กัมมักขันธกวรรณนา
[เล่มที่ 8] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑
พระวินัยปิฏก เล่ม ๖
จุลวรรค ปฐมภาค
สมันตปาสาทิกา
จุลวรรค
กัมมักขันธกวรรณนา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 8]
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 194
สมันตปาสาทิกา
จุลวรรค
กัมมักขันธกวรรณนา
ตัชชนียกรรม
วินิจฉัยในกัมมักขันธกะเป็นที่ ๑ แห่งจุลวรรค พึงทราบก่อน ดังนี้ :-
บทว่า ปณฺฑุกโลหิตกา ได้แก่ชน ๒ ในพวกฉัพพัคคีย์ คือ ปัณฑุกะ ๑ โลหิตกะ ๑ แม้นิสิตทั้งหลายของเธอทั้ง ๒ ก็ปรากฏชื่อว่า ปัณฑุกะ และ โลหิตกะ เหมือนกัน.
สามบทว่า พลวา พลวํ ปฏิมนฺเตถ มีความว่า ท่านทั้งหลาย จงโต้ตอบให้ดี ให้แข็งแรง.
บทว่า อลมตฺถตรา จ คือเป็นผู้สามารถกว่า.
ในองค์ ๓ มี อสมฺมุขา กตํ เป็นต้น มีความว่า กรรมที่ทำคือ ฟ้องร้องไม่พร้อมหน้าสงฆ์ ธรรมวินัย และบุคคล, ไม่สอบถามก่อนทำ, ทำด้วยไม่ปฏิญญาแห่งบุคคลนั้นแล.
บทว่า อเทสนาคามินิยา ได้แก่ ทำด้วยอาบัติปาราชิกหรือ สังฆาทิเสส.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 195
บรรดาติกะเหล่านี้ ๙ บท ใน ๓ ติกะต้น ทรงผสมทีละบทๆ กับ ๒ บทนี้ คือ อธมฺเมน กตํ วคฺเคน กตํ ตรัสเป็น ๙ ติกะ.
รวมทั้งหมดจึงเป็น ๑๒ ติกะ ด้วยประการฉะนี้.
๑๒ ติกะนี้แล ตรัสไว้แม้ในสุกกปักษ์ ด้วยอำนาจแห่งฝ่ายเป็น ข้าศึกกัน.
สองบทว่า อนนุโลมิเกหิ คิหิสํสคฺเคหิ มีความว่า ด้วยการ คลุกคลีกับคฤหัสถ์ มีความเป็นผู้มีความเศร้าโศกกับเขาเป็นต้น ซึ่ง ไม่สมควรแก่บรรพชิต.
ข้อว่า น อุปสมฺปาเทตพฺพํ เป็นต้น มีความว่า เป็นอุปัชฌาย์ อยู่แล้ว ไม่พึงให้กุลบุตรอุปสมบท, ไม่พึงให้นิสัยแก่ภิกษุอาคันตุกะ, ไม่ พึงรับสามเณรอื่นไว้.
สองบทว่า อญฺา วา ตาทิสิกา ได้แก่อาบัติที่เสมอกัน.
บทว่า ปาปิฏฺตรา ได้แก่ อาบัติที่หนักกว่า
กรรม นั้น ได้แก่ ตัชชนียกรรม.
กรรมอันภิกษุเหล่าใดทำแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า ผู้ทำกรรม.
ข้อว่า น สวจนี ยํ กาตพฺพํ มีความว่า คนอันภิกษุใดโจท แล้วอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจะฟ้องท่านเป็นจำเลยในคดีนี้ และท่านอย่าก้าวออก จากอาวาสนี้แม้ก้าวเดียว ตลอดเวลาที่อธิกรณ์นั้นยังระงับไม่เสร็จ ภิกษุ นั้นอันตนไม่พึงทำให้เป็นผู้ให้การ.
บทว่า น อนุวาโท มีความว่า ไม่พึงรับตำแหน่งหัวหน้าในวัด.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 196
บทว่า น โอกาโส มีความว่า ไม่พึงให้ภิกษุอื่นทำโอกาสอย่างนี้ ว่า ท่านจงทำโอกาสแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นผู้ใคร่จะพูดกะท่าน.
ข้อว่า น โจเทตพฺโพ มีความว่า ไม่พึงโจทภิกษุอื่นด้วยวัตถุ หรืออาบัติ, คือไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การด้วยคำว่า นี้เป็นโทษของท่านหรือ?
ข้อว่า นํ สมฺปโยเชตพฺพํ มีความว่า ไม่พึงช่วยกันและกัน ให้ทำความทะเลาะ.
