อารักขา การไปสู่หนทางที่ถูกต้อง
保護走向正確的道路
"อารักขา" การไปสู่หนทางที่ถูกต้อง
問:請問(arakkha-gocara)聞慧思慧的習性累積到能守護的程度,這跟“四正勤”正確努力有怎麼樣的關係?
(sammappadhana)四正勤即:
1. (samvarapadhana) 精進于防止未生的惡法 。
2. (hanapadhana) 精進斷除已生起的惡法。
3. (bhavanapadhana) 精進于令未生的善法生起。
4. (anurakkhanapadhana) 精進于令已生的善法增長。
ผู้ถาม: ขอเรียนถามเรื่องอารักขโคจร ที่เมื่อมีการสะสมความเข้าใจในการฟังธรรม พิจารณาธรรมจนถึงระดับที่สามารถอารักขาคุ้มครองได้ มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับความเพียรที่ถูกต้องใน สัมมัปปธาน ๔?
ความเพียรซึ่งเป็นสัมมัปปธาน ๔ คือ:
๑. สังวรปธาน คือเพียรเพื่อไม่ให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น
๒. ปหานปธาน คือเพียรเพื่อละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาปธาน คือเพียรเพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น
๔. อนุรักขนาปธาน คือเพียรเพื่อความเจริญมั่นคงบริบูรณ์ ของกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
Sarah:為何會有這樣的聯想呢?
ซาร่า: เพราะอะไรจึงเชื่อมโยง "อารักขโคจร" กับ "สัมมัปปธาน"?
問:因為四正勤都是鼓勵善法,必須防止不善法或維護善讓善法的生起愈來愈增長。
ผู้ถาม: เพราะว่าสัมมัปปธาน๔ เป็นไปในการสนับสนุนกุศลธรรม โดยไม่ให้อกุศลธรรมเกิด หรือให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วยิ่งเจริญเพิ่มมากขึ้น
Sarah:首先,如果沒有智慧正確的瞭解在那裡的法,就不可能成為“守護”(arakkha) ,當然就不可能繼續的 培養成為四正勤(sammappadhana) 正確的精進,“正精進”本身一定要有智慧一起生起。
ก่อนอื่นถ้าไม่มีปัญญาที่เข้าใจถูกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เป็นไปไม่ได้ที่จะมีการอารักขาคุ้มครอง และแน่นอนว่าไม่อาจที่จะอบรมเจริญจนถึงความเพียรที่เป็นสัมมัปปธาน ๔ ได้ ความเพียรที่เป็นกุศลต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วย
例如現在是不是在看,如果我們把那個正在看的當成是我在看,現在正在聽的當成是我在聽,那麼這件事情本身就代表了沒有正見在那裡,這樣的努力一定有一個“我”在努力。
เช่นเดี๋ยวนี้กำลังเห็น หากเราคิดว่าสิ่งที่กำลังเห็นนั้นเป็นเราที่กำลังเห็น กำลังได้ยินก็คิดว่าเป็นเราที่ได้ยิน ก็แสดงให้เห็นว่ายังเป็นไปกับความเห็นผิด การเพียรพยายามเช่นนี้ก็ต้องเป็นตัวเราที่กำลังเพียร
所以從一開始就要有正確的知道瞭解的對象是什麼?比如,在看的眼識,被看到的色塵...等等,要能夠清楚的分辨那個去看的是什麼?被看到的是什麼?
ดังนั้นตั้งแต่เริ่มต้นก็ต้องมีความรู้ที่ถูกต้องในสิ่งนั้นว่าคืออะไร? เช่น จิตเห็นที่กำลังเห็น สิ่งที่ถูกเห็น ต้องแยกแยะ ด้วยความเข้าใจถูกต้องว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร? สิ่งที่ถูกเห็นคืออะไร?
