จีวรขันธกะ
[เล่มที่ 7] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒
พระวินัยปิฎก
เล่มที่ ๕
มหาวรรค ภาคที่ ๒
จีวรขันธกะ
เรื่องคนมีทรัพย์ชาวพระนครราชคฤห์ 128/241
เรื่องพระเจ้าพิมพิสารทรงประชวรโรคริดสีดวงงอก 131/248
เรื่องเศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์ 132/249
เรื่องบุตรเศรษฐีป่วยเป็นโรคเนื้องอกที่ลําไส้ 133/253
เรื่องพระเจ้าจัณฑปัชโชติทรงประชวรโรคผอมเหลือง 134/254
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระโอสถถ่าย 135/258
พระพุทธานุญาตผ้าปาวารและผ้าโกเชาว์ 137/263
พระพุทธานุญาตคหบดีจีวร ๖ ชนิด 139/264
องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้รับจีวร 141/266
องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้เก็บจีวร 142/268
พระพุทธานุญาตเรือนคลัง 143/269
องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลัง 144/270
พระพุทธบัญญัติห้ามย้ายเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง 145/271
องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้แจกจีวร 146/271
พระพุทธานุญาตน้ําย้อมเป็นต้น 147/273
พระพุทธบัญญัติห้ามใช้จีวรที่ไม่ตัด 148/275
พระพุทธบัญชาให้แต่งจีวร 149/275
เสด็จพระพุทธดําเนินทางไกล 150/277
พระพุทธบัญญัติอดิเรกจีวร 151/279
พระพุทธานุญาตให้วิกัปอดิเรกจีวร 280
พระพุทธานุญาตผ้าปะเป็นต้น 152/280
เรื่องนางวิสาขามิคารมาตา 153/281
พระพุทธานุญาตผ้าวัสสิกสาฏกเป็นต้น 155/288
นอนหลับลืมสติมีโทษ ๕ ประการ 290
นอนหลับคุมสติมีคุณ ๕ ประการ 290
พระพุทธานุญาตผ้าปัจจัตถรณะ 290
พระพุทธานุญาต ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดปาก 158/291
องค์ของการถือวิสาสะ ๕ ประการ 159/292
พระพุทธานุญาตผ้าบริขาร 160/292
พระพุทธานุญาตผ้าที่ต้องอธิษฐานและวิกัป 292
พระพุทธานุญาตผ้าที่ตัดและไม่ตัด 161/293
พระให้ผ้าแก่โยมมารดาบิดาได้ 162/294
พระพุทธบัญญัติให้ครองผ้า ๒ ผืนเข้าบ้าน 163/294
เหตุที่เก็บผ้าไตรจีวรไว้ได้ 295
เรื่องพระอาพาธโรคท้องร่วง 166/301
องค์ของภิกษุอาพาธที่พยาบาลได้ยาก ๕ อย่าง 303
องค์ของภิกษุอาพาธที่พยาบาลได้ง่าย ๕ อย่าง 303
องค์ของภิกษุผู้ไม่เข้าใจพยาบาล ๕ อย่าง 303
องค์ของภิกษุผู้เข้าใจพยาบาล ๕ อย่าง 304
เรื่องบาตรจีวรของผู้ถึงมรณภาพแก่คิลานุปัฏฐาก 167/304
ภิกษุและสามเณรช่วยกันพยาบาลไข้ 306
เรื่องสมาทานติดถิยวัตรมีเปลือยกายเป็นต้น 164/307
พระฉัพพัคคีย์ทรงจีวรสีครามล้วนเป็นต้น 165/309
เรื่องจีวรยังไม่เกิดแก่ผู้จําพรรษา 170/310
เรื่องพระเรวตเถระฝากจีวร 171/313
จีวรที่เกิดขึ้นมี๘ มาติกา 172/315
ว่าด้วยทรงอนุญาตผ้าปาวารเป็นต้น 326
ว่าด้วยทรงอนุญาตจีวร ๖ ชนิด 329
ว่าด้วยเจ้าหน้าที่รับจีวรเป็นต้น 330
ว่าด้วยบุคคลที่ไม่ควรให้ย้าย 334
ว่าด้วยทําสัทธาไทยให้ตกเป็นต้น 346
ว่าด้วยผ้าที่เกิดขึ้นในจีวรกาล 346
ว่าด้วยผ้าที่เกิดขึ้นในฤดูกาล 347
วินิจฉัยในลาภของภิกษุผู้พยาบาลไข้ 353
มาติกา ๘ แห่งความเกิดขึ้นแห่งจีวร 357
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 7]
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 241
จีวรขันธกะ
เรื่องคนมีทรัพย์ ชาวพระนครราชคฤห์
[๑๒๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ เวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น พระนครเวสาลี เป็นบุรีมั่งคั่ง กว้างขวาง มีคนมาก มีคนคับคั่ง และมีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มี สวนดอกไม้ ๗,๗๐๗ แห่ง มีสระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ และมีหญิงงามเมือง ชื่ออัมพปาลีเป็นสตรีทรงโฉมสคราญตาน่าเสน่หา ประกอบด้วยผิวพรรณ เฉิดฉายยิ่ง ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรี คนทั้งหลาย ที่มีความประสงค์ต้องการพาตัวไปร่วมอภิรมย์ด้วย ราคาตัวคืนละ ๕๐ กษาปณ์ พระนครเวสาลีงามเพริศพริ้งยิ่งกล่าวประมาณ เพราะนางอัมพปาลีหญิงงามเมือง นั้น ครั้งนั้น พวกคนมีทรัพย์คณะหนึ่ง เป็นชาวพระนครราชคฤห์ ได้เดินทาง ไปพระนครเวสาลีด้วยกรณียะบางอย่าง และได้เห็นพระนครเวสาลีมั่งคั่ง กว้าง ขวาง มีคนมาก มีคนคับคั่ง และมีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีสวนดอกไม้ ๗,๗๐๗ แห่ง มีสระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ และมีนางอัมพปาลีหญิงงามเมืองผู้ทรงโฉมสคราญตาน่าเสน่หา ประกอบ ด้วยผิวพรรณเฉิดฉายยิ่ง ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรี คนทั้งหลายที่มีความประสงค์ต้องการตัวไปร่วมอภิรมย์ด้วย ราคาตัวคืนละ ๕๐ กษาปณ์ และพระนครเวสาลี งามเพริศพริ้งยิ่งกว่าประมาณ เพราะนางอัมพปาลีหญิงงามเมืองนั้น ครั้นพวกเขาเสร็จกรณียะนั้นในพระนครเวสาลีแล้ว กลับ มาพระนครราชคฤห์ตามเดิม เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ครั้น
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 242
แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่ท้าวเธอว่า ขอเดชะฯ พระนครเวสาลี เป็นบุรีที่มั่งคั่ง กว้างขวาง มีคนมาก มีคนคับคั่ง และมีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีสวนดอกไม้ ๗,๗๐๗ แห่ง มีสระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ และมีนางอัมพปาลีหญิงงามเมืองผู้ทรงโฉมสคราญตาน่าเส้นหา ประกอบด้วยผิวพรรณเฉิดฉาย ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้องและประโคม ดนตรี คนทั้งหลายประสงค์ต้องการพาตัวไปร่วมอภิรมย์ด้วยราคาตัวคืนละ ๕๐ กษาปณ์ และพระนครเวสาลีงามเพริศพริ้งยิ่งกว่าประมาณ เพราะนางอัมพปาลี หญิงงามเมืองนั้น ขอเดชะฯ แม้ชาวเราจะตั้งหญิงงามเมืองขึ้นบ้าง ก็จะเป็น การดี
พระราชารับสั่ง พนาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงเสาะหากุมารีผู้มี ลักษณะงามเช่นนั้น ที่ควรจะคัดเลือกให้เป็นหญิงงามเมือง.
กำเนิดชีวกโกมารภัจจ์
ก็สมัยนั้น ในพระนครราชคฤห์ มีกุมารีชื่อสาลวดีเป็นสตรีทรงโฉม สดราญตาน่าเสน่หา ประกอบด้วยผิวพรรณเฉิดฉายยิ่ง พวกคนมีทรัพย์ชาว พระนครราชคฤห์ จึงได้คัดเลือกกุมารีสาลวดีเป็นหญิงงามเมือง ครั้นนางกุมารี สาลวดีได้รับเลือกเป็นหญิงงามเมืองแล้ว ไม่ช้านานเท่าไรนักก็ได้เป็นผู้ชำนาญ ในการฟ้อนรำ ขับร้องบรรเลงเครื่องดนตรี มีคนที่มีความประสงค์ต้องการ ตัวไปร่วมอภิรมย์ ราคาตัวคืนละ ๑๐๐ กษาปณ์ ครั้นมิช้ามินาน นางสาลวดี หญิงงามเมืองก็ตั้งครรภ์ นางจึงมีความคิดเห็นว่า ธรรมดาสตรีมีครรภ์ไม่เป็น ที่พอใจของพวกบุรุษ ถ้าใครๆ ทราบว่าเรามีครรภ์ ลาภผลของเราจักเสื่อม หมด ถ้ากระไร เราควรแจ้งให้เขาทราบว่าเป็นไข้ ต่อมานางได้สั่งคนเฝ้าประตู ไว้ว่า ดูก่อนนายประตู โปรดอย่าให้ชายใดๆ เข้ามา และผู้ใดถามหาดิฉัน จงบอกให้เขาทราบว่าเป็นไข้นะ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 243
คนเฝ้าประตูนั้นรับคำนางสาลวดีหญิงงามเมืองว่า จะปฏิบัติตามคำสั่ง เช่นนั้น หลังจากนั้น อาศัยความแก่แห่งครรภ์นั้น นางได้คลอดบุตรเป็นชาย และสั่งกำชับทาสีว่า แม่สาวใช้ จงวางทารกนี้ลงบนกระด้งเก่าๆ แล้วนำออก ไปทิ้งกองหยากเยื่อ.
ทาสีนั้นรับคำนางว่า ทำเช่นนั้นได้ เจ้าค่ะ ดังนี้ แล้ววางทารกนั้น ลงบนกระด้งเก่าๆ นำออกไปทิ้งไว้ ณ กองหยากเยื่อ.
ก็ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เจ้าขายอภัย กำลังเสด็จเข้าสู่พระราชวัง ได้ ทอดพระเนตรเห็นทารกนั้นอันฝูงกาห้อมล้อมอยู่ ครั้นแล้วได้ถามมหาดเล็กว่า พนาย นั้นอะไร ฝูงการุมกันตอม?
ม. ทารก พ่ะย่ะค่ะ
อ. ยังเป็นอยู่หรือ พนาย?
ม. ยังเป็นอยู่ พ่ะย่ะค่ะ
อ. พนาย ถ้าเช่นนั้น จงนำทารกนั้น ไปที่วังของเรา ให้นางนมเลี้ยงไว้.
คนเหล่านั้นรับสนองพระบัญชาว่า อย่างนั้น พ่ะย่ะค่ะ แล้วนำทารก นั้นไปวังเจ้าชายอภัย มอบแก่นางนมว่า โปรดเลี้ยงไว้ด้วย อาศัยคำว่า ยังเป็น อยู่ เขาจึงขนานนามทารกนั้นว่า ชีวก ชีวกนั้น อันเจ้าชายรับสั่งให้เลี้ยงไว้ เขา จึงได้ตั้งนามสกุลว่า โกมารภัจจ์ ต่อมาไม่นานนัก ชีวกโกมารภัจจ์ก็รู้เตียงสา จึงเข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แด่เจ้าชายอภัยว่า ใครเป็นมารดาของ เกล้ากระหม่อม ใครเป็นบิดาของเกล้ากระหม่อม พ่ะย่ะค่ะ.
เจ้าชายรับสั่งว่า พ่อชีวก แม้ถึงตัวเราก็ไม่รู้จักมารดาของเจ้า ก็แต่ว่า เราเป็นบิดาของเจ้า เพราะเราได้ให้เลี้ยงเจ้าไว้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 244
ชีวกโกมารภัจจ์จึงมีความคิดเห็นว่า ราชสกุลเหล่านั้นแล คนที่ไม่มี ศิลปะจะเข้าฟังพระบารมี ทำไม่ได้ง่าย ถ้ากระไร เราควรเรียนวิชาแพทย์ไว้.
เรียนศิลปะทางแพทย์
[๑๒๙] ก็โดยสมัยนั้นแล นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ตั้งสำนักอยู่ ณ เมืองตักกสิลา ชีวกโกมารภัจจ์ จึงไม่ทูลลาเจ้าชายอภัย ลอบเดินทางไป เมืองตักกสิลาเดินรอนแรมไปโดยลำดับถึงเมืองตักกสิลา แล้วเข้าไปหานายแพทย์ ผู้นั้น ครั้นแล้วได้กราบเรียนคำนี้แก่นายแพทย์ว่า ท่านอาจารย์ กระผมประสงค์จะศึกษาศิลปะ.
นายแพทย์สั่งว่า พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้น จงศึกษาเถิด.
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ เรียนวิชาได้มาก เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย และวิชาที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม ครั้นล่วงมาได้ ๗ ปี ชีวกโกมารภัจจ์คิดว่า ตัว เราเรียนวิชาได้มาก เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย ทั้งวิชาที่เรียนได้ก็ไม่ลืม แล ะ เราเรียนมาได้ ๗ ปี แล้วยังไม่สำเร็จศิลปะนี้ เมื่อไรจักสำเร็จเสียที จึงเข้าไป หานายแพทย์ผู้นั้นแล้วได้เรียนถามว่า ท่านอาจารย์ กระผมเรียนวิชาได้มาก เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย ทั้งวิชาที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม และกระผมได้เรียนมา เป็นเวลา ๗ ปีก็ยังไม่สำเร็จ เมื่อไรจักสำเร็จสักทีเล่า ขอรับ.
นายแพทย์ตอบว่า พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้น เธอจงถือเสียมเที่ยวไปรอบเมือง ตักกสิลา ระยะทาง ๑ โยชน์ ตรวจดูสิ่งใดไม่ใช่ตัวยา จงขุดสิ่งนั้นมา.
ชีวกโกมารภัจจ์รับคำนายแพทย์ว่า เป็นเช่นนั้นท่านอาจารย์ ดังนั้น แล้วถือเสียมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาระยะทาง ๑ โยชน์ มิได้เห็นสิ่งใดที่ไม่ เป็นตัวยาสักอย่างหนึ่ง จึงเดินทางกลับเข้าไปหานายแพทย์ และได้กราบเรียน คำนี้ต่อนายแพทย์ว่า ท่านอาจารย์กระผมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาระยะทาง ๑ โยชน์แล้ว มิได้เห็นสิ่งที่ไม่เป็นยาสักอย่างหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 245
นายแพทย์บอกว่า พ่อชีวก เธอศึกษาสำเร็จแล้ว เท่านี้ก็พอที่เธอ จะครองชีพได้ แล้วได้ให้เสบียงเดินทางเล็กน้อยแก่ชีวกโกมารภัจจ์.
ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ถือเสบียงเล็กน้อยนั้นแล้ว ได้เดินทางมุ่งไป พระนครราชคฤห์ ครั้นเดินทางไปเสบียงเพียงเล็กน้อยนั้นได้หมดลงที่เมือง สาเกตในระหว่างทาง จึงเกิดความปริวิตกว่าหนทางเหล่านี้แลกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร คนไม่มีเสบียงจะเดินไป ทำไม่ได้ง่าย จำเราจะต้องหาเสบียง.
ภาคปฏิบัติงานแพทย์
[๑๓๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภรรยาเศรษฐีที่เมืองสาเกต เป็นโรคปวด ศีรษะอยู่ ๗ ปี นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถ รักษาให้หาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก ชีวกโกมารภัจจ์จึงเข้าไปสู่เมืองสาเกต ถามคนทั้งหลายว่า พนาย ใครเจ็บไข้บ้าง ฉันจะรักษา คนทั้งหลายพากัน บอกว่า ท่านอาจารย์ ภรรยาเศรษฐีนั้นปวดศีรษะอยู่ ๗ ปี เชิญไปรักษาภรรยา เศรษฐีเถิดท่านอาจารย์ ชีวกโกมารภัจจ์จึงเดินทางไปบ้านเศรษฐีคหบดี ครั้น ถึงแล้วได้สั่งคนเฝ้าประตูว่า พ่อนาย ท่านจงไปกราบเรียนภรรยาเศรษฐีว่า นายขอรับ หมอมาแล้ว เขามีความประสงค์จะเยี่ยมนาย.
คนเฝ้าประตูรับคำชีวกโกมารภัจจ์ว่า เป็นอย่างนั้นขอรับ อาจารย์ ดังนั้นแล้วเข้าไปหาภรรยาเศรษฐี แล้วได้กราบเรียนว่า นายขอรับ หมอ มาแล้ว เขามีความประสงค์จะเยี่ยมนาย.
ภรรยาเศรษฐีถามว่า พ่อนายเฝ้าประตู หมอเป็นคนเช่นไร?
พ. เป็นหมอหนุ่มๆ ขอรับ.
ภ. ไม่ละ พ่อนายเฝ้าประตู หมอหนุ่มๆ จักทำอะไรแก่ฉันได้ นาย แพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หาย ได้ ขนเงินไปเป็นอันมาก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 246
นายประตูนั้น จึงเดินออกมาหาชีวกโกมารภัจจ์ แล้วได้เรียนว่า ท่าน อาจารย์ ภรรยาเศรษฐีพูดอย่างนี้ว่า ไม่ละ พ่อนายเฝ้าประตู หมอหนุ่มๆ จัก ทำอะไรแก่ฉันได้ นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่ สามารถรักษาให้หาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก.
ชี. พ่อนายเฝ้าประตู ท่านจงไปกราบเรียนภรรยาเศรษฐีว่า นาย ขอรับ หมอสั่งมาอย่างนี้ว่า ขอนายอย่าเพิ่งให้อะไรๆ ต่อเมื่อหายโรคแล้ว นายประสงค์จะให้สิ่งใด จึงค่อยให้สิ่งนั้นเถิด
นายประตูรับคำชีวกโกมารภัจจ์ว่า เป็นอย่างนั้น ขอรับอาจารย์ ดังนั้น แล้วเข้าไปหาภรรยาเศรษฐี ได้กราบเรียนว่า นายขอรับ หมอบอกข่าวมา อย่างนี้ว่า ขอนายอย่าเพิ่งให้อะไรๆ ก่อน ต่อเมื่อนายหายโรคแล้วประสงค์ จะให้สิ่งใด จึงค่อยให้สิ่งนั้นเถิด.
ภรรยาเศรษฐีสั่งว่า พ่อนายประตู ถ้าเช่นนั้นเชิญหมอมา. นายประตูรับคำภรรยาเศรษฐีว่า อย่างนั้นขอรับ แล้วเข้าไปหาชีวก โกมารภัจจ์ แล้วได้แจ้งให้ทราบว่า ท่านอาจารย์ ภรรยาเศรษฐีขอเชิญท่าน เข้าไป.
เริ่มรักษาภรรยาเศรษฐี
ลำดับนั้นชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปหาภรรยาเศรษฐี ครั้นแล้วตรวจดูความ ผันแปรของภรรยาเศรษฐี แล้วได้กล่าวคำนี้แก่ภรรยาเศรษฐีว่า นายขอรับ ผมต้องการเนยใสหนึ่งซองมือ ครั้นภรรยาเศรษฐีสั่งให้หาเนยใสหนึ่งซองมือ มาให้ชีวกแล้ว ชีวกโกมารภัจจ์จึงหุงเนยใสหนึ่งซองมือนั้น กับยาต่างๆ ให้ ภรรยาเศรษฐีนอนหงายบนเตียง แล้วให้นัตถุ์ ขณะนั้นเนยใสที่ให้นัตถุ์นั้น ได้พุ่งออกจากปาก ภรรยาเศรษฐีจึงถ่มเนยใสนั้นลงในกระโถน สั่งทาสีว่า แม่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 247
สาวใช้จงเอาสำลีซับเนยใสนี้ไว้ ชีวกโกมารภัจจ์จึงได้คิดว่า แปลกจริงพวกเรา แม่บ้านคนนี้ช่างสกปรก เนยใสนี้จำเป็นจะต้องทั้ง ยังใช้ให้ทาสีเอาสำลีซับไว้ ส่วนยาของเรามีราคาแพงๆ มากกว่าปล่อยให้เสีย แม่บ้านคนนี้จักให้ขวัญข้าว อะไรแก่เราบ้าง.
ขณะนั้นภรรยาเศรษฐีสังเกตรู้อาการอันแปลของชีวกโกมารภัจจ์ แล้ว ได้ถามคำนี้แก่ชีวกโกมารภัจจ์ว่า อาจารย์ท่านแปลกใจอะไรหรือ?
ชี. เวลานี้เรากำลังคิดอยู่ว่า แปลกจริงแม่บ้านคนนี้ช่างสกปรกเหลือ เกิน เนยใสนี้จำเป็นจะต้องทิ้ง ยิ่งใช้ให้ทาสีเอาสำลีซับไว้ ส่วนยาของเรามี ราคาแพงๆ มากกว่าปล่อยให้เสีย แม่บ้านคนนี้จักให้ขวัญข้าวอะไรแก่เราบ้าง
ภ. อาจารย์ พวกดิฉันชื่อว่าเป็นคนมีเหย้าเรือน จำเป็นจะต้องรู้จัก สิ่งที่ควรสงวน เนยใสนี้ยังดีอยู่จะใช้เป็นยาสำหรับทาเท้าพวกทาสหรือกรรมกร ก็ได้ ใช้เป็นน้ำมันเติมตะเกียงก็ได้ อาจารย์ท่านอย่าได้คิดวิตกไปเลย ค่าขวัญ ข้าวของท่านจักไม่ลดน้อย.
คราวนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้กำจัดโรคปวดศีรษะของภรรยาเศรษฐี ซึ่ง เป็นมา ๗ ปีให้หาย โดยวิธีนัตถุ์ ยาคราวเดียวเท่านั้น ครั้นภรรยาเศรษฐีหาย โรคแล้ว ได้ให้รางวัลชีวกโกมารภัจจ์เป็นเงิน ๔,๐๐๐ กษาปณ์ บุตรเศรษฐี ได้ทรามว่ามารดาของเราหายโรคแล้ว ได้ให้รางวัลเพิ่มอีก ๔,๐๐๐ กษาปณ์ บุตรสะใภ้ได้ทราบว่าแม่ผัวของเราหายโรคแล้ว ก็ได้ให้รางวัล ๔,๐๐๐ กษาปณ์ เศรษฐีคหบดีทราบว่าภรรยาของเราหายโรคแล้วได้เพิ่มรางวัลให้อีก ๔,๐๐๐ กษาปณ์ และให้ ทาส ทาสี รถม้าด้วย ชีวกโกมารภัจจ์จึงรับ เงิน ๑๖๐๐๐ กษาปณ์ กับทาส ทาสี และรถม้าเดินทางมุ่งไปพระนครราชคฤห์ ถึงพระนครราชคฤห์ โดยลำดับ เข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย ครั้นแล้วได้กราบทูลว่าเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 248
กับทาส ทาสี และรถม้านี้เป็นการกระทำครั้งแรกของเกล้ากระหม่อม ขอให้ ฝ่าพระบาทจงทรงพระกรุณาโปรดรับด่าเลี้ยงดูเกล้ากระหม่อมเถิด พระเจ้าข้า.
พระราชกุมารรับสั่งว่า อยู่เลย พ่อชีวก ทรัพย์นี้จงเป็นของเจ้า คนเดียวเถิด และเจ้าจงสร้างบ้านอยู่ในวังของเราเถิด.
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับพระบัญชาเจ้าชายอภัยว่า เป็นพระกรุณายิ่งพระ เจ้าข้า แล้วได้สร้างบ้านอยู่ในวังของเจ้าชายอภัย.
เรื่องพระเจ้าพิมพิสารทรงประชวรโรคริดสีดวงงอก
[๑๓๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชทรง ประชวรโรคริดสีดวงงอก พระภูษาเบื้อนพระโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้วพา กันเย้ยหยันว่า บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ต่อมพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์ แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์จักประสูติ พระราชาทรงเก้อเพราะคำเย้ยหยัน ของพวกพระสนมนั้น ต่อมาท้าวเธอได้ตรัสเล่าความนั้นแก่เจ้าชายอภัยว่า พ่อ อภัย พ่อป่วยเป็นโรคเช่นนั้นถึงกับภูษาเปื้อนโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้ว พากันเยย้หยันว่า บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ย่อมพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์จักประสูติ เอาเถอะ พ่ออภัย เจ้าช่วยหา หมอชนิดที่พอจะรักษาพ่อได้ให้ทีเถิด.
อ. ขอเดชะ นายชีวกผู้นี้เป็นหมอประจำข้าพระพุทธเจ้า ยังหนุ่ม ทรงคุณวุฒิ เธอจักรักษาพระองค์ได้.
พ. พ่ออภัย ถ้าเช่นนั้นพ่อจงสั่งหมอชีวก เขาจักได้รักษาพ่อ.
ครั้งนั้นเจ้าชายอภัย สั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อชีวก เจ้าจงไป รักษาพระเจ้าอยู่หัว ชีวกโกมารภัจจ์รับสนองพระบัญชาว่าอย่างนั้นพระเจ้าข้า แล้วเอาเล็บตักยาเดินไปในราชสำนัก ครั้นถึงแล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 249
เสนามาคธราช แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจักตรวจโรคของพระองค์ แล้วรักษาโรค ริดสีควงงอกของพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช หายขาดด้วยทายาเพียง ครั้งเดียวเท่านั้น.
ครั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงหายประชวรจึงรับสั่ง ให้สตรี ๕๐๐ นาง ตกแต่งเครื่องประดับทั้งปวง ให้เปลื้องออกทำเป็นห่อแล้ว ได้มีพระราชโองการแก่ชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อชีวก เครื่องประดับทั้งปวง ของสตรี ๕๐๐ นางนี้จงเป็นของเจ้า.
ชี. อย่าเลย พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงโปรดระลึกว่าเป็น หน้าที่ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด.
พ. ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงบำรุงเรากับพวกฝ่ายใน และภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข.
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
เรื่องเศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์
[๑๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล เศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์ป่วยเป็นโรค ปวดศีรษะอยู่ ๗ ปี นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ หลายคน มารักษา ก็ไม่ สามารถรักษาให้หาย ขนเงินไปเป็นอันมาก อนึ่ง เศรษฐีนั้นถูกนายแพทย์ บอกคืน นายแพทย์บางพวกได้ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจ- กรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗.
ครั้งนั้นพวกคนร่ำรวยชาวพระนครราชคฤห์ได้มีความปริวิตกว่า เศรษฐีคหบดีผู้นี้แล มีอุปการมากแก่พระเจ้าอยู่หัวและชาวนิคม แต่ท่านถูก
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 250
นายแพทย์บอกคืนเสียแล้ว นายแพทย์บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐี คหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรม ในวันท ๗ ก็ชีวกผู้นี้เป็นนายแพทย์หลวงที่หนุ่มทรงคุณวุฒิ ถ้าเช่นนั้นพวก เราพึงทูลขอนายแพทย์ชีวกต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะให้รักษาเศรษฐีคหบดี แล้ว จึงพากันไปในราชสำนัก ครั้นถึงแล้วได้เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลแด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม เศรษฐีคหบดีผู้นี้มีอุปการะมากแก่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทและชาวนิคม แต่ท่าน ถูกนายแพทย์บอกคืนเสียแล้ว นายแพทย์บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐี คหบดี จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจ- กรรมในวันที่ ๗ ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ขอใต้ฝ่าละอองธุลี พระบาทจงทรงมีพระบรมราชโองการสั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อได้รักษาเศรษฐี คหบดี.
ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงมีพระราชดำรัสสั่ง ชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อชีวก เจ้าจงไปรักษาเศรษฐีคหบดี.
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า อย่างนั้นขอเดชะ แล้วไปหาเศรษฐีคหบดี สังเกตอาการที่ผิดแปลกของเศรษฐีคหบดีแล้ว ได้ ถามเศรษฐีคหบดีว่า ท่านคหบดี ถ้าฉันรักษาท่านหายโรค จะพึงมีรางวัล อะไรแก่ฉันบ้าง.
ศ. ท่านอาจารย์ ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน และตัวข้าพเจ้า ก็ยอมเป็นทาสของท่าน.
ชี. ท่านคฤหบดี ท่านอาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้ไหม?
ศ. ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 251
ชี. ท่านคหบดี ท่านอาจะนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้ไหม?
ศ. ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ท่านอาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้ไหม?
ศ. ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้า อาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้.
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ให้เศรษฐีคหบดีนอนบนเตียง มัดไว้กับเตียง ถลกหนังศีรษะ เปิดรอยประสานกระโหลกศีรษะ นำสัตว์มีชีวิตออกมาสองตัว แล้วแสดงแก่ประชาชนว่า ท่านทั้งหลายจงดูสัตว์มีชีวิท ๒ ตัวนี้ เล็กตัวหนึ่ง ใหญ่ตัวหนึ่ง พวกอาจารย์ที่ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรม ในวันที่ ๕ เพราะท่านได้เห็นสัตว์ตัวใหญ่นี้ มันจักเจาะกินมันสมองของเศรษฐี คหบดีในวันที่ ๕ เศรษฐีคหบดีถูกมันเจาะกินมันสมองหมด ก็จักถึงอนิจกรรม สัตว์ตัวใหญ่นี้ ชื่อว่าอันอาจารย์พวกนั้นเห็นถูกต้องแล้ว ส่วนพวกอาจารย์ที่ ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗ เพราะท่านได้เห็น สัตว์ตัวเล็กนี้ มันจักเจาะกินมันสมองของเศรษฐีคหบดีในวันที่ ๗ เศรษฐี คหบดีถูกมันเจาะกินมันสมองหมด ก็จักถึงอนิจกรรม สัตว์ตัวเล็กนี้ ชื่อว่า อันอาจารย์พวกนั้นเห็นถูกต้องแล้ว ดังนี้ แล้วปิดแนวประสานกระโหลกศีรษะ เย็บหนังศีรษะแล้วได้ทายาสมานแผล.
ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดีได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้
ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้าง เดียวตลอด ๗ เดือนได้ดังนี้ มิใช่หรือ?
ศ. ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 252
ชี. ท่านคหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนเถิด.
ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวาคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้าง ที่สองตลอด ๗ เดือนได้ ดังนี้ มิใช่หรือ?
ศ. ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนหงายตลอด ๗ เดือนเถิด.
ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ ว่าท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนหงาย ตลอด ๗ เดือนได้ ดังนี้ มิใช่หรือ?
ศ. ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ถ้าฉันไม่บอกท่านไว้ ท่านก็นอนถึงเท่านั้นไม่ได้ แต่ฉันทราบอยู่ก่อนแล้ว เศรษฐีคหบดีจักหายโรคในสามสัปดาห์ ลุกขึ้นเถิด ท่านหายป่วยแล้ว ท่านจงรู้ จะให้รางวัลอะไรแก่ฉัน?
ศ. ท่านอาจารย์ ก็ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน ตัวข้าพเจ้าก็ ยอมเป็นทาสของท่าน.
ชี. อย่าเลย ท่านคหบดี ท่านอย่าได้ให้ทรัพย์สมบัติทั้งหมดแก่ฉัน เลย และท่านก็ไม่ต้องยอมเป็นทาสของฉัน ท่านจงทูลเกล้าถวายทรัพย์แก่ พระเจ้าอยู่หัวแสนกษาปณ์ ให้ฉันแสนกษาปณ์ก็พอแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 253
ครั้นเศรษฐีคหบดีหายป่วย ได้ทูลเกล้าถวายทรัพย์แด่พระเจ้าอยู่หัว แสนกษาปณ์. ได้ให้แก่ชีวกโกมารภัจจ์ แสนกษาปณ์.
เรื่องบุตรเศรษฐีป่วยเป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้
[๑๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล เศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสีผู้เล่นกีฬา หกคะเมน ได้ป่วยเป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้ ข้าวยาคูที่เธอดื่มเข้าไปก็ดี ข้าวสวย ที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เพราะโรค นั้นเธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด เหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่ง ด้วยเอ็น ครั้งนั้นเศรษฐีชาวพระนครพาราณสีได้มีความปริวิตกดังนี้ว่าบุตรของ เราได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก บุตรของเรานั้นจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีดเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็นเพราะโรคนั้น ถ้ากระไร เรา พึงไปพระนครราชคฤห์แล้วทูลขอนายแพทย์ชีวกต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะได้ รักษาบุตรของเรา ต่อแต่นั้นเศรษฐีชาวพระนครพาราณสีไปพระนครราชฤห์ แล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ. บุตรของข้าพระพุทธเจ้าได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่ เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีดเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เพราะโรคนั้น ขอพระราชทานพระราชวโรกาส ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงมีพระราชโอง การสั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อจะได้รักษาบุตรของข้าพระพุทธเจ้า.
ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ทรงมีพระราช ดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า ไปเถิด พ่อชีวก เจ้าจงไปพระนครพาราณสี แล้วรักษาบุตรของเศรษฐีชาวกรุงพาราณสี.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 254
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระราชโองการว่า อย่างนั้นขอเดชะฯ แล้วไปพระนครพาราณสี เข้าไปหาเศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสี สังเกต อาการที่ผิดแปลกของเศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสี เชิญประชาชนให้ออก ไปเสีย ขึงม่านมัดเศรษฐีบุตรไว้กับเสา ให้ภรรยาอยู่ข้างหน้า ผ่าหนังต้อง นำเนื้องอกที่ลำไส้ออกแสดงแก่ภรรยาว่า เธอจงดูความเจ็บป่วยของสามีเธอ ข้าวยาคูที่สามีเธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่สามีเธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระ และปัสสาวะออกไม่สะดวก เพราะโรคนี้ สามีเธอนี้จึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีดเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็นดังนี้ แล้วตัดเนื้องอกใน ลำไส้ออก สอดใส่ลำไส้กลับดังเดิม แล้วเย็บหนังท้องทายาสมานแผล ต่อมา ไม่นานเท่าไรนัก เศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสี ได้หายโรคแล้ว.
ครั้งนั้น เศรษฐีชาวพระนครพาราณสีคิดว่า บุตรของเราหายโรคพ้น อันตรายแล้ว จึงให้รางวัลแก่ชีวกโกมารภัจจ์เป็นเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ ชีวก โกมารภัจจ์รับเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์นั้นเดินทางกลับมาสู่พระนครราชคฤห์ตาม เดิม.
เรื่องพระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงประชวรโรคผอมเหลือง
[๑๓๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าจัณฑปัชโชตราชาในกรุงอุชเชนี ทรงประชวรโรคผอมเหลือง นายแพทย์ที่ใหญ่ๆ มีชื่อเสียงโด่งดังหลายคน มา รักษาก็ไม่อาจทำให้โรคหาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก ครั้งนั้น พระเจ้าจัณฑปัชโชตได้ส่งราชทูตถือพระราชสาสน์ ไปในพระราชสำนักพระเจ้าพิมพิสาร จอม เสนามาคธราชมีใจความว่า หม่อมฉันเจ็บป่วยเป็นอย่างนั้น ขอพระราชทาน พระราชวโรกาสขอพระองค์โปรดสั่งหมอชีวก เขาจักรักษาหม่อมฉัน พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช จึงได้ดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า ไปเถิด พ่อชีวก เจ้าจงไปเมืองอุชเชนีรักษาพระเจ้าจัณฑปัชโชต.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 255
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระราชโองการ แล้วเดินทางไปเมือง อุชเชนี เข้าไปในพระราชสำนัก แล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าจัณฑปัชโชต ได้ตรวจอาการ ที่ผิดแปลกของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่ท้าวเธอว่า ขอ เดชะฯ ข้าพระพุทธเจ้าจักหุงเนยใส พระองค์จักเสวยเนยใสนั้น.
