ขายบุหรี่ผิดศีลธรรมหรือไม่
ตามร้านค้ามีการจำหน่ายบุหรี่ ซึ่งมีผลเสียมากกว่าผลดี (ผลดีที่อ้างคือ เพื่อคลายเครียดเสพแล้วอารมณ์ดีขึ้น) ? อยากทราบว่า การจำหน่ายบุหรี่ผิดศีลธรรมหรือไม่ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
การค้าขาย ๕ อย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า เป็นอาชีพที่ไม่เหมาะสมเพราะนำมาซึ่งการล่วงอกุศลกรรมได้ง่าย เช่น การค้าศาสตรา ค้าเนื้อสัตว์ เป็นต้น การขายบางสิ่ง ก็เป็นการแลกเปลี่ยน เช่น แลกเงินของผู้ซื้อและผู้ซื้อได้รับของสิ่งนั้นไป เมื่อเราย้อนมาถึง คำว่า ศีลธรรม ก็คือ ความถูกต้องที่เป็นกุศลนั่นเอง อะไรเป็นกุศล จิตเป็นกุศล ขณะที่เราหวังดีต้องการอยากให้ผู้ซื้อได้รับของที่ดี เป็นประโยชน์ ไม่เป็นโทษกับบุคคลที่ซื้อ จิตที่หวังดี เป็นจิตอะไร เป็นกุศลจิตครับ ขณะนั้นมีศีลธรรมเพราะเป็นกุศล แต่ขณะที่เราคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้นเป็นใหญ่ ไม่ได้คิดถึงประโยชน์และโทษที่บุคคลอื่นจะได้รับจากสิ่งนั้นขณะนั้นจิตเป็นอย่างไร ก็เป็นอกุศล (เห็นแก่ตัว) เมื่อเป็นอกุศลชื่อว่ามีศีลธรรมไหมหรือผิดศีลธรรม ถ้าคนที่เรารักมาซื้อสิ่งที่เป็นอันตรายกับเรา จะขายหรือจะให้ไหมครับ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหรือเหตุการณ์อะไรก็ตาม จะตัดสินว่าถูกหรือผิด ไม่ใช่นำเรื่องราวมาตัดสินครับ แต่พิจารณาถึงสภาพจิตและประโยชน์เป็นสำคัญครับ ขอนำเรื่องที่พระโพธิสัตว์ให้ ย่อมให้สิ่งที่ควรและเหมาะกับบุคคลครับ จะทำให้เข้าใจว่า การจะให้สิ่งอะไรบางอย่างนั้นต้องเลือกให้ ให้สิ่งที่เหมาะสมเป็นประโยชน์ ลองอ่านดูนะ
การขายบุหรี่ไม่ถึงกับเป็นอกุศลกรรมบถ ๑๐ แต่ก็ไม่ควรขาย เพราะสิ่งใดไม่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นก็ควรงดเว้นเสีย บุหรี่สูบแล้วเป็นอันตรายต่อร่างกายทำให้เป็นมะเร็ง ที่สำคัญอยู่ที่จิต เราทำอาชีพเป็นไปในกุศลหรืออกุศล ถ้าทำได้เปลี่ยนจากขายบุหรี่มาขายอาหารแทน หรือขายข้าวสาร ฯลฯ หรือขายอะไรก็ได้ที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นค่ะ
ผู้ที่ศึกษาธรรม แล้วเข้าใจถูก เกิดปัญญา ก็จะเป็นผู้ที่คิดจะไม่ทุศีล จะมีการวิรัตทุจริตทั้งทางกายและวาจา เป็นผู้ที่ตรงในธรรมคือ ตรงทั้งในกุศลหรืออกุศล ผู้ที่ตรง จะไม่มีการหาข้ออ้างเพื่อปัดความผิดให้ใคร หรือปล่อยตัวเองให้ไหลไปตามอกุศลที่ตนระลึกรู้ได้แล้ว ด้วยสติ ด้วยความเห็นดีเห็นชอบ ที่จะไม่ประกอบการที่ไม่ดีนั้นๆ เพราะเห็นโทษที่จะพึงเกิดกับผู้อื่น แต่เหตุเพราะความไม่รู้ (โมหะ) ในอกุศลธรรมที่ตนมี ความต้องการ (โลภะ) ในลาภ ในสุขอันไม่เที่ยง ความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ว่าตนก็ทำได้ไม่เห็นจะเป็นไร ใครๆ ก็ทำกัน จึงเกิดความพอใจ (ฉันทะ) และความตั้งใจ (เจตนา) ที่จะกระทำอกุศลกรรมให้เกิด ที่ทุกวันนี้ ยังมีหวยมีเหล้า มีบุหรี่ มีสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นโทษ วางขายเกลื่อนตลาด ก็บ่งบอกได้ว่าผู้กระทำธุรกิจนั้น เป็นผู้ตรงหรือไม่ต่ออกุศลที่ตนกระทำครับ
ขอเพิ่มเติมเรื่อง บุคคลบัญญัติ บางบุคคลที่ใกล้เคียงในหัวเรื่องนี้ให้ทุกท่านได้พิจารณาครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่
ผมเองก็ยังสูบบุหรี่อยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายอย่างมากทีเดียว ถ้าเราทานอาหารที่เราชอบมากก็เกิดอกุศลจิตมากครับ แต่ถ้าเป็นบุหรี่มันจะมากกว่านั้น ตื่นเช้าก็มีความต้องการต้องเสพมัน ถ้าเราอยู่ในกลุ่มคำวาจาที่ไม่เหมาะควร เราก็จะเสพมัน เราเกิดโทมนัสก็เสพมันอีก ตอนแรกๆ ก็ไม่ทราบหรอกครับ เพิ่งจะมาทราบทีหลัง นี่เอง เพื่อนทำงานที่นี่ เห็นว่ามีคนสูบ จึงนำมาขาย ภายหลังจึงห้ามนะครับ ในเรื่องโทษภัยน่าจะมากกว่าบุหรี่ แต่ถ้าทำให้ขาดสติ สุรามากกว่าแน่
อกุศลจิตปุถุชนก็มีกันอยู่แล้วเป็นพื้น โลภะ โทสะ โมหะ (ถ้าขณะนั้นกุศลจิตไม่เกิด) คนที่ยังติดอาหารอร่อย เสื้อผ้าสวยๆ เพลงเพราะๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ในขณะเดียวกันเขาก็อบรมปัญญาไปด้วย และก็รู้ว่าเป็นอกุศลจิตที่ติด อกุศลเกิดรู้ว่าเป็นอกุศลก็ยังประเสริฐกว่า กุศลเกิดแต่ไม่รู้ค่ะ