาพธรรมนั้นจะเรียกว่าอย่างไรก็ตาม ไม่ได้สำคัญเลย ที่สำคัญคือ ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฎนั้นต่างกับลักษณะสภาพธรรมอื่นๆ การมีปัญญาคิดพิจารณานั้นก็ไม่ใช่เราที่คิดพิจราณา เมื่อปัญญายังไม่เกิด แล้วจะไปรู้สภาพธรรมะที่อยู่ที่นั่นได้อย่างไร? เดี๋ยวนี้สิ่งที่อยู่ที่นั่นคืออะไร? นี่เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเข้าใจหรือ? โดยทั่วไปแล้วฉันทะยังไม่มีกำลังที่จะสนใจพอใจที่จะเข้าใจในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ขณะนี้ แต่มักจะมีฉันทะความสนใจพอใจในเรื่องอื่น ถึงแม้ว่ากำลังคิดถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ได้แต่คิดถึงความหมายของคำในพยัญชนะเท่านั้น
“欲心所”(chanda)即使是對佛法有興趣也不是我,這個法是無我的,不是誰的不是任何一個人,逐漸瞭解法的真實本質是無我。
แม้จะมีฉันทะความสนใจพอใจในพระธรรม นั่นก็ไม่ใช่เรา ธรรมะ คือไม่มีเรา ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่คนใดคนหนึ่งทั้งนั้น ค่อยๆ เข้าใจสภาพธรรมะตามความเป็นจริง ว่าไม่มีเรา
Serah:上個星期你有問的是為什麼要瞭解真相,現在我想問你為什麼你想要瞭解這兩者的區分 “欲心所”(chanda)和 “思心所”(cetana)?
ซาร่า: อาทิตย์ที่แล้วคุณถามว่า เพราะเหตุใดถึงต้องเข้าใจความจริง ตอนนี้จะขอถามคุณว่า เพราะเหตุไรคุณจึงต้องการที่จะเข้าใจความต่างกันของเจตสิกสองดวงนี้ (ฉันทเจตสิก และ เจตนาเจตสิก) ?
生命就是現在這一刻,有許多不同的興趣, 當心是善的時候 “欲心所” 就是善的,比如,我們在思考佛法的時候,如果有如理作意的去思考,這個時候的 “欲心所” 是善的,在善之間是有許多的不善通常是貪愛,貪愛生起的時候也有 “欲心所” 同心生滅,這個時候的 “欲心所” 是不善的。
ชีวิตก็คือเดี๋ยวนี้ขณะนี้ ที่มีความสนใจพอใจ ต่างๆ มากมาย ขณะที่จิตเป็นกุศล ขณะนั้นฉันทะก็เป็นไปในกุศล เช่นในขณะที่เรากำลังพิจารณาพระธรรม หากมีการพิจารณาธรรมะโดยแยบคาย ในขณะนั้นย่อมเป็นกุศล ท่ามกลางกุศลนั้น มีอกุศลมากมาย โดยมากก็เป็นไปด้วยโลภะ ขณะที่โลภะเกิดก็มีฉันทเจตสิกเกิดดับพร้อมกับจิตในขณะนั้นด้วย ฉันทเจตสิกที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นอกุศล
比如說,現在看著窗外或者是看著螢幕,這個時候的 “欲心所” 就會對某個對象是有興趣,即使我們把頭偏一下,移動一下,讓自己舒服一點,這個時候的 “貪愛心” (lobha)是有 “欲心所” 伴隨的,法是無我的、非我的、不受控制的。 或者是 “瞋恨心”(dosa) 一點點皺眉的時候 “瞋恨” 也在那裡 “欲心所” 也在那裡,對那一刻的 “瞋恨” 是有興趣的。
เช่นตอนนี้ที่กำลังมองไปที่หน้าต่างหรือที่หน้าจอ ก็จะพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กำลังเป็น อารมณ์ แม้ว่าเราพิงศีรษะสักนิด หรือขยับตัวสักหน่อยเพื่อให้ตัวเองรู้สึกสบายขึ้น โลภมูลจิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้นก็มีฉันทะเกิดร่วมด้วย ธรรมะไม่มีเรา ไม่ใช่ของเรา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา หรือไม่ถ้าเป็นโทสมูลจิต ในขณะที่ขมวดคิ้วแม้เพียงเล็กน้อย โทสะก็อยู่ที่นั่น ฉันทเจตสิกที่อยู่ที่นั่นก็พอใจในโทสะนั้นด้วย