我們正在討論的都是在培養理智上的瞭解,這個培養慢慢的逐漸的加深才能夠在談之後的階段。 註:(Upanissaya)「近依、依止」(gocara)「行外、境」 (Upanissaya-gocara)意思是依賴止住,親近善的人依靠有品德有智慧的人展示真理。能夠有正見正確的瞭解真相,有智慧止息煩惱汙染雜質之道
สิ่งที่เรากำลังสนทนา คือการอบรมเจริญความเข้าใจในขั้นปริยัติ เมื่อการอบรมในขั้นนี้ค่อยๆ สะสมจนมีกำลังมากขึ้น จึงจะกล่าวถึงขั้นต่อไปได้ อุปนิสสย: (ที่อาสัยที่มีกำลัง) โคจร: (อารมณ์เป็นที่ท่องเที่ยวไปของจิต) อุปนิสสยโคจร คือการเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรผู้มีคุณธรรมมีปัญญา แสดงความจริงให้เกิดความเข้าใจถูกความเห็นถูกในสิ่งที่มีจริงซึ่งจะนำไปสู่หนทางดับกิเลส
對現在正在生滅的法常常的聞慧跟思慧,逐漸的開始去瞭解對這些正在出現的法開始習慣的建立,在要知道正精進之前,一定要先知道精進這個法,它是因緣和合的,是無我的,不由人決定善或不善的。
ฟังและพิจารณาสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับในขณะนี้บ่อยๆ เนืองๆ ค่อยๆ เริ่มที่จะคุ้นชินกับสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้น ก่อนที่จะสามารถรู้จักสัมมาวายามะ ความเพียรชอบนั้น จะต้องรู้จักสภาพธรรมที่เป็นวิริยะก่อน ซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีเรา ไม่มีใครจะบังคับบัญชาให้เป็นกุศลหรืออกุศล
當這樣的瞭解逐漸的加深堅定之後,才能成為(arakkha-gocara)守護行外,保護不讓不善心生起的條件,所以這條道路的建立是瞭解現在正 在出現的法,它是因緣和合,是無我(anatta)。
เมื่อความเข้าใจขั้นนี้ค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนมั่นคงแล้ว จึงจะเป็นปัจจัยให้เกิดอารักขโคจร คือ เกิดขึ้นอารักขาคุ้มครองจิตไม่ให้อกุศลจิตเกิด ดังนั้นการอบรมเจริญหนทางนี้ คือการเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีเรา เป็นอนัตตา
老師說,在輪迴中每一刻生起的法只有一次生起就滅去了,在那一刻裡並不能尋到任何人跟東西,所以如果真的沒有瞭解這一刻生命的真相是什麼?是不可能成為保護的力量。
ท่านอาจารย์กล่าวว่า ทุกขณะจิตที่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในสังสารวัฏฏ์เท่านั้น และจิตในแต่ละขณะนั้นจะหาความเป็นเราหรือเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้เลย ดังนั้นหากไม่มีความเข้าใจชีวิตในขณะนี้จริงๆ ว่าคืออะไร? ก็เป็นไป ไม่ได้เลยที่ความเข้าใจนั้นจะมีกำลังถึงระดับอารักขาคุ้มครองได้
Ajhan Sujin:現在有沒有什麼法可以被瞭解?現 在有精進這個法嗎? 當我們在討論“精進”(viriya)這個法,如果“精進”沒有出現它怎麼能夠被瞭解呢? 所以在還沒瞭解“精進”這個法的時候,“精進”是什麼都還不曉得,只想著要去做什麼努力,這是錯誤的,不正確的。
เดี๋ยวนี้มีสภาพธรรมอะไรบ้างไหมที่สามารถจะเข้าใจได้? เดี๋ยวนี้มีสภาพธรรมที่เป็นวิริยะไหม? ในขณะที่เรากำลังสนทนาธรรมกันเรื่องวิริยะ ถ้าสภาพวิริยะไม่ได้ปรากฎ แล้วจะเข้าใจวิริยะได้อย่างไร? ดังนั้นในขณะที่ยังไม่เข้าใจสภาพธรรมที่เป็นวิริยะ วิริยะคืออะไรก็ยังไม่รู้เลย เพียงแต่คิดว่าจะไปเพียรพยายามอย่างไรนั้น นี่คือสิ่งที่ผิด เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
