พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาติกทุกปัฏฐาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 มี.ค. 2565
หมายเลข  42596
อ่าน  294

[เล่มที่ 90] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๖

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๖

และ อรรถกถา

อนุโลมติกทุกปัฏฐาน

อรรถกถาติกทุกปัฏฐาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 90]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๖ - หน้าที่ 1105

อรรถกถาติกทุกปัฏฐาน

    แม้ใน ติกทุกปัฏฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทำเทศนาด้วยอำนาจการยกเพียงปัญหาขึ้นเท่านั้นว่า กุสลํ เหตุํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ กุสโล เหตุ ธมฺโม อุปฺปชฺชติ เหตุปจฺจยา.

ใน ทุกติกปัฏฐาน นั้น ทรงประกอบกุศลบทกับเหตุทุกะในหนหลังแล้ว แต่งเทศนาโดยย่อในวาระทั้งปวง ด้วยอำนาจปัจจัยทั้งหมดฉันใด ในติกทุกปัฏฐาน นี้ก็ฉันนั้น ทรงประกอบเหตุบทกับกุสลติกะ แล้วแต่งเทศนาโดยย่อในวาระทั้งปวง ด้วยอำนาจปัจจัยทั้งหมด. อนึ่ง ทรงประกอบ นเหตุบท กับ กุสลติกะ ทำ กุสลติกเหตุทุกะ ให้จบลง เหมือนอย่างทรงประกอบเหตุบทฉะนั้น.

ต่อจากนั้นทรงแสดง ติกทุกะ ๒๑ มี เวทนาติกเหตุทุกะ เป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า สุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตํ เหตุํ ธมฺมํ แล้วทรงประกอบเหตุทุกะกับติกะ ๒๒ อย่างนี้แล้ว ทรงประกอบทุกะทั้งหมดด้วยอำนาจที่จะมีได้มีสเหตุทุกะเป็นต้น มีสรณทุกะเป็นที่สุด กับติกะเหล่านั้นเองอีก แม้ในอธิการนี้บทใดๆ ประกอบกันไม่ได้ บทนั้นๆ ทรงปฏิเสธไว้ในบาลีนั่นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาทุกะ ๑๐๐ ผนวกเข้าในติกะ ๒๒ แล้วแสดงปัฏฐาน ชื่อว่า ติกทุกปัฏฐาน. แม้ใน ติกทุกปัฏฐาน นั้น ทรงย่อบาลีไว้ด้วยนัยใดๆ นัยนั้นๆ ผู้ศึกษาพึงทราบโดยพิสดาร แล.

อรรถกถาติกทุกปัฏฐาน จบ