除了“雙五識”(dvipancavinnana)沒有 “欲心所”,兩種癡根心也沒有 “欲心所”。至於人類熟睡的 “有分心”(bhavanga citta)是善的果報心,那個時候同果報心一起生起的 “欲心所” 是善的。 這些例子是說明了,這些法是非我 “無我”(anatta)不是誰可以決定。
นอกจากทวิปัญจวิญญานที่ไม่มีฉันทเจตสิก โมหมูลจิตทั้งสองก็ไม่มีฉันทเจตสิกด้วยเช่นกัน ส่วนภวังคจิตของมนุษย์นั้นเป็นผลของกุศลกรรม ฉันทเจตสิกที่เกิดพร้อมกับภวังคจิตก็ย่อมเป็นกุศล ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า สภาพธรรมเหล่านี้ไม่ใช่เรา ไม่มีเรา ไม่มีใครสามารถบัญชาได้
“欲心所” 跟不善心生起還是同不善心生起沒有誰可以支配它,至於 “思心所” 這個意圖與 “欲心所” 是不一樣的,“思心所” 在對象上是沒有什麼興趣,它的功能是意圖執行它的意志力與其他心所一起生起去執行它們的功能,當舉手的那一刻是 “思心所” 有意志力要去舉手,但是 “欲心所” 是有興趣去做這個事情,通常這個時候的 “欲心所” 是跟 “貪愛” 不善心一起生起。
ฉันทเจตสิกที่เกิดพร้อมหรือเกิดร่วมด้วยกับอกุศลจิต ก็ไม่มีใครปรุงแต่งได้ทั้งสิ้น ส่วนเจตนาเจตสิกนั้นต่างจากฉันทเจตสิก เพราะว่าเจตนาเจตสิกไม่ได้สนใจพอใจในอารมณ์นั้น แต่ทำกิจหรือหน้าที่จงใจตั้งใจ เกิดขึ้นทำกิจของตนพร้อมกับเจตสิกอื่นๆ ในขณะที่ยกมือ ขณะนั้นเจตนาเจตสิกมีความจงใจตั้งใจที่จะยกมือ แต่ฉันทเจตสิกมีความสนใจพอใจในสิ่งนั้น โดยปกติฉันทเจตสิกในขณะนั้น ก็จะเป็นอกุศลที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิต
就如現在這一刻,我們參加這個佛法討論,也有可能一些時刻有善的 “欲心所” 與善心一起生起,因此,善心生起的那一刻,善的 “欲心所” 就慢慢的累積逐漸的加強,直到真的強到一定的程度能夠成為 “三十七道品”(bodhipakkhiyadhamma)裡的其中之一。老師一直提醒,現在這一刻已經有無數的心生滅,無數的 “欲心所” “思心所”生起就過去了。 所以瞭解真相的重點就是要真心實意的面對這一刻正在出現的法,不論是善的還是不善的...等等。倘若,不瞭解真相是什麼,即使我們在行善都是我在行善,我在作好事,都是關於我。
ก็เหมือนกับขณะนี้ที่เรากำลังสนทนาธรรมกันอยู่ ก็อาจเป็นไปได้ว่าที่บางขณะมีฉันทเจตสิกเกิดขึ้นพร้อมกับกุศลจิต เพราะฉะนั้นในขณะที่กุศลจิตเกิด ฉันทะที่เป็น กุศลก็ค่อยๆ สะสม ค่อยๆ มีกำลังเพิ่มขึ้น จนกระทั่งถึงระดับที่เป็นหนึ่งในโพธิปักขิยธรรม 37 เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ท่านอาจารย์ย้ำเตือนเสมอว่า ขณะนี้เดี๋ยวนี้ก็มีสภาพธรรมเกิดดับนับไม่ถ้วน มีทั้งฉันทะและเจตนาเกิดดับแล้วมากมาย ดังนั้นสิ่งที่สำคัญในการเข้าใจความจริง คือต้องมีความจริงใจต่อสภาพธรรมที่กำลังปรากฎในขณะนี้เดี๋ยวนี้ ไม่ว่าสภาพธรรมนั้นจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม หากไม่เข้าใจความจริงนั้นคืออะไร แม้กำลังกระทำกุศล ก็เป็นเราที่กระทำกุศล เป็นเราที่กำลังทำความดี ก็ยังเป็นไปด้วยความเป็นเรา
問:老師說重點是 “無我”(anatta),一切都是因緣和合,因為每個 “心” 的生起都會有很多 “心所” 同心一起生滅,所以很難去區分,然後老師也有指出來 “眼識” 它是果報心的那一刻 “思心所”(cetana)也存在,還有重點的 是,不管它有沒有名稱,它是存在了,最重要的是要去了解發生的是什麼?謝謝!
