การมีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม ทุกเมื่อได้อย่างไร?

 
ธัญภา
วันที่  13 ก.ค. 2550
หมายเลข  4247
อ่าน  10,493

คืออย่างนี้ค่ะ เวลาถูกถามคำถาม สอบสัมภาษณ์ ผู้คนรายล้อม ประมาณ ๖ คน พูดอะไรไปแล้ว คิดไม่ออกงง หรือพูดแล้วชอบเก็บมาคิดทีหลัง ว่าเราน่าจะพูดอย่างนั้น อย่างนี้ เครียด เราขาดสติใช่ไหม? เราจะทำอย่างไร ให้การพูดจา เป็นไปอย่างราบเรียบ ถูกต้อง คิดออกบอกได้ ตามทัน อย่างที่เราตั้งใจ ไม่เก็บมาคิดเครียดมากภายหลัง


Tag  พูด  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 13 ก.ค. 2550

ผู้ที่มีสติรู้ตัว ทั่วพร้อม ทุกเมื่อ คือ พระอรหันต์เท่านั้นค่ะ แม้แต่พระอริยเจ้าขั้นที่ต่ำลงมา บางครั้งบางคราวท่านก็หลงลืมสติ เพราะยังมีอนุสัยกิเลสบางตัวที่ยังไม่ได้ดับ ยิ่งถ้าเป็นปุถุชนแล้ว การหลงลืมสติเป็นเรื่อง ธรรมดา เพราะเหตุว่าอกุศลในวันนึงๆ เกิดมากกว่ากุศล ขณะใดที่สติไม่เกิด ขณะนั้นเป็นอกุศลแน่นอน และการที่จะละอกุศลได้ก็ต้องรู้ว่าอะไรคืออกุศลใช่มั้ยค่ะ และการจะรู้ว่าอะไรคืออกุศลจะมีไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรม เพราะฉะนั้นก็ต้องเริ่มจากการศึกษาพระธรรมจนกว่าจะเข้าใจ เพราะถ้าไม่เข้าใจก็ไม่มีประโยชน์ เสียเวลา จะไม่ต่างไปจากการอ่านหนังสือพิมพ์หรือหนังสืออื่นๆ เลย

สติเป็นโสภณเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิตเท่านั้น คือในขณะที่ให้ทาน รักษาศีลและอบรมเจริญภาวนา ขณะที่ท่านถูกสัมภาษณ์ ขณะนั้นเป็นทาน ศีล ภาวนาหรือเปล่าค่ะ ส่วนความเครียดหรือความประหม่าที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เป็นสภาพของอกุศลจิตที่ถูกปรุงแต่งด้วยโลภะบ้าง (อยากให้ทุกคนประทับใจ ฯลฯ ) โทสะบ้าง (กังวลใจ, อาย, กลัวตอบผิด ฯลฯ ) โมหะบ้าง (ฟุ้งซ่าน) ความหวัง และความวิตกกังวลใจจึงทำให้ท่านเครียดโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น ก่อนลงมือทำกิจการงานใดๆ ก็ตาม ควรเตรียมตัวให้พร้อมนะคะ ส่วนผลจะเป็นเช่นไรก็แล้วแต่การให้ผลของกรรม ช้าหรือเร็วไม่มีใครกำหนดได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 14 ก.ค. 2550

สติทางโลกกับทางธรรมไม่เหมือนกันค่ะ สติทางโลกคิดว่าเราพูดไม่ผิด ตอบคำถามคนอื่นถูก เก็บของใช้ไว้ที่ไหนก็จำได้ แต่สติทางธรรมต้องเป็นไปในกุศลเท่านั้น เช่น สติที่ระลึกในการให้ทาน การงดเว้นทุจริต การอบรมปัญญา (สติระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงค่ะ)

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 14 ก.ค. 2550

แม้แต่เรื่องความสามารถ บุคลิกภาพ ก็ยังต้องอาศัยการฝึกฝน ถ้าอยากพูดเก่งฉะฉาน ก็ต้องฝึกพูด ฝึกซ้อมท่าทางต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจ ขณะที่มีความเพียรประกอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อให้สิ่งนั้นสำเร็จด้วยความต้องการ ถ้าสติเกิดระลึกเป็นไปเพื่อความสงบของจิตโดยขณะนั้นทันที อกุศลจิตที่ดับไปก็เป็นอารมณ์ของสติได้ครับ เรื่องที่แล้วไปแล้วก็ให้แล้วกันไป ถ้าเผื่อเกิดคิดย้อนไปในเรื่องนั้นอีกที การคิดให้เป็นทุกข์ก็ย่อมมีได้ แต่สติจะเกิดระลึกรู้ได้หรือไม่ ว่าขณะนั้นก็เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เป็นอนัตตาจริงๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
อิสระ
วันที่ 14 ก.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 14 ก.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
udomjit
วันที่ 15 ก.ค. 2550

ดิฉันเป็นคนรีบด่วนพูดเสมอ วันนี้อ่านแล้วเห็นภาพตัวเองชัดเจน ขอบคุณที่กรุณาแนะนำประโยชน์ อนุโมทนาอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
medulla
วันที่ 16 ก.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Gigi
วันที่ 18 ก.ค. 2550

อนุโมทนาค่ะ ตนเองเป็นผู้ที่พูดไม่ได้ไตร่ตรอง พูดแล้วเกิดความทุกข์ขึ้นเป็นประจำ ขณะนี้ฝึกสำรวมระวังอยู่ ท่องอิติปิโส เวลาเกิดทุกข์อันเกิดจากคำพูดของตน

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 18 ก.ค. 2550

ฟังธรรมให้เข้าใจ เมื่อเข้าใจธรรมมากขึ้น ก็ทำให้เห็นโทษของอกุศล และเห็นประโยชน์ของการเจริญกุศล คือการสำรวมระวังไม่ให้เกิดอกุศลทางกาย ทางวาจา และทางใจค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 21 ก.ค. 2550

ที่ถามมาอยากใช่ไหม

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 22 ก.ค. 2550

แล้วใคร...ไม่อยาก?

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ajarnkruo
วันที่ 23 ก.ค. 2550

พระอรหันต์เท่านั้นครับ ที่ดับความอยาก ความติดต้อง (โลภะ) เป็นสมุทเฉท

"ผู้ประหารความโกรธด้วยโกรธตอบ ย่อมนำธุลีซัดไปในที่ทวนลมฉะนั้น"

คุณแวะเข้ามาใจเย็นๆ ไว้ครับ เดี๋ยวฝุ่นจะเข้าตาเปล่าๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 6 พ.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