พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธาตุยมกที่ ๔ - ปริญญาวาระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 ก.พ. 2565
หมายเลข  42137
อ่าน  341

[เล่มที่ 82] พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๕

ยมก ภาคที่ ๑ ตอนที่ ๑

ธาตุยมกที่ ๔

ปริญญาวาระ

อรรถกถาธาตุยมก 812


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 82]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้า 811

(อายตนยมกท่านจำแนกไว้ ฉันใด แม้ธาตุยมก ก็พึงจำแนก ฉันนั้น พึงกระทำให้เหมือนกัน.)

ปวัตติวาระ จบ

ปริญญาวาระ

[๘๑๖] บุคคลใดกำลังรู้แจ้งจักขุธาตุ บุคคลนั้นกำลังรู้แจ้ง โสตธาตุ ใช่ไหม?

ใช่.

ธาตุยมก จบบริบูรณ์ โดยย่อ.

ปริญญาวาระ จบ

ธาตุยมก ที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้า 812

อรรถกถาธาตุยมก

บัดนี้ เป็นการวรรณนาธาตุยมก ที่ท่านรวบรวมแสดงไว้แล้วใน ลำดับอายตนยมกด้วยอำนาจธาตุ ในธรรมมีกุศลเป็นต้น ที่ท่านแสดง ไว้แล้วในมูลยมกเหล่านั้นนั่นแหละ. พึงทราบการกำหนดพระบาลีตาม นัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในอายตนยมกนั้นนั่นเทียว. ก็ในธาตุยมกแม้นี้ มหาวาระ ๓ มีปัณณัตติวาระเป็นต้น และอันตรวาระที่เหลือ กับประเภททั้งหลาย มีประเภทแห่งกาลเป็นต้น ย่อมเป็นเช่นเดียวกันกับที่มา แล้วในอายตนยมกนั่นเทียว. อีกอย่างหนึ่ง ในธาตุยมกนี้ ท่านกล่าว รูปธาตุภายในและภายนอกเทียว แล้วจึงกล่าววิญญาณตามลำดับ เพื่อง่ายแก่การถามยมก. ก็ยมกที่มากกว่าอายตนยมก การถามที่ทวีคูณ ด้วยยมก และอรรถที่ทวีคูณด้วยการถาม ย่อมมีในธาตุยมกนี้ เพราะ ธาตุทั้งหลายมีมาก. การวินิจฉัย อรรถกถาแห่งยมกทั้งหลายที่ได้อยู่ใน ยมกทั้งหลาย มีจักขุธาตุมูลกั้นเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าว แล้วในอายตนยมกนั่นเทียว. ก็คติแห่งอรรถในธาตุยมกนี้ ย่อมเป็น เช่นเดียวกันกับด้วยอายตนะนั้นนั่นเทียว. อนึ่ง แม้พระบาลีท่านก็ย่อ ไว้แล้ว เพราะเหตุนั้นนั่นเทียว. ปริญญาวาระพึงทราบว่า เป็นวาระ ตามปกตินั่นเทียว ดังนี้.

อรรถกถาธาตุยมก จบ