就如貪愛,不論是任何法,如果沒有出現就只是在討論它而已,並沒有直接的瞭解那個法。 所以不管我們在討論什麼法,它並沒有人或東西,任何一刻都沒有,如果對無我瞭解的信心不足,當在努力精進時又怎麼能知道它是無我的呢? 在此時此刻什麼才是非常的困難去瞭解?在想著什麼是努力的時候是什麼在想?那個是無我。
ก็เหมือนโลภะ ไม่ว่าจะเป็นสภาพธรรมอะไรก็ตาม ถ้าไม่ได้ปรากฎ ก็ได้แต่เพียงพูดถึงเท่านั้น ไม่ได้เข้าใจตรงลักษณะของสภาพธรรมนั้นเลย ดังนั้นไม่ว่าเราจะสนทนาธรรมกันเรื่องอะไรก็ตาม สภาพธรรมนั้นไม่ได้เป็นคนหรือเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้สักขณะก็ไม่มีเลย ถ้าความเข้าใจในความไม่มีเรายังไม่มั่นคง แล้วที่กำลังเพียรพยายามอยู่ จะรู้ในความไม่มีเราได้อย่างไร? เดี๋ยวนี้ขณะนี้ อะไรเป็นสิ่งที่ยากมากๆ ที่จะเข้าใจ? ขณะที่กำลังคิดว่าอะไรคือความเพียรพยายาม ขณะนั้นอะไรคิด? และนั่นก็ไม่ใช่เรา
如果不能夠真的瞭解在那裡的是什麼?不管我們討論什麼都沒有用,因為它們並沒有出現被瞭解它們是無我的本質。 所以當我們討論“精進”時,其實那一刻是什麼在那裡?它是無我。 如果這個名詞已經聽得很熟悉了,但是它的本質有真的被瞭解了嗎? 當那個法在那裡的時候,無我的本質有出現的很清楚了嗎?我們可以討論很多,那現在在那裡的呢!它是無我的。
ถ้าไม่เข้าใจจริงๆ ว่าสิ่งที่อยู่ที่นั่นคืออะไร จะสนทนาอย่างไรก็ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าสิ่งที่กำลังพูดถึงไม่ได้ปรากฎลักษณะของความไม่มีเราให้เข้าใจ ดังนั้นในขณะที่เรากำลังพูดถึงวิริยะ จริงๆ แล้วขณะนั้นมีอะไรอยู่ที่นั่นไหม? นั่นคือ ไม่ใช่เรา ไม่มีเรา คำนี้เราอาจจะได้ยินบ่อยจนชินแล้ว แต่ลักษณะจริงๆ ของสิ่งนั้นเราเข้าใจจริงๆ แล้วหรือยัง? ในขณะที่สภาพธรรมนั้นอยู่ที่นั่น ลักษณะของ ความไม่มีเรา ไม่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ปรากฎอย่างชัดเจนแล้วหรือเปล่า? เราสามารถที่จะสนทนากันมากมายหลายเรื่อง แต่เดี๋ยวนี้สิ่งที่กำลังปรากฏคืออะไร? และนั่นก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเรา
倘若真的瞭解現在這一刻的真相,當然也可以瞭解未來,比如說,眼識就是眼識,有沒有足夠的瞭解那個去經驗的“名法”,和那個不能夠去經驗的“色法”。 所以我們所用的這個名詞“精進”它的本質是什麼?否則一直是我的努力。
ถ้าเข้าใจความจริงในขณะนี้จริงๆ แน่นอนว่าต่อไปก็สามารถเข้าใจสภาพธรรมอื่นๆ ได้ อย่างเช่น จิตเห็น ก็คือจิตเห็น มีความเข้าใจพอแล้วหรือยังที่จะรู้ตรงสภาพรู้ หรือนามธรรม และ สภาพที่ไม่รู้อะไรเลย หรือ รูปธรรม ดังนั้นที่เราใช้คำว่า "วิริยะ" ลักษณะของวิริยะคืออย่างไร? ถ้ายังไม่รู้ ก็จะเป็นเราที่เพียรพยายาม
因此只是在口中文字上知道法是無我是不夠的,直到真的瞭解現在在那裡的法,去經驗的法和不能去經驗的法清楚的分別。 開始去熟悉那些去經驗的法,不同的法,這件事情能幫助我們瞭解,不管出現的是什麼法,只要它去經驗的,我們可以逐漸的去瞭解,就只是可以去經驗的法。