ผู้ถาม: ท่านอาจารย์กล่าวจุดที่สำคัญคือไม่มีเรา เป็นอนัตตา ทั้งหมดคือเหตุปัจจัย เพราะเหตุว่าจิตทุกดวงที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมมีเจตสิกมากมายเกิดดับพร้อมกับจิตนั้นด้วย ดังนั้นเป็นการยากมากที่จะแยกแยะได้ จากนั้นท่านอาจารย์ยังชี้ให้เห็นว่า "จิตเห็น" เป็นวิบากจิต ขณะนั้นเจตนาเจตสิกก็เกิดร่วมด้วยกับจิตขณะนั้นด้วย ที่สำคัญยิ่งอีกอย่างคือ ไม่ว่าจะมีชื่อหรือไม่ก็ตาม สภาพนั้นก็มีอยู่อย่างนั้น สำคัญที่สุดคือเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร? ขอบพระคุณยิ่ง
Serah:這也是我們不是聽一兩次最能夠很清楚,這是不可能的,佛法是要繼續的累積不斷的討論,不斷的聽聞不斷的學習。
ซาร่า: นี่จึงเป็นเหตุที่ว่าเราจะฟังเพียงครั้งสองครั้งแล้วจะเข้าใจเลย เป็นไปไม่ได้ ต้องมีการสะสมการฟังพระธรรม สนทนาธรรมอย่างต่อ เนื่อง ไม่หยุดการศึกษาธรรมะ
Jon:在傳統上我們用的意圖想要作什麼時候,是跟佛法上的 “思心所” 意圖是不一樣的,因此,當我們在日常生活中刻意的想要去作一件事情時,意圖 “思心所” 它是在那裡的,它可以被覺知,當心生起的每一刻 “思心所” 每一刻都在那裡。
จอน: ตามแต่เดิมเรามักจะใช้คำว่า”เจตนา” เวลาที่ประสงค์จะทำอะไรสักอย่าง ซึ่งต่างจากเจตนาในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นเจตนาเจตสิก ดังนั้นในขณะที่เราใช้คำว่าเจตนาในความหมายว่ามีความจงใจมีจุดประสงค์ที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในชีวิตประจำวัน เจตนาเจตสิกก็เกิดกับจิตขณะนั้น เพราะเจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกๆ ขณะ
“眼識” 的那一刻也有 “思心所” 。 我們在傳統上認為的意圖那個時候出現的法是什麼?或者是有意圖要去作這作那時,那個時候出現的是什麼呢?也許比較明顯的有可能是 慾望 “欲心所” 有可能是 “貪愛” 或者是 “瞋恨” 舉這些例子,不是要我們去刻意的,一切都是自然而然的。
ขณะที่จิตเห็นเกิดก็มีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย ขณะที่เราเข้าใจคำว่าเจตนาแบบเดิมๆ นั้น ขณะนั้นมีสภาพธรรมอะไรปรากฎ? หรือขณะที่เรามีความประสงค์ที่จะไปทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ ขณะนั้นสิ่งที่กำลังปรากฎคืออะไร? บางทีสิ่งที่ชัดเจนอาจจะเป็นฉันทเจตสิก อาจจะเป็นโลภะ หรือ อาจจะเป็นโทสะ การยกตัวอย่างดังกล่าว ไม่ใช่ให้เราไปจงใจตั้งใจ ทุกอย่างเป็นไปตามปกติธรรดา
剛才老師說,仔細的描述這些法的特徵或特性的時候,並不是要我們馬上去瞭解這些法的區別,這些 “心所” 法的細節,傳下來分享給我們知道,是讓我們瞭解這一刻正在運作的本質是什麼?
เมื่อสักครู่ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่า การที่อธิบายความละเอียดของลักษณะหรือสภาพธรรมนั้น ไม่ใช่ว่าจะให้เราไปเข้าใจความแตกต่างของธรรมะแต่ละอย่างทันที ความละเอียดของเจตสิก หรือของสภาพธรรมที่ได้อธิบายให้เรารู้ ก็เพื่อให้เราเข้าใจในลักษณะที่กำลังเป็นไปตามความเป็นจริงในขณะนี้ว่าคืออะไร?