พระเจ้าจัณฑปัชโชตรับสั่งห้ามว่า อย่าเลย นายชีวก ท่านเว้นเนยใสเสีย อาจรักษาเราให้หายโรคได้ด้วยวิธีใด ท่านจงทำวิธีนั้นเถิด เนยใสเป็นของน่า เกลียด น่าสะอิดสะเอียนสำหรับฉัน.
ขณะนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้มีความปริวิตกว่า พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ นี้แลทรงประชวรเช่นนี้ เราเว้นเนยใสเสีย ไม่อาจรักษาพระองค์ให้หายโรคได้ เอาละเราควรหุงเนยใสให้มีสี กลิ่น รส เหมือนน้ำฝาด ดังนี้ แล้วได้หุง เนยใสด้วยเภสัชนานาชนิด ให้มีสี กลิ่น รส เหมือนน้ำฝาด ครั้นแล้วฉุก คิดได้ว่า เนยใสที่พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้เสวยแล้ว เมื่อย่อย จักทำให้เรอ พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ทรงเกรี้ยวกราด จะพึงรับสั่งให้พิฆาตเราเสียก็ได้ ถ้า กระไรเราพึงทูลลาไว้ก่อน วันต่อมาจึงไปในพระราชสำนัก เข้าเฝ้าพระเจ้า จัณฑปัชโชต แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่ท้าวเธอว่า ขอเดชะฯ พวกข้าพระพุทธเจ้า ชื่อว่าเป็นนายแพทย์ จักถอนรากไม้มาผสมยาชั่วเวลาครู่หนึ่งเช่นที่ประสงค์นั้น ขอประทานพระราชวโรกาส ขอฝ่าละอองธุลีพระบาท จงทรงมีพระราชโอง การตรัสสั่งเจ้าพนักงานในโรงราชพาหนะและที่ประตูทั้งหลายว่า หมอชีวก ต้องการไปด้วยพาหนะใด จงไปด้วยพาหนะนั้น ปรารถนาไปทางประตู ใด จงไปทางประตูนั้น ต้องการไปเวลาใดจงไปเวลานั้น ปรารถนาจะเข้ามา เวลาใด จงเข้ามาเวลานั้น พระเจ้าจัณฑปัชโชตจึงได้มีพระราชดำรัสสั่งเจ้าพนัก งานในโรงราชพาหนะและที่ประตูทั้งหลาย ตามที่หมอชีวกกราบทูลขอพระ ราชานุญาตไว้ทุกประการ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 256
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าจัณฑปัชโชตมีช้างพังชื่อภัททวดี เดินทางได้ วันละ ๕๐ โยชน์ หมอชีวกโกมารภัจจ์จึงได้ทูลถวายเนยใสนั้นแด่พระเจ้าจัณฑ- ปัชโชตด้วยกราบทูลว่า ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงเสวยน้ำฝาด ครั้นให้ พระเจ้าจัณฑปัชโชตเสวยเนยใสแล้วก็ไปโรงช้างหนีออกจากพระนครไปโดย ช้างพังภัทวดี. ขณะเดียวกันนั้น เนยใสที่พระเจ้าจัณฑปัชโชตเสวยนั้นย่อย ได้ ทำให้ทรงเรอขึ้น พระเจ้าจัณฑปัชโชตจึงได้รับสั่งแก่พวกมหาดเล็กว่า พนายทั้ง หลาย เราถูกหมอชีวกชาติชั่วลวงให้ดื่มเนยใส พวกเจ้าจงค้นจับหมอชีวกมา เร็วไว.
พวกมหาดเล็กกราบทูลว่า หมอชีวกหนีออกจากพระนครไปโดยช้าง พังภัททวดีแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าจัณฑปัชโชตมีมหาดเล็กชื่อกากะ ซึ่งอาศัยเกิด กับอมนุษย์ เดินทางได้วันละ ๖๐ โยชน์ พระเจ้าปัชโชตจึงดำรัสสั่งกากะมหาด เล็กว่า พ่อนายกากะ เจ้าจงไปเชิญหมอชีวกกลับมา ด้วยอ้างว่า ท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวรับส่งให้เชิญท่านกลับไป ขึ้นชื่อว่าหมอเหล่านี้แลมีมารยามาก เจ้าอย่ารับวัตถุอะไรๆ ของเขา.
ครั้งนั้น กากะมหาดเล็กได้เดินไปทันชีวกโกมารภัจจ์ ผู้กำลังรับ ประทานอาหารมื้อเช้าในระหว่างทางเขตพระนครโกสัมพี จึงได้เรียนแก่ชีวก โกมารภัจจ์ว่าท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้เชิญท่านกลับไป.
ชี. นายกากะ ท่านจงรออยู่เพียงชั่วเวลาที่เรารับประทานอาหาร เชิญท่านรับประทานอาหารด้วยกันเถิด.
ก. ช่างเถิด ท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งข้าพเจ้าไว้ว่า นาย กากะ ขึ้นชื่อว่าหมอเหล่านี้มีมารยามาก อย่ารับวัตถุอะไรๆ ของเขา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 257
ทันใดนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ ได้แซกยาทางเล็บ พลางเคี้ยวมะขาม ป้อมและดื่มน้ำรับประทาน แล้วได้ร้องเธอเชิญกากะมหาดเล็กว่า เชิญนาย กากะมาเคี้ยวมะขามป้อมและดื่มน้ำรับประทานด้วยกัน กากะมหาดเล็กจึงคิดว่า หมอคนนี้แลกำลังเคี้ยวมะขามป้อมและดื่มน้ำรับประทาน คงไม่มีอะไรจะให้ โทษ แล้วเคี้ยวมะขามป้อมครึ่งผล และดื่มน้ำรับประทาน มะขามป้อมครึ่ง ผลที่เขาเคี้ยวนั้นได้ระบายอุจจาระออกมาในที่นั่งเอง.
ครั้งนั้น กากะมหาดเล็กได้เรียนถามชีวกโกมารภัจจ์ว่า ท่านอาจารย์ ชีวิตของข้าพเจ้าจะรอดไปได้หรือ?
ชีวกโกมารภัจจ์ตอบว่า อย่ากลัวเลย พ่อนายกากะ ท่านจักไม่มี อันตราย แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงเกรี้ยวกราด จะพึงรับสั่งให้พิฆาตเราเสียก็ได้ เพราะเหตุนั้นเราไม่กลับละ แล้วมอบช้างพังภัททวดีแก่นายกากะ เดินทางไป พระนครราชคฤห์รอนแรมไปโดยลำดับ ถึงพระนครราชคฤห์แล้วเข้าเฝ้าพร ะ เจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช กราบทูล เรื่องราวนั้นให้ทรงทราบทุก ประการ.
พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งว่า พ่อชีวก เจ้าไม่กลับไปนั้นชื่อว่าได้ทำ ถูกแล้ว เพราะพระราชาองค์นั้นเหี้ยมโหด จะพึงสั่งให้สำเร็จโทษเจ้าเสียก็ได้.
ครั้นพระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงหายประชวร ทรงส่งราชทูตไปที่สำนัก ชีวกโกมารภัจจ์ว่า เชิญหมอชีวกมา เราจักให้พร.
ชีวกกราบทูลตอบไปว่า ไม่ต้องไปก็ได้ พระพุทธเจ้าข้า ขอใต้ฝ่า ละอองธุลีพระบาทจงทรงโปรดอนุสรณ์ถึงความดีของข้าพระพุทธเจ้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 258
พระราชทานผ้าสิไวยกะ
ก็โดยสมัยนั่นแล ผ้าสิไวยกะคู่หนึ่งบังเกิดแก่พระเจ้าจัณฑปัชโชต เป็น ผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐ มีชื่อเด่น อุดม และเป็นเยี่ยมกว่าผ้าทั้งหลายเป็นอัน มากตั้งหลายคู่ ทั้งหลายร้อยคู่ หลายพันคู่ หลายแสนคู่
ครั้งนั้น พระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงส่งผ้าสิไวยกะคู่นั้น ไปพระราชทาน แก่ชีวกโกมารภัจจ์ ชีวกโกมารภัจจ์จึงได้มีความดำริว่าผ้าสิไวยกะนี้ พระเจ้า จัณฑปัชโชตส่งมาพระราชทาน เป็นผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐ มีชื่อเด่น อุดม และเป็นเยี่ยมกว่าผ้าทั้งหลายเป็นอันมาก ดังหลายคู่ ตั้งหลายร้อยคู่ หลายพันคู่ หลายแสนคู่ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น หรือพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชแล้ว ใครอื่นไม่ควรอย่างยิ่งเพื่อใช้ผ้า สิไวยกะคู่นี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระโสถถ่าย
[๓๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมักหมม ด้วยสิ่งอันเป็นโทษ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน อานนท์ กายของตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ ตถาคตต้องการจะฉัน ยาถ่าย.
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เดินไปหาชีวกโกมารภัจจ์ ครั้น ถึงแล้วได้ กล่าวคำนี้กะชีวกโกมารภัจจ์ว่า ท่านชีวก พระกายของพระตถาคตหมักหมม ด้วยสิ่งอันเป็นโทษ พระตถาคตต้องการจะเสวยพระโอสถถ่าย ชีวกโกมารภัจจ์ กล่าวว่าพระคุณเจ้า ถ้าอย่างนั้น ขอท่านจงโปรดทำพระกายของพระผู้มีพระ ภาคเจ้าให้ชุ่มชื่นสัก ๒ - ๓ วัน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 259
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ทำพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ ชุ่มชื่น ๒ - ๓ วันแล้ว เดินไปหาชีวกโกมารภัจจ์ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้กะ ชีวกโกมารภัจจ์ว่า.
ท่านชีวก พระกายของพระตถาคตชุ่มชื่นแล้ว บัดนี้ ท่านรู้กาลอัน ควรเถิด.
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า การที่เราจะพึงทูล ถวายพระโอสถถ่ายที่หยาบแด่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่สมควรเลย ถ้ากระไร เราพึงอบก้านอุบล ๓ ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วทูลถวายพระตถาคต ครั้นแล้วได้ อบก้านอุบล ๓ ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วได้ ทูลถวายก้านอุบลก้านที่หนึ่งแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงสูดก้านอุบลก้านที่ ๑ นี้ การทรงสูดก้านอุบลนี้จัก ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่ ๒ แด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรง สูดก้านอุบลก้านที่ ๒ นี้ การทรงสูดก้านอุบลนี้จักยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ ถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่ ๓ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่าพระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจนทรงสูดก้านอุบลก้านที่ ๓ นี้ การทรงสูดก้านอุบลนี้จักยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง ด้วย วิธีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงถ่ายถึง ๓๐ ครั้ง.
ครั้นชีวกโกมารภัจจ์ ทูลถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อถ่ายครบ ๓๐ ครั้งแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณ กลับไป ขณะเมื่อชีวกโกมารภัจจ์เดินออกไปนอกซุ่มประตู แล้วได้มีความปริวิตก ดังนี้ว่า เราทูลถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 260
พระกายของพระตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จักไม่ยังพระผู้มีพระภาค เจ้าให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง จักให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ถ่ายแล้วจักสรงพระกาย ครั้นสรงพระกายแล้ว จักถ่ายอีกดรั้งหนึ่ง อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของชีวก โกมารภัจจ์ด้วยพระทัยแล้ว รับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ ชีวกโกมารภัจจ์ กำลังเดินออกไปนอกซุ้มประตูวิหารนี้ ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เรา ถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อถ่ายครบ ๓๐ ครั้งแล้ว พระกาย ของพระตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จักไม่ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง จักให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถ่าย แล้วจักทรงสรงพระกาย ครั้นสรงพระกายแล้วจักถ่ายอีกดรั้งหนึ่ง อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงจัดเตรียม น้ำร้อนไว้.
พระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว จัดเตรียมน้ำร้อนไว้ถวาย ต่อมา ชีวกโกมารภัจจ์ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระ ภาคเจ้านั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค เจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถ่ายแล้วหรือ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เราถ่ายแล้ว ชีวก.
ชี. พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้ากำลังเดินออกไปนอกซุ้มประตู พระวิหารนี้ ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เราถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อถ่ายครบ ๓๐ ครั้งแล้ว พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมักหมม ด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จักไม่ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง จักให้ถ่าย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 261
เพียง ๒๙ ครั้ง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถ่ายแล้วจักสรงพระกาย ครั้นสรง พระกายแล้วจักถ่ายอีกดรั้งหนึ่งอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงโปรดสรงพระกาย ขอพระสุดจงโปรดสรงพระกาย.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรงน้ำอุ่น ครั้นสรงแล้ว ทรงถ่าย อีกดรั้งหนึ่งอย่างนี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง ลำดับ นั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ควรเสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผักต่างๆ จนกว่า จะมีพระกายเป็นปกติ.
ต่อมาไม่นานนัก พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เป็นปกติแล้ว.
กราบทูลขอพร
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ ถือผ้าสิไวยกะคู่นั้นไปในพุทธสำนัก ครั้น ถึงแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ชีวกโกมารภัจจ์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะขอประทานพรต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าสักอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า
ภ. พระตถาคตทั้งหลายเลิกให้พรเสียแล้ว ชีวก.
ชี. ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพรที่สมควรและไม่มีโทษ พระพุทธ เจ้าข้า.
ภ. จงว่ามาเถิด ชีวก.
ชี. พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระสงฆ์ทรงถือผ้าบังสุกุล เป็นปกติอยู่ ผ้าสิไวยกะของข้าพระเจ้าคู่นี้ พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงส่งมาพระ ราชทาน เป็นผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐ มีชื่อเสียงเด่นอุดม และเป็นเยี่ยมกว่าผ้าทั้ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 262
หลายเป็นอันมาก ตั้งหลายคู่ ตั้งหลายร้อยคู่ หลายพันคู่ หลายแสนคู่ ขอ พระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาโปรดรับผ้าคู่สิไวยกะของข้าพระพุทธเจ้า และขอจงทรงพระพุทธานุญาตคหบดีจีวรแก่พระสงฆ์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับผ้าคู่สิไวยกะแล้ว ครั้นแล้ว ทรงชี้แจงให้ ชีวกโกมารภัจจ์ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้น ชีวกโกมารภัจจ์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณกลับไป.
พระพุทธานุญาติคหบดีจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตคหบดีจีวร รูปใดปรารถนา จงถือผ้าบังสุกุล รูปใด ปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร แต่เราสรรเสริญการยินดี ด้วยปัจจัยตามมีดาม ได้.
[๑๓๖] ประชาชนในพระนครราชคฤห์ได้ทราบข่าวว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงอนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย ต่างพากันยินดีร่าเริงว่า บัดนี้แล พวกเราจักถวายทาน จักบำเพ็ญบุญ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง อนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย เพียงวันเดียวเท่านั้น จีวรหลายพันผืนได้ เกิดขึ้นในพระนครราชคฤห์ ประชาชนชาวชนบทได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย ต่างพากันยินดีร่าเริงว่า บัดนี้ แล พวกเราจักถวายทาน จักบำเพ็ญบุญเพราะพระผู้พระภาคเจ้าทรงอนุญาต
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 263
คหบดีจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย เพียงวันเดียวเท่านั้น จีวรหลายพันผืนได้เกิดขึ้น แม้ในชนบท.
พระพุทธานุญาตปาวารและผ้าโกเชาว์
[๑๓๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ผ้าปาวารเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแค่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปาวาร.
ผ้าปาวารแกมไหม เกิดขึ้นแก่พระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรา อนุญาตผ้าปาวารแกมไหม.
ผ้าโกเชาว์เกิดขึ้นแก่พระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าโกเชาว์
ปฐมภาณวาร จบ
พระพุทธนุญาตผ้ากัมพล
[๑๓๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้ากาสีทรงพระกรุณาส่งผ้ากัมพล มีราคาครึ่งกาสี คือ ควรราคากึ่งกาสี มาพระราชทานแก่ชีวกโกมารภัจจ์ ครั้ง นั้น ชีวกโกมารภัจจ์รับพระราชทานผ้ากัมพลราคากึ่งกาสีนั้นแล้ว เข้าไปใน พุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ชีวกโกมารภัจจ์นั่งเฝ้าเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ผ้ากัมพลของข้าพระพุทธเจ้าผืนนี้ราคาครึ่งกาสี คือ ควรราคากึ่งกาสี พระเจ้ากาสีทรงพระกรุณาส่งมาพระราชทาน ขอพระผู้มีพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 264
ภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาโปรดรับผ้ากัมพลของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพระพุทธเจ้า ตลอดกาลนานด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับผ้ากัมพล ครั้นแล้วทรงชี้แจงให้ชีวกโกมาร ภัจจ์เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นชีวกโกมาร ภัจจ์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจง ให้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณ กลับไป.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้า กมพล.
พระพุทธานุณาตคหบดีจีวร ๖ ชนิด
[๑๓๙] ก็โดยสมัยนั้นแล จีวรทั้งเนื้อดีและเลวเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ครั้ง นั้นภิกษุทั้งหลายไว้มีความปริวิตกดังนี้ว่า จีวรชนิดไรหนอแล พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงอนุญาต ชนิดไรไม่ทรงอนุญาต แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวร ๖ ชนิด คือจีวรทำด้วยเปลือกไม้ ๑ ทำด้วยฝ้าย ๑ ทำด้วยไหม ๑ ทำด้วยขนสัตว์ ๑ ทำด้วยป่าน ๑ ทำด้วยของเจือกัน ๑.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายที่ยินดีคหบดีจีวรนั้นพากันรังเกียจ ไม่ ยินดีผ้าบังสุกุลด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตจีวรอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช่ ๒ อย่าง จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ยินดีคหบดีจีวร ยินดีผ้าบังสุกุลได้ แต่เราสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรทั้งสองนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 265
เรื่องขอส่วนแบ่ง
[๑๔๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปด้วยกัน เดินทางไกลไปใน โกศลชนบท บางพวกแวะเข้าสุสาน เพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุล บางพวกไม่รอ คอย บรรดาภิกษุที่แวะเข้าสุสานเพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุลนั้น ต่างก็ได้ผ้าบังสุกุล พวกที่ไม่รอคอยนั้นพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ขอท่านจงให้ส่วนแบ่งแก่ พวกข้าพเจ้าบ้าง ภิกษุพวกนั้นพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราไม่ให้ส่วนแบ่ง แก่ท่าน เพราะเหตุไรพวกท่านจึงไม่รอคอยเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่ปรารถนา ไม่ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุพวกที่ไม่รอคอย.
สมัยต่อมา ภิกษุหลายรูปด้วยกัน เดินทางไกลไปในโกศลชนบท บางพวกแวะเข้าสุสานเพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุล บางพวกรอคอยอยู่ บรรดาพวก ที่แวะเข้าสุสานเพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุลนั้น ต่างก็ได้ผ้าบังสุกุล พวกภิกษุที่รอคอย อยู่นั้น พูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลายขอพวกท่านจงให้ส่วนแบ่งแก่พวกข้าพเจ้า บ้าง ภิกษุพวกนั้น พูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกข้าพเจ้าจักไม่ให้ส่วน แบ่งแก่พวกท่าน เพราะเหตุไรพวกท่านจึงไม่แวะเข้าไปเล่า แล้วกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่ปรารถนา ก็ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุพวกที่รอคอย.
สมัยต่อมา ภิกษุหลายรูปด้วยกัน เดินทางไกลไปในโกศลชนบท บางพวกแวะเข้าสุสานก่อน เพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุล บางพวกแวะเข้าทีหลัง ภิกษุที่แวะเข้าสุสานก่อนเพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุลนั้น ต่างก็ได้ผ้าบังสุกุล พวก ภิกษุที่แวะเข้าทีหลังไม่ได้จึงพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ขอพวกท่านจงให้ ส่วนแบ่งแก่พวกข้าพเจ้าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า พวกข้าพเจ้าจักไม่ให้
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 266
ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน เพราะเหตุไรพวกท่านจึงแวะเข้าไปทีหลังเล่า แล้วกราบ ทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่ปรารถนาไม่ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุพวกที่แวะเข้า ไปทีหลัง.
สมัยต่อมา ภิกษุหลายรูปด้วยกัน เดินทางไกลไปในโกศลชนบท ภิกษุ เหล่านั้น แวะเข้าสุสาน เพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุลพร้อมกัน บางพวกได้ผ้าบังสุกุล บางพวกไม่ได้ พวกที่ไม่ได้พูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ขอพวกท่านจงให้ ส่วนแบ่งแก่พวกข้าพเจ้าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกข้าพเจ้าจักไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมพวกท่านจึงหาไม่ได้เล่า แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาก็ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุทั้งหลายที่แวะ เข้าไปพร้อมกัน.
สมัยต่อมา ภิกษุหลายรูปด้วยกัน เดินทางไกลไปในโกศลชนบท ภิกษุ เหล่านั้นนัดแนะกันแล้วแวะเข้าสุสาน เพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุล บางพวกได้ผ้า บังสุกุล บางพวกไม่ได้ พวกที่ไม่ได้พูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ขอพวก. ท่านจงให้ส่วนแบ่งแก่พวกข้าพเจ้าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น พูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้ง หลายพวกข้าพเจ้าจักไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมพวกท่านจึงหาไม่ได้เล่า แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาก็ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุพวกที่ นัดแนะกันไว้แล้ว แวะเข้าไป.
องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้รับจีวร
[๑๔๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ประชาชนถือจีวรมาสู่อาราม พวกเขาหา ภิกษุ เจ้าหน้าที่รับไม่ได้จึงนำกลับไป จีวรเกิดขึ้นน้อย ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 267
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตไห้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร คือ:-
๑. ไม่ถึงความล่าเอียงเพราะความชอบพอ.
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง.
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย.
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักจีวรจำนวนที่รับไว้ และยังมิได้รับ.
วิธีสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้. สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร นี้ เป็นญัตติ.
ท่านเจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้ เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น ฟังเป็นผู้นั่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงพูด.
สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวรแล้ว ชอบแก่ สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 268
องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้เก็บจีวร
[๑๘๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร รับ จีวรแล้วทิ้งไว้ในที่นั้นแหละ แล้วหลีกไป จีวรเสียหาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร คือ:-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ.
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง.
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย.
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ.
๕. รู้จักจีวรจำนวนที่เก็บไว้ และยังมิได้เก็บ.
วิธีสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้. สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้า น้ำที่เก็บจีวร นี้ เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บ จีวรชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 269
สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ชอบแก่ สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระพุทธอนุญาตเรือนคลัง
[๑๔๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ได้ เก็บจีวรไว้ในมณฑปบ้าง ที่โคนไม้บ้าง ที่ชายคาบ้าง ที่กลางแจ้งบ้าง จีวร ถูกหนูกัดบ้าง ถูกปลวกกินบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติ วิหาร เพิง เรือนชั้น เรือนโล้น หรือถ้า ที่สงฆ์จำหมายให้เป็นเรือนคลัง.
วิธีสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้ สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลัง นี้เป็น ญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นเรือนคลัง การสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลัง ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง พูด.
สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นเรือนคลังแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 270
องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลัง
[๑๔๔] ก็โดยสมัยนั้นแล จีวรในเรือนคลังของสงฆ์ ไม่มีตนเฝ้า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่ รักษาเรือนคลัง คือ:-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ.
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง.
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย.
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักจีวรจำนวนที่รักษา และยังมิได้รักษา.
วิธีสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้. สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษา เรือนคลัง นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ่าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้ เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้า ที่รักษาเรือนคลัง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 271
สงฆ์สมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง แล้วชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระพุทธบัญญัติห้ามย้ายเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง
[๑๔๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ย้ายเจ้าหน้าที่รักษาเรือน คลัง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงย้ายเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลัง รูปใดย้าย ต้องอาบัติทุกกฏ.
องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้แจกจีวร
[๑๔๖] ก็โดยสมัยนั้นแล จีวรในเรือนคลังของสงฆ์มีมาก ภิกษุทั้ง หลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ผู้อยู่พร้อมหน้าแจก.
สมัยต่อมา สงฆ์ทั้งปวงกำลังแจกจีวรได้ส่งเสียงอื้ออึง ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาต ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ปรกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร คือ:-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ.
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง.
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ.
๕. รู้จักจีวรจำนวนที่แจกแล้ว และยังมิได้แจก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 272
วิธีสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้. สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้ เป็นเจ้าหน้าที่แจกาจีวร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจก จีวร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด.
สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรแล้ว ชอบ แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนิไว้ด้วยอย่างนี้.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็น เจ้าหน้าที่แจกจีวร ได้มีความปริวิตกดังนี้ ว่าควรแจกจีวรอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแค่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส แนะวิธีแจกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คัดเลือกผ้าก่อน แล้วดี ราคาคิดถัวกัน นับภิกษุ ผูกผ้าเป็นมัดๆ แล้วตั้งส่วนจีวรไว้.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร ได้มีความปริวิตกว่า พึงให้ส่วนจีวรแก่สามเณรอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนกึ่ง หนึ่งให้แก่พวกสามเณร.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 273
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาจะรีบเดินทางไปกับส่วนของตน ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนของคนแก่ภิกษุผู้รีบเดินทางไป.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง ปรารถนาจะรีบเดินทางไปกับส่วนพิเศษ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนพิเศษในเมื่อให้สิ่งของทดแทนสมกัน.
ครั้งนั้น ภิกษุเจ้าหน้าที่แจกจีวรคิดว่า พึงให้ส่วนจีวรอย่างไรหนอ คือพึงให้ตามลำดับภิกษุผู้มา หรือพึงให้ตามลำดับภิกษุผู้แก่พรรษา จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้สมยอมส่วนที่บกพร่อง แล้วทำการจับสลาก.
พระพุทธนุญาตน้ำย้อมเป็นต้น
[๑๔๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายย้อมจีวรด้วยโคมัยบ้าง ด้วย ดินแดงบ้าง จีวรมีสีคล้ำ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำย้อม ๖ อย่าง คือ น้ำย้อม เกิดแต่รากหรือเง่า ๑ น้ำย้อมเกิดแต่ต้นไม้ ๑ น้ำย้อมเกิดแต่เปลือกไม้ ๑ น้ำ ย้อมเกิดแต่ใบไม้ ๑ น้ำย้อมเกิดแต่ดอกไม้ ๑ น้ำย้อมเกิดแต่ผลไม้ ๑.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายย้อมจีวรด้วยน้ำย้อมที่เย็น จีวรมีกลิ่นสาบ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหม้อย้อมขนาดเล็กเพื่อต้มน้ำย้อม.
น้ำย้อมล้นหม้อ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผูกตะกร้อกันล้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 274
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ว่าน้ำย้อมต้มสุกแล้ว หรือยังไม่สุก จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หยดหยาดน้ำลงในน้ำ หรือหลังเล็บ.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายยกหม้อน้ำย้อมลง ทำหม้อกลิ้งไป หม้อแตก ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกระบวยตักน้ำย้อมอันเป็นภาชนะมีด้าม.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายไม่มีภาชนะสำหรับย้อม จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต อ่างสำหรับย้อม หม้อสำหรับย้อม.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายขยำจีวรในถาดบ้าง ในบาตรบ้าง จีวรฉีกขาด ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรางสำหรับย้อม.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายตากจีวรบนพื้นดิน จีวรเปื้อนฝุ่น ภิกษุ ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องรองทำด้วยหญ้า.
เครื่องรองทำด้วยหญ้าถูกปลวกกัด ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ราวจีวร สายระเดียง.
ภิกษุทั้งหลายตากจีวรตอนกลาง น้ำย้อมหยดออกทั้งสองชาย ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผูกมุมจีวรไว้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 275
มุมจีวรชำรุด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แค่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตด้ายผูกมุมจีวร.
น้ำย้อมหยดออกชายเดียว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ย้อมจีวร พลิกกลับไปกลับมา แต่เมื่อหยาดน้ำยังหยดไม่ขาดสาย อย่าหลีกไป.
สมัยต่อมา จีวรเป็นผ้าเนื้อแข็ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จุ่ม ลงในน้ำ
สมัยต่อมา จีวรเป็นผ้ากระค้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทุบ ด้วยฝ่ามือ.
พระพุทธบัญญัติห้ามใช้จีวรที่ไม่ตัด
[๑๔๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ใช้จีวรที่ไม่ได้ตัด ใช้จีวร ที่ย้อมน้ำฝาด มีสีเหมือนงาช้าง ประชาชนจึงพากันเพ่งโทษติเตียน โพนทะนา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสห้ามว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายภิกษุไม่พึงใช้จีวรที่มิได้ตัด รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญชาให้แต่งจีวร
[๑๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์ ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางทักขิณาติรีชนบท พระองค์ทอดพระเนตรเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นต้นนาสีเหลี่ยม พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนา
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 276
สั้นๆ พูนคันนาเชื่อมกันดังทาง ๔ แพร่ง ตามที่ซึ่งคันนากับคันนาผ่านตัดกัน ไป ครั้นแล้ว รับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์เธอเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยม พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูน คันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ พูนคันนาเชื่อมกันดังทาง ๔ แพร่ง ตามที่ซึ่งคันนากับคันนาผ่านตัดกันไปหรือไม่?
อา. เห็นตามพระพุทธดำรัส พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เธอสามารถแต่งจีวรของภิกษุทั้งหลายให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม่?
อา. สามารถ พระพุทธเจ้าข้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ทักขิณาคิรีชนบทตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จกลับมาพระนครราชคฤห์อีก ครั้งนั้นท่านพระอานนท์ แต่งจีวรสำหรับภิกษุหลายรูป ครั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้กราบทูล ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงทอดพระเนตรจีวรที่ข้าพระพุทธเจ้าแต่งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
ตรัสสรรเสริญท่านพระอานนท์
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์เป็นคนเจ้าปัญญา อานนท์ได้ซาบซึ้ง ถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่เรากล่าวย่อได้โดยกว้างขวาง อานนท์ทำผ้าชื่อกุสิก็ได้ ทำผ้าชื่ออัฑฒกุสิก็ได้ ทำผ้าชื่อมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่ออัทฒมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่อ วิวัฏฏะก็ได้ ทำผ้าชื่ออนุวิวัฏฏะก็ได้ ทำผ้าชื่อดีเวยยกะก็ได้ ทำผ้าชื่อชังเฆยยกะก็ได้ และทำผ้าชื่อพาหันตะก็ได้จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้ว เศร้าหมองด้วย ศัสตรา สมควรแก่สมณะและพวกศัตรูไม่ต้องการ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 277
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิตัด ผ้าอุตราสงค์ตัด ผ้า อันตรวาสกตัด.
เสด็จพระพุทธดำเนินทางไกล
[๑๕0] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระนครราชคฤห์ ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครเวสาลี พระองค์ เสด็จพระพุทธดำเนินทางไกลระหว่างพระนครราชคฤห์ และระหว่างพระนคร เวสาลีต่อกัน ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุหลายรูป หอบผ้าพะรุงพะรัง บ้างก็ ทูนห่อผ้า ที่พับดังฟูกขึ้นบนศีรษะ บ้างก็แบกขึ้นบ่า บ้างก็กะเดียดไว้ที่สะเอว เดินมาอยู่ ครั้นแล้ว ได้ทรงดำริว่า โมฆบุรุษเหล่านี้ เวียนเมาเพื่อความมักมาก ในจีวรเร็วนัก เราจะพึงกั้นเขต ตั้งกฎในเรื่องผ้าแก่ภิกษุทั้งหลาย ครั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลี ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์ เขตพระนครเวสาลีนั้น
ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผ้าจีวรผืนเดียว ประทับนั่ง อยู่กลางแจ้งตอนกลางคืน ขณะน้ำค้างตก ในราตรีเหมันตฤดู กำลังหนาว ตั้งอยู่ระหว่างเดือน ๓ กับเดือน ๔ ต่อกัน ความหนาวไม่ได้มีแก่พระผู้มี พระภาคเจ้า เมื่อปฐมยามผ่านไปแล้ว ความหนาวจึงได้มีแก่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ จึงห่มจีวรผืนที่สอง ความหนาวไม่ได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อมัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ความหนาวจึงได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ จึงทรง ห่มจีวรผืนที่สาม ความหนาวไม่ได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อปัจฉิมยามผ่าน ไปแล้ว ขณะรุ่งอรุณแห่งราตรีอันเป็นเบื้องต้นแห่งความสดชื่น ความหนาว ได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ จึงทรงห่มจีวรผืนที่สี่ ความหนาวไม่ได้มีแก่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 278
พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ได้ทรงพระดำริว่า กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ ที่เป็นคน ขี้หนาว กลัวต่อความหนาว อาจดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยผ้าสามผืน ไฉนหนอเรา เราจะพึงกั้นเขต ตั้งกฎ ในเรื่องผ้าแก่ภิกษุทั้งหลาย เราพึงอนุญาตผ้าสามผืน.
พระพุทธนุญาตไตรจีวร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลายว่า เราเดินทางไกลในระหว่างพระนครราชคฤห์ และระหว่างพระนครเวสาลีต่อกัน ได้เห็นภิกษุหลายรูปในธรรมวินัยนี้ หอบผ้าพะรุงพรัง บ้างก็ ทูนห่อผ้าที่พับดังฟูกขึ้นบนศีรษะบ้างก็แบกขึ้นบ่า บ้างก็กระเดียดไว้ที่สะเอว เดินมาอยู่ ครั้นแล้วเราได้ดำริว่าโมฆบุรุษเหล่านี้ เวียนมาเพื่อความมักมาก ในจีวรเร็วนัก ไฉนหนอเราจะพึงกั้นเขต ตั้งกฎ ในเรื่องผ้าแก่ภิกษุทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราครองผ้าผืนเดียว นั่งอยู่กลางแจ้ง ณ ตำบล นี้ตอนกลางคืน ขณะน้ำค้างตก ในราตรีเหมันตฤดู กำลังหนาว ตั้งอยู่ ระหว่างเดือน ๓ กับระหว่างเดือน ๔ ต่อกัน ความหนาวมิได้มีแก่เรา เมื่อ ปฐมยามผ่านไปแล้วความหนาวจึงได้มีแก่เรา เราจึงห่มจีวรผืนที่สอง ความ หนาวมิได้มีแก่เรา เมื่อมัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ความหนาวได้มีแก่เรา เราจึง ห่มจีวรผืนที่สาม ความหนาวมิได้มีแก่เรา เมื่อปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว ขณะ รุ่งอรุณแห่งราตรีอันเป็นเบื้องต้น แห่ความสดชื่น ความหนาวจึงได้มีแก่เรา เราจึงห่มจีวรผืนที่สี่ ความหนาวมิได้มีแก่เรา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 279
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้ดำริว่า กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ ที่เป็น คนขี้หนาว กลัวต่อความหนาว ก็อาจดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยผ้าสามผืน ไฉนหนอ เราจะพึงกั้นเขต ตั้งกฎ ในเรื่องผ้าแก่ภิกษุทั้งหลาย เราจะพึงอนุญาตไตรจีวร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไตรจีวร คือ ผ้าสังฆาฏิ ๒ ชั้น ผ้าอุตราสงค์ชั้นเดียว ผ้าอันตรวาสกชั้นเดียว.