เพราะฉะนั้นเพียงแต่กล่าวคำว่า "ไม่มีเรา" ที่รู้จักเพียงแต่คำพูดนั้นยังไม่พอ ต้องเข้าใจสภาพธรรมเดี๋ยวนี้จริงๆ ที่กำลังมีอยู่ที่นั่น เห็นความแตกต่างระหว่างสภาพรู้กับสภาพที่ไม่รู้อะไรเลยอย่างชัดเจน เริ่มที่จะคุ้นเคยกับสภาพธรรมแต่ละอย่าง การรู้แบบนี้จะช่วยเกื้อกูลให้เราเข้าใจ ไม่ว่าสิ่งที่ปรากฎนั้นจะเป็นสภาพธรรมอะไร ขอเพียงแค่เป็นสภาพธรรมที่รู้ได้ เราก็สามารถค่อยๆ เข้าใจสภาพธรรมนั้นได้ว่าเป็นแค่เพียงสภาพที่รู้ได้
所以當我們說它是個“名法”去經驗的法這是不夠 的,因為它的本質到底是什麼並沒有出現被瞭解,倘若不能夠去瞭解“名法”那個去經驗的,我們就沒有辦法更近的去瞭解那個生起的法是什麼。
เพราะฉะนั้นในขณะที่เรากล่าวว่านั่นเป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้ เท่านี้ยังไม่พอ เพราะว่าลักษณะของนามธรรมเป็นอย่างไรนั้นยังไม่ได้ปรากฏให้รู้ ถ้ายังไม่สามารถที่จะเข้าใจนามธรรมที่เป็นสภาพรู้ เราก็ไม่มีทางที่จะขยับเข้าใกล้ความเข้าใจสภาพธรรมที่เกิดขึ้นนั้นว่าคืออะไร
所以當我們討論正精進這個主題時,如果不能夠瞭解精進這個法,那麼我們是不可能真正的瞭解什麼是正精進。 現在這一刻有什麼可以被知道是正精進嗎? 因此現在不管是什麼正在經驗,如果這件事情不能被瞭解,那麼我們就不能夠瞭解所有的名法真實本質就只是生起去 經驗一個對象而已。
ดังนั้นในขณะที่เรากำลังสนทนากันในเรื่องของสัมมาวิริยะ ถ้าไม่เข้าใจลักษณะของวิริยะ ก็เป็นไป ไม่ได้เลยที่เราจะเข้าใจว่าอะไรคือสัมมาวิริยะ เดี๋ยวนี้ขณะนี้มีอะไรที่เป็นสัมมาวิริยะให้รู้ได้บ้าง? เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ไม่ว่าสิ่งที่ถูกรู้จะเป็นอะไรก็ตาม ถ้ายังไม่เข้าใจ เราก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจลักษณะของนามธรรมได้ ก็เป็นแต่เพียงสภาพธรรมชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นรู้เท่านั้นเอง
我們討論了很多關於 眼識、耳識、鼻識、舌識、身識以及思考討厭或喜歡...等等,那它們在那裡? 所以,名法現在這一刻就有,名法就是那個去經驗的,倘若還沒有真的瞭解現在這一刻未來又怎麼瞭解。
เราสนทนากันเยอะมากเกี่ยวกับเรื่อง จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตที่กระทบสัมผัส รวมถึง คิดนึก ชอบไม่ชอบ...ต่างๆ แล้วสิ่งที่กล่าวถึงนั้นอยู่ไหน? เพราะฉะนั้นขณะนี้มีนามธรรม ซึ่งเป็นสภาพรู้ ถ้ายังไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ขณะนี้จริงๆ แล้ว ต่อไปจะเข้าใจได้อย่างไร
我們聽聞實相的重點目的在那裡? 聽聞是為了要瞭解這一刻正在出現的法是無我的本質。 首先就是要去瞭解“名法”就是那個去經驗的,“色法”就是那個不能去經驗的,它們能不能慢慢的清楚分開來?那麼現在正在出現的呢 它到底是什麼?如果不能夠被真正的瞭解,就會把它當成是某個人某個東西。
