พระที่นั่งรถ แต่ไม่ได้ขับ ถือเป็นอาบัติมั๊ยครับ

 
lokiya
วันที่  8 มี.ค. 2565
หมายเลข  42727
อ่าน  458

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานแก่ภิกษุผู้อาพาธ. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้คิดกันว่า ยานที่ทรงอนุญาตนั้นเทียมด้วยโคตัวเมีย หรือเทียม ด้วยโคตัวผู้ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานที่เทียมด้วยโคตัวผู้ และยานที่ใช้มือลาก. สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไม่ผาสุกอย่างแรง เพราะความกระเทือนแห่งยาน ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตคานหามมีตั่งนั่ง และเปลผ้าที่เขาผูกติดกับไม้คาน.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 9 มี.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในพระวินัยปิฎก จัมมขันธกะ มีสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุเดินทางไปด้วยยาน ต้องอาบัติทุกกฏ ดังนี้ว่า

[เล่มที่ 7] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้า ๒๕

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไปด้วยยาน รูปใดไป ต้องอาบัติทุกกฏ


ยานที่กล่าวถึงในสิกขาบทเหล่านี้ ในต้นบัญญัติของสิกขาบท หมายถึง เกวียนซึ่งเทียมด้วยวัว และรวมถึง ยานที่ใช้คนหรือสัตว์ (เช่น ม้า เป็นต้น) เป็นตัวขับเคลื่อนให้สิ่งนั้นไปได้ ดังนั้น เฉพาะภิกษุที่โดยสารไปด้วยยานพาหนะที่ใช้สัตว์ หรือให้คนลากไป หรือแบกไปโดยวิธีใดก็ตามเท่านั้น จึงจะต้องอาบัติทุกกฏ เว้นไว้แต่ในกรณีอาพาธ ตามข้อความที่ท่านผู้ถามได้ยกมา

ดังนั้น พระภิกษุจะสามารถโดยสารไปกับรถ ได้ ซึ่งตนเองไม่ได้ขับ เพราะถ้าขับ ก็จะผิดพระวินัย แต่ก็ต้องย้อนกลับมาพิจารณาว่า ท่านไปทำไม สมควรหรือไม่ ขัดเกลากิเลสหรือไม่ ทำไมบวช บวช เพื่ออะไร มีความจริงใจที่จะขัดเกลากิเลสหรือไม่ มีความประพฤติคล้อยตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือไม่ และ ต้องดูสิกขาบทอื่นประกอบด้วยว่า จะผิดในส่วนอื่นอีกหรือไม่ ไม่ใช่เฉพาะเท่านี้ เช่น ไปกับหญิง โดยไม่มีบุรุษผู้รู้ความ นั่งไปด้วย หรือไม่ เป็นต้น เพราะความเป็นพระภิกษุ เป็นเพศที่ขัดเกลากิเลสเป็นอย่างยิ่ง ท่านจะไม่ทำในสิ่งที่จะเป็นไปเพื่อพอกพูนกิเลสเลย ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 9 มี.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