ภัพพบุคคลและอภัพพบุคคล [ปาสราสิสูตร]

 
webdh
วันที่  7 ก.ค. 2550
หมายเลข  4203
อ่าน  13,671

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 453

ข้อความบางตอนจาก ปาสราสิสูตร

จึงทรงจำแนกเหล่าสัตว์ใน ๓ ภพ ทั้งหมด อีกสองคือ ภัพพบุคคลและอภัพพบุคคล. ท่านหมายเอาสัตว์เหล่าใด จึงกล่าวคำนี้ไว้ ว่าเหล่าสัตว์ผู้ประกอบด้วยการ ห้ามกรรมห้ามวิบาก ห้ามกิเลส ไม่มีศรัทธา ตัดไม่ขาด ไม่มีปัญญา ไม่ควรก้าวลง สู่ความชอบในกุศลธรรมแน่นอน สัตว์เหล่านี้นั้นจัดเป็นอภัพพะ. เหล่าสัตว์ผู้เป็นภัพพะ เหล่านั้นเป็นไฉน คือ เหล่าสัตว์ผู้ไม่ประกอบด้วยการห้ามกรรม ห้ามวิบาก ห้ามกิเลสฯลฯ สัตว์เหล่านี้นั้น จัดเป็นภัพพะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 7 ก.ค. 2550

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 421

[๓๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรารู้การอาราธนาของสหัมบดีพรหมและอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยก็มี ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามากก็มี ผู้มีอินทรีย์กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้มีอาการดีก็มี ผู้มีอาการชั่วก็มี ผู้พอจะ พึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ผู้จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษและภัยในปรโลก เปรียบเหมือนในกออุบล ในกอปทุม หรือในกอบุณฑริกดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่กับน้ำจมอยู่ภายในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำอยู่กับน้ำ ตั้งอยู่เสมอกับน้ำ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่พ้นน้ำขึ้นมาแล้วตั้งอยู่ น่าซึมเข้าไปไม่ได้ ฉันใด

เราขณะที่ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ ฉันนั้น บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตามาก บางพวกมีอินทรีย์กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อนบางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการชั่ว บางพวกพอจะสอนให้รู้ได้ง่าย บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปรกติเห็นโทษและภัยในปรโลก. เราจึงได้กล่าวกล่าวคาถาตอบสหัมบดีพรหมว่า เราได้เปิดประตูอมฤตธรรมแล้ว ขอเหล่าชนผู้สดับจงปล่อยศรัทธาออกรับ

ดูก่อนพรหม เราสำคัญว่าจะลำบาก จึงไม่กล่าวธรรมที่ประณีต ซึ่งเราคล่องแคล่วในหมู่มนุษย์.

เมื่อสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานโอกาส เพื่อแสดงธรรมแล้ว จึงอภิวาท กระทำประทักษิณ อันตรธานไปในที่นั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 7 ก.ค. 2550
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 747

ว่าด้วยนิทเทสแห่งภัพพบุคคลและอภัพพบุคคล

พึงทราบวินิจฉัย ในนิทเทสแห่งสัตว์ผู้ควรแก่การตรัสรู้ และไม่ควรแก่การตรัสรู้ ต่อไป คำว่า กมฺมาวรเณน (แปลว่า ด้วยเครื่องกั้นคือกรรม) ได้แก่ ด้วยอนันตริยกรรม ๕ อย่าง. คำว่า กิเลสาวรเณน (แปลว่า ด้วยเครื่องกั้น คือกิเลส) ได้แก่ ด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐิ. คำว่าวิปากาวรเณน (แปลว่า ด้วยเครื่องกั้นคือ วิบาก) ได้แก่ ปฏิสนธิด้วย อเหตุกจิต. ก็เพราะความแทงตลอดอริยมรรค ย่อมไม่มีแก่บุคคลแม้ผู้เป็นทุเหตุกบุคคล๑ ฉะนั้น พึงทราบว่า แม้ทุเหตุกปฏิสนธิ ๒ ก็ชื่อว่า เป็นเครื่องกั้น คือวิบากเหมือนกัน. คำว่า อสทฺธา (แปลว่า ไม่มีศรัทธา) ได้แก่ เว้นจากศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นต้น คำว่า อจฺฉนฺทิกา (แปลว่า ไม่มีฉันทะ) ได้แก่ เว้นจากฉันทะในกุศลของบุคคลผู้ใคร่เพื่อกระทำ. มนุษย์ทั้งหลายชาวอุตตรกุรุทวีป เข้าไปสู่ฐานะของผู้ไม่มีฉันทะ. คำว่า ทุปฺปญฺา (แปลว่ามีปัญญาทราม) ได้แก่ เป็นผู้เสื่อมจากภวังคปัญญา. ก็เมื่อภวังคปัญญาแม้บริบูรณ์ ภวังค์ของบุคคลใดย่อมไม่เป็นบาทแก่โลกุตตระ บุคคลนั้น ก็ชื่อว่ามีปัญญาทรามนั่นแหละ.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 14 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