พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมยมก - อรรถกถาธัมมยมก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 ก.พ. 2565
หมายเลข  42172
อ่าน  364

[เล่มที่ 83] พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๒

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๕

ยมก ภาคที่ ๑ ตอนที่ ๒

ธรรมยมก

อรรถกถาธัมมยมก 1032


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 83]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 21 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้า 1032

อรรถกถาธัมมยมก

    บัดนี้ เป็นวรรณนา ธัมมยมก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งมาติกาแห่งธรรมทั้งหลาย มีกุศลเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละที่แสดงไว้ในมูลยมกแล้วแสดงต่อจากจิตตยมก.

ในธัมมยมกนั้น พึงทราบการกำหนดพระบาลีตามนัยที่กล่าวไว้ในขันธยมก ก็ในขันธยมกนั้น มี ๓ มหาวาระ มีปัณณัตติวาระเป็นต้น และมีอันตรวาระที่เหลือ มีอยู่โดยประการใด, ในธรรมยมกก็มีโดยประการนั้น

แต่ในธรรมยมกนี้พึงทราบว่าท่านเรียกปริญญาวาระว่า ภาวนา-วาระ เพราะพระบาลีอาคตสถานว่า โย กุสลธมฺมํ ภาเวติ โส อกุสลฺธมฺมํ ปชหติ - บุคคลใดเจริญกุศลธรรม บุคคลนั้นชื่อว่าละอกุศลธรรมหรือ?

ในภาวนาวาระนั้น อัพยากตธรรมเป็นธรรมที่บุคคลไม่ควรเจริญด้วย ไม่ควรละด้วย เพราะเหตุนั้นท่านจึงไม่ยกบทนั้นขึ้นแสดงก็ในปัณณัตติวาระในธรรมยมกนี้ พึงทราบการนับยมกในวาระ ๔ เหล่านี้ คือ ปทโสธนวาระ ปทโสธนมูลจักกวาระ สุทธธัมมวาระ สุทธธัมมมูลจักกวาระ ด้วยอำนาจแห่งธรรมทั้งหลาย มีกุศลธรรมเป็นต้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 21 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้า 1033

    ส่วนในปัณณัตติวาระนิทเทส พระองค์ตรัสว่า อามนฺตา เพราะความที่แห่งกุศลทั้งหลายเป็นกุศลธรรมโดยแน่นอน ในปัญหาที่ว่า กุศล ชื่อว่ากุศลธรรม หรือ? ดังนี้ แม้ในคำวิสัชชนาที่เหลือก็นัยนี้ คำวิสัชนาที่ว่า ธรรมทั้งหลายที่เหลือ ไม่ชื่อว่าอกุศล แต่ชื่อว่าธรรม อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายที่เหลือไม่เป็นอกุศล แต่เป็นธรรม พึงทราบคำวิสัชชนาทั้งหมดโดยนัยนี้.

ก็ในอนุโลมนัยแห่งบุคคลวาระ ปัจจุบันกาลในปวัตติวาระนี้ยมก ๓ อย่าง คือ ยมกที่มีกุศลธรรมเป็นมูล ๒ อย่าง มีอกุศลธรรมเป็นมูล ๑ อย่างย่อมมีในปัญหาว่า กุศลธรรมย่อมเกิดแก่บุคคลใด อกุศลธรรมก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

ก็หรือว่า อกุศลธรรม ย่อมเกิดแก่บุคคลใด กุศลธรรมย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?ดังนี้.

ในปฏิโลมนัยก็ดี ในวาระทั้งหลายมีโอกาสวาระเป็นต้นก็ดี ก็นัยนี้ บัณฑิตพึงทราบการนับยมก ด้วยอำนาจแห่งยมกทั้งหลาย ๓ อย่างในวาระทั้งปวง ในปวัตติวาระนี้อย่างนี้.

ก็ในการวินิจฉัยเนื้อความในปวัตติวาระพึงทราบลักษณะนี้ ดังต่อไปนี้.