พระพุทธบัญญัติอดิเรกจีวร
[๑๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตไตรจีวร จึงใช้จีวรสำรับหนึ่งสำหรับเข้าบ้าน สำรับหนึ่งสำหรับ อยู่ในอาราม สำรับหนึ่งสำหรับลงสรงน้ำ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ทรงอดิเรกจีวรเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึ่งทรงอดิเรกจีวร รูปใดทรง พึงปรับอาบัติตามธรรม.
สมัยต่อมา อดิเรกจีวรบังเกิดขึ้นแก่ท่านเพระอานนท์ และท่านประสงค์ จะถวายจีวรนั้นแค่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่านพระสารีบุตรอยู่ถึงเมืองสาเกต ท่านพระอานนท์จึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุไม่พึงทรงอดิเรกจีวร ก็อดิเรกจีวรนี้บังเกิดแก่เรา และเราก็ใคร่จะถวาย จีวรผืนนี้แก่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่านอยู่ถึงเมืองสาเกต เราพึงปฏิบัติอย่างไร หนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า อานนท์ยังอีกนานเท่าไร สารีบุตรจึง จะกลับมา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 280
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ยังอีก ๙ วัน หรือ ๑๐ วัน พระพุทธเจ้าข้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหละหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทรงอดิเรกจีวรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง.
พระพุทธานุญาตให้วิกัปอดิเรกจีวร
สมัยต่อมา อดิเรกจีวรบังเกิดแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น ภิกษุทั้งหลาย ได้มีความปริวิตกว่า พวกเราจะพึงปฏิบัติในอดิเรกจีวรอย่างไรหนอ แล้วกราบ ทูลเรื่องนั้นแค่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้วิกัปอดิเรกจีวร.
พระพุทธานุญาตผ้าปะเป็นต้น
[๑๕๒] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครเวสาลีตาม พระพุทธาภิมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครพาราณสี เสด็จ พระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับ ถึงพระนครพาราณสี ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อิสิปตนะมฤคทายวันเขตพระนครพาราณสีนั้น สมัยนั้น ผ้าอันตรวาสกของภิกษุรูปหนึ่งขาดทะลุ และท่านได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้า ๓ ผืน คือ ผ้าสังฆาฏิสองชั้น ผ้าอุตราสงค์ ชั้นเดียว ผ้าอันตรวาสกชั้นเดียว ก็ผ้าอันตรวาสกของเรานี้ขาดทะลุ ไฉนหนอ เราพึงดามผ้าปะ โดยรอบจักเป็นสองชั้นตรงกลางจักเป็นชั้นเดียว ดังนี้แล้ว คามผ้าปะทันที พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินไปตามเสนาสนะ ได้ ทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นกำลังดามผ้าปะ ครั้นแล้วเสด็จเข้าไปใกล้ภิกษุนั้น ได้ตรัสถามว่า เธอกำลังทำอะไร ภิกษุ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 281
ภิ. กำลังปะผ้า พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดีละ ดีละ ภิกษุ เป็นการชอบแท้ ภิกษุ ที่เธอดามผ้าปะ.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิ ๒ ชั้น ผ้าอุตราสงค์ชั้นเดียว ผ้าอันตรวาสกชั้นเดียว สำหรับผ้าใหม่มีกัปปะใหม่ ผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ผ้าอุตราสงค์ ๒ ชั้น อันตรวาสก ๒ ชั้น สำหรับผ้าที่เก็บไว้ล่วงฤดู พึงทำอุตสาหะในผ้าบังสุกุลจนพอต้องการ หรือทำอุตสาหะในผ้าที่ตกจากร้านตลาด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปะ การชุน รังดุม ลูกดุม การ ทำให้มั่น.
เรื่องนางวิสาขา มิคารมาตา
[๑๕๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครพาราณสี ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จ พระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับ ถึงพระนครสาวัตถี ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกะคหบดี เขต พระนครสาวัตถีนั้น ครั้งนั้น นางวิสาขา มิคารมาตา เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ นางผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา นางผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของหม่อม-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 282
ฉันเพื่อเจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาด้วยดุษณีภาพ ครั้นนางทราบการรับ อาราธนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค เจ้าทำประทักษิณกลับไป ครั้นผ่านราตรีนั้นไป ฝนตั้งเค้าขึ้นในทวีปทั้ง ๔ ตก ลงมาห่าใหญ่.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ฝนตกในเขตวันฉันใด ตกในทวีปทั้ง ๔ ก็ฉันนั้น พวกเธอจงสรง สนานกายกันเถิด เพราะเป็นครั้งสุดท้ายที่ฝนห่าใหญ่ตั้งเค้าขึ้นในทวีปทั้ง ๔.
ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระพุทธบัญชาว่า เป็นดังพระพุทธดำรัส พระพุทธเจ้าข้า แล้วพากันเปลื้องผ้าสรงสนานกายอยู่.
ครั้งนั้น นางวิสาขา มิคารมาตา สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของบริโภค อันประณีต แล้วสั่งทาสีว่า ไปเถิดแม่ เจ้าจงไปอารามแล้วแจ้งภัตกาลว่า ถึง เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว เจ้าข้า.
ทาสีนั้นรับคำว่า เป็นเช่นนั้น เจ้าข้า แล้วไปวัด ได้เห็นภิกษุเปลื้องผ้า สรงสนานกาย ครั้นแล้วเข้าใจผิดคิดว่า ในอารามไม่มีภิกษุ มีแต่พวกอาชีวก สรงสนานอยู่ จึงกลับไปบ้านได้แจ้งความแก่นางวิสาขา มิคารมาตาว่า นาย ภิกษุไม่มีในอาราม มีแต่พวกอาชีวกสรงสนานอยู่ เจ้าค่ะ.
นางวิสาขา มิคารมาตา เป็นสตรีฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญารู้ได้ทัน ทีว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายคงเปลื้องผ้าพากันสรงสนานกายเป็นแน่ นางคนนี้ เขลา จึงสำคัญว่า ไม่มีภิกษุในอาราม มีแต่พวกอาชีวกสรงสนานกายอยู่ จึง สั่งสาวใช้ว่าไปเถิดแม่ทาสี เจ้าจงไปอาราม แล้วแจ้งภัตกาลว่า ถึงเวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้วเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 283
ครั้นเวลาต่อมา ภิกษุเหล่านั้น ทำตัวให้เย็น มีกายงาม ต่างถือจีวร เข้าไปสู่ที่อยู่ตามเดิม ทาสีนั้นจึงไปวัดไม่เห็นภิกษุทั้งหลาย จึงเข้าใจผิดคิดว่า ไม่มีภิกษุในอาราม อารามว่างเปล่า จึงกลับไปบ้านแล้วแจ้งความนั้นแก่นาง วิสาขา มิคารมาตาว่า ไม่มีภิกษุในอาราม อารามว่างเปล่า เจ้าค่ะ.
นางวิสาขา มิคารมาตา เป็นสตรีฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญารู้ได้ ทันทีว่าพระคุณเจ้าทั้งหลาย คงทำตัวให้เย็น มีกายงาม ต่างถือจีวรเข้าไปสู่ที่ อยู่ตามเดิมเป็นแน่ นางคนนี้เขลาจึงสำคัญว่า ไม่มีภิกษุในอาราม อารามว่าง เปล่า แล้วสั่งสาวใช้อีกว่า ไปเถิดแม่ทาสี เจ้าจงไปอาราม แล้วแจ้งภัตกาล ว่า ถึงเวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว เจ้าข้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอจงเตรียมบาตรจีวร ถึงเวลาภัตตาหารแล้ว.
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธบัญชาว่า เป็นอย่างนั้น พระ พุทธเจ้าข้า.
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เสด็จหายไปในพระเชตวัน มาปรากฏที่ซุ้มประตูบ้านนางวิสาขา มิคารมาตา ดุจบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น พระองค์ประทับนั่ง เหนือพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย พร้อมด้วยพระสงฆ์.
ขณะนั้น นางวิสาขา มิคารมาตา กล่าวว่า ชาวเราผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ จริงหนอ ชาวเราผู้เจริญประหลาดจริงหนอ พระตถาคต ชื่อว่ามีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเพราะเมื่อห้วงน้ำไหลนองไปเพียงเข่าบ้าง เพียงสะเอวบ้า เท้า หรือจีวรของภิกษุแม้รูปหนึ่ง ก็ไม่ได้เบียกน้ำ ดังนี้แล้ว ร่าเริง เบิกบานใจ อังคาสภิกษุสงฆ์แม้พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 284
ด้วยมือของตน ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จแล้ว จนทรงนำพระหัตถ์ออก จากบาตรให้ห้ามภัตรแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าว่า หม่อมฉันทูลขอประทานพร ๘ ประการต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ตถาคตเลิกไห้พรเสียแล้ว วิสาขา.
วิ. หม่อมฉันทูลขอประทานพรที่สมควรและไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. จงบอกมาเถิด วิสาขา.
วิ. พระพุทธเจ้าข้า สำหรับพระสงฆ์ หม่อมฉันปรารถนาจะถวายผ้า วัสสิกสาฎก จะถวายภัตเพื่อพระอาคันตุกะ จะถวายภัตเพื่อพระที่เตรียมจะไป จะถวายภัตเพื่อพระอาพาธ จะถวายภัตเพื่อพระที่พยาบาลพระอาพาธ จะ ถวายเภสัชสำหรับพระอาพาธ จะถวายยาคูประจำ และสำหรับภิกษุณีสงฆ์ หม่อมฉัน ปรารถนาจะถวายอุทกสากฎ จนตลอดชีพ.
ภ. วิสาขา ก็เธอเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงขอพร ๘ ประการ ต่อตถาคต.
วิ. พระพุทธเจ้าข้า วันนี้หม่อมฉันสั่งทาสีว่า ไปเถิด แม่ทาสี เจ้า จงไปอาราม แล้วบอกภัตกาลว่า ภัตตาหารเสร็จแล้ว เจ้าข้า และนางก็ไปวัด ได้เห็นภิกษุทั้งหลายเปลื้องผ้าสรงสนานกายอยู่ เข้าใจผิดคิดว่า ไม่มีภิกษุใน อาราม มีแต่พวกอาชีวกสรงสนานกายอยู่ จึงกลับมาบ้าน แล้วรายงานแก่ หม่อมฉันว่า นายไม่มีภิกษุในอาราม มีแต่พวกอาชีวกสรงสนานกายอยู่.
๑. พระพุทธเจ้าข้า ความเปลือยกายไม่งาม น่าเกลียด น่าชัง หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายผ้าวัสสิกสาฎกแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 285
๒. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระอาคันตุกะไม่ชำนาญ หนทาง ไม่รู้จักที่โคจร ย่อมเที่ยวบิณฑบาตลำบาก ท่านฉันอาคันตุกภัตของ หม่อมฉันพอชำนาญหนทาง รู้จักที่โคจร จักเที่ยวบิณฑบาตได้ไม่ลำบาก หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายอาคันตุกภัตแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ.
๓. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระผู้เตรียมตัวจะไปมัว แสวงหาภัตตาหารเพื่อตนอยู่ จักพลาดจากหมู่เกวียน หรือจักถึงสถานที่ที่คน ต้องการจะไปอยู่เมือพลบค่ำ จักเดินทางลำบาก ท่านฉันคมิกภัตของหม่อมฉัน แล้ว จักไม่พลาดจากหมู่เกวียน หรือจักถึงสถานที่ที่ตนต้องการจะไปอยู่ไม่ พลบค่ำ จักเดินทางไม่ลำบาก หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนา จะถวายคมิกภัตแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ.
๔. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพระอาพาธไม่ได้ โภชนาหารที่เป็นสัปปายะ อาพาธกำเริบ หรือท่านจักถึงมรณภาพ เมื่อท่าน ฉันคิลานภัตของหม่อมฉัน อาพาธจักทุเลา ท่านจักไม่ถึงมรณภาพ หม่อมฉัน เห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายคิลานภัตแก่สงฆ์ จนตลอดชีพ.
๕. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระผู้พยาบาลพระอาพาธ มัวแสวงหาภัตตาหารเพื่อตน จักนำภัตตาหารไปถวายพระอาพาธจนสาย ตนเอง จักอดอาหาร ท่านได้ฉันคิลานุปัฏฐากภัตของหม่อมฉันแล้ว จักนำภัตตาหาร ไปถวายพระอาพาธตามเวลา ตนเองก็จักไม่อดอาหาร หม่อมฉันเห็นอำนาจ ประโยชน์นี้จึงปรารถนาจะถวายคิลานุปัฏฐากภัตแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ.
๖. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพระอาพาธไม่ได้เภสัช ที่เป็นสัปปายะ อาพาธจักกำเริบ หรือจักถึงมรณภาพ เมื่อท่านฉันคิลานเภสัช
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 286
ของหม่อมฉันแล้ว อาพาธจักทุเลา ท่านจักไม่มรณภาพ หม่อมฉันเห็นอำนาจ ประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายคิลานเภสัชแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ.
๗. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงเห็นอานิสงส์ ๑๐ ประการ ได้ทรงอนุญาตยาคูไว้แล้ว ที่เมืองอันธกวินทะ หม่อมฉันเห็น อานิสงส์ตามที่พระองค์ตรัสนั้น จึงปรารถนาจะถวายยาคูประจำแก่สงฆ์ จน ตลอดชีพ.
๘. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุณีทั้งหลายเปลือยกายอาบน้ำร่วมท่ากับหญิง แพศยา ณ แม่น้ำอจิรวดีนี้ หญิงแพศยาเหล่านั้นพากันเย้ยหยันภิกษุณีว่า แม่เจ้า พวกท่านกำลังสาวประพฤติพรหมจรรย์จะได้ประโยชน์อะไร ควรบริโภค กามมิใช่หรือ ประพฤติพรหมจรรย์ต่อเมื่อแก่เฒ่า อย่างนี้ จักเป็นอันพวก ท่านยึดส่วนทั้งสองไว้ได้ ภิกษุณีเหล่านั้นถูกพวกหญิงแพศยาเย้ยหยันอยู่ ได้ เป็นผู้เก้อ ความเปลือยกายของมตุคามไม่งาม น่าเกลียค น่าชัง หม่อมฉัน เห็นอำนาจประโยชน์นี้จึงปรารถนาจะถวายผ้าอุทกสาฎก แก่ภิกษุณีสงฆ์ จน ตลอดชีพ.
ภ. วิสาขา ก็เธอเห็นอานิสงฆ์อะไร จึงขอพร ๘ ประการต่อตถาคต
วิ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ จำพรรษาใน ทิศทั้งหลายแล้ว จักมาพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระองค์ แล้วจักทูลถามว่า ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพแล้ว ท่านมีดติอย่างไร มีภพหน้าอย่างไร พระพุทธเจ้า ข้า พระองค์จักทรงพยากรณ์ภิกษุนั้นในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล หม่อมฉันจักเข้าไปหาภิกษุพวกนั้น แล้วเรียนถามว่า พระคุณ เจ้ารูปนั้นเคยมาพระนครสาวัตถีไหมเจ้าข้า ถ้าท่านเหล่านั้นจักตอบแก่หม่อ-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 287
ฉันว่า ภิกษุนั้นเคยมาพระนครสาวัตถี หม่อมฉันจักถึงความตกลงใจในการมา ของพระคุณเจ้ารูปนั้นว่า พระคุณเจ้ารูปนั้นคงใช้สอยผ้าวัสสิกสาฎก คงฉัน อาคันตุกภัต คมิกภัต คิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช หรือยาคู ประจำเป็นแน่ เมื่อหม่อมฉันระลึกถึงกุศลนั้นอยู่ ความปลื้มใจจักบังเกิด เมื่อ หม่อมฉันปลื้มใจแล้ว ความอิ่มใจจักบังเกิด เมื่อมีใจอิ่มเอิบแล้ว กายจักสงบ เมื่อมีกายสงบแล้ว จักเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตจักตั้งมั่น จักเป็นอันหม่อม ฉันได้อบรมอินทรีย์ อบรมพละ อบรมโพชฌงค์นั้น หม่อมฉันเห็นอานิสงส์นี้ จึงขอประทานพร ประการต่อพระองค์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดีละ ดีละ วิสาขา ดีแท้ วิสาขา เธอเห็นอานิสงส์นี้ จึงขอ พร ๘ ประการต่อตถาคต เราอนุญาตพร ๘ ประการแก่เธอ.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนานางวิสาชา มิคารมาตา ด้วยพระคาถาเหล่านี้ ว่าดังนี้:-
คาถาอนุโมทนา
[๑๕๔] สตรีใด ไห้ข้าวและน้ำ มีใจ เบิกบานแล้ว สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นสาวิกา ของพระสุคต ครอบงำความตระหนี่แล้ว บริจาคทานอันเป็นเหตุแห่งสวรรค์ เป็น เครื่องบรรเทาความโศก นำมาซึ่งความสะ สตรีนั้น อาศัยมรรคปฏิบัติ ปราศจากธุลี ไม่มีกิเลศเครื่องยั่วใจ ย่อมได้กำลังและอาย เป็นทิพย์ สตรีผู้ประสงค์บุญนั้น เป็นคนมี สุข สมบูรณ์ด้วยอนามัย ย่อมปลื้มใจใน สวรรค์สิ้นกาลนาน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 288
พระพุทธนุญาตผ้าวัสสิกสาฏกเป็นต้น
[๑๕๕] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนา นางวิสาขา มิคารมาตา ด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับกลับไป ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้ว รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าวัสสิกสาฏก อาคันตุกภัต คมิกภัต คิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช ยาคูประจำ อนุญาตผ้าอุทกสาฎก สำหรับภิกษุณีสงฆ์.
วิสาขาภาณวาร จบ
พระนอนหลับลืมสติ
[๑๕๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายฉันโภชนาหารอันประณีตแล้ว นอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน เสนาสนะเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิ ครั้งนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้ามีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปตาม เสนาสนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นเสนาสนะเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิ ครั้น แล้วรับสั่ง ถามพระอานนท์ว่าอานนท์ เสนาสนะนั่นเปรอะเปื้อนอะไร?
อา. พระพุทธเจ้าข้า เดี่ยวนี้ภิกษุทั้งหลายฉันโภชนาหารอันประณีต แล้วนอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้ สึกตัว น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝันเสนาสนะนี้นั้นจึงเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิพระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 289
ภ. ข้อที่กล่าวมานั่นย่อมเป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อที่กล่าวมานั่นย่อม เป็นอย่างนั้น อานนท์ ความจริง เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับ ลืมสติ ไม่ รู้สึกตัว น้ำอสุจิจึงเคลื่อนเพราะความฝัน ภิกษุเหล่าใดนอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัว น้ำอสุจิของภิกษุเหล่านั้นไม่เคลื่อน อนึ่ง น้ำอสุจิของภิกษุปุถุชน ผู้ ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ไม่เคลื่อน ข้อที่น้ำอสุจิของพระอรหันต์จะพึง เคลื่อนนั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย วันนี้เรามีอานนท์เป็นปัจฉาสมณะเที่ยวเดินไปตามเสนาสนะ ได้เห็น เสนาสนะเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิ จึงได้ถามอานนท์ว่า เสนาสนะนั่นเปรอะเปื้อน อะไร อานนท์ชี้แจงว่า พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายฉันโภชนาหารอัน ประณีตแล้ว นอนหลับลืมสติ ไม่รู้สึกตัว เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับลืมสติ ไม่รู้สึกตัว น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน เสนาสนะน้ำนั้นจึงได้เปรอะเปื้อน น้ำอสุจิ เราได้กล่าวรับรองว่าข้อที่กล่าวมานั่นย่อมเป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อที่กล่าวมานั่นย่อมเป็นอย่างนั้น อานนท์ ความจริง เมื่อภิกษุเหล่านั้น นอนหลับลืมสติ ไม่รู้สึกตัว น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน ภิกษุเหล่าใด นอนหลับ มีสติทั้งมั่น รู้สึกตัว น้ำอสุจิของภิกษุเหล่านั้นไม่เคลื่อน อนึ่ง น้ำอสุจิของภิกษุปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ไม่เคลื่อน ข้อที่ น้าอสุจิของพระอรหันต์จะพึงเคลื่อนนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 290
นอนหลับลืมสติมีโทษ ๕ ประการ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีโทษ ๕ ประการนี้ คือ หลับเป็นทุกข์ ๑ ตื่นเป็นทุกข์ ๑ เห็นความฝันอันลามก ๑ เทพดาไม่รักษา ๑ อสุจิเคลื่อน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ ลืม สติ ไม่รู้สึกตัว มีโทษ ๕ ประการนี้แล.
นอนหลับคุมสติมีคุณ ๕ ประการ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติดังมั่น รู้สึกตัวอยู่ มีคุณ ๕ ประการนี้ คือ หลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่เห็นความฝันอันลามก ๑ เทพดารักษา ๑ อสุจิไม่เคลื่อน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติตังมั่น รู้สึกตัว มีคุณ ๕ ประการนี้แล
พระพุทธานุญาตผ้านิสีทนะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้านิสีทนะ เพื่อรักษากาย รักษาจีวร รักษาเสนาสนะ.
พระพุทธานุญาตผ้าปัจจัตถรณะ
สมัยต่อมา ผ้านิสีทนะเล็กเกินไป ป้องกันเสนาสนะได้ไม่หมด ภิกษุ ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุต้องการผ้าปูนอนใหญ่เพียงใด เราอนุญาตให้ทำผ้าปูนอน ใหญ่เพียงนั้น.
พระพุทธานุญาตผ้าปิดฝี
[๑๕๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเวลัฏฐสีสะพระอุปัชฌาย์ของท่าน พระอานนท์ อาพาธเป็นโรคฝีดาดหรืออีสุกสีใส ผ้านุ่งผ้าห่มกรังอยู่ที่ตัวเพราะ น้ำหนองของโรคนั้น ภิกษุทั้งหลายเอาน้ำชุบๆ ผ้าเหล่านั้น แล้วค่อยๆ ดึง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 291
ออกมา ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินไปตามเสนาสนะ ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นกำลังเอาน้ำชุบๆ ผ้านั้นแล้วต่อยๆ ดึงออกมา ครั้นแล้ว จึงเสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปทางภิกษุเหล่านั้น ได้ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้อาพาธเป็นโรคอะไร?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านรูปนี้อาพาธเป็นโรค ฝีดาดหรืออีสุกอีใส ผ้ากรังอยู่ที่ตัว เพราะน้ำหนอง พวกข้าพระพุทธเจ้าเอา น้ำชุบๆ ผ้าเหล่านั้นแล้วค่อยๆ ดึงออกไป.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปิดฝีแก่ภิกษุที่อาพาธ เป็นฝีก็ดี เป็นพุพองก็ดี เป็นสิวก็ดี เป็นโรคฝีดาด หรือ อีสุกอีใสก็ดี.
พระพุทธานุญาต ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดปาก
[๑๕๘] ครั้งนั้น นางวิสาขา มิคารมาตา ถือผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็คปาก เข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าเข้า ขอพระผู้มี พระภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาโปรดรับผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดปากของหม่อมฉัน ซึ่ง จะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่หม่อนฉัน ตลอดกาลนานด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับผ้าเช็คหน้า ผ้าเช็ดปาก ครั้นแล้วได้ทรง ชี้แจง ให้นางวิสาขา มิคารมาตา เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วย ธรรมีกถา ครั้นนางวิสาขา มิคารมาตา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มี พระภาคเจ้า ทำประทักษิณกลับไป.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 292
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย เราอนุญาตผ้าเช็คหน้า ผ้าเช็คปาก.
องค์ของการถือวิสาสะ ๕ ประการ
[๑๕๙] ก็โดยสมัยนั้นแล เจ้าโรชะมัลลกษัตริย์ เป็นพระสหายของ ท่านพระอานนท์ ได้ฝากผ้าโขมพัสตร์ผืนเก่าๆ ไว้กับท่านพระอานนท์ และ ท่านพระอานนท์ก็มีความต้องการด้วยผ้าโขมพัสตร์ผืนเก่าๆ ภิกษุทั้งหลายจึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตให้ถือวิสาสะแก่บุคคลผู้ ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ เคยเห็นกันมา ๑ เคยคบกันมา ๑ เคยบอกอนุญาต กันไว้ ๑ เขายังมีชีวิตอยู่ ๑ รู้ว่าเมื่อเราถือเอาแล้ว เขาจักพอใจ ๑ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือวิสาสะแก่บุคคลที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้.
พระพุทธานุญาตผ้าบริขาร
[๑๖๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายมีไตรจีวรบริบูรณ์แต่ยังต้อง การผ้ากรองน้ำบ้าง ถุงบ้าง จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส อนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าบริขาร.
พระพุทธานุญาตผ้าที่ต้องอธิฐานและวิกัป
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง อนุญาตไตรจีวรบ้าง ผ้าอาบน้ำฝนบ้าง ผ้าปูนงบ้าง ผ้าปูนอนบ้าง ผ้าปิดฝี บ้าง ผ้าเช็ดหน้าบ้าง ผ้าเช็ดปากบ้าง ผ้าบริขารบ้าง ผ้าทั้งหมดนั้น ต้องอธิษ- ฐานหรือวิกัปหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาต ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าไตรจีวร เราอนุญาตให้อธิษฐาน ไม่ใช่ให้วิกัป ผ้าวัสสิกสาฎกให้อธิษฐานตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน พ้นจากนั้น ให้วิกัป
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 293
ผ้านิสีทนะ ให้อธิษฐาน ไม่ใช่ให้วิกัป ผ้าปัจจัตถรณะ ให้อธิษฐาน ไม่ใช่ ให้วิกัป ผ้าปิดฝี ให้อธิษฐานตลอดเวลาที่อาพาธ พ้นจากนั้นให้วิกัป ผ้า เช็คหน้า ผ้าเช็ดปาก ให้อธิษฐาน ไม่ใช่ให้วิกัป ผ้าบริขาร ให้อธิษฐาน ไม่ ใช่ให้วิกัป.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความสงสัยว่า ผ้าขนาดเล็กเพียงเท่าไรหนอ ต้องวิกัป จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผ้าขนาดเล็กยาว ๘ นิ้ว กว้าง ๔ นิ้ว โดยนิ้วพระสุคต เราอนุญาต ให้วิกัป.
สมัยต่อมา ผ้าอุตราสงค์ที่ทำด้วยผ้าบังสุกุล ของท่านพระมหากัสสป เป็นของหนัก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส อนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำการเย็บด้วยด้าย.
มุมสังฆาฏิไม่เสมอกัน ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เจียนมุมที่ ไม่เสมอออกเสีย.
ด้ายลุ่ยออก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ติดผ้าอนุวาต ผ้าหุ้มขอบ. สมัยต่อมา แผ่นผ้าสังฆาฏิลุ่ยออก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เย็บ ตะเข็บดังตาหมากรุก.
พระพุทธานุาญาตผ้าที่ตัดและไม่ตัด
[๑๖๑] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อสงฆ์กำลังทำจีวรให้ภิกษุรูปหนึ่ง ผ้า ตัดทั้งหมดไม่พอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 294
อนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าที่ต้องตัด ๒ ผืน ไม่ต้องตัด ๑ ผืน.
ผ้าต้องตัด ๒ ผืน ไม่ต้องผืนหนึ่ง ผ้าก็ยังไม่พอ ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้า ๒ ผืนไม่ต้องตัด ผืนหนึ่งต้องตัด.
ผ้า ๒ ผืนไม่ต้องตัด ผืนหนึ่งต้องตัด ผ้าก็ยังไม่พอ ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้น แดพระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้เพิ่มผ้าเพลาะ แต่ผ้าทุกผืนที่ไม่ได้ตัด ภิกษุไม่พึงใช้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระให้ผ้าแก่โยมมารดาบิดาได้
[๑๖๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ผ้าเกิดขึ้นแก่ภิกษุรูปหนึ่งหลายผืนและท่าน ปรารถนาจะให้ผ้านั้นแก่โยมมารดาบิดา ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุให้ด้วย รู้ว่ามารดาบิดา เราจะพึงว่าอะไร เราอนุญาตให้สละแก่มารดาบิดา แต่ภิกษุ ไม่พึงทำศรัทธาไทยให้ตกไป รูปใดทำให้ตกไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติให้ครองผ้า ๒ ผืนเข้าบ้าน
[๑๖๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเก็บสังฆาฏิไว้ในวิหารอันธวัน แล้วครองผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกเข้าบ้านบิณฑบาตคนร้ายขโมยผ้าสังฆาฎิ นั้นไป ภิกษุนั้นจึงใช้ผ้าเก่า ครองจีวรคร่ำคร่า.
ภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้ว่า อาวุโส เพราะเหตุไร จึงใช้ผ้าเก่าครอง จีวรคร่ำคร่าเล่า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 295
ภิกษุนั้นตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมเก็บผ้าสังฆาฏิไว้ในวิหารอันธวัน นี้แล้วครองอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต คนร้ายขโมย ผ้าสังฆาฏินั้นไป เพราะเหตุนั้น ผมจึงใช้ผ้าเก่า ครองจีวรคร่ำคร่า.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกไม่พึงเข้าบ้าน รูปใดเข้าไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยต่อมา ท่านพระอานนท์ ลืมสติครองแต่ผ้าอุคราสงฆ์กับผ้าอันตรวาสกเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวคำนี้แก่ท่านพระอานนท์ว่า อาวุโสพระอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติห้ามไว้แล้ว มิใช่หรือว่า ภิกษุมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก ไม่พึงเข้าบ้าน ดังนี้ ไฉนพระคุณเจ้า จึงมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกเข้าบ้านเล่า.
พระอานนท์ตอบว่าจริง ขอรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติห้าม ไว้แล้วว่า ภิกษุมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกไม่พึงเข้าบ้าน ก็แต่ว่า ผม เข้าบ้านด้วยลืมสติ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เหตุที่เก็บผ้าไตรจีวรไว้ได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าสังฆาฏิไว้ได้ มี ๕ อย่างนี้ คือ เจ็บไข้ ๑ สังเกตเห็น ว่าฝนจะตก ๑ ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑ ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล ๑ ได้กรานกฐิน ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายเหตุที่เก็บผ้าสังฆาฏิไว้ได้มี ๕ อย่างนี้แล.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 296
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้ำอุตราสงค์ไว้ได้มี ๕ อย่างนี้ คือ เจ็บไข้ ๑ สังเกตเห็นว่าฝนจะตก ๑ ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑ ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล ๑ ได้ กรานกฐิน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอุตราสงค์ไว้ได้มี ๕ อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอันตรวาสกไว้ได้มี ๕ อย่างนี้ คือ เจ็บไข้ ๑ สังเกตเห็นว่าฝนจะตก ๑ ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑ ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล ๑ ได้ กรานกฐิน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอันตรวาสกไว้ได้มี ๕ อย่างนี้ แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอาบน้ำฝนไว้ได้มี ๕ อย่างนี้ ดือ เจ็บไข้ ๑ ไปนอกสีมา ๑ ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑ ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล ๑ ผ้าอาบน้ำฝน ยังไม่ได้ทำหรือทำค้างไว้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอาบน้ำฝนไว้ได้ มี ๕ อย่างนี้แล.
ถวายจีวรเป็นขอสงฆ์
[๑๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแส ภิกษุรูปหนึ่งจะพรรษาอยู่แต่ผู้เดียว คน ทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายแก่สงฆ์ ภิกษุรูปนั้นจึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่าภิกษุ ๔ รูปเป็นอย่างน้อยชื่อว่าสงฆ์ แต่เรารูปเดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วย เปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายแก่สงฆ์ ดังนี้ ถ้าไฉนเราจะพึงนำจีวรของ สงฆ์เหล่านี้ไปพระนครสาวัตถี กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ว่า ดูก่อนภิกษุ จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว จนถึงเวลาเดาะกฐิน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ ภิกษุจำพรรษารูปเดียว ประชาชน ในถิ่นนั้นถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่า พวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียว จนถึงเวลาเดาะกฐิน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 297
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอยู่รูปเดียวตลอดฤดูกาล ประชาชนในถิ่นนั้น ได้ถวายจีวรเปล่งวาจาว่า พวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ภิกษุรูปนั้นจึงได้ดำริดังนี้ ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุ ๔ รูปเป็นอย่างน้อยชื่อว่าสงฆ์ แต่เราอยู่ผู้เดียว และคนเหล่านั้นได้ถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่า พวกข้าพเจ้า ถวายแก่สงฆ์ ถ้าไฉนเราจะพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปพระนครสาวัตถี ครั้น แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปพระนครสาวัตถี แจ้งความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไห้สงฆ์ผู้อยู่พร้อมหน้ากันแจก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ ภิกษุอยู่ผู้เดียวตลอดฤดูกาล ประชา - ชนในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่าพวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุรูปนั้นอธิษฐานจีวรเหล่านั้นว่า จีวรเหล่านี้ของเรา ถ้าเมื่อภิกษุรูปนั้นยังไม่ได้อธิษฐานจีวรนั้น มีภิกษุรูปอื่นมา พึงให้ส่วนแบ่ง เท่าๆ กัน ถ้าเมื่อภิกษุ ๒ รูปกำลังแบ่งจีวรนั้น แต่ยังมิได้จับสลาก มีภิกษุ รูปอื่นมา พึงให้ส่วนแบ่งเท่าๆ กัน ถ้าเมื่อภิกษุ ๓ รูปกำลังแบ่งจีวรนั้น และ จับสลากเสร็จแล้วมีภิกษุรูปอื่นมา พวกเธอไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องให้ส่วนแบ่ง.
สมัยต่อมา มีพระเถระ ๒ พี่น้อง คือ ท่านพระอิสิทาส ๑ ท่านพระ อิสิภัตตะ ๑ จำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี ได้ไปอาวาสไกลบ้านแห่งหนึ่งคนทั้งหลายกล่าวกันว่า นานๆ พระเถระทั้งสองชะได้มา จึงได้ถวายภัตตาหาร พร้อมทั้งจีวร.
พวกภิกษุประจำถิ่นถามพระเถระทั้งสองว่า ท่านเจ้าข้า จีวรของสงฆ์ เหล่านั้น เกิดขึ้นเพราะอาศัยพระคุณเจ้าทั้งสอง พระคุณเจ้าทั้งสองจักยินดีรับ ส่วนแบ่งไหม.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 298
พระเถระทั้งสองตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมรู้ทั่วถึงธรรมที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงแล้ว โดยประการที่จีวรเหล่านั้นเป็นของพวกท่านเท่า นั้น จนถึงเวลาเดาะกฐิน.