วัตถุประสงค์ของการฟังความจริงนั้นอยู่ที่ไหน? ที่ฟังก็เพื่อที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฎเดี๋ยวนี้ขณะนี้ ว่าไม่มีเรา ที่จะต้องเข้าใจเบื้องต้นก็คือ ให้เข้าใจว่า"นามธรรม"คือสภาพรู้ "รูปธรรม"คือสภาพที่ไม่รู้อะไรเลย สามารถเข้าใจความต่างของสองอย่างนี้ได้ชัดเจนไหม? แล้วสิ่งที่กำลังปรากฎในขณะนี้คืออะไร? ถ้ายังไม่ได้เข้าใจถูกต้องจริงๆ ก็จะยังมีความเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นคนหรือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
倘若只是說,“名法” 就是那個去經驗的法,這樣子是不足夠於瞭解法的真相。 真正的培養智慧是瞭解現在這一刻正在經驗的那個法,愈來愈加深靠近這一刻的真相,這就是靠近真相的道路,瞭解正在出現的真實本質。 所以佛陀所說的法是輕易就懂還是深奧難懂? 佛陀是因為瞭解現在在那裡的是什麼而開悟,然而宣說法的真理讓我們知道。 要瞭解在那裡的是什麼並不容易,要不同的角度方式知道各種各樣的內容涵義,都只是為了瞭解真相,法的本質是無我,在那裡的法是有因緣條件而生,這是“聖者的真諦”(ariyasacca) 。 重點就是法是因緣和合而生,無我(anatta),這就是研習佛法的意義,禮敬研習三藐三佛陀所說的言教。
การกล่าวแต่เพียงว่า"นามธรรม คือสภาพธรรมที่เป็นสภาพรู้" เพียงเท่านี้ไม่พอที่จะเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง การอบรมเจริญปัญญาที่แท้จริง คือเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ขณะนี้ ค่อยๆ หยั่งลึก ค่อยๆ เข้าใกล้ความจริงในขณะนี้ นี้คือหนทางที่จะเข้าใกล้ความจริง เข้าใจลักษณะที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ดังนั้นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถที่จะรู้ได้โดยง่ายหรือลึกซึ้งรู้ได้โดยยาก? พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงว่าสิ่งที่กำลังอยู่ที่นั่นคืออะไร แล้วทรงแสดงความจริงให้พวกเราได้รู้ การที่จะเข้าใจว่าสิ่งที่อยู่ที่นั่นคืออะไรไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ต้องรอบรู้ในความหลากหลายนัย อรรถ ความหมาย ทั้งหมดเพื่อที่จะเข้าใจความจริง ลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ คือไม่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่มีเรา สภาพธรรมที่อยู่ที่นั่นเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย นี่คือความจริงสำหรับพระอริยบุคคล สิ่งที่สำคัญ คือสภาพธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีเรา เป็นอนัตตา นี่คือประโยชน์ของการศึกษาพระธรรม ศึกษาด้วยความเคารพสูงสุดในพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
問:三十七道品裡的“四神足”(iddhipada)跟禪定有關嗎?“四神足”的建立禪定是不必要嗎?
ผู้ถาม: อิทธิบาท ๔ ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ มีความเกี่ยวข้องกับฌานไหม? แล้วฌานนั้นก็ไม่ได้มีความจำเป็นต่อการเจริญอิทธิบาท ๔ ใช่ไหม?
Ajhan Sujin:倘若不能夠瞭解現在正在出現的法,有可能建立正道嗎?