ในปวัตติวาระแห่งธรรมยมกนี้ คำว่า อุปฺปชฺชนติ - ย่อมเกิด นิรุชฺฌนฺติ - ย่อมดับ ในอุปปาทและนิโรธวาระเหล่านี้ ย่อมได้กุศลธรรมและอกุศลธรรมในปวัตติกาลเท่านั้นโดยแน่นอน ย่อมไม่ได้จุติ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 21 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้า 1034

และปฏิสนธิกาล แต่ว่าอัพยากตธรรมย่อมได้ในกาลทั้ง ๓ คือ ปวัตติจุติ และปฏิสนธิ.

ลักษณะใดย่อมได้ในที่ใดๆ พึงทราบคำวินิจฉัยของลักษณะนั้นในที่นั้นๆ อย่างนี้.

พึงทราบนัยมุขในการวินิจฉัยนั้นดังนี้ คำปฏิเสธว่า โน - ไม่ใช่ พระองค์ทรงกระทำแล้วเพราะความไม่บังเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันของกุศลและอกุศล.

คำว่า อพฺยากโต จ ท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจแห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.

ปัญหาว่า กุศลธรรมย่อมไม่เกิดขึ้นในภูมิใด นี้ ท่านกล่าวหมายเอาอสัญญีภพ เหตุนั้นในปัญหานี้ท่านจึงทำคำวิสัชนาว่า อามนฺตา -ใช่ แม้ในคำว่า ย่อมเกิดขึ้น นี้ ท่านก็กล่าวหมายเอาอสัญญีภพนั่นแหละ แต่กระทำการห้ามว่า ไม่มี เพราะความไม่มีแห่งที่อันไม่บังเกิดขึ้นแห่งอัพยากตธรรมทั้งหลาย หมายความว่า อัพยากตธรรมเกิดได้ในทุกภูมิ.

คำว่า ทุติเย อกุสเล - ครั้นเมื่ออกุศลดวงที่สอง ได้แก่ ชวนจิตดวงที่สองในนิกันติชวนะที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพราะยินดีซึ่งภพ.

คำว่า ทุติเจ จิตฺเต วตฺตมาเน - ครั้นเมื่อจิตดวงที่สองเป็นไปอยู่ ได้แก่ครั้นเมื่อภวังคจิตอันเป็นจิตดวงที่สอง แต่ปฏิสนธิจิต

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 21 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้า 1035

เป็นไปอยู่ อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ทุติเย จิตฺเต วตฺตมาเน ได้แก่ ครั้นเมื่ออาวัชชนจิตในภวนิกันติชวนะ ได้แก่ เป็นไปอยู่ เพราะกระทำซึ่งภวังค์กับปฏิสนธิให้เป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจของวิบากจิต จริงอยู่ อาวัชชนะจิตนั้นชื่อว่า ทุติยจิต - จิตดวงที่สอง นับแต่วิบากจิต เพราะความที่แห่งอาวัชชนะจิตนั้น เป็นกิริยาจิตในอัพยากตชาติ หมายความว่า อาวัชชนะจิตเป็นจิตคนละชาติกับวิบาก.

คำว่า ยสฺส จิตฺตสฺส อนนฺตรา อคฺคมคฺคํ ท่านกล่าวหมายเอาโวทานจิต.

คำว่า กุสลา ธนฺมา อุปฺปชฺชิสฺสนฺติ ท่านกล่าวหมายเอาธรรมทั้งหลาย คือ มรรคอันเลิศเหล่านั้น.

ปัญหาว่า ยสฺส จิตฺตสฺส อนนฺตรา อคฺคมคฺคํ ปฏิลภิสฺสนฺติ ตสฺส จิตฺตสฺส อุปฺปาทกฺขเณ ท่านกล่าวด้วยอำนาจของการเกิดขึ้นแห่งโวทานจิตนี้ ก็ลักษณะนี้ย่อมได้แม้ในอุปปาทขณะแห่งโอริมจิต ได้แก่ จิตดวงก่อน แต่โวทานจิตนั้น อันเกิดขึ้นแล้วด้วยอาวัชชนะจิตเดียวกันแห่งการเกิดของโวทานจิตนั้น.

แม้ในนิโรธวาระ ท่านกล่าวแล้วว่า โน - ไม่ใช่ เพราะความที่กุศลและอกุศลไม่ดับพร้อมกัน พึงทราบคำวินิจฉัยในที่ทั้งปวงโดยนัยมุขนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อรรถกถาธรรมยมก จบบริบูรณ์