สมัยต่อมา ภิกษุ ๓ รูป จำพรรษาอยู่ในพระนครราชคฤห์ ประชาชนในเมืองนั้นถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่า พวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ภิกษุ เหล่านั้นจึงได้ดำริดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่าภิกษุ รูปเป็น อย่างน้อยชื่อว่าสงฆ์ แต่เรามี ๓ รูปด้วยกัน และคนเหล่านี้ถวายจีวรด้วยเปล่ง วาจาว่า พวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ สมัยนั้น พระเถระหลายรูป คือ ท่านพระนีลวาสี ท่านพระสาณวาสี ท่านพระโคปกะ ท่านพระภคุ และท่านพระผลิกสันทานะ อยู่ ณ วัดกุกกุฏาราม เขตนครปาตลีบุตร ภิกษุเหล่านั้นจึงเดินทางไปนครปาตลีบุตร แล้วเรียนถามพระเถระ ทั้งหลายๆ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกเรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง แล้ว โดยประการที่จีวรเหล่านั้นเป็นของพวกท่านเท่านั้น จนถึงเวลาเดาะกฐิน.
เรื่องพระอุปนันท์
[๑๖๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุปนันศากยบุตร จำพรรษาอยู่ ในพระนครสาวัตถี ได้ไปอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในวัดนั้น ปรารถนาจะแบ่งจีวร จึงประชุมกัน ภิกษุเหล่านั้น พูดอย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลายจักแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านี้แล ท่านจักยินดีส่วนแบ่งไหม ขอรับ ท่านพระอุปนันท์ ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ แล้วได้รับส่วน จีวรแต่อาวาสนั้นไปวัดอื่น แม้ภิกษุทั้งหลายในวัดนั้นก็ปรารถนาจะแบ่งจีวร จึงประชุมกัน และพูดอย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลายจักแบ่งจีวรของสงฆ์
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 299
เหล่านี้แล ท่านจักยินดีส่วนแบ่งไหม ขอรับ ท่านพระอุปนันท์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ แล้วได้รับส่วนจีวรแต่อาวาสนั้นไปวัดอื่น แม้ภิกษุทั้งหลายในวัดนั้นก็ปรารถนาจะแบ่งจีวรจึงประชุมกัน แลก็พูดอย่างนี้ ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลายจักแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านั้นแล ท่านจักยินดีส่วนแบ่ง ไหม ขอรับ ท่านพระอุปนันท์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ แล้วได้รับจีวรแต่อาวาสแม้นั้น ถือจีวรห่อใหญ่กลับมาพระนครสาวัตถีตามเดิม.
ภิกษุทั้งหลายชมเชยอย่างนี้ว่า พระคุณเจ้าอุปนันท์ ท่านเป็นผู้มีบุญ มากจีวรจึงเกิดขึ้นแก่ท่านมากมาย.
อุป. อาวุโสทั้งหลาย บุญของผมที่ไหน ผมจำพรรษาอยู่ในพระนคร สาวัตถีนี้ ได้ไปอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง พวกภิกษุในวัดนั้น ปรารถนาจะ แบ่งจีวร จึงประชุมกัน พวกเธอกล่าวกะผม อย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลาย จักแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านี้แล ท่านจักยินดีส่วนแบ่งไหม ขอรับ ผมตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ แล้วได้รับส่วนจีวรแต่อาวาสนั้นไปวัดอื่น แม้ภิกษุในวัดนั้น ก็ปรารถนาจะแบ่งจีวร จึงประชุมกันและพวกเธอก็ได้ กล่าวกะผมอย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลายจักแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านี้แล ท่าน จักยินดีส่วนแบ่งไหม ขอรับ ผมตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ แล้วได้รับส่วนจีวรแต่อาวาสนั้น ไปวัดอื่น แม้ภิกษุในวัดนั้น ก็ปรารถนาจะ แบ่งจีวร จึงประชุมกันและกล่าวกะผมอย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลายจักแบ่ง จีวรของสงฆ์เหล่านี้แล ท่านจักยินดีส่วนแบ่งไหม ขอรับ ผมตอบว่า อาวุโส ทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ แล้วได้รับเอาส่วนจีวรแต่อาวาสแม้นั้น เพราะ อย่างนี้ จีวรจึงเกิดขึ้นแก่ผมมากมาย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 300
ภิ. พระคุณเจ้าอุปนันท์ ท่านจำพรรษาในวัคหนึ่ง แล้วยังยินดีส่วน จีวรในอีกวัดหนึ่งหรือ?
อุป. อย่างนั้น ขอรับ.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย.. ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุปนันทศากยบุตร จำพรรษาในวัดหนึ่งแล้ว จึงได้ยินดีส่วน จีวรในอีกวัคหนึ่งเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันท์ว่า ดูก่อนอุปนนท์ ข่าวว่าเธอจำพรรษาในวัดหนึ่งแล้ว ยินดีส่วนจีวรในอีกวัดหนึ่ง จริงหรือ?
ท่านพระอุปนันท์ทูลรับว่า จริงพระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจำ พรรษาในวัดหนึ่งแล้ว ไฉนจึงได้ยินดีส่วนจีวรในอีกวัดหนึ่งเล่า การกระทำ ของเธอนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจำพรรษา ในวัดหนึ่งแล้วไม่พึงยินดีส่วนจีวรในวัดอื่น รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฎ.
สมัยต่อมา ท่านพระอุปนันทศากยบุตร รูปเดียวจำพรรษาอยู่สองวัด ด้วยคิดว่าโดยวิธีอย่างนี้ จีวรจักเกิดขึ้นแก่เรามาก ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มี ความสงสัยว่า พวกเราจักให้ส่วนจีวรแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรี่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแนะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงให้ ส่วนแบ่งแก่โมฆบุรุษส่วนเดียว.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ภิกษุรูปเดียว จำพรรษาอยู่ ๒ วัค ด้วยคิด ว่า โดยวิธีอย่างนี้ จีวรจักเกิดขึ้นแก่เรามาก ถ้าภิกษุจำพรรษาโนวัดโน้นกึ่ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 301
หนึ่ง วัดโน้น กึ่งหนึ่ง พึงให้ส่วนจีวรในวัดโน้นกึ่งหนึ่ง วัดโน้นกึ่งหนึ่ง หรือ จำพรรษาในวัดใดมากกว่า พึงให้ส่วนจีวรในวัดนั้น.
เรื่องพระอาพาธโรคท้องร่วง
[๑๖๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคท้องร่วง นอน จมกองมูตรกองคูถของตนอยู่ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีท่านอานนท์เป็น ปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปตามเสนาสนะ ได้เสด็จเข้าไปทางที่อยู่ ของภิกษุรูปนั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปนั้น นอนจมกองมูตรกองคูถ ของตนอยู่ครั้นแล้วเสด็จเข้าไปใกล้ภิกษุรูปนั้น แล้วตรัสถามว่า เธออาพาธ เป็นโรคอะไรภิกษุ?
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าอาพาธเป็นโรคท้องร่วง พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอมีผู้พยาบาลไหมเล่า ภิกษุ?
ภิ. ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลเธอ?
ภิ. เพราะข้าพระพุทธเจ้ามิได้ทำอุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย ฉะนั้นภิกษุ ทั้งหลายจึงไม่พยาบาลข้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เธอไปตัก น้ำมาเราจักสรงน้ำภิกษุรูปนี้.
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธบัญชาว่า เป็นดังนั้น พระพุทธเจ้าข้าดังนี้แล้ว ตักน้ำมาถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรดน้ำ ท่านพระ อานนท์ขัดสี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกศีรษะ ท่านพระอานนท์ยกเท้าแล้ว วาง บนเตียง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 302
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ในวิหารหลังโน้น มีภิกษุอาพาธหรือ ภิกษุทั้งหลาย?
ภิ. มี พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ภิกษุรูปนั้นอาพาธเป็นโรคอะไร ภิกษุทั้งหลาย?
ภิ. ท่านรูปนั้น อาพาธเป็นโรคท้องร่วง พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ภิกษุรูปนั้น มีผู้พยาบาลไหมเล่า ภิกษุทั้งหลาย?
ภิ. ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลเธอ?
ภิ. เพราะท่านรูปนั้นมิได้ทำอุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย ฉะนั้น ภิกษุ ทั้งหลายจึงไม่พยาบาลท่านรูปนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีมารดาไม่มีบิดา ผู้ใดเล่าจะพึง พยาบาลพวกเธอ ถ้าพวกเธอจักไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงอุปัฏฐากเรา ผู้นั้นพึงพยาบาลภิกษุอาพาธ ถ้ามี อุปัชฌายะๆ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีอาจารย์ๆ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีสัทธิวิหาริกๆ พึงพยาบาล จนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีอันเตวาสิกๆ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะพึงพยาบาล จนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้าไม่มีอุปัชฌายะ อาจารย์ สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ หรือภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ สงฆ์ ต้องพยาบาล ถ้าไม่พยาบาลต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 303
องค์ของภิกษุอาพาธที่พยาบาลได้ยาก ๕ อย่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้พยาบาล ได้ยาก คือ ไม่ทำความสบาย ๑ ไม่รู้ประมาณในความสบาย ๑ ไม่ฉันยา ๑ ไม่ บอกอาการไข้ตามจริงแก่ผู้พยาบาลที่มุ่งประโยชน์ คือ ไม่บอกอาการไข้ที่กำเริบ ว่ากำเริบ อาการไข้ที่ทุเลาว่าทุเลา อาการไข้ที่ทรงอยู่ว่าทรงอยู่ ๑ มีนิสัยเป็น คนไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดปรากฏในร่างกาย อันกล้าแข็ง รุนแรง ไม่ เป็นทียินดี ไม่เป็นที่พอใจ อันจะพร่าชีวิตเสีย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ อาพาธที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้พยาบาลได้ยาก.
องค์ขอภิกษุอาพาธที่พยาบาลได้ง่าย ๕ อย่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้พยาบาล ได้ง่าย คือทำความสบาย ๑ รู้ประมาณในความสบาย ๑ ฉันยา ๑ บอกอาการ ป่วยไข้ตามจริงแก่ผู้พยาบาลที่มุ่งประโยชน์ คือบอกอาการไข้ที่กำเริบว่ากำเริบ อาการไข้ที่ทุเลาว่าทุเลา อาการไข้ที่ทรงอยู่ว่าทรงอยู่ ๑ มีนิสัยเป็นคนอดทนต่อ ทุกขเวทนา อันกล้าแข็ง รุนแรง ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่พอใจ อันจะพร่า ชีวิตเสีย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็น ผู้พยาบาลได้ง่าย.
องค์ของภิกษุผู้ไม่เข้าใจพยาบาล ๕ อย่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควร พยาบาลไข้ คือเป็นผู้ไม่สามารถเพื่อประกอบยา ๑ ไม่รู้จักของแสลงและไม่ แสลง คือนำของแสลงเข้าไปให้ กันของไม่แสลงออกเสีย ๑ พยาบาลไข้เห็น แก่อามิสไม่มีจิตเมตตา ๑ เป็นผู้เกลียดที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ เขฬะ หรือ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 304
ของที่อาเจียนออกไป ๑ เป็นผู้ไม่สามารถจะชี้แจงไห้คนไข้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาในกาลทุกเมื่อ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ พยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพยาบาลไข้.
องค์ของภิกษุผู้เข้าใจพยาบาล ๕ อย่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลไข้ที่ประกอบองค์ ๕ ควร พยาบาลไข้ คือเป็นผู้สามารถประกอบยา ๑ รู้จักของแสลง และไม่แสลง คือ กันของแสลงออก นำของไม่แสลงเข้าไปไห้ ๑ มีจิตเมตตาพยาบาลไข้ ไม่เห็น แก่อามิส ๑ เป็นผู้ไม่เกลียดที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ เขฬะ หรือของที่อาเจียน ออกไปเสีย ๑ เป็นผู้สามารถที่จะชี้แจงให้คนไข้ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ในกาลทุกเมื่อ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพยาบาลไข้ ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพยาบาลไข้.
เรื่องให้บาตรจีวรของผู้ถึงมรณะภาพแก่คิลานุปัฏฐาก
[๑๖๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ ๒ รูปเดินทางไกลไปในโกศลชนบท ได้เข้าไปอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง บรรดาภิกษุ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุ เหล่านั้นจึงได้ปรึกษาตกลงกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง สรรเสริญการพยาบาลภิกษุอาพาธ ผิฉะนั้น พวกเราจงพยาบาลภิกษุรูปนี้เถิด แล้วพากันพยาบาลภิกษุอาพาธนั้น เธออันภิกษุเหล่านั้นพยาบาลอยู่ได้ถึงมรณะภาพ ภิกษุเหล่านั้นจึงถือบาตรจีวรของเธอไปพระนครสาวัตถี แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุถึง มรณะภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร แต่ภิกษุผู้พยาบาลไข้มีอุปการะมาก เราอนุญาตให้สงฆ์มอบไตรจีวรและบาตร แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 305
วิธีให้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้ไตรจีวรและบาตรอย่างนี้ คือ ภิกษุ ผู้พยาบาลไข้นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า:-
ท่านเจ้าข้า ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตรของท่าน.
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม วาจา ว่าดังนี้ :-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีซึ่งนี้ถึงมรณภาพ นี้ไตรจีวร และบาตร ของเธอ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ไตรจีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุพยาบาลไข้ นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้มรณภาพ นี้ไตรจีวรและบาตรของเธอ สงฆ์ให้ไตรจีวรและบาตรนั้นแก่ภิกษุ พยาบาลไข้ การให้ไตรจีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงพูด.
สงฆ์ให้จีวรและบาตรนั้นแก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้แล้ว ชอบแก่ สงฆ์ เขตุนั้นจึงนิ่ง ข้าเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
สามเณรถึงมรณภาพ
สมัยต่อมา สามเณรรูปหนึ่งถึงมรณภาพ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสามเณรถึง มรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้มีอุปการะมาก เรา อนุญาตให้สงฆ์มอบจีวรและบาตรให้ก็ภิกษุผู้พยาบาลไข้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 306
วิธีให้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้จีวรและบาตรอย่างนี้ คือภิกษุผู้ พยาบาลไข้นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สามเณร มีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตรของเธอ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึ่ง ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้จีวรและบาตร
ท่านเจ้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้าสามเณรมีชื่อนิถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตรของเธอ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์ พึงให้จีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตรของเธอ สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้พยาบาล ไข้ การให้จีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้แล้ว ชอบแก่ สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
ภิกษุและสามเณรช่วยกันพยาบาลไข้
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณรรูปหนึ่ง ช่วยกันพยาบาลภิกษุอาพาธ เธออันภิกษุและสามเณรนั้นพยาบาลอยู่ ได้ถึงมรณภาพ ภิกษุผู้พยาบาลไข้นั้น จึงได้มีความปริวิตกว่า เราพึงให้ส่วนจีวรแก่สามเณรผู้พยาบาลไข้อย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้มอบส่วนแก่สามเณรผู้พยาบาลไข้เท่าๆ กัน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 307
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งมีของใช้มาก มีบริขารมาก ได้ถึงมรณภาพ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลายเมื่อภิกษุถึงมรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร แต่ภิกษุผู้พยาบาล ไข้มีอุปการะมากเราอนุญาให้สงฆ์มอบไตรจีวรและบาตรให้แก่ภิกษุผู้พยาบาล ไข้ บรรดาสิ่งของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นลหุภัณฑ์ ลหุบริขาร สิ่งนั้นเราอนุญาต ให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันแบ่ง บรรดาสิ่งของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นครุภัณฑ์ ครุ บริขาร สิ่งนั้นเป็นของสงฆ์ผู้อยู่ในจตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา ไม่ควร แบ่ง ไม่ควรแจก.
เรื่องสมาทานติตถิยวัตรมีเปลือยกายเป็นต้น
[๑๖๘] ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุรูปหนึ่งเปลือยกายเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพรรณนาคุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความ ขัดเกลา ความกำจัดอาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย การเปลือยกายนี้ ย่อมเป็น ไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัดอาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความ เพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มี พระภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาโปรดอนุญาตการเปลือยกายแก่ภิกษุทั้งหลายด้วย เถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การ กระทำของเธอนั้นไม่สมควร ... ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้สมาทานการ เปลือยกายที่พวกเดียรถีย์สมาทานเล่า การกระทำของเธอนั้นไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 308
กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมาทานการเปลือยกายที่ พวกเดียรถีย์สมาทาน รูปใดสมาทานต้องอาบัติถุลลัจจัย.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งนุ่งผ้าคากรอง ... รูปหนึ่งนุ่งผ้าเปลือกไม้ กรอง ... รูปหนึ่งนุ่งผ้าผลไม้กรอง ... รูปหนึ่งนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยผมคน ... รูป หนึ่งนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์ ... รูปหนึ่งนุ่งผ้าทำด้วยปีกนกเค้า ... รูปหนึ่งนุ่ง หนังเสือ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพรรณนาคุณแห่งความมัก น้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่ สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย หนังเสือนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัคเกลา ความกำจัดอาการที่น่าเลื่อมใส ความ ไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาโปรดอนุญาตหนังเสือแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ ของเธอนั่นไม่สมควร ... ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้ทรงหนังเสืออันเป็น ธงชัยของเดียรถีย์เล่า การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงหนังเสืออันเป็นธงชัยของเดียรถีย์ รูปใด ทรง ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งนุ่งผ้าทำด้วยก้านดอกรัก ... รูปหนึ่งนุ่งผ้าทำ ด้วยเปลือกปอ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มี พระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพรรณนาคุณแห่งความมักน้อย ความ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 309
สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ผ้าทำด้วยเปลือกปอนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมไส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาโปรดอนุญาตผ้าทำ ด้วยเปลือกปอแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ ของเธอนั่นไม่สมควร ... ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้นุ่งผ้าทำด้วยเปลือก ปอเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าทำด้วยเปลือกปอ รูปใดนุ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระฉัพพัคคีย์ทรงจีวรสีครามล้วนเป็นต้น
[๑๖๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทรงจีวรสีครามล้วน ทรง จีวรสีเหลืองล้วน ทรงจีวรสีแดงล้วน ทรงจีวรสีบานเย็นล้วน ทรงจีวรสีดำ ล้วน ทรงจีวรสีแสดล้วน ทรงจีวรสีชมพูล้วน ทรงจีวรที่ไม่ตัดชาย ทรงจีวร มีชายยาว ทรงจีวรมีชายเป็นลายดอกไม้ ทรงจีวรมีชายเป็นแผ่น สวมเสื้อ สวมหมวก ทรงผ้าโพก ประชาชนพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี พระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรง จีวรสีความล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีเหลืองล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีบานเย็นล้วน
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 310
ไม่พึงทรงจีวรสีดำล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีแสดล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีชมพูล้วน ไม่พึงทรงจีวรที่ไม่ตัดชาย ไม่พึงทรงจีวรมีชายยาว ไม่พึงทรงจีวรมีชายเป็น ลายดอกไม้ ไม่พึงทรงจีวรมีชายเป็นแผ่น ไม่พึงสวมเสื้อ ไม่พึงสวมหมวก ไม่พึงทรงผ้าโพก รูปใดทรง ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องจีวรยังไม่เกิดแก่ผู้จำพรรษ
[๑๗๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรยิ่ง ไม่เกิดขึ้น หลีกไปเสียบ้าง สึกเสียบ้าง ถึงมรณภาพบ้าง ปฏิญาณเป็นสามเณร บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันเติมวัตถุบ้าง ปฏิ- ญาณเป็นผู้วิกลจริตบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งสร้างบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยก เสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามกบ้าง ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์บ้าง ปฏิญาณเป็นคน ลักเพศบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์บ้าง ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่า พระอรหันต์บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณีบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ทำลาย สงฆ์บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ทำร้ายพระศาสนาจนถึงห้อพระโลหิตบ้าง ปฏิญาณเป็น อุภโตพยัญชนกบ้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแนะนำ ดังต่อไปนี้:-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรยังไม่ เกิดขึ้นหลีกไปเสีย เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่ สงฆ์พึงให้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 311
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวร ยังไม่เกิดขึ้น สึกเสีย ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอก ลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันเติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุ ที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวร ยังไม่เกิดขึ้น ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งสร้าง ปฏิญาณ เป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็น อาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิฌาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่ สงฆ์พึงให้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวร ยังไม่เกิดขึ้น ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ ... ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็น เจ้าของ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวร เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ทันได้แบ่งกัน หลีกไปเสีย เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่ สงฆ์พึงให้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวร เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ทันได้แบ่งกัน สึกเสีย ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็น สามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันเติมวัตถุ สงฆ์เป็น เจ้าของ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวร เกิดขึ้นแต่ยังไม่ทันได้แบ่งกัน ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้ง สร้าง ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญาณ เป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่ สงฆ์พึงให้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 312
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อต้น ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวร เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ทันได้แบ่งกัน ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ ... ปฏิญาณเป็น อุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้ง หลายที่จำพรรษาแล้ว สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่าย หนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายหนึ่ง ด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ นั่นเป็น ของสงฆ์ฝ่ายเดียว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้ง หลายที่จำพรรษาแล้ว สงฆ์แตกกัน คนทังหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่าย หนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายนั้นเหมือนกัน ด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ นั่นเป็นของสงฆ์ฝ่ายเดียว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้ง หลายที่จำพรรษาแล้ว สงฆ์แตกกัน ท่านทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่าย หนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายหนึ่ง ด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายฝ่ายหนึ่ง นั่นเป็น ของเฉพาะฝ่ายหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้ง หลายที่จำพรรษา สงฆ์แตกกัน ในทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายนั้นเหมือนกัน ด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ฝ่ายหนึ่ง นั่นเป็นของเฉพาะฝ่ายหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุทั้ง หลายที่จำพรรษา แต่ยังมิทันได้แบ่ง สงฆ์แตกกัน พึงแบ่งส่วนให้ภิกษุทุกรูป เท่าๆ กัน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 313
เรื่องพระเรวตเถระฝากจีวร
[๑๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเรวตะฝากจีวรแก่ภิกษุรูปหนึ่งไป ถวายท่านพระสารีบุตร ด้วยสั่งว่า จงถวายจีวรผืนนี้แก่พระเถระ ในระหว่าง ทางภิกษุรูปนั้นจึงได้ถือเอาจีวรนั้นเสีย เพราะวิสาสะต่อท่านพระเรวตะ.
กาลต่อมา ท่านพระเรวตะมาพบท่านพระสารีบุตร จึงเรียนถามว่า ผมฝากจีวรมาถวายพระเถระๆ ได้รับจีวรนั้นแล้วหรือ ขอรับ?
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ผมยังไม่เห็นจีวรนั้นเลย.
ท่านพระเรวตะจึงได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า อาวุโส ผมฝากจีวรมาแก่ท่าน ให้ถวายพระเถระ ไหนจีวรนั้น?
ภิกษุนั้นตอบว่า ผมได้ถือเอาจีวรนั้นเสีย เพราะวิสาสะต่อท่าน ขอรับ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแนะนำ ดังต่อไปนี้:-
เรื่องถือวิสาสะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยส่ง ว่า จงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทางเพราะ วิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือ เอาไม่ถูกต้อง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่ง ว่า จงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทาง เพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 314
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า จงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ผู้ฝาก ถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้ฝาก ชื่อว่าอธิษฐาน ถูกต้องแล้ว ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในชื่อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า จงใหัจีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ผู้รับ ถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูก ต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่ง ว่า จงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ทั้งสองรูปถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็นมรดกของผู้ฝาก ชื่อว่าอธิษฐาน ถูกต้อง อธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวร ผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทาง เพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทาง เพราะ วิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือ เอาไม่ถูกต้อง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ผู้ฝาก ถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้ฝาก ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูก ต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 315
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ผู้รับ ถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ ชื่อว่าอธิษฐานถูกต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ทั้ง สองรูปถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิฐานเป็นจีวรมรดกของผู้ฝากชื่อว่าอธิษฐาน ไม่ถูกต้อง อธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ ชื่อว่าอธิษฐานถูกต้อง.
จีวรที่เกิดขึ้นมี ๘ มาติกา
[๑๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาติกาเพื่อจีวรเกิดขึ้นนี้ มี ๘ ศีล:-
๑. ถวายแก่สีมา.
๒. ถวายตามกติกา.
๓. ถวายในสถานที่จัดภิกษา.
๔. ถวายแก่สงฆ์.
๕. ถวายแก่อุภโตสงฆ์
๖. ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว.
๗. ถวายเจาะจง.
๘. ถวายแก่บุคคล.
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สีมา คือ ภิกษุมีจำนวนเท่าใดอยู่ภายในสีมา ภิกษุ เหล่านั้นพึงแบ่งกัน.
ที่ชื่อว่า ถวายตามติกา คือ วัดมีหลายแห่ง ยอมให้มีลาภเสมอกัน เมื่อทายกถวายในวัดหนึ่ง ชื่อว่าเป็นอันถวายทุกวัด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 316
ที่ชื่อว่า ถวายในสถานที่จัดภิกษา คือถวายในสถานที่ๆ ทายกทำ ลักการะประจำแก่สงฆ์.
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สงฆ์ คือ สงฆ์อยู่พร้อมหน้ากันแบ่ง.
ที่ชื่อว่า ถวายแก่อุภโตสงฆ์ คือ แม้มีภิกษุมากมีภิกษุณีรูปเดียว ก็ พึงให้ฝ่ายละครึ่ง แม้มีภิกษุณีมาก มีภิกษุรูปเดียว ก็พึงให้ฝ่ายละครึ่ง.
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว คือภิกษุมีจำนวนเท่าใด จำพรรษาอยู่ในอาวาสนั้น ภิกษุเหล่านั้นพึงแบ่งกัน.
ที่ชื่อว่า ถวายเจาะจง คือ ถวายเฉพาะยาคู ภัตาหารของควรเคี้ยว จีวร เสนาสนะ หรือเภสัช.
ที่ชื่อว่า ถวายแก่บุคคล คือ ถวายด้วยวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
จีวรขันธกะที่ ๘ จบ
ในขัมธกะ มี ๙๖ เรื่อง
หัวข้อประจำขันธกะ
[๑๗๓] ๑. เรื่องคนมั่งมีชาวพระนครราชคฤห์ เห็นหญิงงามเมืองใน พระนครเวสาถี กลับมาพระนครราชคฤห์ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้พระราชา ทรงทราบ ๒. เรื่องบุตรชายของนางสาลวาดี ซึ่งภายหลังเป็นโอรสของเจ้าชาย อภัยเพราะเหตุที่ยังมีชีวิต เจ้าชายจึงประทานชื่อว่าชีวก ๓. เรื่องชีวกเดินทาง ไปเมืองตักกสิลา เรียนวิชาแพทย์สำเร็จเป็นหมอใหญ่ได้รักษาโรค ซึ่งเป็นอยู่ ถึง ๗ ปี หายด้วยการให้นัตถุ์ยา ๔. เรื่องรักษาโรคริดสีดวงงอกของพระเจ้าพิมพิ-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 317
สารหายด้วยการทายา ๕. เรื่องพระราชทานตำแหน่งแพทย์หลวงประจำพระองค์ พระสนม นางกำนัล พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ๖. เรื่องรักษาเศรษฐีชาวพระนคร ราชคฤห์ ๗. เรื่องรักษาเนื้องอกในลำไส้ ๘. เรื่องรักษาโรคสำคัญของพระเจ้า จัณฑปัชโชตหายด้วยให้เสวยพระโอสถผสมเปรียงได้รับพระราชทานผ้าคู่สิไวยกะเป็นรางวัล ๙. เรื่องสรงพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งหมักหมมด้วยสิ่ง อันเป็นโทษให้สดชื่น ๑๐. หมอชีวกทูลถวายพระโอสถ ๓๐. ครั้ง โดยอบก้าน อุบล ๓ ก้านด้วยยา ๑๐. เมื่อพระตถาคตมีพระกายเป็นปกติแล้ว หมอชีวกทูล ขอประทานพร ๑๒. ทรงรับผ้าคู่สิไวยกะ ๑๓. พระพุทธานุญาตจีวรที่คฤหัสถ์ ถวาย ๑๔. เรื่องจีวรบังเกิดมากในพระนครราชคฤห์ ๑๕. เรื่องพระพุทธานุญาต ผ้าปาวาร ผ้าไหม ผ้าโกเชาว์ ๑๖. เรื่องผ้ากัมพลมีราคากึ่งกาสี ๑๗. เรื่องผ้า ชนิดดี ชนิดเลว ทรงสรรเสริญความสันโดษ ๑๘. เรื่องคอยและไม่คอย และ ก่อนและหลังและพร้อมกันทำกติกากันไว้ ๑๙. เรื่องทายกนำจีวรกลับคืนไป ๒๐. เรื่องสมมติเรือนคลัง ๒๑. เรื่องรักษาผ้าในเรือนคลัง ๒๒. เรื่องสั่งย้ายเจ้าหน้า ที่รักษาเรือนคลัง ๒๓. เรื่องจีวรบังเกิดมาก ๒๔. เรื่องแจกกันส่งเสียงโกลาหล ๒๕. เรื่องจะแบ่งกันอย่างไร ๒๖. เรื่องจะให้แบ่งกันอย่างไร ๒๗. เรื่องแลกส่วน ของตน ๒๘. เรื่องให้ส่วนพิเศษ ๒๙. เรื่องจะให้ส่วนจีวรอย่างไร ๓๐. เรื่องย้อม จีวรด้วยโคมัย ๓๑. เรื่องย้อมด้วยน้ำเย็นและน้ำร้อน ๓๒. เรื่องน้ำย้อมล้น ๓๓. เรื่องไม่รู้ว่าน้ำย้อมสุกหรือไม่สุก ๓๔. เรื่องยกหม้อน้ำย้อมลง ๓๕. เรื่องไม่มี ภาชนะย้อม ๓๖. เรื่องขยำจีวรในถาด ๓๗. เรื่องตากจีวรบนพื้นดิน ๓๘. เรื่อง ปลวกกัด ๓๙. เรื่องตากจีวรตรงกลาง ๔๐. ชายจีวรชำรุด ๔๑. เรื่องน้ำย้อมหยด ออกชายเดียว ๔๒. เรื่องจีวรแข็ง ๔๓. เรืองจีวรกระด้าง ๔๔. เรื่องใช้จีวรไม่ได้ตัด ๔๕. เรื่องตัดจีวรตามแบบคันนา ๔๖. เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตร
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 318
เห็นพวกภิกษุแบกห่อจีวร ๔๗. เรื่องพระศากยมุนีทรงทูตลองอนุญาตผ้า ๓ ผืน ๔๘. เรื่องพระฉัพพัคคีย์ทรงอดิเรกจีวรสำรับอื่นเข้าบ้าน ๔๙. เรื่องอดิเรกจีวร เกิดขึ้น ๕๐. เรื่องอันตรวาสกขาดทะลุ ๕๑. เรื่องฝนตกพร้อมกัน ทวีป ๕๒. เรื่องนางวิสาขาขอประทานพร เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝน อาคันทุกภัต คมิกภัต คิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต เภสัช ยาคูประจำ และถวายอุทกสาฎกแก่ภิกษุณีสงฆ์ ๕๓. เรื่องฉันโภชนะประณีต ๕๔. เรื่องผ้าปูนั่งเล็กเกินไป ๕๕. เรื่องฝีดาษหรือ อีสุกอีใส ๕๖. เรื่องผ้าเช็ดหน้า เช็ดปาก ๕๗. เรื่องผ้าเปลือกไม้ ๕๘. เรื่องไตร จีวรบริบูรณ์ ๕๙. เรื่องอธิษฐาน ๖๐. เรื่องจีวรขนาดเล็กเท่าไรควรวิกัป ๖๑. เรื่องผ้าอุตราสงค์ที่ทำด้วยผ้าบังสุกุลหนัก ๖๒. เรื่องชายสังฆาฏิไม่เสมอกัน ๖๓. เรื่องด้ายลุ่ย ๖๔. เรื่องแผ่นผ้าสังฆาฏิลุ่ย ๖๕. เรื่องผ้าไม่พอ ๖๖. เรื่องผ้าดาม ๖๗. เรื่องจีวรเกิดขึ้นมาก ๖๘. เรื่องเก็บจีวรไว้ในวิหารอันธวัน ๖๙. เรื่องเผลอ สติ ๗๐. ภิกษุรูปเดียวจำพรรษา ๗๑. เรื่องภิกษุอยู่รูปเดียวตลอดฤดูกาล ๗๒. เรื่องพระเถระสองพี่น้อง ๗๓. เรื่องภิกษุ ๓ รูป จำพรรษาในพระนคร ราชคฤห์ ๗๔. เรื่องพระอุปนันทะจำพรรษาแล้วไปวัดใกล้บ้าน ได้รับส่วนแบ่ง แล้วกลับมาพระนครสาวัตถีตามเดิม ๗๕. เรื่องพระอุปนันทะจำพรรษา ๒ วัด ๗๖. เรื่องภิกษุอาพาธเป็นโรคท้องร่วง ๗๗. เรื่องภิกษุอาพาธ ๗๘. เรื่องภิกษุ และ6สามเณร ๒ รูป อาพาธ ๗๙. เรื่องเปลือยกาย ๘๐. เรื่องนุ่งผ้าคากรอง ๘๑. เรื่องนุ่งผ้าเปลือกไม้กรอง ๘๒. เรื่องนุ่งผ้าผลไม้กรอง ๘๓. เรื่องนุ่งผ้า กัมพลทำด้วยผมคน ๘๔. เรื่องนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์ ๘๕. เรื่องนุ่งผ้า กัมพลทำด้วยขนปีกนกเค้า ๘๖. เรื่องนุ่งหนังเสือ ๘๗ เรื่องนุ่งผ้าทำด้วยก้าน ดอกรัก ๘๘. เรื่องนุ่งผ้าทำด้วยเปลือกปอ ๘๙. เรื่องทรงจีวรสีล้วนๆ คือ ลีคราม สีแดง สีบานเย็น สีสด สีชมพู ทรงจีวรไม่ตัดชาย มีชายยาว มีชายเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 319
ลายดอกไม้ มีชายเป็นแผ่น สวมเสื้อ สวมหมวก ใช้ผ้าโพกศีรษะ ๙๐. เรื่อง จีวรยังไม่เกิดขึ้น ภิกษุหลีกไปเสีย ๙๑. เรื่องสงฆ์แตกกัน ๙๒. เรื่องถวายจีวร แก่สงฆ์ในฝ่ายหนึ่ง ๙๓. เรื่องท่านพระเรวตะฝากจีวร ๙๔. เรื่องถือวิสาสะ ๙๕. เรื่องอธิษฐาน ๙๖. เรื่องมาติกาของจีวร ๘ ข้อ.
อรรถกถาจีวรขันธกะ
เรื่องหมอชีวก
วินิจฉัยในจีวรขันธกะ พึงทราบดังนี้:- บทว่า ปทกฺขา ได้แก่ เฉียบแหลม คือ ฉลาด.