有時候也會很自然的 “如理作意”(yonisomanasikara)去思考一些細節,但並不是期望會很快就覺知這些法,因此討論細節的重點是,每一刻都有許多不同的 “心所” 同 “心” 一起生起,這些 “心所” 有不同各自的功能的,這若不是佛陀開悟法宣說佛法,就不會有任何人能瞭解佛法的。
บางครั้งก็มีการเป็นไปโดยโยนิโสมนสิการ มีการคิดพิจารณาอย่างแยบคาย ละเอียด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้มีความคาดหวังจะระลึกรู้ในธรรมะเหล่านั้นได้โดยเร็ว เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญในการสนทนาส่วนละเอียด คือ ทุกขณะจิตมีเจตสิกต่างๆ เกิดร่วมด้วยมากมาย แต่ละเจตสิกนั้นกระทำกิจหน้าที่ของตนต่างๆ กัน เป็นสิ่งที่ถ้าพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าไม่ตรัสรู้และทรงแสดง ก็จะไม่มีใครทราบและเข้าใจ
從覺知和智慧的角度來講,更有機會比較有可能被覺知到的對象就是現在這一刻正在發生的眼識、耳識、鼻識、舌識、身識、等等,並不是沒有出現的,“觸心所”(phassa)“尋心所”(vitakka)“思心所”(cetana)。
กล่าวในมุมของสติและสัมปชัญญะ สิ่งที่จะเอื้อต่อการระลึกรู้ได้ นั่นคือสิ่งที่กำลังปรากฎในขณะนี้ เช่น จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตที่กระทบสัมผัส หรือ สี เสียง กลิ่น รส เย็น/ร้อน อ่อน/แข็ง ตึง/ไหว ไม่ใช่มุ่งที่จะไประลึกสิ่งที่ไม่ปรากฎอย่างผัสสเจตสิก วิตกเจตสิก เจตนาเจตสิก
比如說,“眼識” 我們知道眼識的那一刻有七個遍一切心(sabbacittcsadharana)但是這遍一切心的七個心所只是在執行它們的功能而已,對我們來講我們這一世幾乎是不可能直接覺知這些 “心所” 的,但這樣細節的資訊是有幫 助於感激體會到無我的本質,這些法彼此之間的關係不是有誰能決定。
เช่น "จิตเห็น" เราก็ทราบดีว่าจะต้องมีสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง แต่เจตสิกทั้ง ๗ ดวงนั้นก็เพียงแต่กระทำกิจหน้าที่ของตนๆ เท่านั้น สำหรับเรานั้นเกือบทั้งชาตินี้ก็อาจจะไม่สามารถที่จะระลึกรู้ตรงลักษณะของเจตสิกเหล่านี้ได้ แต่เรื่องราวที่แสดงความละเอียดของธรรมะจะเป็นปัจจัยให้เราเข้าใจมั่นคงขึ้นในความไม่มีเรา ความเกี่ยวข้องกันระหว่างธรรมะหนึ่งกับธรรมะหนึ่งนั้นไม่อยู่ในการบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น
問:我有跟著思考所聽到的有一個很重要的點就是,其實學習法的細節都是讓我們可以更瞭解 “無我”,如果你太想要知道的話,會變成一個 “貪愛” 但是你又要必須要知道這些法,才能知道法的故事以及能帶入瞭解法的一天。謝謝!
ผู้ถาม: ดิฉันคิดพิจารณาตามในสิ่งที่ได้ยิน เห็นว่ามีสิ่งที่สำคัญยิ่งคือ จริงๆ แล้วการศึกษาในส่วนละเอียดเพื่อให้เราเข้าใจยิ่งขึ้นว่าไม่มีเรา หากยิ่งอยากจะรู้ ก็จะเป็นการเพิ่มกำลังให้แก่โลภะ แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่ศึกษา จำเป็นที่จะต้องศึกษา จึงจะรู้เรื่องราวและนำไปสู่ความเข้าใจธรรมะได้ในวันหนึ่ง ขอบพระคุณค่ะ
Ajhan Sujin:“欲心所” 會不會同 “瞋恨心”一起生起?
อ. สุจินต์: ฉันทเจตสิกเกิดกับโทสมูลจิตได้ไหม?
