พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นิคมคาถา ธรรมสังคณี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.พ. 2565
หมายเลข  42016
อ่าน  451

[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 630

นิคมคาถา ธรรมสังคณี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 76]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 630

นิคมกถา

ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้

    พระโลกนารถเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกจิตตุปปาทกัณฑ์ รูปกัณฑ์ นิกเขปกัณฑ์ และอัตถุทธารกัณฑ์ อันน่ารื่นรมย์ใจ ทรงแสดงพระธรรมสังคณีใด การพรรณนาเนื้อความแห่งพระธรรมสังคณีที่ได้ทรงรวบรวมธรรม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 631

โดยสิ้นเชิงแห่งพระอภิธรรมปิฏก ซึ่งทรงตั้งไว้แล้วนั้น ข้าพเจ้าได้เริ่มแล้ว การพรรณนาเนื้อความนี้นั้นเข้าถึงความสำเร็จแล้ว โดยชื่อว่า อัฏฐสาลินี เพราะมี้เนื้อความไม่อากูล โดยพระบาลี ๓๙ ภาณวาร เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม

    กุศลใด ที่ข้าพเจ้ายังอรรถวรรณนาให้จบลงนั้นสำเร็จแล้วด้วยอานุภาพแห่งกุศลนั้น ขอสัตว์แม้ทั้งหมด จงรู้พระธรรมของพระธรรมราชา อันนำมาซึ่งความสุขแล้ว จงบรรลุสันติสุขคือพระนิพพานอันยอดเยี่ยม หาความโศกมิได้ ไม่มีความคับแค้นใจ ด้วยข้อปฏิบัติอันบริสุทธิ์โดยง่าย

    ขอพระสัทธรรมจงดำรงอยู่สิ้นกาลนาน ขอเหล่าสัตว์แม้ทั้งหมด จงเคารพธรรม ขอฝนจงตกต้องตามฤดูกาล พระราชาแต่เก่าก่อนทรงคุณธรรมอันดี ทรงปกครองปวงประชาโดยธรรมฉันใด ขอพระราชาปัจจุบันจงทรงปกครองปวงประชาของพระองค์ โดยธรรม ฉันนั้นเถิด.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 632

อรรถกถาธรรมสังคณี ชื่อว่า อัฏฐสาลินี นี้ อันพระเถระผู้มีนามที่ครูทั้งหลายขนาน (๑) แล้วว่า พุทธโฆสะ ผู้ประดับด้วย ศรัทธา ปัญญา และวิริยะอันหมดจดอย่างยิ่ง ผู้ยังเหตุแห่งคุณมีศีลอาจาระความซื่อตรง ความอ่อนโยนเป็นต้นให้ตั้งขึ้นแล้ว ผู้สามารถหยั่งลงสู่ชัฏ (การวินิจฉัยข้อความที่ยุ่งยาก) ในความแตกต่างกันแห่งลัทธิของตนและคนอื่น ผู้ประกอบด้วยความเฉลียวฉลาดด้วยปัญญา ผู้มีปรีชาญาณอันไม่ติดขัดในสัตถุศาสน์ อันต่างด้วยปริยัติคือ พระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา ผู้เป็นมหาไวยากรณ์ ผู้อธิบายเนื้อความได้กว้างขวาง ผู้ประกอบด้วยถ้อยคำไพเราะอันเลิศซึ่งเปล่งออกไปได้คล่องแคล่วอันเกิดแต่กรณสมบัติ เป็นนักพูดชั้นเยี่ยมโดยทั้งผูกทั้งแก้ เป็นมหากวี เป็นอลังการแห่งวงศ์ของเหล่าพระเถระฝ่ายมหาวิหารซึ่งเป็นประทีปแห่งเถรวงศ์ (๒) ผู้มีความรู้อันตั้งมั่นดีแล้วในอุตริมนุสธรรมประดับด้วยคุณมีการแตกฉานในอภิญญา ๖ เป็นต้น มีปฏิสัมภิทาอันแตกฉานแล้วเป็นบริวาร เป็นผู้มีความรู้ไพบูลย์ และหมดจดวิเศษแล้ว รจนาไว้.

ขออรรถกถาธรรมสังคณีชื่อ อัฏฐสาลินีนี้ อันแสดงนัยแห่งปัญญาวิสุทธิ์ แก่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้แสวงหาธรรมเครื่องสลัดออกจากโลก จงดำรงอยู่ในโลกตราบเท่าพระนามว่า "พุทโธ" ของพระโลกเชษฐเจ้า ผู้เป็นพระมหาฤๅษี (ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่) ผู้มีพระทัยบริสุทธิ์ ผู้คงที่ ยังเป็นไปในโลก เทอญ


(๑) ในที่นี้กล่าว นามเธยฺย (การตั้งชื่อ) เป็นของพระพุทธโฆสาจารย์ที่ครูทั้งหลายขนานให้มีถึง๑๓ บท.

(๒) เถรวงศ์ หมายถึงพระมหากัสสปเถระเป็นต้น และคำว่า " ผู้มีความรู้อันตั้งมั่นดีแล้วในอุตริมนุสธรรมประดับด้วยคุณมีการแตกฉานในอภิญญา ๖ เป็นต้น มีปฏิสัมภิทาอันแตกฉานดีแล้วเป็นบริวาร" เหล่านี้ เป็นคุณของพระมหากัสสปเถระเป็นต้น.