บทว่า อภิสฏา ได้แก่ ไปหา.
ถามว่า ชนเหล่าไรไปหา?
ตอบว่า พวกมนุษย์ผู้มีความต้องการ.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อตฺถิกานํ อตฺถิกานํ มนุสฺสานํ ดังนี้ เพราะทรงใช้ฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ.
หลายบทว่า ปญฺาสาย จ รตฺตึ คจฺฉติ มีความว่า นางอัมพปาลี คณิกาถือเอาทรัพย์ ๕๐ กหาปณะแล้วไปคืนหนึ่งๆ.
บทว่า เนคโม ได้แก่ หมู่กุฎุมพี.
ข้อว่า สาลวติ กุมารึ คณิกํ วุฏฺาเปสิ มีความว่า ทวยนาครให้ ทรัพย์สองแสน พระราชาพระราชทานสามแสน และแดงกำหนดอารามอุทยาน และพาหนะเป็นต้นต้น อย่างอื่นแล้ว ให้นางสาลวดีรับรอง อธิบายว่า ทรงตั้งไว้ ในตำแหน่งนางนครโสภิณี.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 320
หลายบทว่า ปฏิสเตน จ รตฺติ คจฺฉติ มีความว่า ไปอยู่ร่วมกัน คืนละ ๑๐๐ กหาปณะ.
สองบทว่า คิลานํ ปฏิเวเทยฺยํ มีความว่า เราพึงให้ทราบความ ที่เราเป็นคนเจ็บ.
บทว่า กตฺตรสุปฺเป ได้แก่ กระดังเก่า.
บทว่า ทิสาปาโมกฺโข มีความว่า เป็นคนที่มีชื่อเสียง คือเป็น ใหญ่ มีคนรู้จักทั่วทุกทิศ.
เพราะเหตุไร? ชีวกจึงถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ ใครเป็นมารดาของ หย่อมฉัน?
ได้ยินว่า เด็กหลวงเหล่าอื่น ซึ่งเล่นอยู่ด้วยกัน เมื่อเกิดทะเลาะกัน ขึ้น ย่อมกล่าวกะชีวกนั้นว่า เจ้าลูกไม่มีแม่ ไม่มีพ่อ.
เหมือนอย่างว่า ในงานมหรสพเป็นต้น ญาติทั้งหลายมีน้ำและป้า เป็นต้น ย่อมส่งของขวัญบางสิ่งบางอย่าง ไปให้แก่เด็กเหล่าอื่นฉันใด ใครจะ ส่งของขวัญไรๆ ไปให้แก่ชีวกนั้น ฉันนั้น หามิได้ เพราะเหตุนั้น เขาคำนึงถึง เหตุทั้งปวงนั้นแล้ว เพื่อทราบว่า เราเป็นผู้ไม่มีแม่แน่หรือหนอ? จึงทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ ใครเป็นมารดา ใครเป็นบิดาของหม่อมฉัน?
สองบทว่า ยนฺนูนาหํ สิปฺปํ มีความว่า ชีวกคิดว่า อย่ากระนั้น เลย เราพึงศึกษาศิลปะทางแพทย์เถิด.
ได้ยินว่า เขาได้มีความรำพึงอย่างนี้ว่า หัตถิศิลปะและอัศวศิลปะ เป็นต้นเหล่านี้แล เนื่องด้วยเบียดเบียนผู้อื่น. ศิลปะทางแพทย์มีเมตตาเป็น ส่วนเบื้องต้น เนื่องด้วยประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เขา จึงหมายเอาเฉพาะศิลปะทางแพทย์ คิดว่า อย่างกระนั้นเลย เราพึงศึกษาศิลปะเถิด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 321
อีกอย่างหนึ่ง นับแต่กัลป์นี้ไปแสนกัลป์ ชีวกนี้ได้เห็นแพทย์ผู้เป็น อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ซึ่งมีคุณแผ่ไปใน ภายในบริษัททั้งสี่ว่า หมอนี้เป็นพุทธอุปัฏฐาก จึงคิดว่า ทำอย่างไรหนอ เรา จะพึงถึงฐานันดรเช่นนี้บ้าง? แล้วถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุขตลอด ๗ วัน ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้กระทำความ ปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในอนาคตกาล ข้าพระองค์พึงเป็น พุทธอุปัฏฐากบ้าง เหมือนอย่างหมอคนโน้น เป็นอุปัฏฐากของพระองค์เถิด.
ชีวกนั้น ผู้แม้อันความปรารถนาเดิมนั้นเตือนใจอยู่ จึงหมายเอา เฉพาะศิลปะทางแพทย์ คิดว่า อย่ากระนั้นเลย เราพึงศึกษาศิลปะเถิด.
ก็ในสมัยนั้น พวกพ่อค้าชาวเมืองตักกสิลา ได้ไปเพื่อเฝ้าอภัยราชกุมาร ชีวกถามพ่อค้าเหล่านั้นว่า พวกท่านมาจากไหน?
เขาได้ตอบว่า มาจากเมืองตักกสิลา.
จึงถามว่า ในเมืองนั้นมีอาจารย์ผู้สอนศิลปะทางแพทย์ไหม?
ได้ฟังว่า เออ กุมาร แพทย์ผู้เป็นทิศาปาโมกข์ อาศัยอยู่ในเมือง ตักกสิลา.
จึงสั่งว่า ถ้ากระนั้น เวลาที่ท่านจะไป ท่านพึงบอกเราด้วย. พ่อค้าเหล่านั้น ได้กระทำตามสั่ง. เขาไม่ทูลลาพระบิดา ได้ไปเมือง ตักกสิลากับพ่อค้าเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าว ไม่ทูลลาอภัยราชกุมาร เป็นอาทิ.
หลายบทว่า อิจฺฉามหํ อาจริย สิปฺปํ สิกฺขิตุํ มีความว่า ได้ยิน ว่า แพทย์นั้นเห็นเขาเข้าไปหาอยู่.
จึงถามว่า พ่อ เป็นใครกัน?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 322
เขาตอบว่า ผมเป็นนัดดาของพระเจ้าพิมพิสารมหารราช เป็นบุตร ของอภัยราชกุมาร
แพทย์ถามว่า ก็เหตุไรเล่า พ่อจึงมาที่นี่?
ลำดับนั้น เขาจึงตอบว่า เพื่อศึกษาศิลปะในสำนักของท่าน. แล้ว กล่าวว่า ท่านอาจารย์ ผมอยากศึกษาศิลปะ.
ข้อว่า พหุญฺจ คณฺหาติ มีความว่า ศิษย์เหล่าอื่นมีขัตติราชกุมาร เป็นต้น ให้ทรัพย์แก่อาจารย์แล้ว ไม่กระทำการงานไรๆ ศึกษาแต่ศิลปะเท่า นั้นฉันใด, ชีวกนั้นหาได้กระทำฉันนั้นไม่. ส่วนเขาไม่ไห้ทรัพย์ไรๆ เป็น อย่างธัมมันตวาสิก กระทำการงานของอุปัชฌาย์ ในเวลาหนึ่ง ศึกษาในเวลา หนึ่งเท่านั้น แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น กุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยอภินิหาร เพราะตน เป็นผู้มีปัญญา ย่อมเรียนได้มาก เรียนได้เร็ว ย่อมจำทรงไว้ดี ทั้งศิลปะที่ ขาเรียนแล้ว ย่อมไม่หลงลืม.
วินิจฉัยยินดีว่า สตฺต จ เม วสฺสานิ อธิยนฺตสฺส นยิมสฺส สิปฺปสฺส อนฺโต ปญฺายติ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ได้ยินว่า เพียง ๗ ปี ชีวกนี้เรียนแพทยศิลปะจบเท่าที่อาจารย์รู้ทั้ง หมด ซึ่งศิษย์เหล่าอื่นเรียนถึง ๑๖ ปี.
ฝ่ายท้าวสักกเทวราชได้มีพระรำพึงอย่างนี้ว่า ชีวกนี้จักเป็นอุปัฏฐาก มีความคุ้นเคยอย่างยอดของพระพุทธเจ้า เอาเถิด เราจะให้เขาศึกษาการประกอบยา. จึงเข้าสิงในสรีระของอาจารย์ ให้ชีวกนั้นศึกษาการประกอบยา โดย วิธีที่แพทย์สามารถรักษาโรคไม่มีส่วนเหลือยกเว้นวิบากของกรรมเสีย ให้หาย ด้วยการประกอบยาขนานเดียวเท่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 323
ส่วนเขาสำคัญว่า เราเรียนในสำนักอาจารย์ เพราะฉะนั้น พอท้าว สุกกะปล่อยด้วยทรงดำริว่า บัดนี้ชีวกสามารถเพื่อเยียวยาได้ เขาจึงติดอย่างนั้น แล้วถามอาจารย์.
ส่วนอาจารย์ทราบดีว่า ชีวกนี้ไม่ได้เรียนศิลปะด้วยอานุภาพของเรา เรียนด้วยอานุภาพของเทวดา จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เตนหิ ภเณ.
สามบทว่า สมนฺตา โยชนํ อาหิณฺฑนฺโต มีความว่า ออกทาง ประตูด้านหนึ่งๆ วันละประตู เที่ยวไปตลอด ๔ วัน.
สามบทว่า ปริตฺตํ ปาเถยฺยํ อทาสิ มีความว่า ได้ให้เสบียงมีประมาณน้อย.
เพราะเหตุไร?
ได้ยินว่า แพทยาจารย์นั้น ได้มีความวิตกอย่างนี้ว่า ชีวกนี้เป็นบุตร ของมหาสกุล พอไปถึงเท่านั้น จักได้สักการะใหญ่ จากสำนักบิดาและปู่ เหตุนั้น เขาจักไม่รู้คุณของเราหรือของศิลปะ แต่เขาสิ้นเสบียงในกลางทางแล้ว จักต้องใช้ศิลป แล้วจักรู้คุณของเราและของศิลปะแน่แท้ เพราะเหตุนั้น จึง ให้เสบียงแต่น้อย.
บทว่า ปสเทน คือ ฟายมือหนึ่ง.
บทว่า ปิจุนา คือ ปุยฝ้าย.
บทว่า ยตฺร หิ นาม คือชื่อใด?
บทว่า กิมฺปิมายํ ตัคบทเป็น กิมฺปิ เม อยํ.
สามบทว่า สพฺพาลงการํ ตุยฺหํ โหตุ มีความว่า ได้ยินว่าพระ ราชาทรงดำริว่า หากว่า หมอชีวกจักถือเอาเครื่องประดับทั้งปวงนี้ไซร้ เรา จักตั้งเขาในตำแหน่งพอประมาณ หากว่า เขาจักไม่รับเอาไซร้ เราจักตั้งเขา ให้เป็นคนสนิทภายในวัง ดังนี้ จึงตรัสอย่างนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 324
อภัยราชกุมารก็ดี พวกนางระบำทั้งหลายก็ดี บังเกิดความคิดว่า ไฉน หนอ ชีวกจะไม่พึงถือเอา? ถึงเขาก็เหมือนจะทราบความคิดของชนเหล่านั้น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ นี้เป็นเครื่องประดับของอัยยิกาหม่อนฉัน อัน เครื่องประดับนี้ ไม่สมควรที่หม่อมฉันจะรับไว้ ดังนี้แล้ว กราบทูลว่า อลํ เทว เป็นอาทิ.
พระราชาทรงเลื่อมใส พระราชทานเรือนอันพร้อมสรรพด้วยเครื่อง ประดับทั้งปวง สวนอัมพวัน บ้านมีส่วยแสนหนึ่งประจำปี และสักการะใหญ่ แล้วตรัสดำเป็นต้นว่า เตนหิ ภเณ.
หลายบทว่า อธิการํ เม เทโว สรตุ มีความว่า ขอจงทรงระลึก ถึงอุปการะแห่งกิจการที่หม่อมฉันได้ทำไว้.
สองบทว่า สีสจฺฉวึ อุปฺปาเฏตฺวา ได้แก่ ถลกหนังศีรษะ.
สองบทว่า สิพฺพินึ วินาเมตฺวา ได้แก่ เปิดรอยประสาน.
ถามว่า เพราะเหตุไร หมอชีวกจึงกล่าวว่า คฤหบดี ท่านอาจหรือ?
ตอบว่า หมอชีวกทราบว่า ได้ยินว่า สมองศีรษะย่อมไม่อยู่ที่ได้ เพราะการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ, แต่เมื่อเศรษฐีนั้นนอนนิ่ง ไม่กระเทือน ๓ สัปดาหะ สองศีรษะจักอยู่ที่ได้ ดังนี้ แล้วคิดว่า อย่ากระนั้นเลย เศรษฐี พึงปฏิญญาข้างละ ๗ เดือนๆ แต่พึงนอนเพียงข้างละ ๗ วันๆ จึงกล่าวอย่าง นั้น.
ด้วยเหตุนั้นแล หมอชีวกจึงกล่าวข้างหน้าว่า ก็แต่ว่า ท่านอันเรารู้ แล้ว โดยทันทีทีเดียว.
หลายบทว่า นาหํ อาจริย สกฺโกมิ มีความว่า ได้ยินว่า ความ เร่าร้อนใหญ่ บังเกิดขึ้นในสรีระของเศรษฐีนั้น, เพราะเหตุนั้น เขาจึงกล่าว อย่างนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 325
สองบทว่า ตีหิ สตฺตาเหน คือ ๓ ข้างๆ ละสัปดาหะหนึ่ง.
สองบทว่า ชนํ อุสฺสาเรตฺวา คือ ให้ไล่คนออกไปเสีย.
เรื่องพระเจ้าจัณฑปัชโชต
สามบทว่า เชคุจฺฉํ เม สปฺปิ มีความว่า ได้ยินว่า พระราชานี้ มีกำเนิดแห่งแมลงป่อง, เนยไสเป็นยาและเป็นของปฏิกูลของแสลงป่องทั้งหลาย เพราะกำจัดพิษแมลงป่องเสีย; เพราะฉะนั้น ท้าวเธอจึงรับสั่งอย่างนั้น.
สองบทว่า อุทฺเทกํ ทสฺสุติ คือ จักให้อาเจียน.
สองบทว่า ปญฺาสโยชนิกา โหติ มีความว่า ช้างพังชื่อภัททวติกา เป็นพาหนะสามารถเดินทางได้ ๕๐ โยชน์.
แต่พระราชานั้นจะมีแต่ช้างพังอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้, ถึงช้างพลาย ชื่อว่านาฬาคิรี ย่อมเดินทางได้ ๑๐๐ โยชน์. ม้า ๒ ตัว คือเวลุกัณณะตัวหนึ่ง มุญชเกสะตัวหนึ่ง ย่อมเดินทางได้ ๑๒๐ โยชน์. ทาสชื่อกากะ ย่อมเดินทาง ได้ ๖๐ โยชน์.
ได้ยินว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่บังเกิดขึ้น วันหนึ่งเมื่อกุลบุตร ผู้ หนึ่งนั่งเพื่อจะบริโภค พระปัจเจกพุทธเจ้ายืนอยู่ที่ประตูแล้วได้ไปเสีย. บุรุษ คนหนึ่ง บอกแก่กุลบุตรนั้นว่า พระปัจเจกพระพุทธเจ้ามาแล้วไปเสียแล้ว. กุลบุตรนั้นได้ฟังจึงบอกว่า ท่านจงไป, จงนำบาตรมาโดยเร็ว ดังนี้ ให้นำ บาตรมาแล้ว ให้ภัตที่เตรียมไว้สำหรับตนทั้งหมดส่งไป.
บุรุษนอกนี้ นำบาตรนั้นส่งไปถึงมือของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วได้ กระทำความปรารถนาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ด้วยประกอบความขวนขวายทาง กาย ที่ข้าพเจ้ากระทำแก่ท่านนี้ ข้าพเจ้าเกิดในที่ไรๆ ขอจงเป็นผู้พร้อมมูล
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 326
ด้วยพาหนะเถิด. บุรุษนั้นเกิดเป็นพระราชา ทรงพระนามว่าจัณฑปัชโชตนี้๑ ในบัดนี้, ความสมบูรณ์ด้วยพาหนะนี้ มีด้วยความปรารถนานั้น.
สามบทว่า นเขน เภสชฺชํ โอลุมฺเปตฺวา คือ แทรกยาลงด้วยเล็บ, อธิบายว่า ใส่.
สองบทว่า สปฺปึ ปาเยตฺวา คือ ให้ดื่มเนยใสด้วย บอกวิธีจัด อาหารแก่นางบำเรอทั้งหลายด้วย.
บทว่า นิจฺฉาเรสิ ได้แก่ ถ่ายแล้ว.
ผ้าอวมงคลซึ่งเขาทิ้งเสียที่ป่าช้าในอุตตรกุรุทวีป ชื่อผ้าสิเวยยกะ. ได้ยิน ว่า มนุษย์ทั้งหลายในทวีปนั้น เอาผ้านั้นนั่นแลห่อหุ้มคนตายแล้วทั้งเสีย. นก หัสดีลิงค์ทั้งหลาย กำหนดห่อคนทายนั้นว่า ชิ้นเนื้อ แล้วเฉี่ยวนำไปวางที่ยอด เขาหิมพานต์ เปลื้องผ้าออกแล้วกิน. ครั้งนั้นพวกพรานไพรพบผ้าเข้าแล้วนำ มาถวายพระราชา. ผ้าสิเวยยกะเป็นของที่พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงได้แล้วด้วย ประการอย่างนี้.
อาจารย์บางเหล่ากล่าวว่า หญิงผู้ฉลาดในแคว้นสีวี ฟันด้ายด้วยขน สัตว์ ๓ เส้น, ผ้าสิเวยยกะนั้น เป็นผ้าที่ทอด้วยด้ายนั้น ดังนี้
ว่าด้วยทรงอนุญาตผ้าปาวารเป็นต้น
บทว่า สิเนเหถ มีความว่า ก็พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าเศร้า หมองหรือไม่เศร้าหมอง. เพราะว่า เทวดาทั้งหลาย ย่อมแทรกทิพยโอชาใน อาหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกเมื่อ, ก็แต่ว่า น้ำยางย่อมยังโทษทั้งหลายให้ ชุ่มแช่อยู่ในพระสรีระทั้งสิ้น. ย่อมกระทำเส้นเอ็นทั้งหลายให้เพลีย; ด้วยเหตุ นั้น หมอชีวกนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น.
๑. ดุเรื่องในสามาวตีวตฺถุ อปฺปมาทวคฺค ธมฺมปทฏฺกถา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 327
สองบทว่า ตีณิ อุปฺปลหตฺถานิ มีความว่า อุบลกำหนึ่ง เพื่อ บำบัดโทษอย่างหยาบ กำหนึ่งเพื่อบำบัดโทษอย่างปานกลาง กำหนึ่งเพื่อบำบัด โทษอย่างละเอียด.
หลายบทว่า น จิรสฺเสว ปกตตฺโต อโหสิ มีความว่า ก็เมือพระ กายเป็นปกติแล้วอย่างนั้น ชาวเมืองทั้งหลายได้ตระเตรียมทานไว้. หมอชีวกมา แล้ว ได้กราบทูลความข้อนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า วันนี้ พวกชาวเมืองประสงค์จะถวายทานแด่พระองค์ ขอพระองค์เสด็จเข้าสู่ ละแวกบ้าน เพื่อบิณฑบาตเถิด. พระมหาโมคคัลลานเถระคิดว่า วันนี้ พระ ผู้มีพระภาคเจ้าสมควรได้ปฐมบิณฑบาตจากที่ไหนหนอและ? ลำดับนั้น ท่านติด ว่า โสณเศรษฐีบุตร จำเดิมแต่ทำนามะ ย่อมบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีหอม ซึ่งทำนุบำรุงด้วยรดน้ำนมสด ไม่สาธารณ์ด้วยชนเหล่าอื่น เราจักนำบิณฑบาต จากโสณเศรษฐีบุตรนั้น มาเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านไปด้วยฤทธิ์ แสดงตน บนพื้นปราสาทของโสณเศรษฐีบุตรนั้น.
เขาได้รับบาตรของพระเถระแล้ว ถวายบิณฑบาตอย่างประณีต. และ ได้เห็นอาการจะไปของพระเถระ จึงกล่าวว่า นิมนต์ฉันเถิด ขอรับ. พระเถระ บอกเนื้อความนั้น. เขากล่าวว่า นิมนต์ฉันเถิด ขอรับ, กระผมจักถวายส่วน อื่นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ให้พระเถระฉันแล้ว ได้อบบาตรด้วยของหอมแล้ว ถวายบิณฑบาต. พระเถระได้นำบาตรนั้นมาถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. ถึงพระ เจ้าพิมพิสารก็ทรงดำริว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคจักเสวยอะไร? จึงเสด็จมาวิหาร พอเสด็จเข้าไป ก็ทรงได้กลิ่นบิณฑบาต ได้เป็นผู้มีพรูประโยคสงค์จะเสวย. ก็ เทวดาทั้งหลาย แทรกโอชาในบิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ยังอยู่ในภา.- ชนะ ๒ ครั้งเท่านั้น คือ บิณฑบาตที่นางสุชาดาถวาย ๑ ที่นายจุนกัมมารบุตร ไว้ถวาย ในคราวปรินิพพาน ๑, ในบิณฑบาตอื่นๆ ได้แทรกที่ละคำ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 328
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบความอยากของพระราชา จึงรับสั่งให้ถวายบิณฑบาตหน่อยหนึ่ง ซึ่งเทวดายังมิได้แทรกโอชาลง แก่ พระราชา. ท้าวเธอเสวยแล้วทูลถามว่า โภชนะนำมาจากอุตตกุรุทวีปหรือ พระเจ้าข้า ร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร ไม่ได้นำมาจากอุตตรกุรุทวีป, โดยที่แท้นี่เป็นโภชนะของคฤหบดีบุตร ชาวแคว้นของพระองค์ นั่นเอง ดังนี้แล้ว ทรงบอกสมบัติของโสณะ. พระราชาทรงฟังเนื้อความ นั้นแล้ว มีพระประสงค์จะทอดพระเนตรโสณะ ได้ทรงกระทำความมาของ โสณะพร้อมด้วยกุลบุตรแปดหมื่นคน ตามนัยที่กล่าแล้วในจัมมขันธกะ. กุลบุตรเหล่านั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เป็นพระโสดาบัน. ฝ่ายโสณะบวชแล้วทั้งอยู่ในพระอรหัต. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้ารับ สั่งให้ถวายบิณฑบาตแก่พระราชาก็เพื่อประโยชน์นี้แล.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้วอย่างนั้น, ลำดับนั้น แล หมอชีวกโกมารภัจจ์ ถือคู่ผ้าสิเวยยกะนั้นแล้ว ฯลฯ ได้กราบทูลเนื้อความ นั้น.
วินิจฉัยในคำว่า อติกฺกนฺตวรา นี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วใน มหาขันธกะนั้นและ.
ข้อว่า ภควา ภนฺเต ปํสุกูลิโก ภิกฺขุสงฺโฆ จ มีความว่า จริง อยู่ ในระหว่างนี้ คือ ตั้งแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความเป็นพระพุทธเจ้า จน ถึงเรื่องนี้เกิดขึ้น เป็นเวลา ๒๐ ปี, ภิกษุใดๆ ไม่ยินดีคฤหบดีจีวร, ภิกษุทั้ง ปวงได้เป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเท่านั้น: ด้วยเหตุนั้น หมอชีวกนี้ จึงกราบทูล อย่างนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 329
บทว่า คหปติจีวรํ ได้แก่ จีวรอันคหบดีทั้งหลายถวาย.
สองบทว่า ธมฺมิยา กถาย คือ ถ้อยคำอันประกอบพร้อมด้วย อานิสงส์แห่งการถวายผ้า
บทว่า อิตริตเรนนาปิ คือ มีค่าน้อยก็ตาม มีค่ามากก็ตาม, ความว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง. ผ้าห่มที่ทำด้วยฝ้ายชนิดที่มีขน ชื่อผ้าปาวาร.
ในคำว่า อนุชานมิ ภิกฺขเว โกชวํ นี้ มีความว่า ผ้าโกเชาว์ คือ ผ้าลาด ตามปกติเท่านี้ จึงควร, ผ้าโกเชาว์ผืนใหญ่ ไม่ควร. ผ้าโกเชาว์ นั้น ทำด้วยขนสัตว์คล้ายผ้าปาวาร.
ว่าด้วยทรงอนุญาตจีวร ๖ ชนิด
พระเจ้ากาสีนั้น คือพระราชาแห่งชนชาวกาสี, ท้าวเธอเป็นน้องร่วม พระบิดาเดียวกับพระเจ้าปเสนทิ.
วินิจฉัยในบทว่า อฑฺฒกาสิยํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
หนึ่งพันเรียกว่ากาสีหนึ่ง ผ้ากัมพลมีราคาพันหนึ่ง ชื่อมีค่ากาสีหนึ่ง, แต่ผ้ากัมพลผืนนี้ มีราคา ๕๐, เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีค่ากึ่งกาสี, ด้วยเหตุนี้แล พระอุบาลีเถระจึงกล่าวว่า ควรแก่ราคากึ่งกาสี.
บทว่า อุจฺจาวจานิ คือ ดีและไม่ดี. ผ้าที่ทำเจือกันด้วยด้ายห้าชนิด มีด้ายเปลือกไม้เป็นต้น ชื่อผ้าภังคะ บางอาจารย์กล่าวว่า ผ้าที่ทำด้วยปอเท่านั้น ดังนี้บ้าง.
ข้อว่า เอกํเยว ภควตา จีวรํ อนุญฺาตํ น เทฺว มีความว่า ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น กำหนดเนื้อความแห่งบทอันหนึ่งว่า ด้วยจีวรตามมี ตามได้ อย่างนี้ว่า ด้วยจีวรเป็นของคหบดีหรือด้วยผ้าบังสุกุล.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 330
บทว่า นาคเมสุํ มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น ไม่รออยู่ จนกว่าพวก เธอจะมาจากป่าช้า, คือหลีกไปเสียก่อน.
สามบทว่า นากามา ภาคํ ทาตุํ มีความว่า ไม่ปรารถนาจะให้ก็ อย่าให้, แต่ถ้าปรารถนาจะให้ไซร้, ควรให้.
บทว่า อาคเมสุํ คือ รออยู่ในที่ใกล้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่อยากให้ ต้องให้ ส่วนแบ่งแก่ภิกษุทั้งหลายผู้คอย. ก็ถ้าว่า มนุษย์ทั้งหลายถวายว่า ท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ผู้มาที่นี่เท่านั้น จงถือเอา, หรือกระทำเครื่องหมายไว้ว่า ท่านผู้มี อายุทั้งหลาย ผู้มาถึงแล้ว จงถือเอา ดังนี้แล้วไปเสีย, จีวรย่อมถึงแก่ภิกษุแม้ ทุกรูป ผู้มาถึงแล้ว. ถ้าเขาทิ้งไว้แล้วไปเสีย, ภิกษุผู้ถือเอาเท่านั้นเป็นเจ้าของ.
สองบทว่า สทิสา โอกฺกมึสุ มีความว่า เข้าไปทุกรูป, หรือเข้า ไปโดยทิศเดียวกัน.
หลายบทว่า เต กติกํ กตฺวา มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น ทำกติกา กันไว้แต่ภายนอกว่า เราจักแบ่งผ้าบังสุกุลที่ได้แล้วถือเอาทั่วกิน
ว่าด้วยเจ้าหน้าที่รับจีวรเป็นต้น
วินิจฉัยในข้อว่า โย น ฉนฺทาคตึ คจฺฉติ เป็นอาทิ พึงทราบ ดังนี้.
ในภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร ภิกษุผู้รับของปิยชนทั้งหลายมีญาติ เป็นต้นของตน แม้มาทีหลัง ก่อนกว่า, หรือรับแสดงความพอใจในทายกบ้าง คน. หรือน้อมมาเพื่อคน ด้วยความเป็นผู้มีโลภเป็นปกติ, ชื่อว่าถึงความลำเอียง เพราะความชอบพอ. ภิกษุใดรับของทายกแม้มาก่อนกว่า ทีหลังด้วยอำนาจ ความโกรธ, หรือรับทำอาการดูหมิ่นในคนจน. หรือทำลาภันตรายแก่สงฆ์
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 331
อย่างนี้ว่า ที่เก็บในเรือนของท่านไม่มีหรือ, ท่านจงถือเอาของๆ ท่านไปเถิด. ภิกษุนี้ชื่อว่าถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง. ฝ่ายภิกษุใดหลงลืมสติ ไม่ รู้ตัว ภิกษุนี้ ชื่อถึงความลำเอียงเพราะงมงาย ภิกษุผู้รับของอิสรชนทั้งหลาย แม้ มาทีหลัง ก่อนกว่า เพราะความกลัว, หรือหวาดหวั่นอยู่ว่า ตำแหน่งผู้รับ จีวรนี้ หนักนัก, ชื่อถึงความลำเอียงเพราะกลัว. ภิกษุผู้รู้อยู่ว่า จีวรนี้ด้วย นี้ด้วย เรารับแล้ว. และส่วนนี้ เราไม่ได้รับ ชื่อรู้จักจีวรที่รับแล้ว และไม่ได้รับ เพราะ เหตุนั้น ภิกษุใด ไม่ลำเอียงด้วยอำนาจแห่งฉันทาคติเป็นต้น, รับตามลำดับ ผู้มา ไม่ทำให้แปลกกันในคนที่เป็นญาติ และมิใช่ญาติ คนมั่งมีและคนจน, เป็นผู้ประกอบด้วยศีลาจารปฏิบัติ มีสติ มีปัญญา เป็นพหูสูต สามารถเพื่อ กระทำอนุโมทนาด้วยบทและพยัญชนะอันเรียบร้อย ด้วยวาจาอันสละสลวย ยัง ความเลื่อมใสให้เกิดแก่ทายกทั้งหลาย; ภิกษุเห็นปานนี้สงฆ์ควรสมมติ.
ก็วินิจฉัยในข้อว่า เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว สมฺมนฺนิตพฺโพ นี้ พึงทราบดังนี้:-
สมควรแท้ที่จะสมมติในท่ามกลางสงฆ์ทั้งปวง ภายในวัดก็ได้ ใน ขัณฑสีมาก็ได้ ด้วยกรรมวาจาตามที่ตรัสนั้นก็ได้ ด้วยอปโลกน์ก็ได้ ก็อัน ภิกษุซึ่งสงฆ์สมมติแล้ว อย่างนั้น ไม่พึงอยู่ในกุฎีที่อยู่หลังสุดท้ายหรือในที่ทำ ความเพียร. ก็แต่ว่า ชนทั้งหลายผู้มาแล้ว จะพบได้ง่าย ในที่ใด พึงวางพูด ไว้ข้างตัว นุ่งห่มเรียบร้อยนั่งในที่แห่งกุฎีอยู่ใกล้เช่นนั้น.
สองบทว่า ตตฺเถว อุชฺฌิตฺวา มีความว่า ภิกษุเจ้าหน้าที่รับจีวร กล่าวว่า การรับเท่านั้น เป็นธุระของพวกข้าพเจ้า แล้วทั้งไว้ในที่ซึ่งตนรับ นั้นเองแล้วไปเสีย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 332
บทว่า จีวรปฏิคฺคาหกํ ได้แก่ ภิกษุผู้รับจีวรซึ่งคหบดีทั้งหลาย ถวายแก่สงฆ์.
บทว่า จีวรนิทาหกํ ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร.
ในคำว่า โย น ฉนฺทาคตึ เป็นอาทิ ในอธิการว่าด้วยสมมติ เจ้าหน้าที่เก็บจีวรนี้ และในอธิการทั้งปวงนอกจากนี้ พึงทราบวินิจฉัยตามนัย ที่กล่าวนั้นนั่นแล. ถึงวินิจฉัยในการสมมติ ก็พึงทราบโดยท่านองดังกล่าวแล้ว เหมือนกัน.
วินิจฉัยในคำว่า วหารํ วา เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:- ที่อยู่อันใดพลุกพล่านด้วยชนทั้งหลาย มีคนวัดและสามเณร เป็นต้น ในท่ามกลางวัด เป็นกุฎีที่อยู่ก็ตาม เป็นเพิงก็ตาม อยู่ในสถานเป็นที่ประชุม ของชนทั้งปวง ที่อยู่อันนั้น ไม่พึงสมมติ. อนึ่งเสนาสนะปลายแดน ก็ไม่ควร สมมติ. อันการที่ภิกษุทั้งหลายไปสู่ขัณฑสีมานั่งในขัณฑสีมา สมมติภัณฑาคาร นี้ ย่อมไม่ควร ต้องสมมติในท่ามกลางวัดเท่านั้น.
วินิจฉัยในข้อว่า คุตฺตคุตฺตญฺจ ชาเนยฺย นี้ พึงทราบดังนี้:-
โทษไรๆ ในสัมภาระทั้งหลายมีหลังคาเป็นต้น แห่งเรือนคลังใดไม่มี ก่อน เรือนหลังนั้น ชื่อว่าคุ้มได้ ฝ่ายเรือนคลังใด มีหญ้าสำหรับมุง หรือ กระเบื้องสำหรับมุง พังไป ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง หรือมีช่องในที่บางแห่ง มีฝา เป็นต้น ที่มีฝนรั่วได้ หรือมีทางเข้าแห่งสัตว์ทั้งหลายมีหนูเป็นต้น หรือปลวก ขึ้นได้ เรือนคลังนั้นทั้งหมดชื่อว่าคุ้มไม่ได้ พึงตรวจดูเรือนคลังนั้นแล้วซ่อมแชม. ในฤดูหนาวพึงปิดประตูและหน้าต่างให้ดี เพราะว่าจีวรย่อมตกหนาว ๑ เพราะความหนาว. ในฤดูร้อน ประตูและหน้าต่าง ควรเปิดเพื่อให้ลมเข้าใน ระหว่างๆ. ด้วยว่า เมื่อทำอย่างนั้น ชื่อว่ารู้จักเรือนคลังที่คุ้มได้และคุ้มไม่ได้.
๑. สีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูกแดดเป็นต้น สีตก เรียกว่า ตกหนาว.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 333
ก็เจ้าหน้าที่ทั้ง ๓ นี้ มีเจ้าหน้าที่รับจีวรเป็นต้น ต้องรู้จักวัตรของ ตน.
บรรดาเจ้าหน้าที่ทั้ง ๓ นั้น ผ้าทุกชนิดที่ชนทั้งหลายถวายว่า กาลจีวร ก็ดี ว่า อกาลจีวร ก็ดี ว่า อัจเจกจีวร ก็ดี ว่า วัสสิกสาฏิกา ก็ดี ว่า ผ้านิสีทนะ ก็ดี ว่า ผ้าปูลาด ก็ดี ว่า ผ้าเช็ดหน้า ก็ดี อันเจ้าหน้าที่รับจีวรไม่ควรรับปน รวมเป็นกองเดียวกัน; พึงรับจัดไว้เป็นแผนกๆ แล้วบอกอย่างนั้นแล มอบ แก่เจ้าหน้าที่เก็บจีวร เจ้าหน้าที่เก็บจีวรเล่า เมื่อจะมอบแก่เจ้าหน้าที่ผู้รักษา เรือนคลัง พึงบอกมอบหมายว่า นี่กาลจีวร ฯลฯ นี่ผ้าเช็ดหน้า. ฝ่ายเจ้าหน้าที่ ผู้รักษาเรือนคลัง ทำเครื่องหมายเก็บไว้เป็นแผนกๆ อย่างนั้นเหมือนกัน. ภายหลังเมื่อสงฆ์สั่งว่า จงนำกาลจีวรมา พึงถวายเฉพาะกาลจีวร ; ฯลฯ เมื่อ สงฆ์สั่งว่า จงนำผ้าเช็ดหน้ามา พึงถวายเฉพาะผ้าเช็ดหน้าเท่านั้น. เจ้าหน้าที่ รับจีวร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว เจ้าหน้าที่เก็บจีวร ทรงอนุญาต แล้ว เจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลัง ก็ทรงอนุญาตแล้ว เพื่อความเป็นผู้มักมาก หามิได้ เพื่อความไม่สันโดษหามิได้ โดยที่แท้ ทรงอนุญาตแล้ว เพื่อ อนุเคราะห์สงฆ์ ด้วยประการฉะนี้.
ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลาย จะพึงถือเอาจีวรที่ทายกนำมาแล้วๆ แบ่งกัน ไซร้ เธอทั้งหลาย จะไม่ทราบจีวรที่ทายกนำมาแล้ว ไม่พึงทราบจีวรที่ทายก ยังมิได้นำมา ไม่พึงทราบจีวรที่ตนไห้แล้ว ไม่พึงทราบจีวรที่ตนยังไม่ได้ให้ ไม่พึงทราบจีวรที่ภิกษุได้แล้ว ไม่พึงทราบจีวรที่ภิกษุยังไม่ได้; จะพึงถวาย จีวรที่ทายกนำมาแล้วๆ ในเถรอาสน์ หรือจะพึงตัดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ถือ เอา; เมื่อเป็นเช่นนี้ การใช้สอยจีวรไม่เหมาะ ย่อมมีได้; ทั้งไม่เป็นอันได้ ทำความสงเคราะห์ทั่วถึงกัน. ก็แต่ว่า ภิกษุทั้งหลายเก็บจีวรไว้ในเรือนคลัง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 334
แล้ว ในคราวมีจีวรมาก จักให้จีวรแก่ภิกษุรูปละไตรบ้าง รูปละ ๒ ผืนๆ บ้าง รูปละผืนๆ บ้าง เธอทั้งหลายจักทราบจีวรที่ภิกษุได้แล้วและยังไม่ได้ ครั้น ทราบความที่จีวรซึ่งภิกษุยังไม่ได้ จักสำคัญเพื่อทำความสงเคราะห์กันฉะนี้.
ว่าด้วยบุคคลที่ไม่ควรไห้ย้าย
วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว ภณฺฑาคาริโก วุฏฺาเปตพฺโพ นี้ พึงทราบดังนี้:-
พึงรู้จักภิกษุที่ไม่ควรให้ย้ายแม้อื่นอีก จริงอยู่ ไม่ควรให้ย้ายภิกษุ ๔ พวก คือ ภิกษุผู้แก่กว่า ๑ ภิกษุเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ๑ ภิกษุผู้อาพาธ ๑ ภิกษุได้เสนาสนะจากสงฆ์ ๑ ในภิกษุ พวกนั้น ภิกษุผู้แก่กว่า อันภิกษุผู้ อ่อนกว่า ไม่พึงให้ย้าย เพราะท่านเป็นผู้แก่กว่าตน, ภิกษุเจ้าหน้าที่รักษา เรือนคลัง ไม่พึงให้ย้าย เพราะเรือนคลังอันสงฆ์สมมติมอบไห้ ภิกษุผู้อาพาธ ไม่พึงให้ย้าย เพราะค่าที่เธอเป็นผู้อาพาธ, แต่ว่า สงฆ์มอบที่อยู่อันสำราญกระทำ ให้เป็นสถานที่ไม่ต้องให้ย้าย แก่ภิกษุผู้เป็นพหูสูต มีอุปการะมาก ด้วยอุทเทส และปริปุจฉาเป็นต้น ผู้ช่วยภาระ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้เป็นพหูสู นั้น ไม่ พึงให้ย้าย เพราะค่าที่เธอเป็นผู้มีอุปการะ และเพราะค่าที่เสนาสนะเป็นของ อันเธอได้จากสงฆ์ ฉะนี้แล.
ว่าด้วยเจ้าหน้าที่แจกจีวร
สองบทว่า อุสฺสนฺนํ โหติ มีความว่า จีวรมีมากต้องจัดกองไว้คือ เรือนคลังไม่จุพอ.
บทว่า สมฺมุขีภูเตน คือ ยืนอยู่ภายในอุปจารสีมา.
บทว่า ภาเชตุํ มีความว่า เพื่อให้ประกาศเวลา แจกกันตามลำดับ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 335
สองบทว่า โกลาหลํ อกาสิ คือ ได้ทำเสียงดังอย่างนี้ว่า ท่านจง ให้แก่อาจารย์ของเรา ท่านจงให้แก่อุปัชฌาย์ของเรา.
วินิจฉัยในองค์ของเจ้าหน้าที่แจกจีวร พึงทราบดังนี้:-
เมื่อให้จีวรที่มีราคามาก แม้ยังไม่ถึง (ลำดับ) แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ชอบ พอกัน ชื่อถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ. ไม่ให้จีวรมีราคามาก แม้ถึง แก่ภิกษุผู้แก่กว่าเหล่าอื่น แต่กลับเอาจีวรมีราคาน้อยให้ชื่อถึงความลำเอียง เพราะความเกลียดชัง. ภิกษุผู้งมงายด้วยความเขลา ไม่รู้จักธรรมเนียมการให้ จีวร ชื่อถึงความลำเอียงเพราะงมงาย เพราะกลัวแม้แต่ภิกษุอ่อนผู้มีปากกล้า จึงให้จีวรมีราคามากที่ยังไม่ทันถึง (ลำดับ) ชื่อถึงความลำเอียงเพราะกลัว. ภิกษุใดไม่ถึงความลำเอียงอย่างนั้น คือ เป็นผู้เที่ยงตรง เป็นผู้พอดี วางเป็น กลางต่อภิกษุทั้งปวง ภิกษุเห็นปานนี้สงฆ์ควรสมมติ. บทว่า ภาชิตาภาชิตํ มีความว่า ภิกษุผู้ทราบอยู่ว่า ผ้าแจกไป แล้ว เท่านี้ ยังมิได้แจกเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทราบผ้าที่แจกแล้ว และยังมิได้แจก.
บทว่า อุจฺจินิตฺวา มีความว่า คัดเลือกผ้าทั้งหลายอย่างนี้ ว่านี่เนื้อ หยาบ นี่เนื้อละเอียด นี่เนื้อแน่น นี่เนื้อบาง นี่ใช้แล้ว นี่ยังไม่ได้ใช้ นี่ยาว เท่านี้ นี่กว้างเท่านี้.
บทว่า ตุลยิตฺวา มีความว่า ทำการกำหนดราคาอย่างนี้ว่า ผืนนี้ดี ราคาเท่านี้ ผืนนี้ราคาเท่านี้.
สองบทว่า วณฺณาวณฺณํ กตฺวา มีความว่า ถ้าเฉพาะผืนหนึ่งๆ ซึ่งมีราคาผืนละ ๑๐ กหาปณะๆ พอทั่วกัน อย่างนั้น นั่นเป็นการดี; ถ้าไม่พอ ผืนใด ดีราคา ๙ หรือ ๘ กหาปณะ ผืนนั้นควบกับผืนอื่น ซึ่งมีราคา ๑
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 336
กหาปณะ และมีราคา ๒ กหาปณะจัดส่วนเท่าๆ กัน โดยอุบายนี้แล.
ข้อว่า ภิกฺขู คเณตฺวา วคฺคํ พนฺธิตฺวา มีความว่า หากว่าเมื่อแจก ทีละรูปๆ วันไม่พอ เราอนุญาตให้นับภิกษุพวกละ ๑๐ รูปๆ จัดส่วนจีวรเป็น หมวดๆ หมวดละ ๑๐ ส่วนๆ ทำเป็นมัดอันเดียวกันตั้งเป็นส่วนจีวรอันหนึ่ง เมื่อส่วนจีวรได้จัดตั้งไว้อย่างนี้แล้วพึงให้จับสลาก แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็พึงจับ สลากแจกกันอีก.
วินิจฉัยในข้อว่า สามเณรานํ อุฑฺฒปฏิวึสํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
สามเณรเหล่าใด เป็นอิสระแก่ตน ไม่ทำการงานที่ควรทำของภิกษุ สงฆ์ ขวนขวายในอุทเทสและปริปุจฉา ทำวัตรปฏิบัติแก่อาจารย์และอุปัชฌาย์ เท่านั้น ไม่ทำแก่ภิกษุเหล่าอื่น เฉพาะสามเณรเหล่านั้น พึงให้กึ่งส่วน ฝ่าย สามเณรเหล่าใด ทำกิจที่ควรทำของภิกษุสงฆ์เท่านั้น ทั้งปุเรภัตและปัจฉาภัต พึงให้ส่วนเท่ากัน แก่สามเณรเหล่านั้น. แต่คำนี้กล่าวเฉพาะด้วยอกาลจีวร ซึ่งเกิดขึ้นหลังสมัย ได้เก็บไว้ในเรือนคลัง ส่วนกาลจีวรต้องให้เท่าๆ กันแท้.
ผ้าจำนำพรรษา ซึ่งเกิดในที่นั้น ภิกษุและสามเณรพึงทำผาติกรรม แก่สงฆ์มีผูกไม้กวาดเป็นต้น แล้วถือเอา. จริงอยู่ การทำหัตถกรรมมีผูก ไม้กวาดเป็นต้น เป็นวัตรของภิกษุสามเณรทั้งปวง ในการถือเอาผ้าจำนำพรรษา นี้ ทั้งใน (อกาล) จีวรที่เก็บไว้ในเรือนคลัง (ตามปกติ). ถ้าว่า สามเณรทั้ง หลาย มากระทำการร้องขึ้นว่า ท่านผู้เจริญ พวกผมต้มข้าวต้ม พวกผมหุง ข้าวสวย พวกผมปิ้งของควรเคี้ยว พวกผมถางหญ้า พวกผมหาไม้สีฟันมา พวกผมทำสะเก็ดน้ำย้อมให้ควรถวาย ก็อะไรเล่า ที่ชื่อว่าพวกผมไม่ได้ทำ พึงให้ส่วนเท่ากันแก่สามเณรเหล่านั้นเทียว. การให้ส่วนเท่ากัน เมื่อพวก
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 337
สามเณรทำการร้องขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาสามเณรผู้กระทำผิด และสามเณรผู้มีความกระทำไม่ปรากฏ. แต่ในกุรุนทีแก้ว่า หากว่า สามเณร ทั้งหลายวิงวอนว่า ท่านผู้เจริญ พวกผมไม่ทำงานของสงฆ์ เพราะเหตุอะไร พวกผมจักทำ พึงให้ส่วนเท่ากัน.
บทว่า อุตฺตริตุกาโม มีความว่า ผู้ประสงค์จะข้ามแม่น้ำหรือทาง กันดาร คือ ผู้ได้พวกแล้วประสงค์จะหลีกไปสู่ทิศ.
คำว่า สกํ ภาคํ ทาตุํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเนื้อความ นี้ว่า เมื่อขนจีวรออกจากเรือนคลังจัดกองไว้แล้ว ตีระฆังแล้ว ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว. ภิกษุผู้ได้พวกแล้วประสงค์จะไป อย่าต้องพลัดพรากจากพวก. เพราะฉะนั้น เมื่อจีวรยังมิได้ขนออกก็ดี ระฆังยังมิได้ก็ดี สงฆ์ยังมิได้ประชุม กันก็ดี ไม่ควรให้. แต่เมื่อจีวรขนออกแล้ว ตีระฆังแล้ว ภิกษุสงฆ์ประชุมกัน แล้ว ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร พึงคะเนดูว่า ส่วนของภิกษุนี้พึงมีเท่านี้ แล้วให้จีวรตามความคาดคะเน; เพราะว่าไม่อาจให้เท่าๆ กัน เหมือนชั่งด้วย ตราชั่งได้ เพราะฉะนั้น จะหย่อนไปหรือเกินไปก็ตามที จีวรที่ให้แล้ว โดย คาดคะเนโดยนัยอย่างนี้ เป็นอันให้ด้วยดีแท้; หย่อนไปก็ไม่ต้องแถมให้อีก เกินไปก็ไม้ต้องเอาคืนฉะนี้แล.
ข้อว่า อติเรกภาเคน มีความว่า ภิกษุมี ๑๐ รูป ทั้งผู้ก็มี ๑๐ ผืน เหมือนกัน ในผ้าเหล่านั้น ผืนหนึ่งตีราคา ๑๒ กหาปณะ ผืนที่เหลือตีราคา ผืนละ ๑๐ กหาปณะ; เมื่อได้จับสลากในผ้าทั้งปวงด้วยอำนาจ ตีราคาผืนละ ๑๐ กหาปณะเท่ากัน สลากในผ้ามีราคา ๑๒ กหาปณะ ให้ตกแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้น เป็นผู้ประสงค์จะไปทั้งส่วนที่เกินนั้น ด้วยกล่าวว่า จีวรของเราย่อมพอเพียง ด้วยส่วนเท่านี้ ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ผู้มีอายุ ส่วนที่เกิน ต้องเป็นของสงฆ์;
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 338
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำนั้น จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต เพื่อให้ส่วนที่เกิน ในเมื่อเธอให้สิ่งของสำหรับทดแทนแล้ว ดังนี้ เพื่อแสดง เนื้อความนั้นว่า ชื่อว่าน้อยย่อมไม่มีในของสงฆ์และของคณะ ภิกษุพึงทำความ สำรวมในของสงฆ์และของคณะทั้งปวง ถึงภิกษุผู้จะถือเอาก็พึงรังเกียจ.
ในบทว่า อนุกฺเขเป ทินฺเน นั้น มีความว่า ขึ้นชื่อว่าสิ่งของสำหรับ ทดแทน ได้แก่กัปปิยภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะพึงทดแทน คือพึงใช้แทน ให้ ในส่วนของภิกษุนั้น ที่เกินไปเท่าใด เมื่อกัปปิยภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีราคาเท่านั้น อันเธอให้แล้ว.
ความบกพร่องในคำว่า วิกลเก โตเสตฺวา นี้ มี ๒ คือ:- บกพร่อง จีวร ๑ บกพร่องบุคคล ๑.
ที่ชื่อว่าความบกพร่องจีวร พึงทราบดังนี้:-
ผ้าถึงภิกษุรูปละ ๕ ผืนๆ ทั่วกัน, ทั้งยังมีผ้าเหลือ. แต่ไม่พอรูปละ ผืนๆ , พึงตัดให้ ; ก็แล เมื่อจะตัด พึงทำให้เป็นท่อนให้พอแก่จีวร มี อัฑฒมณฑลเป็นต้น หรือบริขารอื่นมีถุงใส่รองเท้าเป็นต้น; โดยกำหนดอย่าง ต่ำที่สุด สมควรตัดท่อนให้กว้างเพียง ๔ นิ้ว ยาวพอแก่อนุวาต. แต่ไม่พึงทำ เป็นท่อนจนใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นข้อที่จีวรไม่เพียงพอ ชื่อว่าความบกพร่อง จีวร ในคำว่า วิกลเก โตเสตฺวา นี้ ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง เมื่อตัดจีวรให้แล้ว จีวรนั้นเป็นของแถมให้ภิกษุทั้งหลายพอใจ ลำดับนั้นพึงทำการจับสลาก; ในอันธกอรรถกถาแก้ว่า ถึงหากว่า ในส่วนของ ภิกษุรูปหนึ่ง ผ้าจะไม่พอผืน ๑ หรือ ๒ ผืน, พึงแถมสมณบริขารอย่างอื่นใน ส่วนนั้น ภิกษุใดพอใจด้วยส่วนนั้น พึงให้ส่วนนั้นแก่ภิกษุนั้นแล้ว พึงทำการ จับฉลากในภายหลัง; แม้นี้ก็ชื่อว่า ความบกพร่องจีวร.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 339
ที่ชื่อว่า ความบกพร่องบุคคล พึงทราบดังนี้:-
เมื่อนับภิกษุจัดเป็นหมวดๆ ละ ๑๐ รูป หมวดหนึ่งไม่ครบ มีภิกษุอยู่ ๘ รูปหรือ ๙ รูป พึงให้แก่ภิกษุเหล่านั้น ๘ ส่วน หรือ ๙ ส่วนว่า ท่านทั้ง หลาย จงนับส่วนเหล่านี้แบ่งแจกกันเกิด. ข้อที่บุคคลไม่เพียงพอนี้ ชื่อความ บกพร่องบุคคล ตัวประการฉะนี้. ก็เมื่อให้เป็นแผนกแล้ว จีวรนั้นย่อมเป็น ของที่ให้ภิกษุทั้งหลายพอใจได้, ครั้นให้พอใจได้อย่างนั้นแล้ว พึงทำการจับ สลาก.
อีกอย่างหนึ่ง ข้อว่า วิกลเก โตเสตฺวา มีความว่า ส่วนจีวรใดบก พร่อง, พึงเอาบริขารอื่นแถมส่วนจีวรนั้นให้เท่ากันแล้วพึงทำการจับสลาก
ว่าด้วยน้ำย้อม
บทว่า ฉกเณน ได้แก่ โคมัย.
บทว่า ปณฺฑุมตฺติกาย ได้แก่ ดินแดง.
วินิจฉัยในน้ำย้อมเกิดแต่หัวเป็นอาทิ พึงทราบดังนี้;-
เว้นขมิ้นเสีย น้ำย้อมเกิดแต่หัว ควรทุกอย่าง. เว้นฝางกับแกแลเสีย น้ำย้อมเกิดแต่ลำต้น ควรทุกอย่าง. ต้นไม้มีหนามชนิดหนึ่ง ชื่อแกแล, น้ำย้อมเกิดแต่ลำต้น แห่งแกแลนั้น เป็นของมีสีคล้ายหรดาล เว้นโลดกับ มะพูดเสีย น้ำย้อมเกิดแต่เปลือก ควรทุกอย่าง. เว้นใบมะเกลือกับใบครามเสีย น้ำย้อมเกิดแต่ใบไม้ ควรทุกอย่าง. แต่ผ้าที่คฤหัสถ์ใช้แล้ว สมควรย้อมด้วย ใบมะเกลือครั้งหนึ่ง. เว้นดอกทองกวาวกับดอกดำเสีย น้ำย้อมเกิดแต่ดอก ควรทุกอย่าง. ส่วนในน้ำย้อมเกิดแต่ผล ผลอะไรๆ จะไม่ควรหามิได้.
น้ำย้อมที่ไม่ได้ต้ม เรียกว่าน้ำเย็น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 340
ตะกร้อสำหรับกันล้นนั้น ได้แก่ เครื่องสำหรับกันกลมๆ. ความว่า เราอนุญาตให้ใส่เครื่องกันนั้นตั้งไว้กลางหม้อน้ำย้อมแล้ว จึงใส่น้ำย้อม. ด้วยว่า เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว น้ำย้อมย่อมไม่ละ
สองบทว่า อุทเก วา นขปิฏฺิกาย วา มีความว่า ก็ถ้าว่า น้ำ ย้อมเป็นของสุกแล้ว, หยาตน้ำที่ใส่ในถาดน้ำ ย่อมไม่ซ่านไปเร็ว. แม้หยดลง บนหลังเล็บ ย่อมค้างอยู่ ไม่ซ่านออก.
บทว่า รชนุรุงฺกํ ได้แก่ กระบวยตักน้ำย้อม.
บทว่า ทณฺฑกถาลิกํ ได้แก่ กระบวยนั่นเอง พร้อมทั้งด้าม.
บทว่า รชนโกลมฺพํ ได้แก่ หม้อสำหรับย้อม.
บทว่า มทฺทนฺติ ได้แก่ ขยำกดลง.
หลายบทว่า น จ อจฺฉนฺเน ถเว ปกฺกมฺตุํ มีความว่า หยาด น้ำย้อมยังไหลไม่ขาดเพียงใด, ภิกษุไม่ควรไปในที่อื่นเพียงนั้น.
บทว่า ปตฺถินฺนํ คือจีวรเป็นของกระด้าง เพราะย้อมเกินไป, อธิบายว่า น้ำย้อมจับเกินไป.
สองบทว่า อุทเก โอสาเทตุํ มีความว่า เพื่อแช่ไว้ในน้ำ. ก็แล เมื่อน้ำย้อมออกแล้วพึงเทน้ำนั้น ทิ้งแล้วพึงบีบจีวร
บทว่า ทนฺตกสาวานิ ความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย้อมจีวรครั้งเดียว หรือสองครั้งใช้จีวรมีสีดังสีงาช้าง.
ว่าด้วยจีวรตัด
บทว่า อจฺจิพทฺธํ คือ มีกระทงนาเนื่องกันเป็นสี่เหลี่ยม.
บทว่า ปาลิพฺทธํ คือ พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง.
บทว่า มริยาทพทฺธํ คือ พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 341
บทว่า สิงฺฆาฏกพทฺธํ คือ พูนคันนาเชื่อมกันดังทาง ๔ แพร่ง ตามที่ซึ่งคันนากับคันนาผ่านตัดกันไป, อธิบายว่า มีสัณฐานดังทาง ๔ แพร่ง
สองบทว่า อุสฺสหสิ ตฺวํ อานนฺท มีความว่า อานนท์ เธอ อาจหรือ?
บทว่า สํวิทฺหิตุํ ได้แก่ เพื่อทำ.
สองบทว่า อุสฺสหามิ ภควา มีความว่า ท่านอานนท์แสดงว่า ข้าพระองค์ อาจตามนัยที่พระองค์ประทาน.
บทว่า ยตฺร หิ นาม คือ โย นาม
วินิจฉัยในคำว่า กุสิมฺปิ นาม เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-
คำว่า กุสิ นี้ เป็นชื่อแห่งผ้ายาว มีอนุวาตด้านยาวและด้านกว้าง เป็นต้นต้น.
คำว่า อฑฺฒกุสิ เป็นชื่อแห่งผ้าสั้นในระหว่างๆ.
มณฑล นั้น ได้แก่ กระทงใหญ่ ในขัณฑ์อันหนึ่งๆ แห่งจีวรมี ๕ ขัณฑ์.
อัฑฒมณฑล นั้น ได้แก่ กระทงเล็ก.
วิวัฏฏะ นั้น ได้แก่ ขัณฑ์ตรงกลางที่เย็บมณฑลกับอัฑฒมณฑล ติดกัน.
อนุวิวัฏฏะ นั้น ได้แก่ ๒ ขัณฑ์ที่สองข้างแห่งวิวัฎฏะนั้น.
คีเวยยกะ นั้น ได้แก่ ผ้าตามอื่นที่เย็บด้วยด้าย เพื่อทำไห้ทนทาน ในที่ๆ พันคอ.
ชังเฆยยกะ นั้น ได้แก่ ผ้าที่เย็บอย่างนั้นเหมือนกัน ในที่ๆ ปก แข้ง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 342
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่า คีเวยยกะ และ ชังเฆยยกะ นั้น เป็นชื่อแห่งผ้าที่ตั้งอยู่ในที่แห่งคอและในที่แห่งแข้ง.
พาหันตะ นั้น ได้แก่ ขัณฑ์อันหนึ่งๆ นอกอนุวิวัฏฏะ
คำว่า กุสิมฺปิ นาม เป็นอาทินี้ พระอาจารย์ทั้งหลายวิจารณ์แล้ว ด้วยจีวรมี ๕ ขัณฑ์ ด้วยประการฉะนี้แล.
อีกประการหนึ่ง คำว่า อนุวิวัฏฏะ นี้ เป็นชื่อแห่ง ๒ ขัณฑ์ โดย ข้างอันหนึ่ง แห่งวิวัฏฏะ เป็นชื่อแห่ง ๓ ขัณฑ์บ้าง ๔ ขัณฑ์บ้างโดยข้างอัน หนึ่งแห่งวิวัฏฏะ.
คำว่า พาหันตะ นี้ เป็นชื่อแห่งชายทั้งสอง (แห่งจีวร) ที่ ภิกษุ ห่มจีวรได้ขนาดพอดี ม้วนพาดไว้บนแขน มีด้านหน้าอยู่นอก.
จริงอยู่ นัยนี้แล ท่านกล่าวในมหาอรรถกถา.
ว่าด้วยไตรจีวร
สองบทว่า จีวเรหิ อุพฺภณฺฑิกเต มีความว่า ผู้อันจีวรทั้งหลาย ทำให้เป็นผู้มีสิ่งของอันทนต้องยกขึ้นแล้ว คือ ทำให้เป็นเหมือนชนทั้งหลายผู้ ขนของ, อธิบายว่า ผู้อันจีวรทั้งหลายให้มาถึงความเป็นผู้มีสิ่งของอันตนต้อง ขน.
จีวร ๒ - ๓ ผืน ที่ภิกษุซ้อนกันเข้าแล้ว พับโดยท่วงทีอย่างฟูกเรียกว่า ฟูก ในบทว่า จีวรภิสึ นี้.
ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นทำในใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า จักเสด็จ กลับจากทักขิณาคิรีชนบทเร็ว เมื่อจะไปในชนบทนั้น จึงได้เก็บจีวรที่ได้ใน เรื่องหมอชีวกไว้แล้วจึงไป.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 343
ก็บัดนี้พวกเธอสำคัญว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า จักเสด็จมาพร้อมด้วย จีวร จึงถือเอา (จีวร) หลีกไป.
บทว่า อนฺตรฏฺกาสุ มีความว่า (ความหนาว) ได้ตั้งอยู่ในระหว่าง เดือน ๓ เดือน ๔.
หลายบทว่า น ภควนฺตํ สีตํ อโหสิ มีความว่า ความหนาวไม่ ได้มีแล้ว แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า สีตาลุกา ได้แก่ กุลบุตรผู้มีความหนาวเป็นปกติ คือผู้ ลำบากด้วยความหนาว โดยปกติเทียว.
หลายบทว่า เอตทโหสิ เยปิ โข เต กุลปุตฺตา มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ประทับนั่งในกลางแจ้ง จะไม่ทรงทราบเนื้อความนี้หา มิได้ แต่ได้ทรงทำอย่างนั้น เพื่อให้มหาชนยินยอม.
สองบทว่า ทฺวิคุณํ สงฺฆาฏิ ได้แก่ สังฆาฏิ ๒ ชั้น.
บทว่า เอกจฺจิยํ ได้แก่ ชั้นเดียว.
เพื่อตัดโอกาสแห่งถ้อยคำที่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังพระอัตภาพ ให้เป็นไป ด้วยจีวร ๔ ผืน ด้วยพระองค์เอง, แต่ทรงอนุญาตไตรจีวรแก่เราทั้ง หลาย ดังนี้ จึงทรงอนุญาตสังฆาฏิ ๒ ชั้น, ทรงอนุญาตจีวรนอกนี้ชั้นเดียว, จริงอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ จีวรของภิกษุเหล่านั้นจักเป็น ๔ ผืน ด้วยประการฉะนั้นแล
สองบทว่า อคฺคฬํ อจฺฉุเปยฺยํ มีความว่า เราพึงดามท่อนผ้าเก่า ในที่ซึ่งทะลุ.
บทว่า อหตกปฺปานํ ได้แก่ ชักแล้วครั้งเดียว.
บทว่า อุตุทฺตานํ ได้แก่ เก็บไว้โดยฤดู คือโดยกาลนาน, มีคำ อธิบายว่า ผ้าเก่าที่มีสีตกแล้ว.
บทว่า ปาปณิเก ได้แก่ จีวรที่เก่า ที่ตกจากร้านตลาด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 344
สองบทว่า อุสฺสาโห กรณีโย ได้แก่ พึงทำการแสวงหา. แต่ เขตกำหนดไม่มี, จะแสวงหามาแม้ตั้งร้อยผืนก็ควร. จีวรนี้ทั้งหมด พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสสำหรับภิกษุผู้ยินดี.
วินิจฉัยในข้อว่า อคฺคฬํ ตุนฺนํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ท่อนผ้าที่ภิกษุยกขึ้นทาบให้ติดกัน ชื่อผ้าปะ, การเย็บเชื่อมด้วยด้าย ชื่อการชุน.
ห่วงเป็นที่ร้อยกลัดไว้ ชื่อรังคุม. ลูกสำหรับกลัด เรียกลูกดุม.
ทัฬหีกัมมะ นั้น ได้แก่ ท่อนผ้าที่ประทับลง ไม่รื้อ (ผ้าเก่า) ทำให้เป็นชั้นรอง.
เรื่องนางวิสาชา มีเนื้อความตื้น. เรื่องอื่นจากเรื่องนางวิสาขานั้น ได้ วินิจฉัยแล้วในหนหลังแล.
บทว่า โสวคฺคิกํ ได้แก่ ทำให้เป็นเหตุแห่งสวรรค์. ด้วยเหตุนั้น แล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์.
ทานใด ย่อมกำจัดความโศกเสีย เหตุนั้น ทานนั้น ชื่อโสกนุท บรรเทาความโศกเสีย.
บทว่า อนามยา คือ ผู้ไม่มีโรค. สองบทว่า สคฺคมฺหิ กายมฺหิ ได้แก่ ผู้เกิดในสวรรค์
ว่าด้วยถือวิสาสะเป็นต้น
สามบทว่า ปุถุชฺชนา ถาเมสุ วีตราคา ได้แก่ ปุถุชนผู้ได้ฌาน.
บทว่า สนฺทิฏฺโ ได้แก่ เพื่อนที่สักว่าเคยเห็นกัน.
บทว่า สมฺภตฺโต ได้แก่ เพื่อนผู้ร่วมสมโภค คือเพื่อนสนิท.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 345
บทว่า อาลปิโต ได้แก่ ผู้อันเพื่อนสั่งไว้อย่างนี้ว่า ท่านต้องการ สิ่งใดซึ่งเป็นของเรา. ท่านพึงถือเอาสิ่งนั้นเถิด.
วิสาสะย่อมขึ้นด้วยองค์ ๓ เหล่านี้ คือ ยังเป็นอยู่ ๑ เมื่อของนั้นอันตน ถือเอาแล้ว เจ้าของเป็นผู้พอใจ ๑ กับองค์อันใดอันหนึ่งใน ๓ องค์เหล่านั้น.
บทว่า ปํสุกูลิกโต คือ ผ้าอุตราสงค์ที่ทำด้วยผ้าบังสุกุล
สองบทว่า ครุโก โหติ คือ เป็นของหนัก เพราะทาบผ้าปะในที่ ซึ่งชำรุดแล้วๆ.
สองบทว่า สุตฺตลูขํ กาตุํ มีความว่า เพื่อทำการเย็บตรึงด้วยด้าย เท่านั้น.
บทว่า วิกณฺโณ คือ เมื่อชักด้ายเยีบ มุมสังฆาฏิข้างหนึ่งเป็นของ ยาวไป.
สองบทว่า วิกณฺณํ อุทฺธริตุํ คือ เพื่อเจียนมุมที่ยาวเสีย.
บทว่า โอถิริยนฺติ คือ ลุ่ยออกจากมุมที่ตัด.
สองบทว่า อนุวาตํ ปริภณฺฑํ ได้แก่ อนุวาตและผ้าหุ้มขอบ.
สองบทว่า ปตฺตา ลชฺชนฺติ คือ ด้ายทั้งหลายที่เย็บในหน้าผ้าใหญ่ ย่อมหลุดออก คือ ผ้าลุ่ยออกจากผ้าผืนเก่านั้น.
สองบทว่า อฏฺปทกํ กาตุํ คือ เพื่อเย็บหน้าผ้าด้วยตะเข็บอย่าง รอยในกระดานหมากรุก.
สองบทว่า อนฺวาธกํปิ อาโรเจตุํ คือ เพื่อเพิ่มผ้าดาม. แต่ผ้าดาม นี้ พึงเพิ่มในเมื่อผ้าไม่พออ, ถ้าผ้าพอ ไม่ควรเพิ่มผ้าดาม พึงตัดเท่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 346
ว่าด้วยทำสัทธาไทยให้ตกเป็นต้น
วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว สทฺธาเทยฺยํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
เมื่อให้แก่ญาติที่เหลือทั้งหลาย ซึ่งยังสัทธาไทยให้ตกไปแท้, ส่วน มารดาบิดาแม้ตั้งอยู่ในความเป็นพระราชา ถ้าปรารถนา พึงให้.
บทว่า คิลาโน ได้แก่ ผู้ไม่สามารถจะถือเอาไปได้ เพราะเป็น ผู้อาพาธ.
บทว่า วสฺสิกสงฺเกตํ ได้แก่ ๔ เดือนในฤดูฝน.
บทว่า นทีปารํ ได้แก่ ภัตเป็นของอันภิกษุพึงฉันที่ฝั่งแม่น้ำ.
บทว่า อคฺคฬคุตฺติวิหาโร มีความว่า ก็กุฎีที่อยู่มีลิ่มเป็นเครื่อง คุ้มครองเท่านั้น เป็นประมาณในความเป็นผู้อาพาธ ความกำหนด หมายความ ว่า เป็นเดือนมีในฤาดูฝน ความไปสู่ฝั่งแม่น้ำ และความมีกฐินอันกรานแล้ว เหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว. จริงอยู่ ภิกษุเก็บไว้ในกุฎีที่อยู่ที่คุ้มครองเท่านั้น จึง ควรไปในภายนอก เก็บไว้ในกุฎีที่อยู่ที่ไม่ได้คุ้มครองไม่ควรไป. แต่กุฎีที่อยู่ ของภิกษุผู้อยู่ป่า. ย่อมไม่เป็นกุฎีที่อยู่คุ้มครองด้วยดี อันภิกษุผู้อยู่ป่านั้น พึง เก็บไว้ ในหม้อสำหรับเก็บของแล้วซ่อมไว้ในที่อันมิดชิดดี มีโพรงศิลา และ โพรงไม้เป็นต้นแล้วจึงไป.
ว่าด้วยผ้าที่เกิดขั้นในจีวรกาล
ข้อว่า ตุยฺเหว ภิกฺขุ ตาหิ จีวรานิ มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้ ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใครๆ อื่นไม่เป็นใหญ่ แห่งจีวรเหล่านั้น.
ก็แล ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว จึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อ แสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความรังเกียจถือเอา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 347
ข้อว่า ตสฺเสว ตานิ จีวรานิ ยาว กินสฺส อุพภาราย มีความ ว่า หากว่า ได้ภิกษุครบคณะ กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้น เป็น ของเธอตลอด ๕ เดือน; ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดจีวรมาสเดือนเดียวเท่านั้น. จีวรใดๆ อันพวกทายกถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ก็ดี ถวายว่า ข้าพเจ้า ถวายเฉพาะสงฆ์ ก็ดี ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ก็ดี ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายผ้าจำนำพรรษา ก็ดี ถึงแม้ว่า จีวรมรดกยิ่งมิได้แจก ภิกษุทั้งหลายเข้าไปสู่วัดนั้นๆ จีวรทั้งปวงนั้น ย่อมเป็นของภิกษุผู้กรานกฐินนั้น เท่านั้น ภิกษุนั้น ถือเอาผ้าจำนำพรรษาแม้ใด จากทุนทรัพย์ไวยาวัจกร ตั้งไว้ประกอบดอกเบี้ย เพื่อประโยชน์แก่ผ้าจำนำพรรษา หรือจากกัลปนา สงฆ์อันเกิดในวัดนั้น ผ้าจำนำพรรษานั้นทั้งหมดเป็นอันเธอถือเอาด้วยดีแท้.