問:會。
ผู้ถาม: ได้
Ajhan Sujin:“欲心所” 會同瞋根心生起,它不會與 “二癡根心”(mohamulacitta)一起生起,所以生氣的那一刻,那一刻也是個機會去瞭解 “欲心所” 對那樣的憤怒有沒有感到滿意? 就還沒達到那個程度,當然能夠知道這個或那個也是因緣條件,逐漸的知道才能夠逐漸的放下 “我” 在知道。 對我的存在執取得很深,因此沒有隨著智慧的 累積,是不可能根除或者降低這個 “我” 的。
อ.สุจินต์: ฉันทเจตสิกเกิดกับโทสมูลจิต แต่ไม่เกิดกับโมหมูลจิตทั้งสองดวง เพราะฉะนั้นขณะที่โกรธ ขณะนั้นจะสามารถเข้าใจฉันทเจตสิกซึ่งเป็นความพอใจในความโกรธนั้นหรือไม่? เมื่อยังไม่ถึงระดับนั้น แน่นอนว่าการที่จะสามารถรู้สิ่งนี้หรือสิ่งนั้นได้ต้องเป็นเพราะเหตุปัจจัย ค่อยๆ รู้ขึ้นจึงจะค่อยๆ ละคลายความเป็น"เรา"ที่รู้ การยึดถือทุกอย่างด้วยความเป็นเรานั้นฝังลึกมาก เพราะฉะนั้นหากไม่ใช่ปัญญาที่ค่อยๆ สะสม เป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถกำจัดหรือลดความเป็นตัวเราได้
誰又能夠知道當智慧生起累積的時候,真的知道那個時候有智慧生起呢? 因為錯誤的瞭解,這些種種的不善扭曲,長久以來都是不知道真相是什麼?到底在那裡的是什麼?對這件事情 的累積相對是極為微小,是要很有耐心很長久的時間。
ในขณะที่ปัญญาเกิดขึ้นสะสม มีใครสามารถที่จะรู้ได้จริงๆ ว่าขณะนั้นมีปัญญาเกิดขึ้น? เพราะความเข้าใจผิดจึงเป็นอกุศลเป็นวิปลาสต่างๆ นานมาแล้วที่ไม่รู้ว่าความจริงคืออะไร? สิ่งที่อยู่ที่นั่นแท้จริงแล้วคืออะไร? การสะสมของปัญญาที่ค่อยๆ รู้ความจริง กับการสะสมความเข้าใจผิดที่มีมานานมาก การสะสมปัญญาน้อยมาก จึงต้องอาศัยความอดทนและใช้เวลาอันยาวนานมาก
比如;“憤怒” 生起的時候,“憤怒” 就在那裡,這是不能夠被改變的,但是有沒有智慧去瞭解在那裡的“憤怒”它只是一個法,只有智慧執行這樣子的功能,否則又是在累積無明跟貪愛。
เช่น ขณะที่ความโกรธเกิดขึ้น ความโกรธก็อยู่ที่นั่น นี่คือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่จะมีปัญญาที่เข้าใจความโกรธนั้นหรือเปล่า ว่าเป็นเพียงธรรมะอย่างหนึ่ง มีเพียงปัญญาเท่านั้นที่เมื่อเกิดขึ้นสามารถจะเข้าใจความเป็นธรรมะได้ ไม่เช่นนั้นก็สะสมอวิชาและโลภะต่อไป
不可能沒有不善心生起,所以需要“忍辱波羅蜜”(khanti parami)很有耐心的在不善之間培養智慧,一點一滴慢慢的去瞭解,每一刻都有那個去經驗的和那個被經驗的。
เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่มีอกุศลจิตเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจึงต้องมีขันติบารมี มีความอดทนที่จะอบรมเจริญปัญญาท่ามกลางอกุศล ค่อยๆ เข้าใจทีละเล็กทีละน้อยว่าทุกขณะมีสภาพที่รู้กับสภาพที่ถูกรู้
敬感恩阿姜舒淨 (Ajhan Sujin Boriharnwanaket) 的恩惠
น้อมเคารพในคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
謹以此施法之功德與我們在輪迴裡每一世的父母 師長 同修 親友 仙人 各位讀者及其他一切眾生分享
กุศลในการนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศแด่บิดามารดาในทุกภพทุกชาติ ครูบาอาจารย์ ญาติมิตรสหาย เทวดา และผู้อ่าน รวมถึงสัตว์ทั้งหลาย
By line group Just Dhamma
หมายเหตุ
ที่มา : การสนทนาธรรมออนไลน์ระหว่างท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ กับ ชาวจีน
สรุปใจความภาษาจีน โดย 陳品彤 เฉินผิ่นถง (คุณแพท)
แปลภาษาไทย โดย คุณปาล สว่างพัฒนกุล (黃如蓮)
อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... บทความแปลภาษาจีน