พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒๓. สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ก.พ. 2565
หมายเลข  42272
อ่าน  395

[เล่มที่ 88] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๔

อนุโลมทุกปัฏฐาน

๒๓. สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ 528


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 88]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 528

๒๓. สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ

ปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๔๘๒] ๑. ธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรม และสัญโญชนิยธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งสัญใญชนธรรม และสัญโญชนิยธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ทิฏฐิสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ อาศัยกามราคสัญโญชน์. พึงผูกจักรนัย

๒. ธรรมที่เป็นสัญโญชนิยธรรม แต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม อาศัยธรรมที่เป็นสัญโญชนธรรมและสัญโญชนิยธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยสัญโญชนธรรมทั้งหลาย.

๓. ธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรมและสัญโญชนิยธรรม และธรรมที่เป็นสัญโญชนิยธรรม แต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม อาศัย ธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรม และสัญโญชนิยธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย

คือ ทิฏฐิสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกามราคสัญโญชน์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 529

พึงผูกจักรนัย

๔. ธรรมที่เป็นสัญโญชนิยธรรม แต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม อาศัยธรรมที่เป็นสัญโญชนิยธรรม แต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์๑ ที่เป็นสัญโญชนิยธรรมแต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

ปฏิสนธิ ฯลฯ ตลอดถึงมหาภูตรูป.

๕. ธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรม และสัญโญชนิยธรรม อาศัยธรรมที่เป็นสัญโญชนิยธรรม แต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ สัญโญชนธรรมทั้งหลาย อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนิยธรรมแต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม.

๖. ธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรม และสัญโญชนิยธรรม และธรรมที่เป็นสัญโญชนิยธรรม แต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม อาศัยธรรมที่เป็นสัญโญชนิยธรรม แต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ สัญโญชนธรรมทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ ๑ ที่เป็นสัญโญชนิยธรรม แต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

๗. ธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรม และสัญโญชนิยธรรม อาศัยธรรมที่เป็นสัญโญชนธรรม และสัญโญชนิยธรรม และ ธรรมที่เป็นสัญโญชนิยธรรม แต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 530

คือ ทิฏฐิสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ อาศัยกามราคสัญโญชน์ และ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย.

พึงผูกจักรนัย

๘. ธรรมที่เป็นสัญโญชนิยธรรม แต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรมและสัญโญชนิยธรรม และ ธรรมที่เป็นสัญโญชนิยธรรม แต่ไม่ใช่สัญโญชนิยธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสัญโญชนิยธรรม แต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม และสัญโญชนธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

๙. ธรรมที่เป็นสัญโญชนธรรม และสัญโญชนิยธรรม และธรรมที่เป็นสัญโญชนิยธรรม แต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม อาศัย ธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรม และสัญโญชนิยธรรม และธรรม ที่เป็นสัญโญชนิยธรรม แต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุ ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ ทิฏฐิสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสัญโญชนิยธรรม แต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม และกามราคสัญโญชน์ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

พึงผูกจักรนัย

เหมือนปฐมทุกะในสัญโญชนโคจฉกะ ทุกะแม้นี้พึงให้พิสดารอย่างนั้น ไม่มีแตกต่างกัน เว้นโลกุตตระ.

สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ จบ