อ.สุจินต์: ถ้าไม่มีความเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฎเดี๋ยวนี้ เป็นไปได้ไหมที่จะเจริญหนทางที่ถูกต้อง?
問:不能
ผู้ถาม: ไม่ได้
Ajhan Sujin:所以這條正道開始的因素的什麼? 首先,正道的開始就是正確的瞭解,瞭解現在在那裡的真相,只是法,不是我,無我。 倘若不瞭解現在在那裡的是什麼?怎麼可能去培養正道呢? 不管我們在討論什麼,就是去瞭解那個法,是如此真實的在那裡,所以我們一次討論一個法,若現在正在出現的法都還不知道,那麼就不用談到正道是要如何建立。
อ.สุจินต์: เพราะฉะนั้นอะไรเป็นปัจจัยในการเริ่มต้นในหนทางที่ถูกต้อง? การเริ่มต้นของหนทางที่ถูกต้องนั้น คือความเข้าใจ เข้าใจความจริงที่อยู่ที่นั่นในขณะนี้เดี๋ยวนี้ ว่าเป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา ไม่มีเรา ถ้ายังไม่เข้าใจสิ่งที่อยู่ที่นั่นในขณะนี้เดี๋ยวนี้ว่าคืออะไร แล้วจะเจริญหนทางที่ถูกต้องได้อย่างไร? ไม่ว่าเราจะสนทนากันเรื่องใดก็ตาม ก็คือเพื่อ เข้าใจสภาพธรรมที่อยู่ที่นั่นจริงๆ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องสนทนา "ทีละหนึ่ง" และถ้าสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ยังไม่รู้ ก็ไม่ต้องกล่าวถึงเลยว่าหนทางที่ถูกต้องนั้นจะเจริญได้อย่างไร
“正道”是什麼意思?它通往那裡? 這條道路是不用瞭解現在這一刻的真相是什麼是嗎? 首先我們要先一次一個清楚的區分它的真相是“無我” (anatta)。這條正道是三藐三佛陀教導的正道,不是別人教導,這整條道的正道是並沒有任何人、事、物 。
"สัมมามรรค" หนทางที่ถูกต้องหมายความว่าอะไร? แล้วนำไปสู่ที่ไหน? หนทางนี้เป็นหนทางที่ไม่ต้องเข้าใจความจริงที่กำลังปรากฎในเดี๋ยวนี้ขณะนี้ใช่ไหม? ก่อนอื่นเลยเราต้องแยกสภาพธรรมทีละหนึ่งทีละหนึ่งออกอย่างชัดเจนว่าไม่มีเรา เป็นอนัตตา หนทางที่ถูกต้องนี้เป็นหนทางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ไม่ใช่คำสอนของผู้อื่น ตลอดทั้งสายในหนทางที่ถูกต้องนี้คือไม่มีสัตว์ บุคคล หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย
Sarah:不管我們在討論什麼情境故事,就只是在看、在聽...在想,倘若真的有智慧去瞭解的那一刻,那一刻就是捨離對我的執取,逐漸的捨棄相信是有我存在。這就是為什麼對法的瞭解是唯一的避風港,尤其是對邪見的保護。 當我們討論“菩提 分”(Bodhipakkhiyadhamma)三十七道品開悟的因子,如何被建立?一定要有正見正確的智慧才有可能培養,三十七道品裡面“四神足”的培養建立一定要有智慧的因緣條件。比如“四神足”的精進,如果沒有智慧瞭解精進不是我,是不可能建立“菩提分”開悟一方之法,即使是已經成就最高的禪定,但是如果沒有正見正確的瞭解禪定心也是一種法,是無常的,是不可能帶來滿足,是 無我。若沒有這樣真正的瞭解是不可能成為開悟法的因素。
ซาร่า: ไม่ว่าเราจะสนทนาเรื่องใดๆ ก็ตาม ก็เป็นแต่เพียงกำลังเห็น กำลังได้ยิน...กำลังคิดนึก ถ้ามีปัญญาเข้าใจในขณะนั้น ขณะนั้นก็คือละความยึดถือด้วยความเป็นเรา ค่อยๆ ละความยึดมั่นที่ว่ามีตัวเรา นี่จึงเป็นเหตุที่ว่าทำไมการเข้าใจธรรมะจึงเป็นที่พึ่งที่แท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคืออารักขาคุ้มครองจากความเห็นผิด ในขณะที่เราสนทนาเรื่องโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ซึ่งเป็นธรรมะอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ว่าจะเจริญได้อย่างไรนั้น