ธรรมทั้งหลายมีจริง เกิดขึ้น ดับไป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
คำถามจากคุณปรีชา
สมาชิก Line OpenChat ชมรมบ้านธัมมะ มศพ.
จากคำพูดของท่านอาจารย์สุจินต์ ว่า "สภาวธรรมทั้งหลายมีอยู่จริงๆ ในขณะนั้น เกิดขึ้น แล้วดับไป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลตัวตน"
ขอคำอธิบายเพื่อความเข้าใจชัดเจน
ขอบคุณล่วงหน้ามา ณ ที่นี้ด้วย
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ธรรมที่มีจริง มีจริงเพราะกำลังเกิด เมือ่เกิดแล้วก็ต้องดับไป ไมเ่ที่ยง เป้นทุกข์ เป็นอนัตตา อันแสดงถึงสัจจธรรม ลักษณะของธรรมที่เป้นสังขารธรรมทีก่ำลังเกิดในขณะนี้ ที่ไม่พ้นจากลักษณะทั้ง 3 ที่เป็นไตรลักษณ์ ซึ่งควรเข้าใจอย่างละเอียดดังนี้
ไตรลักษณ์ หรือ ไตรลักษณะ หรือจะเรียกว่า สามัญญลักษณะก็ได้ (ลักษณะทั่วไป ของสภาพธรรม) คือ ลักษณะ ๓ ประการ ของสภาพธรรมที่มีจริง ที่มีปัจจัยปรุงแต่งที่เกิดขึ้นและดับไป อันเป็นลักษณะของสภาพธรรมที่ทั่วไป สามัญ กับทุกสภาพธรรมที่เกิดขึ้น และดับไป คือ สภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิกและรูป จะต้องมีลักษณะทั่วไป ๓ ประการ อันเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า เมื่อมีลักษณะ ๓ ประการนี้ ชื่อว่าเป็นสภาพธรรมที่เป็น สังขารธรรม ที่เกิดขึ้นและดับไปครับ ลักษณะ ๓ ประการ (ไตรลักษณ์) ของสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูป คือ
อนิจจัง สภาวะ ลักษณะที่ไม่เที่ยงหมายถึง ลักษณะที่เป็นสาธารณะแก่สังขารธรรมทั้งปวง จิต เจตสิก รูป เป็นอนิจจัง เพราะมีอนิจจลักษณะ คือ มีการเกิดขึ้นและดับไป อนิจจลักษณะ เป็นลักษณะหนึ่งในลักษณะ ๓ (ไตรลักษณ์ หรือสามัญญลักษณะ)
ทุกขัง สภาวะ ลักษณะที่ทนได้ยาก หมายถึง ลักษณะของสภาพธรรมที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ คือ ต้องเปลี่ยนแปลง มีการเกิดขึ้นและดับไป ดังที่ พระผู้มีพระภาคตรัสถามพระปัญจวัคคีย์ ในอนัตตลักขณสูตรว่า "สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า" พระปัญจวัคคีย์ทูลตอบว่า " เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า " ...
อนัตตา สภาวะ ลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน หมายถึง ลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด คือ เป็นสภาพนามธรรมอย่างหนึ่ง มีลักษณะที่น้อมไปรู้อารมณ์ จะมีผู้ใดผู้หนึ่งบังคับให้นามธรรมเป็นสภาพที่ไม่รู้อารมณ์ก็ไม่ได้ หรือ สภาพที่เป็นรูปธรรม มีลักษณะที่ไม่รู้อารมณ์ ใครจะบังคับให้รู้เปลี่ยนมาเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ก็ไม่ได้ หรือสังขารธรรมเป็นสภาพที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ใครจะบังคับให้สังขารธรรมเป็นสภาพที่เที่ยง เป็นสุข ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น สังขารธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จึงเป็นอนัตตา และ แม้วิสังขารธรรมซึ่งหมายถึงพระนิพพาน เป็นสภาพที่เที่ยง (เพราะไม่เกิด ดับ) เป็นสุข (เพราะทนอยู่ในสภาพเดิมได้) แต่ก็ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพของนิพพานให้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ได้ วิสังขารธรรมที่เที่ยง เป็นสุขนั้นจึงเป็นอนัตตาด้วย
นี่เป็นการแสดงถึงความเป็นจริงของสภาพธรรม ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ซึ่งกว่าจะรู้ตรงนั้น ต้องมีปัญญาระดับสูง แต่ต้องเป็นผู้ที่อดทนและตรงว่า ปัญญายังน้อย กิเลสมาก จึงต้องอบรมปัญญานับชาติไม่ถ้วน ด้วยการฟัง ศึกษาพระธรรมต่อไป ครับ ขออนุโมทนา
เรียน ความคิดเห็นที่ ๓ ครับ
ที่กระผมได้แสดงความคิดเห็นไว้ มีดังนี้ ครับ
พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ตรัสรู้ไม่เหมือนกัน หรืออย่างไร
คำว่า "สิ่งที่มีจริง" เป็นคำที่กล่าวในภาษาไทย ซึ่งตรงกับคำว่า ธมฺม (ธรรม) ในภาษาบาลี นั่นเอง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ใครจะกล้าปฏิเสธว่าไม่มีจริง เพราะเหตุว่า มีจริงๆ ทรงไว้ซึ่งความจริงอย่างนั้น ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ล้วนกล่าวถึงธรรม คือ สิ่งที่มีจริงทั้งหมด อย่างเช่น พระสูตร ดังต่อไปนี้
อนิจจาทิธรรมสูตร และ ชาติอาทิธรรมสูตร
ปฐม - ทุติยชีวกัมพวนสูตร - สมาธิสูตร
ปุริสสูตร
ทุติยสันทิฏฐิกสูตร
ฯลฯ
การศึกษาเรื่องของสิ่งที่มีจริงๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นั้น เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างยิ่ง ทำให้ความเข้าใจถูกเห็นถูกเจริญขึ้น จนสามารถระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง จากที่ไม่เคยเข้าใจ เลย แล้วเข้าใจ นั่นก็เป็นประโยชน์แล้ว ไม่มีโทษใดๆ เลย เมื่อเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง สภาพธรรม ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงกับปัญญา เมื่อปัญญาเจริญขึ้น สมบูรณ์ขึ้นก็ทำให้เบื่อหน่าย คลายกำหนัด ขัดเกลาละคลายกิเลส เพราะรู้ตรงตามความเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละหนึ่งๆ เท่านั้น หาความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ไม่ได้เลย ไม่ควรแก่การยินดีติดข้อง และผลสูงสุดของการรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง คือ พ้นจากกิเลสโดยประการทั้งปวง ไม่มีกิเลสใดๆ เกิดขึ้นอีกเลย พระอริยบุคคลทั้งหลายในอดีต เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ที่ได้รับประโยชน์จากการรู้สิ่งที่มีจริงๆ ตามความเป็นจริง
ความเข้าใจถูกเห็นถูก จะค่อยๆ เกิดขึ้น ค่อยๆ เจริญขึ้น เมื่อฟังพระธรรม ด้วยความเคารพ ไตร่ตรอง ในเหตุในผลตรงตามความเป็นจริง ตั้งจิตไว้ชอบ ว่า ศึกษา เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น ครับ
ขอเชิญคลิกฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ
ทั้ง๓ปิฎก ไม่พ้นสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...