จริงอยู่ ในคำว่า ตสฺเสว ตานิ จิวรานิ ยาว กินสฺส อุพฺการาย นี้ มีลักษณะดังนี้:-
ผ้าที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ด้วยอาการใดๆ ก็ตาม ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้กราน กฐินแล้วตลอด แก่ภิกษุไม่ได้กรานกฐิน ตลอดจีวรมาสเดือนหนึ่ง. ส่วนผ้านี้ใดที่ทายกบอกถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาในวัดนี้ หรือ ว่า ข้าพเจ้าถวายผ้าจำนำพรรษา ผ้านั้นย่อมถึงแม้แก่ภิกษุผู้มิได้กรานกฐิน ตลอด ๕ เดือน. ผ้าจำนำพรรษาที่เกิดขึ้น นอกจากผ้าที่กล่าวแล้วนั้น ภิกษุ พึงถามดูว่า นี่เป็นผ้าจำนำพรรษาสำหรับพรรษาที่ล่วงไปแล้วหรือ? หรือว่า สำหรับพรรษาที่ยังไม่มา เหตุไรจึงต้องถาม? เพราะผ้านั้นเกิดขึ้นหลังสมัย
ว่าด้วยผ้าที่เกิดขึ้นในฤดูกาล
บทว่า อุตุกาลํ ได้แก่ กาลอื่นจากฤดูฝน.
วินิจฉัยในคำว่า ตานิ จีวรานิ อาทาย สาวตฺถึ คนฺตฺวา นี้ พึง ทราบดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 348
จีวรเหล่านั้น ย่อมเป็นของสงฆ์ในที่ๆ เธอไปถึงแล้วๆ เท่านั้น ผ้า สักว่าอันภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วเท่านั้น เป็นประมาณในการถือเอาจีวรนี้: เพราะ เหตุนั้น หากภิกษุบางพวกเดินสวนทางนา ถามว่า ไปไหนคุณ ได้ฟังเนื้อ ความนั้นแล้วกล่าวว่า เราทั้งหลายไม่เป็นสงฆ์หรือคุณ? แล้วแบ่งกันถือเอา ในที่นั้นทีเดียว เป็นอันถือเอาด้วยดี. แม้ถ้าว่า ภิกษุนั้นและออกจากทาง เข้า สู่วัดหรืออาสนศาลาบางแห่งก็ดี เมื่อเที่ยวบิณฑบาต เข้าสู่เฉพาะเรือนหลัง หนึ่งก็ดี ก็แล ภิกษุทั้งหลายในที่นั้น เห็นเธอแล้วถามเนื้อความนั้นแล้วแบ่ง กันถือเอา เป็นอันถือเอาด้วยดีเหมือนกัน.
วินิจฉัยในข้อว่า อธิฏฺาตุํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
อันภิกษุผู้จะอธิษฐาน พึงรู้จักวัตร ความพิสดารว่า ภิกษุนั้นพึงที่ ระฆังประกาศเวลาแล้ว คอยหน่อยหนึ่ง ถ้าภิกษุทั้งหลายมาตามสัญญาระฆัง หรือตามกำหนดเวลา พึงแบ่งกับภิกษุเหล่านั้น; ถ้าไม่มา พึงอธิษฐานว่า จีวร เหล่านี้ ถึงแก่เรา เมื่ออธิษฐานแล้วอย่างนั้น จีวรทั้งปวงเป็นของเธอเท่านั้น. ส่วนลำดับไม่คงอยู่. ถ้ายกขึ้นที่ละผืนๆ ถือเอาอย่างนี้ว่า นี้ส่วนที่ ๑ ถึง แก่เรา นี่ส่วนที่ ๒, อันจีวรทีเธอถือเอาแล้ว เป็นอันถือเอาแล้วด้วยดี; แต่ ลำดับคงตั้งอยู่. จีวรเป็นอันภิกษุผู้แม้ให้ถึงถือเอาอยู่อย่างนั้น อธิษฐานแล้ว เหมือนกัน แต่ถ้าภิกษุดีระฆังหรือไม่ดีก็ตาม ประกาศเวลาหรือไม่ประกาศก็ ตาม ถือเอาด้วยทำในใจว่า ที่นี่มีแต่เราเท่านั้น จีวรเหล่านี้ย่อมเป็นของเฉพาะ เรา จีวรเหล่านั้น เป็นอันถือเอาไม่ชอบ. หากเธอถือเอาด้วยทำในใจว่า ที่นี่ ไม่มีใครๆ อื่น จีวรเหล่านี้ย่อมถึงแก่เรา เป็นอันถือเอาด้วยดี.
สองบทว่า ปาติเต กุเส มีความว่า เมื่อสลากในส่วนอันหนึ่งสักว่า ให้จับแล้ว แม้ถ้ามีภิกษุตั้งพันรูป จีวรชื่อว่าอันภิกษุทั้งปวงถือเอาแล้ว แท้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 349
ข้อว่า นากามา ภาโค ทาตพฺโพ มีความว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้ประสงค์จะให้ตามชอบใจของตนไซร้ จงให้เถิด. แม้ในอนุภาคก็มีนัย อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า สจีวรานิ มีความว่า ชนทั้งหลายพูดกันว่า เราทั้งหลายจัก ถวาย แม้ซึ่งกาลจีวรแก่สงฆ์ จากส่วนอันจะพึงถวายแก่พระเถระนี้เทียว เมื่อ กาลจีวรนั้น อันเราทั้งหลายจัดไว้แผนกหนึ่ง จะช้าเกินไป ดังนี้แล้ว ได้ทำภัต ทั้งหลายพร้อมทั้งจีวรโดยทันทีทีเดียว.
หลายบทว่า เถเร อาคมฺม อุปฺปนฺนานิ มีความว่า จีวรเหล่านี้ พลันเกิดขึ้นเพราะความเลื่อมใสในท่านทั้งหลาย.
ข้อว่า สงฺฆสฺส เทมาติ จีวรานิ เทนฺติ มีความว่า ชนทั้งหลาย ถวายล่าช้าจนตลอดจีวรกาลทั้งสิ้นทีเดียว. ส่วนใน ๒ เรื่องก่อน พระธรรม สังคาหกาจารย์กล่าวว่า อทํสุ เพราะชนทั้งหลายมีการถวายอันกำหนดแล้ว
สองบทว่า สมฺพหุลา เถรา ได้แก่ พระเถระผู้เป็นหัวหน้าแห่ง พระวินัยธรทั้งหลาย. ก็แล เรื่องนี้กับเรื่องพระเถระสองพี่น้องก่อนเกิดขึ้นเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ส่วนพระเถระเหล่านี้เป็นผู้เคยเห็นพระตถาคต เพราะเหตุนั้น ในเรื่องก่อนๆ พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายได้กล่าวแล้ว ตามนัยที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้นั้นแล.
สองบทว่า คมากาวาสํ อคมาสิ มีความว่า พระอุปนันทศากยบุตรนั้น กำหนดแล้วเทียว ซึ่งกาลเป็นที่แบ่งจีวรว่า แม้ไฉนภิกษุทั้งหลาย เมื่อแบ่งจีวรกัน พึงทำความสงเคราะห์แก่เราบ้าง? ดังนี้ จึงได้ไป.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 350
บทว่า สาทิยิสฺสสิ คือ จักถือเอาหรือ? จริงอยู่ ในเรื่องนี้ส่วน ย่อมไม่ถึงแก่พระอุปนันทศากยบุตรนั้น แม้โดยแท้ ถึงกระนั้นภิกษุเหล่านั้น ได้กล่าวว่า ท่านจักรับหรือ? ดังนี้ ก็ด้วยทำในใจว่า พระเถระนี้ เป็น ชาวกรุง เป็นธรรมกถึก มีปากกล้า.
ก็วินิจฉัยในข้อว่า โย สาทิเยยฺย, อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ พึงทราบ ดังนี้.
เป็นลหุกาบัติก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น จีวรที่ถือเอาแล้ว ก็ควรคืนให้ใน ที่ซึ่งคนถือเอา; แม้หากว่า จีวรเหล่านั้นเป็นของเสียหายไปก็ดี เก่าไปก็ดี ย่อมเป็นสินใช้แก่ภิกษุนั้นแท้. ครั้นเมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านจงให้ เมื่อ เธอไม่ให้ พึงให้ปรับตามราคาของในเมื่อทอดธุระ.
บทว่า เอกาธิปฺปายํ มีความว่า ท่านทั้งหลาย จงให้ส่วนเป็นที่ ประสงค์อันเดียว คือ ส่วนแห่งบุคคลผู้เดียวเท่านั้น. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงวางแบบ จึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงอาการสำหรับ ภิกษุจะพึงให้ส่วนเฉพาะบุคคลผู้เดียวนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า สเจ อมุตฺร อุปฑฺฒํ อมุตฺร อุปฑฺฒํ มีความว่า หากว่า ภิกษุนั้น อยู่ในวัดตำบลละวันหนึ่งบ้าง ๗ วัน บ้าง บุคคลผู้เดียว ย่อมได้ส่วนใด ในวัดตำบลหนึ่งๆ พึงให้วัดละกึ่งส่วนๆ. จากส่วนนั้นๆ. ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียว ชื่อเป็นอันภิกษุทั้งหลายให้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.
ข้อว่า ยตฺถ วา ปน พหุตรํ มีความว่า ถ้าภิกษุอยู่ในวัดหนึ่งรับ แต่อรุณเท่านั้น โดยวาระ ๗ วันในวัดนอกนี้ ด้วยประการอย่างนี้เธอชื่อว่าอยู่ มากกว่าในวัดก่อน; เพราะฉะนั้น พึงให้ส่วนจากวัดที่อยู่มากกว่านั้นแก่เธอ:
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 351
ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียว เป็นอันภิกษุทั้งหลายให้แล้ว ด้วยประการอย่างนี้ บ้าง. ก็การให้ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยหลาย วัดมีสีมาเดียวกัน แต่ต่างลาภ ต่างอุปจาระกัน. ส่วนในวัดที่ต่างสีมากัน การ ถือเสนาสนะย่อมระงับ. เพราะเหตุนั้น สิ้นแห่งจีวรในวัดนั้น ย่อมไม่ถึง (แก่เธอ). แต่สิ่งของที่เหลือทั้งหมด มีอามิสและเภสัชเป็นต้น ย่อมถึงแก่ ภิกษุผู้อยู่ภายในสีมา ในวัดที่มีสีมาเดียวกัน และวัดที่มีสีมาต่างๆ กันทั้งปวง.
ว่าด้วยคิลานุปัฏฐาก
สองบทว่า มญฺจเก นิปาเตสุํ มีความว่า ครั้นล้างแล้วอย่างนั้น นุ่งผ้ากาสาวะผืนอื่นให้แล้ว จึงให้นอนบนเตียน; ก็แลพอให้นอนแล้ว พระอานนท์ผู้มีอายุ ได้ซักผ้ากาสาวะที่เปื้อนมูตรและกรีสแล้วได้ทำการชำระล้าง ที่พื้น.
ข้อว่า โย ภิกฺขเว มํ อุปฏฺเหยฺย โส คิลานํ อุปฏฺเหยฺย มี ความว่า ภิกษุใด พึงอุปัฏฐากเราด้วยทำตามโอวาทานุศาสนี, ภิกษุนั้น พึง อุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธเถิด.
ในข้อนี้ มีเนื้อความดังนี้ว่า ภิกษุผู้ทำตามโอวาทของเรา พึงอุปัฏ- ฐากภิกษุผู้อาพาธ และในข้อนี้ ไม่ควรถือเอาเนื้อความอย่างนี้ว่า การอุปัฏฐาก พระผู้มีพระภาคเจ้า กับอุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธเป็นเช่นเดียวกัน.
ข้อว่า สงฺเฆน อุปฏฺาเปตพฺโพ มีความว่า ภิกษุเหล่านี้อุปัชฌาย์เป็นต้น ของภิกษุใด ไม่มีในวัดนั้น ภิกษุใดเป็นอาคันตุกะเที่ยวไปรูป เดียว, ภิกษุนั้น เป็นภาระของภิกษุสงฆ์ เพราะเหตุนั้น เธออันสงฆ์พึงอุปัฏฐาก ถ้าไม่อุปัฏฐาก เป็นอาบัติแก่สงฆ์ทั้งสิ้น.
ก็แล ในภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งวาระพยาบาล ภิกษุใด ไม่พยาบาลในวาระ ของตน เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้นเท่านั้น. แม้พระสังฆเถระก็ไม่พ้นจากวาระ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 352
ถ้าสงฆ์ทั้งสิ้นไว้ภาระแก่ภิกษุรูปหนึ่ง หรือภิกษุผู้บริบูรณ์ด้วยวัตรรูป หนึ่ง รับรองว่า ข้าพเจ้าจักพยาบาลเอง แล้วปฏิบัติอยู่ สงฆ์พ้นจากอาบัติ.
ในข้อว่า อภิกฺกนฺตํ วา อภิกฺกมติ เป็นอาทิ พึงเห็นใจความ อย่างนี้ว่า:-
ภิกษุผู้อาพาธไม่ชี้แจงอาพาธอันกำเริบอยู่ตามจริงว่า เมื่อข้าพเจ้า บริโภคยาชื่อนี้ อาพาธกำเริบ เมื่อข้าพเจ้าบริโภคยาชื่อนี้ อาพาธค่อยทุเลา เมื่อข้าพเจ้าบริโภคยาชื่อนี้ อาพาธทรงอยู่.
บทว่า นาลํ มีความว่าผู้ไม่เหมาะ คือไม่สมควรเพื่อพยาบาล.
สองบทว่า เภสชฺชํ สํวิธาตุํ มีความว่า เป็นผู้ไม่สามารถเพื่อ ประกอบยา.
บทว่า อามิสนฺตโร มีวิเคราะห์ว่า อามิสเป็นเหตุของภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อผู้มีอามิสเป็นเหตุ. เหตุท่านเรียกว่า อนฺตรํ ความว่า ภิกษุผู้มีอามิสเป็นเหตุ ปรารถนายาคู ภัต บาตร และจีวร จึงพยาบาล.
บทว่า กาลกเต คือ เพราะทำกาลกิริยา.
วินิจฉัยในข้อว่า คิลานุปฏฺาถานํ ทาตุํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
บาตรและจีวร ของภิกษุผู้ทำกาลกิริยานั้น อันสงฆ์ให้แก่ภิกษุผู้ พยาบาล ด้วยกรรมวาจาที่ตรัสเป็นลำดับไปก็ดี อปโลกน์ให้ก็ดี ย่อมเป็นอัน ให้เหมือนกัน, ควรทั้งสองอย่าง.
ในข้อว่า ยํ ตตฺถ ลหุภณฺฑํ ยํ ตตฺถ ครุภณฺฑํ ข้าพเจ้าจัก พรรณนาความกระทำต่างกันแห่งลหุภัณฑ์และครุภัณฑ์ข้างหน้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 353
วินิจฉัยในลาภของภิกษุผู้พยาบาลไข้
ส่วนในลาภของภิกษุผู้พยาบาลไข้ มีวินิจฉัยตั้งแต่ต้น ดังต่อไปนี้:-
หากภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้นพยาบาล ภิกษุไข้ทำกาลกิริยา, เป็นเจ้าของ ทั้งหมด.
หากว่า บางพวกทำเวร. บางพวกไม่ทำเวรเลย, ภิกษุไข้ทำกาลกิริยา, ในกาลกิริยาอย่างนั้นของภิกษุนั้น อาจารย์บางพวกกล่าวว่าภิกษุแม้ทั้งปวง พึง ทำในวาระที่ถึงคน, เพราะฉะนั้นภิกษุแม้ทั้งปวงเป็นเจ้าของ
บางพวกกล่าวว่า ภิกษุไข้นั้น อันภิกษุเหล่าใดพยาบาล ภิกษุเหล่า นั้นเท่านั้น ย่อมได้, ภิกษุนอกจากนั้น ไม่ได้.
ถ้าว่า เมื่อสามเณรแม้ทำกาลกิริยา จีวรของเธอมีอยู่. พึงให้แก่ผู้ พยาบาลไข้, ถ้าจีวรไม่มี, สิ่งใดมี พึงให้สิ่งนั้น. เมื่อบริขารอื่นมีอยู่ พึงทำ ให้เป็นส่วนแห่งจีวรให้.
ทั้งภิกษุและสามเณร ถ้าว่าพยาบาลเท่ากัน, พึงให้ส่วนเท่ากัน
หากว่า สามเณรเท่านั้นพยาบาล, กิจสักว่าช่วยจัดแจงเท่านั้นเป็นของ ภิกษุ พึงให้ส่วนใหญ่แก่สามเณร.
ถ้าว่า สามเณรต้มยาคูด้วยน้ำที่ภิกษุนำมา ทำกิจสักว่าให้รับประเคน เท่านั้น, ภิกษุพยาบาล, พึงให้ส่วนใหญ่แก่ภิกษุ.
ภิกษุหลายรูป เป็นผู้พร้อมเพรียงช่วยกันพยาบาลทั้งหมด, พึงให้ส่วน เท่ากัน แก่เธอทั่วกัน.
ก็ในภิกษุเหล่านี้ รูปใดพยาบาลโดยพิเศษ, พึงให้ส่วนพิเศษแก่ภิกษุ นั้น.
อนึ่ง ผู้ใดหุงต้มยาคูและภัตให้ หรือจัดแจงอาบน้ำ โดยเนื่องด้วยผู้ พยาบาลไข้ วันหนึ่ง, แม้ผู้นั้น ก็จัดว่า ผู้พยาบาลไข้เหมือนกัน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 354
ภิกษุใดไม่เข้าใกล้ ส่งแต่ยาและข้าวสารเป็นต้นบ้าง, ภิกษุนี้ไม่จัดว่า ผู้พยาบาลไข้.
ฝ่ายภิกษุใด แสวงหาให้อนุปสัมบันถือมา, ภิกษุนี้จัดเป็นผู้พยาบาลไข้ แท้, พึงให้ส่วนแม้แก่ภิกษุนั้น.
รูปหนึ่งพยาบาลด้วยเพ่งวัตรเป็นใหญ่, รูปหนึ่งพยาบาลด้วยหวังลาภ ในเวลาที่ภิกษุไข้มรณภาพ เธอทั้งสองจำนง, พึงให้แก่เธอทั้งสองรูป
รูปหนึ่งพยาบาลแล้ว ไปในที่ไหนๆ เสีย ด้วยธุระของภิกษุไข้ หรือ ด้วยธุระของตน คิดว่า เราจักมาพยาบาลอีก แม้ภิกษุนี้ก็ควรให้.
รูปหนึ่งพยาบาลอยู่นานแล้ว ทอดธุระไปเสียว่า บัดนี้ เราไม่สามารถ แม้ถ้าว่า ภิกษุไข้มรณภาพในวันนั้นเอง ไม่พึงให้ส่วนแห่งผู้พยาบาล.
ขึ้นชื่อว่า ผู้พยาบาลไข้ เป็นคฤหัสถ์ หรือเป็นบรรพชิต หรือโดย ที่สุด แม้เป็นมาตุคามก็ตามที ทุกคนย่อมได้ส่วน. หากว่าของภิกษุนั้น มี แต่สักว่าบาตรและจีวรเท่านั้น, ของอื่นไม่มี. บาตรและจีวรทั้งหมด พึงให้แก่ ผู้พยาบาลไข้เท่านั้น, แม้หากว่า จะตีราคาตั้งพัน.
แต่ผู้พยาบาลเหล่านั้น ย่อมไม่ได้บริขารแม้มากอย่างอื่น บริขาร อย่างอื่น ย่อมเป็นของสงฆ์เท่านั้น. สิ่งจองที่เหลือมากและมีราคามาก ไตร จีวรมีราคาน้อย, บริขารคือไตรจีวรพึงถือเอาจากสิ่งของที่เหลือนั้นให้. ก็ บาตรไตรจีวรนั้นทั้งหมดอันผู้พยาบาลไข้ ย่อมได้จากของสงฆ์เทียว
ก็ถ้าว่า ภิกษุไข้นั้น ยังเป็นอยู่ทีเดียว ได้ปลงบริขารของตนทั้งหมด ให้แก่ใครๆ เสีย, หรือว่าใครๆ ได้ถือวิสาสะเอาเสีย, ของนั้นเธอให้แล้วแก่ ผู้ใด, และอันผู้ใดถือเอาแล้ว, ย่อมเป็นของผู้นั้น เท่านั้น, ผู้พยาบาลไข้ย่อมได้ ด้วยความชอบใจของผู้นั้นเท่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 355
ฝ่ายบริขารทั้งหลายที่ภิกษุไข้ไม่ได้ให้แก่บุคคลเหล่าอื่น เก็บไว้ในที่ ไกล ย่อมเป็นของสงฆ์ในที่นั้นๆ เท่านั้น.
ถ้าเป็นของ ๒ เจ้าของมิได้แบ่งกัน, เมื่อฝ่ายหนึ่งทำกาลกิริยา อีก ฝ่ายหนึ่งย่อมเป็นเจ้าของ, ในของแม้มากเจ้าของ ก็นัยนี้แล.
เมื่อเจ้าของมรณภาพ ทั้งหมด ย่อมเป็นของสงฆ์.
ถึงหากว่า ภิกษุผู้เป็นเจ้าของเหล่านั้น ไม่แบ่งกัน ให้แก่นิสิตทั้งหลาย มีสัทธิวิหาริกเป็นต้น, ไม่เป็นอันให้เลย, ต่อสละให้แล้วจึงเป็นอันให้ด้วยดี, เมื่อภิกษุผู้เป็นเจ้าของเหล่านั้น แม้มรณภาพแล้วย่อมเป็นของนิสิตทั้งหลาย มี สัทธิวิหาริกเป็นต้น เท่านั้น, ไม่เป็นของสงฆ์.
ว่าด้วยจีวรที่ไม่ควร
วินิจฉัยในจีวรคากรองเป็นอาทิ. พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อกฺถนาลํ ได้แก่ จีวรที่ทำด้วยก้านรัก.
ผ้าที่ทำด้วยปอ เรียกว่าผ้าเปลือกไม้. ผ้าที่เหลือ ได้กล่าวไว้แล้วใน อรรถกถาแห่งปฐมปาราชิก.๑
ในผ้าเหล่านั้น เฉพาะผ้าเปลือกไม้ ปรับทุกกฏ ในผ้าที่เหลือปรับ ถุลลัจจัย.
ส่วนผ้าเปลือกรัก ผ้ากาบกล้วยและผ้าเปลือกละหุ่ง มีคติอย่างผ้า เปลือกไม้เหมือนกัน.
จีวรมีสีเขียวล้วนเป็นต้น พึงสำรอกสีเสีย ย้อมใหม่แล้วจึงใช้ ถ้า เป็นของที่ไม่อาจสำรอกสีได้, พึงให้กระทำเป็นผ้าปูลาดหรือพึงแทรกไว้ใน ท่ามกลางจีวรสองขัน.
๑. สมนฺต. ปฐม. ๒๗๙.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 356
ความเป็นต่างๆ กันแห่งสีของจีวรเหล่านั้น มีนัยดังกล่าวแล้วใน รองเท้านั่นแล.
ผ้าทั้งหลายที่มีชายไม่ได้ตัดและมีชายยาว พึงตัดชายเสียแล้ว จึงใช้.
ภิกษุได้เสื้อแล้วเลาะออกย้อมใช้ ย่อมควร. แม้ในผ้าโพกก็นัยนี้แล.
ส่วนหมวกเป็นของที่ทำด้วยเปลือกไม้ จะทำหมวกนั้น ให้เป็นของ สำหรับเช็ดเท้าก็ควร.
ว่าด้วยผู้ควรรับจีวรเป็นต้น
สองบทว่า ปฏิรูเป คาหเก มีความว่า ถ้าภิกษุบางรูปรับเอาด้วย กล่าวว่า เรารับแทนภิกษุนั้น พึงให้. ด้วยประการอย่างนี้แล บรรดาบุคคล ๒๓ คน เหล่านั้น ไม่ได้ ๑๖ คน ได้ ๗ คน ฉะนี้แล.
สองบทว่า สงฺโฆ ภิชฺชติ มีความว่า ภิกษุทั้งหลายแตกกันเป็น ๒ ฝ่าย เหมือนภิกษุชาวเมืองโกสัมพี.
สองบทว่า เอกสฺมึ ปกฺเข มีความว่า ชนทั้งหลายถวายน้ำทักขิโณทก และวัตถุมีของหอมเป็นต้นในฝ่ายหนึ่ง. ถวายจีวรในฝ่ายหนึ่ง.
บทว่า สงฺฆสฺเสเวตํ มีความว่า จีวรนั้น ย่อมเป็นของสงฆ์ทั้งสิ้น คือ ของทั้งสองฝ่าย, ทั้งสองฝ่ายพึงตีระฆังแล้วแบ่งด้วยกัน.
บทว่า ปกฺขสฺเสเวตํ มีความว่า เมื่อชนทั้งหลายถวายอย่างนั้น น้ำอันเขาถวายแล้วแก่ฝ่ายใด, น้ำนั่นแลย่อมเป็นของฝ่ายนั้น จีวรอันถวายแล้ว แก่ฝ่ายใด จีวรย่อมเป็นของฝ่ายนั้นเท่านั้น.
ในมหาอรรถกถาแก้ว่า ก็ในที่ใด น้ำทักขิโณทกเป็นประมาณ ในที่ นั้น ฝ่ายหนึ่งย่อมได้จีวร เพราะคนได้น้ำทักขิโณทก ฝ่ายหนึ่งก็ย่อมได้
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 357
เพราะค่าที่จีวรนั้นแลตนได้แล้ว, เพราะฉะนั้น สองฝ่ายพึงเป็นผู้พร้อมกัน แจกกันตามลำดับผู้แก่.
ได้ยินว่า นี่เป็นลักษณะในสมุทรอื่น๑ (คือชมพูทวีป)
ส่วนในข้อว่า ตสฺมึเยว ปกฺเข นี้ มีความว่า ฝ่ายนอกนี้ไม่เป็น ใหญ่เลยทีเดียว.
เรื่องส่งจีวรไปชัดเจนแล้วแล.
มาติกา ๘ แห่งความเกิดขั้นแห่งจีวร
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำเป็นต้นว่า อฏฺิมา ภิกฺขเว มาติกา เพื่อแสดงเขตเป็นที่ได้จีวรที่ตรัสแล้ว จำเติมแต่ต้น.
คำว่า สีมาย เทติ เป็นอาทิ ตรัสโดยนัยปุคคลาธิษฐาน.
ก็บรรดามาติกาเหล่านี้ การถวายแก่สีมา เป็นมาติกาที่ ๑. การถวาย ตามกติกา เป็นมาติกาที่ ๒, การถวายในที่ซึ่งตกแต่งภิกษา เป็นมาติกาที่ ๓, การถวายแก่สงฆ์ เป็นมาติกาที่ ๔, การถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่าย เป็นมาติกาที่ ๕, การถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษา เป็นมาติกาที่ ๖, การถวายจำเพาะ เป็นมาติกาที่ ๗, การถวายแก่บุคคลเป็นมาติกาที่ ๘.
วินิจฉัยในมาทิกาเหล่านั้น พึงทราบดังนี้:-
เมื่อทายกถวายพาดพิงถึงสีมาอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สีมา ชื่อถวาย แก่สีมา. ในมาติกาทั้งปวงก็นัยนี้แล.
ถวายแก่สีมา
ก็ในมาติกาที่ ๑ นี้ว่า ถวายแก่สีมา ในมาติกานิทเทสต้นที่ว่า ทายก ถวายแก่สีมา, ภิกษุมีจำนวนเท่าใดอยู่ภายในสีมา ภิกษุเหล่านั้นพึงแจกกัน ดังนี้ พึงทราบสีมา ๑๕ ชนิดก่อน คือ:-
๑. ปรสมุทฺเทติ ชมฺพูทีเปติ สารตฺถ จ วิมติ จ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 358
ขัณฑสีมา อุปจารสีมา สมานสังวาสสีมา อวิปปวาสสีมา ลาภสีมา คามสีมา นิคมสีมา นครสีมา อัพภันตรสีมา อุทกุกเขปสีมา ชนปทสีมา รัฐสีมา รัชสีมา ทีปสีมา จักกวาฬสีมา.
บรรดาสีมาเหล่านั้น ขัณฑสีมา ได้กล่าวแล้วในสีมากถา. อุปจารสีมา เป็นแดนที่กำหนดด้วยเครื่องล้อมแห่งวัดที่ล้อม ด้วยที่ควรแก่การล้อมแห่งวัด ที่ไม่ได้ล้อม.
อีกอย่างหนึ่ง จากสถานที่ภิกษุประชุมกันเป็นนิตย์ หรือจากโรงฉัน อันตั้งอยู่ริมเขตวัด หรือจากอาวาสที่อยู่ประจำ ภายใน ๒ ชั่วเลฑฑุบาต ของ บุรุษผู้มีแรงปานกลางเข้ามา พึงทราบว่าเป็นอุปจารสีมา. ก็อุปจารสีมานั้น เมื่ออาวาสขยายกว้างออกไป ย่อมขยายออก เมื่ออาวาสร่นแคบเข้า ย่อม แคบเข้า.
แต่ในมหาปัจจรีแก้ว่า อุปจารสีมานั้น เมื่อภิกษุเพิ่มขึ้น ย่อมกว้าง ออก เนื่องด้วยลาภ, ถ้าภิกษุทั้งหลายนั่งเต็ม ๑๐๐ โยชน์ติดเนื่องเป็นหมู่เดียว กับพวกภิกษุผู้ประชุมในวัด. แม้ที่ตั้ง ๑๐๐ โยชน์ ย่อมเป็นอุปจารสีมาด้วย, ลาภย่อมถึงแก่ภิกษุทั่วกัน. แม้สมานสังวาลสีมาและอวิปปวาสสีมาทั้ง ๒ มีนัย ดังกล่าวแล้วนั่น และ.
ขึ้นชื่อว่า ลาภสีมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหาได้ทรงอนุญาตไม่, พระ ธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายก็ไม่ได้ตั้งไว้, ก็แต่ว่าพระราชาและมหาอมาตย์ของ พระราชาให้สร้างวัดแล้ว กำหนดพื้นที่โดยรอบคาวุตหนึ่งบ้าง กึ่งโยชน์บ้าง โยชน์หนึ่งบ้าง ปักเสาจารึกชื่อว่า นี้เป็นลาภสีมาสำหรับวัดของเรา แล้วปัก แดนไว้ว่า สิ่งใดเกิดขึ้นภายในเขตนี้, สิ่งนั้นทั้งหมด เราถวายแก่วัดของเรา นี้ชื่อว่า ลาภสีมา. ถึงคามสีมา นิคมสีมา นครสีมา อัพภันตรสีมา และ อุทกุกเขปสีมา ก็ได้กล่าวแล้วเหมือนกัน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 359
ชนปทสีมา นั้น ชนบทเป็นอันมาก มีภายในแคว้นกาสีและโกศล เป็นต้น, ในชนบทเหล่านั้น แดนกำหนดแห่งชนบทอันหนึ่งๆ ชื่อชนปทสีมา.
แดนกำหนดแห่งแคว้นกาสีและโกศลเป็นต้น ชื่อรัชสีมา.๑
สถานเป็นที่เป็นไปแห่งอาณาของพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งๆ อย่างนี้ คือ พหิโภค โจลโภค เกรฏฺโภค ชื่อรัช สีมา.
เกาะใหญ่ และเกาะเล็ก ซึ่งกำหนดด้วยสมุทรเป็นที่สุด ชื่อทีปสีมา
แดนที่กำหนดด้วยภูเขาจักรวาลเท่านั้น ชื่อจักกวาฬสีมา.
ในสีมาเหล่านั้น ที่กล่าวแล้วด้วยประการอย่างนี้ เมื่อทายกเห็นสงฆ์ ประชุมกันในขัณฑสีมา ด้วยกรรมบางอย่าง จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ในสีมานี้เท่านั้น ดังนี้. ภิกษุมีจำนวนเท่าใดอยู่ภายในขัณฑสีมา ภิกษุเหล่า นั้น พึงแบ่งกัน. เพราะว่าจีวรนั้นย่อมถึงแก่ภิกษุเหล่านั้นเท่านั้น, ไม่ถึงแก่ ภิกษุเหล่าอื่น แม้ผู้ตั้งอยู่ที่สีมันตริก หรือที่อุปจารสีมา. แค่ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้ ตั้งอยู่บนต้นไม้หรือบนภูเขา ซึ่งขึ้นอยู่ในขัณฑสีมา หรือผู้อยู่ท่ามกลางแผ่นี้ ดินภายใต้ขัณฑสีมา เป็นแท้.
อนึ่ง จีวรที่ทายกถวายว่า ถวายแก่สงฆ์ในอุปจารสีมานี้ ย่อมถึงแม้แก่ ภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในขัณฑสีมาและสีมันตริก.
ส่วนจีวรที่ทายกถวายว่า ถวายแก่สมานสังวาสสีมา ย่อมไม่ถึงแก่ภิกษุ ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในขัณฑสีมาและสีมันตริก.
จีวรที่ทายกถวายในอวิปปวาสสีมา และลาภสีมา ย่อมถึงแก่ภิกษุทั่ง หลายผู้อยู่ร่วมในสีมาเหล่านั้น.
๑. สทฺธมฺมปฺปชโชติกา ปฐม ๑๖ ว่า รฏนฺติ ชนปเทกเทสํฯ ชนปโทติ กาสีโกสลาทิชนปโท? ถือเอาความว่า รัฐ เล็กกว่าชนบท ชนบทคือประเทศ. แต่ตามที่แก้ในที่นี้ กลับตรงกันข้าม จึง ขอฝากนักศึกษาไว้ด้วย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 360
ส่วนจีวรที่ทายกถวายในคามสีมาเป็นต้น ย่อมถึงแม้แก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ใน พัทธสีมา ภายในแห่งสีมาเหล่านั้น.
จีวรที่ถวายในอัพภันตรสีมา และอุทกุกเขปสีมา ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้อยู่ ภายในสีมาเหล่านั้นเท่านั้น.
ในชนปทสีมา รัฐสีมา รัชสีมา ทีปสีมา และจักกวาฬสีมา มีวินิจฉัย เช่นดังกล่าวแล้วในคามสีมาเป็นต้นนั่นแล.
ก็ถ้าว่าทายกอยู่ในชมพูทวีป กล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายสงฆ์ในตามพปัณณิทวีป ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไปจากตามพปัณณิทวีป ย่อมได้เพื่อรับแทนภิกษุ ทั้งปวง. แม้หากว่า ภิกษุผู้ชอบพอกันรูปหนึ่งในชมพูทวีปนั้นเอง จะรับส่วน แทนภิกษุทั้งหลายที่ชอบพอกันไซร้, ไม่พึงห้ามเธอ. ในการถวายของทายก ผู้ถวายของพาดพิงถึงสีมา พึงทราบวินิจฉัยอย่างนี้ก่อน.