จะต้องมีความเห็นที่ถูกต้องก่อนจึงจะอบรมเจริญปัญญาที่ถูกต้องได้ การอบรมเจริญอิทธิบาท ๔ ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ จะต้องมีปัญญาเป็นปัจจัย ตัวอย่างเช่น วิริยะในอิทธิบาท ถ้าไม่มีปัญญาเข้าใจว่าวิริยะไม่ใช่เรา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเจริญธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ได้ แม้จะได้ฌานขั้นสูงสุดแล้วก็ตาม ถ้าไม่มีความเห็นถูกความ เข้าใจถูกว่าฌานจิตก็เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่เที่ยง ไม่อาจนำความสุข ที่แท้จริงมาให้ ไม่มีเรา ถ้าไม่มีความเข้าใจอย่างนี้จริงๆ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเป็นปัจจัยให้แก่องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้
四神足裡的“欲為成就之法”(chandidhipado) ,是對現在這一刻的真相正在出現的法有興趣,如果慾望更多的慈愛,更好的我,想要有禪定,這樣想要的慾望是什麼“欲”呢?因為“欲”可以同善心生起,也能同不善心生起,其實現在這一刻就有“欲心所”,倘若現在這一刻的“欲心所”都不能夠瞭解,我們怎麼能真的辨別善與不善的“欲心所”呢?在一天之中大部份的“欲心所”都是不善,在憤怒 生氣、傷心、不愉快 的時候,“欲心所”也會同瞋恨心一起生起。
ฉันทะในอิทธิบาท ๔ คือมีฉันทะ มีความสนใจพอใจในสภาพธรรมที่กำลังปรากฎเดี๋ยวนี้ขณะนี้ ถ้าพอใจที่จะมีเมตตายิ่งขึ้น เป็นเราที่ดียิ่งกว่าเดิม อยากได้ฌาน ความพอใจความต้องการอย่างนี้คืออะไร? เพราะเหตุว่าฉันทะเกิดกับกุศลจิตก็ได้ เกิดกับ อกุศลจิตก็ได้ ความจริงเดี๋ยวนี้ขณะนี้ก็มีฉันทเจตสิก ถ้ายังไม่เข้าใจฉันทเจตสิกที่กำลังเกิดในขณะนี้ แล้วเราจะแยกแยะฉันทะที่เป็นกุศลหรืออกุศลจริงๆ ได้อย่างไร? ในวันหนึ่งๆ โดยมากฉันทเจตสิกก็เป็นไปในอกุศล ขณะที่ไม่พอใจ โมโห โกรธ เสียใจ ไม่มีความสุขนั้น ฉันทเจตสิกก็เกิดพร้อมกับโทสมูลจิต
接下來四神足裡的 “心為成就之法”(cittiddhipado) 與 “觀為成就之法”(vimamsiddhipado)都跟智慧有關,如果從來都沒有正見的瞭解這些法是無我的,那是不可能有任何保護,更不可能培養出“菩提分”開悟的因素。 倘若從來沒有聽聞佛陀的教誨,即使學到最高的善,成就了三界裡最高禪定的善,也不可能真正的培養“菩提分”三十七道品,因為他一開始就不知道這些法是無我。
ต่อด้วยจิตในอิทธิบาท ๔ คือ จิตตะ และ ปัญญาในอิทธิบาท ๔ คือ วิมังสา ล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวข้อง กับปัญญา ถ้าไม่เคยมีความเข้าใจถูกเห็นถูกเลยว่าสภาพธรรมไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่มีเรา ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีการอารักขาคุ้มครองใดๆ ยิ่งไปกว่านั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเจริญองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ได้ หากว่าไม่เคยได้ยินได้ฟังคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก่อนเลย แม้จะสำเร็จฌานได้กุศลฌานขั้นสูงสุด ก็ไม่อาจที่จะเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ได้จริงๆ เพราะตั้งแต่เริ่มต้นก็ไม่รู้ว่าเป็นเพียงธรรมะ ไม่ใช่เรา
在巴利文 “觀”(vimamsa)“正見”(sammaditthi)“慧”(panna)這三個不同的名詞指的是“智慧”或“正確的瞭解”,智慧是培養正道帶頭的因素。佛陀不只是宣說“正道”(samma-magga)正確的道路,也有教導“邪道” (miccha-magga)錯誤的道路。 正見這麼重要是因為當見解是正確的時候“正見”(samma-ditthi)接下來就會有正思維、正語、正 業 、正命、正精進、正念、正定。 同樣的倘若是見解不正確的時候“邪見”(miccha-ditthi)接下來的就是不正思維、不正語、不正業、不正命、不正精進、不正念、不正定。
ในภาษาบาลีคำว่า "วิมังสา" "สัมมาทิฏฐิ" "ปัญญา" คำที่ต่างกันทั้งสามคำนี้ล้วนมุ่งหมายถึงปัญญาหรือความเข้าใจที่ถูกต้อง การอบรมเจริญหนทางที่ถูกต้องนั้นต้องมีปัญญาเป็นตัวนำ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เพียงแต่ทรงแสดงสัมมามรรคซึ่งเป็นหนทางที่ถูกต้อง แต่ยังทรงแสดงมิจฉามรรค หนทางที่ผิดไว้ด้วย ความเห็นถูกมีความสำคัญยิ่งก็เพราะว่าในขณะที่ความเห็นนั้นเป็นไปด้วยความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว จากนั้นจึงจะมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เช่นเดียวกัน ถ้าในขณะที่ความเห็นนั้นเป็นไปกับความเห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิแล้ว ต่อจากนั้นก็ต้องเป็นไปด้วย มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ
生命中種種困難的情境事故,不管是意外也好,家庭關係也好,事實上倘若真的瞭解這只是法,就會帶來善的輕鬆與平靜。 我們之前提到的(Arakkhagocara)就是能夠正確的瞭解,正確的思慧在日常生活所發生的各種各樣的情況在那裡的是什麼?這就是保護不要走上錯誤的道路。
ในชีวิตก็มีเรื่องราวที่ยากลำบากต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ว่าเป็นเพียงธรรมะ ก็จะนำมาซึ่งความสงบความเบาสบายด้วยกุศล ก่อนหน้านี้เราได้กล่าวถึงอารักขโคจร นั่นคือสามารถที่จะมีความเข้าใจที่ถูกต้อง มีการคิดพิจารณาที่ถูกต้อง ในสถานการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ว่าสภาพที่อยู่ที่นั่นคืออะไร? นี่คือการอารักขาคุ้มครองไม่ให้เดินไปสู่ในหนทางที่ผิด
敬感恩阿姜舒淨 (Ajhan Sujin Boriharnwanaket) 的恩惠
น้อมเคารพในคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
謹以此施法之功德與我們在輪迴裡每一世的父母 師長 同修 親友 仙人 各位讀者及其他一切眾生分享
กุศลในการนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศแด่บิดามารดาในทุกภพทุกชาติ ครูบาอาจารย์ ญาติมิตรสหาย เทวดา และผู้อ่าน รวมถึงสัตว์ทั้งหลาย
By line group Just Dhamma
หมายเหตุ
ที่มา : การสนทนาธรรมออนไลน์ระหว่างท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ กับ ชาวจีน
สรุปใจความภาษาจีน โดย 陳品彤 เฉินผิ่นถง (คุณแพท)
แปลภาษาไทย โดย คุณปาล สว่างพัฒนกุล (黃如蓮)
จากในบทความ
๓. ภาวนาปธาน คือเพียรเพื่อให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น
ควรจะเป็นเพียรเพื่อให้ กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นครับ