ฝ่ายทายกใด ไม่เข้าใจที่จะพูดว่า ในสีมาโน้น รู้แต่เพียงคำว่า สีมา อย่างเดียวเท่านั้น มาวัดกล่าวว่า ถวายแก่สีมา หรือว่า ถวายสงฆ์ผู้ตั้งอยู่ใน สีมา ดังนี้.
พึงถามทายกนั้นว่า ขึ้นชื่อว่าสีมา มีหลายอย่าง, ท่านพูดหมายเอา สีมาอย่างไหน?
ถ้าเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้จักว่า สีมาชนิดโน้นๆ สงฆ์ผู้ตั้งอยู่ในสีมา จงแบ่งกันถือเอาเถิด ดังนี้.
สงฆ์ในสีมาไหน จะพึงแบ่งกัน?
ได้ยินว่า พระมหาสิวัตเถระกล่าวว่า สงฆ์ในอวิปปวาสสีมาพึงแบ่ง กัน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 361
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านว่า ธรรมดาอวิปปวาสสีมา ประมาณตั้ง ๓ โยชน์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุผู้ดังอยู่ใน ๓ โยชน์จักรับลาภได้. ผู้ตั้งอยู่ใน ๓ โยชน์ จักพึงบำเพ็ญอาคันตุกวัตรเข้าสู่อาราม, ผู้เตรียมจะไปจัก เดินทาง ๓ โยชน์ จึงจักบอกมอบเสนาสนะ, สำหรับผู้ปฏิบัตินิสัยๆ จักระงับ ต่อเมื่อล่วง ๓ โยชน์ไป, ผู้อยู่ปริวาส จักพึงก้าวล่วง ๓ โยชน์แล้ว รับอรุณ. ภิกษุณีตั้งอยู่ในระยะ ๓ โยชน์ จักพึงบอกเล่าการที่จะเข้าสู่อาราม กิจนี้ทั้ง หมดสมควรทำด้วยอำนาจแดนกำหนดแห่งอุปจารสีมาเท่านั้น, เพราะเหตุนั้น สงฆ์ตั้งอยู่ในอุปจารสีมาเท่านั้นพึงแบ่งกัน.
ถวายตามกติกา
บทว่า กติกาย ได้แก่ กติกา มีลาภเสมอกัน. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อาวาสมากหลายมีลาภเสมอกัน
ในหลายอาวาสมีลาภเสมอกันนั้น พึงดังกติกาอย่างนี้:-
ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในวิหารหนึ่ง ระบุชื่อวัดที่ตนมีประสงค์จะ สงเคราะห์ ปรารถนาจะทำให้เป็นแดนมีลาภเสมอกัน กล่าวเหตุอย่างใดอย่าง หนึ่งว่า วัดโน้น เป็นวัดเก่า หรือว่า วัดโน้น เป็นที่พระพุทธเจ้าเคยอยู่ หรือว่า วัคโน้น มีลาภน้อย แล้วประกาศ ๓ ครั้งว่า การที่ทำวัดนั้นกับวัด แม้นี้ ให้เป็นแดนมีลาภอันเดียวกัน พอใจสงฆ์ ดังนี้.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุแม้นั่งแล้วในวัดนั้น เธอย่อมเป็นเหมือน นั่งแล้วในวัดนี้, อันสงฆ์แม้ในวัดนั้น พึงทำอย่างนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุ เพียงเท่านี้ ภิกษุแม้นั่งแล้วในวัดนี้, เธอย่อมเป็นเหมือนผู้นั่งแล้วในวัดนั้น. เมื่อแบ่งลาภกันอยู่ในวัดหนึ่ง, อันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอีกวัดหนึ่ง สมควรได้รับส่วน แบ่งด้วย. วัดแม้มาก ก็พึงกระทำให้เป็นที่มีลาภอันเดียวกันกับวัดอันหนึ่ง โดยอุบาอย่างนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 362
ถวายในที่ซึ่งตกแต่งภิกษา
บทว่า ภิกขาปญฺตฺติยา ได้แก่ ในสถานเป็นที่ตกแต่งทานบริจาค ของตน. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทานบริจาคที่ประจำ อันตนทำแก่สงฆ์ในวัดใด.
พึงทราบเนื้อความแห่งคำนั้น ดังนี้:-
ภัตทานของสงฆ์ ซึ่งเป็นของทายกผู้ถวายจีวรนี้ เป็นไปในวัดใดก็ดี, ทายกทำภิกษุทั้งหลายในวัดใด ให้เป็นภาระของตน นิมนต์ให้ฉันในเรือนทุก เมื่อก็ดี, ในวัดใดเขาสร้างที่อยู่ไว้ก็ดี, ในวัดใดเขาถวายสลากภัตเป็นต้นเป็น นิตย์ก็ดี, แต่วัดแม้ทั้งสิ้นอันทายกใดสร้าง, ในวัดนั้น ของทายกนั้น ไม่มีคำ ที่จะพึงกล่าวเลย. ภัตบริจาคเหล่านี้ จัดเป็นภัตบริจาคประจำ, เพราะเหตุนั้น ถ้าเขากล่าวว่าภัตบริจาคประจำของข้าพเจ้ากระทำอยู่ในวัดใด, ข้าพเจ้าถวายใน วัดนั้น หรือว่า ท่านจงให้ในวัดนั้น แม้หากว่า มีภัตบริจาคประจำในที่หลาย แห่ง, จีวรนั้นเป็นอันเขาถวายทั่วทุกแห่งทีเดียว.
ก็ถ้าว่า ในวัดหนึ่งมีภิกษุมากกว่า, ภิกษุเหล่านั้น พึงบอกว่า ในวัด ที่มีภัตบริจาคเป็นประจำของพวกท่าน วัดหนึ่งมีภิกษุมาก วัดหนึ่งมีภิกษุน้อย. ถ้าหากเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาตามจำนวนภิกษุเถิด สมควรแบ่งถือ เอาตามนั้น.
ก็ในคำว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาตามจำนวนภิกษุเถิด นี้ ผ้าและเภสัช เป็นต้น แม้น้อย ย่อมแบ่งกันได้โดยง่าย, แต่ถ้าว่าเตียงหรือตั่งมีตัวเดียวเท่านั้น, พึงถามเขาแล้ว พึงให้สำหรับวัดหรือเสนาสนะแม้ในวัดหนึ่งที่เขาสั่ง ถ้าเขา กล่าวว่า ภิกษุโน้นจงถือเอา ดังนี้ควรอยู่.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 363
หากว่าเขากล่าวว่า ท่านจงให้สำหรับวัดที่มีภัตบริจาคเป็นประจำของ ข้าพเจ้า ดังนี้แล้ว ไม่ทันได้สั่งการไปเสีย, แม้สงฆ์จะสงการก็ควร.
ก็แล สงฆ์พึงสั่งการอย่างนี้:-
พึงสั่งว่า ท่านจงให้ในสถานเป็นที่อยู่ของพระสังฆเถระ. ถ้าในที่นั้น. มีเสนาสนะบริบูรณ์ ในที่ใดเสนาสนะไม่เพียงพอ, พึงให้ในที่นั้น. ถ้าว่า ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า ในที่อยู่ของข้าพเจ้า ไม่มีของใช้สำหรับเสนาสนะพึงให้ ในที่นั้น.
ถวายแก่สงฆ์
ข้อว่า สงฺฆสฺส เทติ มีความว่า ทายกเข้าไปยังวัดกล่าวว่า ข้าพเจ้า ถวายจีวรเหล่านั้นแก่สงฆ์.
ข้อว่า สมฺมุขีภูเตน มีความว่า สงฆ์ผู้ทั้งอยู่ในอุปจารสีมา พึงตีระฆัง ให้ประกาศเวลาแล้วแจกกัน. ภิกษุผู้จะรับส่วนแทนภิกษุผู้ตั้งอยู่ในสีมาแต่มาไม่ ทัน ไม่ควรห้าม. วัดใหญ่, เมื่อถวายผ้าตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา, พระมหาเถระ ผู้เฉื่อยช้าย่อมมาภายหลัง, อย่าพึงกล่าวกะท่านว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าถวาย ถึงภิกษุมีพรรษา ๒๐ ลำดับของท่าน เลยไปเสียแล้ว, พึงเว้นลำดับไว้ถวาย แก่พระมหาเถระเหล่านั้น เสร็จแล้วจึงถวายตามลำดับภายหลัง. ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังข่าวว่า ได้ยินว่า ที่วัดโน้น จีวรเกิดขึ้นมาก จึงพากันมาจากวัดซึ่งตั้ง อยู่ในระยะโยชน์หนึ่งบ้าง, พึงให้จำเดิมแต่ที่ซึ่งเธอทั้งหลายมาทันแล้วๆ เข้า ลำดับ. เฉพาะที่เธอมาไม่ทันเข้าอุปจารสีมาแล้ว เมื่ออันเตวาสิกเป็นต้นจะ รับแทน ก็ควรให้แท้. อันเตวาสิกเป็นต้น กล่าวว่า ท่านจงให้แก่ภิกษุผู้ตั้ง อยู่ภายนอกอุปจารสีมาดังนี้ ไม่พึงให้.
ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่ประตูวัดของตน หรืออยู่ภายในวัด ของทนที เดียว เป็นผู้เนื่องเป็นอันเดียวกับภิกษุทั้งหลายผู้เข้าอุปจารสีมาไซร้, สีมาชื่อว่า
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 364
ขยายออกด้วยอำนาจบริษัท, เพราะฉะนั้น ควรให้. แม้เมื่อให้จีวรแก่ สังฆนวกะแล้ว, ก็ควรถวายแก่พระเถระทั้งหลายผู้มาภายหลังเหมือนกัน.
อนึ่ง เมื่อส่วนที่สองได้ยกขึ้นสู่เถรอาสน์แล้ว ส่วนที่หนึ่ง ย่อมไม่ถึง แก่ภิกษุทั้งหลายทีมาแล้ว, พึงให้ตามลำดับพรรษา ตั้งแต่ส่วนที่สองไป. ถ้า ในวัดหนึ่ง มีภิกษุ ๑๐ รูป ทายกถวายผ้า ๑๐ ผืนว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์; ผ้า เหล่านั้น พึงแจกกันรูปละผืน. ถ้าภิกษุเหล่านั้น ถือเอาไปทั้งหมดทีเดียว ด้วยคิดว่า ผ้าเหล่านั้น ถึงแก่พวกเรา ดังนี้ไซร้, เป็นอันให้ถึง (แก่ตน) ไม่ ดี; ทั้งเป็นอันถือเอาไม่ดี; ผ้าเหล่านั้น ย่อมเป็นของสงฆ์ในที่ซึ่งเธอไปถึง เข้าแล้วนั่นแล.
อนึ่ง จะชักออกผืนหนึ่ง ถวายแก่สังฆเถระว่า ผืนนี้ถึงแก่ท่าน ดัง นี้แล้ว ถือเอาผ้าที่เหลือออด้วยคิดว่า ผ้าเหล่านี้ ถึงแก่พวกเรา ดังนี้ ควรอยู่. ทายกนำผ้ามาผืนเดียว ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายไม่แบ่ง กัน ถือเอาด้วยคิดว่า ผ้านี้ถึงแก่พวกเรา; ผ้านั้นเป็นอันเธอทั้งหลายให้ถึงแก่ ตน ไม่ชอบ ทั้งเป็นอันถือเอาไม่ชอบ. ควรเอามีดหรือขมิ้นเป็นต้น ทำให้ เป็นรอย ให้ส่วนหนึ่งแก่พระสังฆเถระว่า ตอนนี้ถึงแก่ท่าน แล้วถือเอาส่วน ที่เหลือว่า ตอนนี้ถึงแก่พวกเรา. จะทำการกำหนดปันกัน ด้วยลายดอกไม้ หรือ ผลไม้ หรือเครือวัลย์แห่งผ้านั้นเอง ไม่ควร. ถ้าชักเส้นด้ายออกเส้นหนึ่ง ถวายแก่พระเถระว่า ตอนนี้ ถึงแก่ท่าน แล้วถือเอาว่า ส่วนที่เหลือออถึงแก่พวก เรา ควรอยู่. ผ้าที่ภิกษุตัดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่แบ่งกัน ควรแท้.
เมื่อจีวรทั้งหลายเกิดขึ้นแก่สงฆ์ในวัค ซึ่งมีภิกษุรูปเดียว หากภิกษุ นั้น ถือเอาว่า จีวรทั้งหมดย่อมถึงแก่เรา ตามนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่น เอง, เป็นอันเธอถือเอาชอบ, ส่วนลำดับไม่ดังอยู่. หากเธอยกขึ้นทีละผืนๆ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 365
ถือเอาว่า ผ้านี้ถึงแก่เรา. ลำดับย่อมตั้งอยู่. บรรดาลำดับที่ไม่ตั้งอยู่ และตั้งอยู่ ทั้งสองนี้ เมื่อลำดับไม่ตั้งอยู่ครั้นจีวรอื่นเกิดขึ้นอีก ถ้าภิกษุรูปหนึ่งมา, เธอ ทั้งสองพึงตัดตรงกลางถือเอา. เมื่อลำดับตั้งอยู่ ครั้นจีวรอื่นเกิดขึ้นอีก ถ้าภิกษุ อ่อนกว่ามา, ลำดับย่อมถึงภายหลัง, ถ้าภิกษุผู้แก่กว่ามา, ลำดับย่อมถึงก่อน. ถ้าไม่มีภิกษุอื่น, พึงให้ถึงแก่ในถือเอาอีก.
แต่จีวรที่เขาถวายพาดพิงถึงสงฆ์ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ก็ดี ว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุสงฆ์ ก็ดี ไม่ควรแก่ ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล, เพราะเหตุที่เธอกล่าวคำว่า ข้าพเจ้างดคหบดีจีวรเสีย, สมาทานองค์ของผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร แต่ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล เพราะเหตุที่จีวรนั้น เป็นอกัปปิยะหามิได้, แม้ภิกษุสงฆ์อปโลกน์ให้แล้วก็ ไม่ควรรับ. ก็และภิกษุให้จีวรใดซึ่งเป็นของตน, จีวรนั้นชื่อของที่ภิกษุให้ ควรอยู่ แต่ว่าจีวรนั้นไม่เป็นผ้าบังสุกุล. แม้เนื้อเป็นเช่นนั้น, ธุดงค์ย่อม ไม่เสีย.
อนึ่ง เมื่อทายกถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย, ข้าพเจ้าถวาย แก่พระเถระทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมควรแม้แก่ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล. แม้จีวรที่ทายก ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายผ้านี้ แก่สงฆ์ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงทำถุงใส่รองเท้า ถึงบาตร ผ้ารัดเข่าและสายสะพายเป็นต้นด้วยผ้านี้ ดังนี้ ย่อมควร. ผ้าที่ทายก ถวายเพื่อประโยชน์แก่ถุงบาตรเป็นต้น มีมาก, เป็นของเพียงพอแม้เพื่อประ โยชน์แก่จีวรจะกระทำจีวรจากผ้านั้นห่ม ก็ควร. ก็หากว่าสงฆ์ตัดผ้าที่เหลือ จากแจกกันแล้ว แจกให้เพื่อประโยชน์แก่ถุงรองเท้าเป็นต้น, จะถือเอาจากผ้า นั้นไม่ควร. แต่ผ้านั้นพวกเจ้าของจัดการเองนั้นแลควรอยู่ นอกนั้นไม่ควร.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 366
แม้เมื่อทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายเพื่อประโยชน์แก่ผ้าผูกกระบอก กรองเป็นต้น แก่สงฆ์ผู้ถือผ้าบังสุกุล ดังนี้ สมควรถือเอา. ขึ้นชื่อว่าบริขาร แม้ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล ก็พึงปรารถนา ในผ้าที่เขาถวายเพื่อให้เป็นผ้าผูกกระบอกกรองเป็นต้นเหล่านั้น ผ้าใดเป็นของเหลือเพื่อ จะน้อมผ้านั้นเข้าในจีวร บ้าง ก็ควร. ทายกถวายด้วยแก่สงฆ์ ด้วยนั้น แม้ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล ก็ควร รับ.
วินิจฉัยในผ้าที่ทายกเข้าไปสู่วัดแล้วถวายว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรเหล่านี้ แก่สงฆ์ เท่านี้ก่อน. ก็ถ้าว่า ทายกเห็นภิกษุทั้งหลายผู้เดินทางไปภายนอก อุปจารสีมาแล้ว บอกแก่พระสังฆเถระ หรือพระสังฆนวกะว่า ข้าพเจ้าถวาย สงฆ์ แม้ถ้าบริษัทตั้งแผ่ไปโยชน์หนึ่ง เนื่องเป็นอัน เดียวกัน ย่อมถึงแก่ภิกษุ ทั่วกัน; ฝ่ายภิกษุเหล่าใดไม่ทันบริษัทเพียง ๑๐ ศอก ไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่านั้น.
ถวายแก่สงฆ์สองฝ่าย
วินิจฉัยในมาติกาว่า ถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่าย นี้ พึงทราบดังนี้:-
เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่าย ก็ดี ถวายแก่สงฆ์โดยส่วน ๒ ก็ดี ถวายแก่สงฆ์ ๒ พวก ก็ดี กล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ภิกษุณีสงฆ์ ด้วย ก็ดี ผ้านั้นเป็นอันเขาถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่ายแท้.
ข้อว่า อุปฑฺฒํ ทาตพฺพํ มีความว่า พึงทำเป็นสองส่วนเท่าๆ กัน ให้ส่วนหนึ่ง. เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่ายด้วยแก่ท่านด้วย ถ้ามีภิกษุ ๑๐ รูป ภิกษุณี ๑๐ รูป พึงทำให้เป็น ๒๑ ส่วน; ให้แก่บุคคลส่วนหนึ่ง ให้ แก่สงฆ์ ๑๐ ส่วน ให้แก่ภิกษุณีสงฆ์ ๑๐ ส่วน; ส่วนเฉพาะบุคคลอันภิกษุใด ได้แล้ว ภิกษุนั้น ย่อมได้เพื่อถือเอาตามลำดับพรรษาของตนจากสงฆ์อีก. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุที่เธออันเขารวมเข้าด้วยศัพท์ว่า อุภโตสงฆ์. แม้
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 367
ในผ้าที่เขาบอกถวายว่า ถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่ายด้วย แก่เจดีย์ด้วย ก็มีนัยเหมือน กัน. แต่ในคำถวายนี้ ไม่มีส่วนที่จะถึงแก่เจดีย์จากสงฆ์ มีแต่ส่วนที่เท่ากับส่วน ที่ถึงแก่บุคคลผู้หนึ่งเท่านั้น.
อนึ่ง เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่ายด้วย แก่ท่านด้วย แก่เจดีย์ด้วย พึงทำให้เป็น ๒๒ ส่วน ให้ภิกษุ ๑๐ ส่วน ให้แก่ภิกษุณี ๑๐ ส่วน. ให้แก่บุคคลส่วนหนึ่ง ให้แก่เจดีย์ส่วนหนึ่ง; ในบุคคลและเจดีย์นั้น บุคคล ย่อมได้เพื่อถือเอาอีกตามลำดับพรรษาของตน จากสงฆ์ด้วย, สำหรับเจดีย์พึงได้ ส่วนเดียวเท่านั้น.
อนึ่ง เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วย อย่าแบ่งกลางให้ พึงนับภิกษุและภิกษุณีแล้วให้.
อนึ่ง เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ภิกษุณีทั้งหลายด้วย แก่ท่านด้วย บุคคลไม่ได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง; ย่อมได้เฉพาะส่วนเดียว จาก ลำดับที่ถึงเท่านั้น เพราะเหตุไร? เพราะเหตุที่บุคคลอันเขารวมเข้าด้วยศัพท์ ว่าภิกษุสงฆ์ แม้เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ภิกษุทั้งหลายด้วย แก่ท่านด้วย แก่เจดีย์ด้วย เจดีย์ได้ส่วนเท่าบุคคลผู้หนึ่ง บุคคลไม่ได้ส่วนอีก แผนกหนึ่ง เพราะฉะนั้น พึง ให้แก่เจดีย์ส่วนหนึ่ง ที่เหลือพึงนับภิกษุและ ภิกษุณีแจกกัน. แม้เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุด้วย แก่ภิกษุณีด้วย อย่า แบ่งกลางให้ พึงแบ่งตามจำนวนบุคคลเท่านั้น เมื่อเขากล่าวอย่างนี้ว่า ถวาย แก่ภิกษุด้วย แก่ภิกษุณีด้วย แก่ท่านด้วย ดังนี้ก็ดี, กล่าวอย่างนี้ว่า ถวาย แก่ภิกษุด้วย แก่ภิกษุณีด้วย แก่เจดีย์ด้วย ดังนี้ก็ดี, กล่าวอย่างนี้ว่า ถวาย แก่ภิกษุด้วย แก่ภิกษุณีด้วย แก่ท่านด้วย แก่เจดีย์ด้วย ดังนี้ก็ดี, เจดีย์ได้ ส่วนเดียว บุคคลไม่มีส่วนอีกแผนกหนึ่ง พึงนับภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายเท่า นั้น แจกกัน. เหมือนอย่างว่า ข้าพเจ้ายก ภิกษุสงฆ์ไห้เป็นต้น อธิบายความ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 368
ฉันใด บัณฑิตพึงยกภิกษุณีสงฆ์ไห้เป็นต้นบ้าง อธิบายความ ฉันนั้น. เมื่อ เขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ท่านด้วย, บุคคลไม่ได้ส่วนอีกแผนก หนึ่ง พึงถือเอาตามลำดับพรรษาเท่านั้น.
อนึ่ง เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่เจดีย์ด้วย, เจดีย์ ได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง, แม้เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ท่านด้วย แก่เจดีย์ด้วย, เจดีย์เท่านั้น ได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง บุคคลไม่ได้. แก่เมื่อเขา กล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายด้วย แก่ท่านด้วย บุคคลไม่ได้ส่วนอีกแผนก หนึ่ง. แต่เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายด้วย แก่เจดีย์ด้วย เจดีย์ย่อม ได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง แม้เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายด้วย แก่ท่าน ด้วย แก่เจดีย์ด้วย เจดีย์เท่านั้น ย่อมได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง บุคคลไม่ได้. พึงยกภิกษุณีสงฆ์ให้เป็นต้นบ้าง ประกอบเนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน
ถามว่า เฉพาะในกาลก่อน ทายกทั้งหลายถวายทานแก่สงฆ์สองฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งตรงกลาง ภิกษุนั่ง ข้างขวา ภิกษุณีนั่งข้างซ้าย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสังฆเถระแห่งสงฆ์ ๒ ฝ่าย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบริโภคปัจจัยที่พระองค์ได้ด้วยพระองค์เองบ้าง รับสั่งให้แก่ภิกษุทั้งหลายบ้าง. ส่วนในบัดนี้ คนผู้ฉลาดทั่งหลาย ตั้งพระปฏิมาหรือพระเจดีย์ที่บรรจุพระธาตุ แล้วถวายทานแก่สงฆ์ ๒ ฝ่าย มี พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ตั้งบาตรบนเชิงข้างหน้าแห่งพระปฏิมาหรือพระเจดีย์ แล้วถวายทักษิโณทกกล่าวว่า ขอถวายแด่พระพุทธเจ้า ดังนี้แล้ว ใส่ของควร เคี้ยว ของควรบริโภคอันใดเป็นที่หนึ่งใบบาตรนั้น หรือนำมายังวัด ถวาย บิณฑบาตและวัตถุมีระเบียบและของหอมเป็นต้น กล่าวว่า นี้ถวายพระเจดีย์, จะพึงปฏิบัติอย่างไร ในของควรเคี้ยวและของควรบริโภคนั้น?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 369
ตอบว่า วัตถุมีระเบียบและของหอมเป็นต้น ควรยกวางไว้ที่พระเจดีย์ ก่อน ผ้าพึงใช้ทำธงแผ่นผ้า น้ำมันพึงใช้ตามประทีป ส่วนบิณฑบาตและ เภสัชมีน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น พึงให้แก่บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ ผู้รักษาพระเจดีย์เป็นประจำ เมื่อไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเป็นประจำ สนควรจะ ตั้งไว้ดังภัตที่ตนเองนำมากระทำวัตรแล้วฉัน. ในเวลากระชั้น ฉันเสียแล้ว จึงทำวัตรต่อภายหลัง ก็ควรเหมือนกัน. ก็เมื่อเขากล่าว ขอท่านทั้งหลายจง นำสิ่งนี้ไปทำการบูชาพระเจดีย์ ดังนี้. บรรดาวัตถุมีระเบียบและของหอมเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ในที่ไกล ก็ควรนำไปบูชา แม้เมื่อเขากล่าวว่า ขอจง นำไปเพื่อภิกษุสงฆ์ ควรนำไป. ก็หากว่าเมื่อภิกษุกล่าวว่า เราจักเที่ยวบิณฑ- บาต ที่อาสนศาลามีภิกษุ เธอทั้งหลายจักนำไป เขากล่าวว่า ท่านผู้เจริฐ ข้าพเจ้าถวายท่านนั้นแล สมควรฉัน. ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุกำลังนำไปตั้งใจว่า จักถวายภิกษุสงฆ์ เวลาจวนเสียในระหว่างทางเทียว สมควรให้ถึงแก่ตนแล้ว ฉันเถิด.
ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษา
ข้อว่า ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษา มีความว่า ทายกเข้าไปยังวิหารแล้ว ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรเหล่านี้ แก่สงฆ์ผู้จำพรรษา.
ข้อว่า ยาวติกา ภิกฺขู ตสฺมึ อาวาเส วสฺสํ วุตฺถา มีความว่า ภิกษุมีจำนวนเท่าไร จำพรรษาแรก ไม่ทำให้ขาดพรรษา ภิกษุเหล่านั้น พึง แจกกัน; จีวรนั้นไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่าอื่น. เมื่อผู้รับแทนมี พึงให้แม้แก่ภิกษุ ผู้หลีกไปสู่ทิศจนกว่าจะรื้อกฐิน. พระอาจารย์ทั้งหลายผู้เข้าใจลักษณะกล่าวว่า แต่เมื่อไม่ได้กรานกฐิน ก็แลจีวรที่เขาบอกถวายอย่างนั้น ในภายในเหมันตฤดู ย่อมถึงแม้แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำพรรษาหลัง. ส่วนในอรรถกถาทั้งหลาย หา
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 370
ได้สอดส่องข้อนี้ไว้ไม่. ก็ถ้าว่า ทายกตั้งอยู่ภายนอกอุปจารสีมากล่าวว่า ข้าพเจ้า ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษา, จีวรนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งปวงผู้มาถึงเข้า. ถ้าเขา กล่าวว่า ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาในวัดโน้น. ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำ พรรษาในวัดนั้นเท่านั้น จนกว่าจะรื้อกฐิน. ก็ถ้าว่าเขากล่าวอย่างนั้น จำเดิม แต่วันต้นแห่งคิมหฤดูไป ย่อมถึงแก่ภิกษุทั่งปวงผู้พร้อมหน้ากันในวัดนั้น. เพราะเหตุไร? เพราะจีวรนั้นเกิดขึ้นภายหลังสมัย. เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษา ดังนี้ ในภายในพรรษาทีเดียว ภิกษุผู้ขาดพรรษา ย่อมไม่ได้ เฉพาะภิกษุผู้จำพรรษาตลอดจึงได้. ส่วนในจีวรมาส เมื่อเขา กล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษา. ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำ พรรษาในปัจฉิมพรรษาเท่านั้น ไม่ถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาในปุริมพรรษาและผู้ขาดพรรษา. จำเดิมแต่จีวรมาสไปจนถึงวันสุดท้ายแห่งเหมันตฤดู เมื่อเขากล่าวว่า ถวายผ้าจำนำพรรษา, กฐินจะได้กรานหรือไม่ได้กรานก็ตามที่ ผ้านั้นย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาที่ล่วงไปแล้วเท่านั้น.
อนึ่ง เมื่อเขากล่าวจำเดิมแต่วันต้นแห่งคิมหฤดูไป. พึงยกมาติกาขึ้นว่า สำหรับกาลจำพรรษาที่เป็นอดีต ล่วงไปแล้ว ๕ เดือน กาลจำพรรษาที่เป็น อนาคต ต่อล่วงไป ๔ เดือน จึงจักมี ท่านให้แก่สงฆ์ผู้จำพรรษาไหน. ถ้าเขา กล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาที่ล่วงไปแล้ว ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้ง หลายผู้อยู่จำตลอดภายในพรรษานั้น เท่านั้น. ภิกษุผู้ชอบกัน ย่อมได้เพื่อรับ แทนภิกษุผู้หลีกไปสู่ทิศ. ถ้าเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุผู้จำพรรษาในพรรษาที่ จะมาข้างหน้า พึงเก็บผ้านั้นไว้ ถือเอาในวันเข้าพรรษา หากว่าที่อยู่คุ้มครอง ไม่ได้ ทั้งมีโจรภัย; เมื่อภิกษุกล่าวว่า ไม่อาจเก็บไว้ หรือไม่อาจถือเที่ยวไป เขาบอกว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่พร้อมแล้ว พึงแจกกันถือเอา. หากว่า เขากล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ได้ถวายผ้าใด แก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษา
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 371
ในพรรษาที่ ๓ แต่พรรษานี้ไป ข้าพเจ้าถวายผ้านั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำพรรษาภายในพรรษานั้น. ถ้าภิกษุเหล่านั้นหลีกไปสู่ทิศเสียแล้ว ภิกษุอื่น ผู้คุ้นเคยกัน จะรับแทน; พึงให้. ถ้าเหลืออยู่รูปเดียวเท่านั้น นอกจากนั้น มรณภาพหมด ย่อมถึงแก่ภิกษุรูปเดียวนั่นแลทั้งหมด. ถ้าว่า แม้รูปเดียวก็ ไม่มี ย่อมเป็นของสงฆ์; ผ้านั้นภิกษุผู้พร้อมหน้ากัน พึงแจกกัน
ถวายจำเพาะ
ข้อว่า ถวายจำเพาะ มีความว่า เขาเจ้าจง คือกำหนดหมายถวาย.
ในบทว่า ยาคุยา เป็นอาทิ มีเนื้อความดังนี้.
เขาเจาะจงถวายในข้าวต้ม หรือข้าวสวย หรือของควรเคี้ยวหรือจีวร หรือเสนาสนะ หรือเภสัช.
ในบทเหล่านั้น มีโยชนาดังนี้:-
ทายกนิมนต์ภิกษุด้วยข้าวต้มประจำวันนี้ หรือประจำวันพรุ่ง แล้วถวาย ข้าวต้มแก่พวกเธอผู้เข้าสู่เรือนแล้ว ครั้นถวายเสร็จแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายฉัน ข้าวต้มแล้วจึงถวายว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรเหล่านี้ แก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายผู้ฉัน ข้าวต้มของข้าพเจ้า. จีวรนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ ได้ฉันข้าวต้มแล้ว เท่านั้น ส่วนข้าวต้มอันภิกษุเหล่าใดผู้ผ่านไปทางประตูเรือน หรือผู้เข้าไปสู่เรือน ด้วยภิกขาจารวัตรจึงได้ หรือข้าวต้มที่ชนทั้งหลายนำบาตรของภิกษุเหล่าใดมา จากอาสนศาลาแล้วนำไปถวาย, หรือข้าวต้มอันพระเถระทั้งหลายส่งไป เพื่อ ภิกษุเหล่าใด ย่อมไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่านั้น. แต่ถ้าว่าภิกษุแม้เหล่าอื่น กับภิกษุที่ ได้รับนิมนต์มากันมาก นั่งเต็มทั้งภายในเรือนและนอกเรือน หากทายกกล่าว อย่างนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จะเป็นผู้ได้รับนิมนต์ หรือไม่ได้รับนิมนต์ ก็ตาม ข้าวต้มข้าพเจ้าได้ถวายแล้ว แก่พระผู้เป็นเจ้าเหล่าใด ผ้าเหล่านี้ จง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 372
เป็นของพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงเหล่านั้น ดังนี้ ย่อมถึงทั่วกัน. ฝ่ายภิกษุเหล่าใด ได้ข้าวต้ม จากมือพระเถระ ย่อมไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่านั้น. ถ้าเขากล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าเหล่าใดฉันข้าวต้มของข้าพเจ้า ผ้าเหล่านี้ จงเป็นของพระผู้เป็นเจ้า เหล่านั้นจนทั่วกัน ดังนี้ ย่อมถึงทั่วกัน. แม้ในข้าวสวยและของควรเคี้ยว ก็ นัยนั้น แล.
บทว่า จีวเร วา มีความว่า ถ้าทายกผู้เคยถวายจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งตนนิมนต์ให้จำพรรษาแม้ในกาลก่อน ให้ภิกษุฉันแล้วกล่าวว่า ในกาลก่อน ข้าพเจ้าได้ถวายจีวรแก่พระผู้เป็นเจ้าเหล่าใด จีวรนี้ก็ดี เนยใส น้ำผึ้งและน้ำ อ้อยเป็นต้นก็ดี จงเป็นของพระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นแล ทุกอย่างย่อมถึงแก่ภิกษุ เหล่านั้น เท่านั้น.
บทว่า เสนาสเน วา มีความว่า เมื่อเขากล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าใด อยู่ในที่อยู่หรือในบริเวณที่ข้าพเจ้าสร้าง ผ้านี้จงเป็นของพระผู้เป็นเจ้านั้น ย่อม เป็นของภิกษุนั้นเท่านั้น.
บทว่า เภสชฺเช วา มีความว่า เมื่อเขากล่าวว่า พวกข้าพเจ้าถวาย เภสัชมีเนยใสเป็นต้น แก่พระเถระทั้งหลายทุกเวลา เภสัชเหล่านั้น อันพระ เถระเหล่าใดได้แล้ว; ผ้านี้จงเป็นของพระเถระเหล่านั้นเท่านั้น ดังนี้, ย่อมเป็น ของพระเถระเหล่านั้นเท่านั้น.
ถวายแก่บุคคล
ข้อว่า ถวายแก่บุคคล มีความว่า เขาถวายลับหลังอย่างนี้ว่าข้าพเจ้า ถวายจีวรนี้แก่ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ หรือวางไว้แทบบาทมูลถวายต่อหน้าอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าถวายจีวรนี้ แก่ท่านดังนี้ก็ดี. ก็ถ้าว่าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรนี้แก่ท่านด้วย แก่อันเตวาสิกทั้งหลายของท่านด้วย ดังนี้. ย่อมถึงแก่พระเถระและเหล่าอันเตวาสิก. ภิกษุมาเพื่อเรียนอุทเทส และผู้เรียน
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 373
แล้วจะไปมีอยู่, ย่อมถึงแม้แก่เธอ. เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุทั้ง หลายผู้เที่ยวอยู่เป็นนิตย์กับท่าน ย่อมถึงแก่อุทเทสันเตวาสิกทั้งปวง ผู้กระทำ วัตรเรียนอุทเทสและปริปุจฉาเป็นต้นเที่ยวไปอยู่. นี้เป็นวินิจฉัยในบทนี้ว่า ถวายแก่บุคคล. คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
อรรถกถาจีวรขันธกะ จบ