คำว่า ติณฺณํ ภิกขเว ภิกฺขูนํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ไว้ เพื่อแสดงว่า สงฆ์สมควรลงตัชชนียกรรม ด้วยองค์แม้อันหนึ่งๆ.
จริงอยู่ ความเป็นผู้ทำความบาดหมาง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เป็นองค์พิเศษ สำหรับภิกษุผู้ควรขู่, ความเป็นผู้มีอาบัติเนืองๆ ตรัสไว้ เป็นองค์พิเศษ สำหรับภิกษุควรไร้ยศ, ความเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล ตรัส ไว้เป็นองค์พิเศษ สำหรับภิกษุผู้ควรขับไล่, แต่สงฆ์สมควรจะทำกรรมแม้ ทั้งหมด ด้วยองค์อันใดอันหนึ่งใน ๓ องค์นี้.
หากจะมีคำท้วงว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น, คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในจัมเปยยักขันธกะว่า สงฆ์ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรจะลงตัชชนียกรรม. ฯลฯ อัพภานผู้ควรอุปสมบท, อุบาลี กรรมไม่เป็นธรรมและกรรมไม่ เป็นวินัย ย่อมมีอย่างนี้แล ก็แลเมื่อเป็นอย่างนั้น สงฆ์ย่อมเป็นผู้มีโทษ ดังนี้ ย่อมแย้งกับคำว่า ติณฺณํ ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ เป็นต้นนี้.
เฉลยว่า อันคำนี้จะแย้งกันหามิได้.
เพราะเหตุไร? เพราะใจความแห่งคำต่างกัน.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 197
จริงอยู่ กรรมสันนิษฐานเป็นใจความแห่งคำนี้ว่า ตชฺชนีย กมฺมารหสฺส เป็นต้น. สภาพแห่งองค์เป็นใจความแห่งคำ เป็นต้นว่า ติณฺณํ ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ดังนี้. เพราะเหตุนั้น สงฆ์ประชุมกันทำกรรม สันนิษฐานว่า จะทำกรรมชื่อนี้ แก่ภิกษุนี้ ดังนี้ ในกาลใด, ในกาลนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้ชื่อว่า ควรแก่กรรม เพราะเหตุนั้นโดยลักษณะนี้ พึง เข้าใจว่ากระทำนิยสกรรมเป็นต้น แก่ภิกษุผู้ควรแก่ตัชชนียกรรมเป็นต้น เป็นกรรมผิดธรรม และเป็นกรรมผิดวินัย.
ก็ในองค์ทั้งหลาย มีความเป็นผู้ทำความบาดหมางเป็นต้น องค์ อันใดอันหนึ่งมีแก่ภิกษุใด. สงฆ์ปรารถนาจะทำแก่ภิกษุนั้น พึงกำหนด กรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยองค์อันใดอันหนึ่ง ในองค์ และกรรมทั้ง หลายตามที่ทรงอนุญาตไว้แล้ว พึงทำภิกษุนั้นให้เป็นผู้ควรแก่กรรมแล้วทำ กรรมเถิด. วินิจฉัยในคำทั้ง ๒ นี้เท่านี้ เมื่อถือเอาวินิจฉัยอย่างนี้ คำหลัง กับคำต้นย่อมสมกัน.
ในบาลีนั้น กรรมวาจาในตัชชนียกรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้ทำความบาดหมาง แม้โดยแท้, ถึงกระนั้น เมื่อจะ ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก สงฆ์พึงทำ กรรมวาจาด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้เป็นพาล ไม่ฉลาด. จริงอยู่ เมื่อทำอย่าง นั้น กรรมเป็นอันทำแล้วด้วยวัตถุที่มี, และไม่เป็นอันทำด้วยวัตถุแห่ง กรรมอื่น.
เพราะเหตุไร?
เพราะเหตุว่า แม้ตัชชนียกรรมนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 198
ให้ทำด้วยวัตถุ กล่าวคือความเป็นผู้พาล เป็นผู้ไม่ฉลาด ดังนี้แล. ใน กรรมทั้งปวงมีนัยเหมือนกัน.
ข้าพเจ้า จักพรรณนาวัตถุแห่งความประพฤติชอบ ๑๘ อย่าง ใน ปาริวาสิกักขันธกะ.
สองบทว่า โลมํ ปาเตนฺติ มีความว่า เป็นผู้หายเย่อหยิ่ง. อธิบายว่า ประพฤติตามภิกษุทั้งหลาย.
สองบทว่า เนตฺถารํ วตฺตนฺติ มีความว่า วัตรนี้เป็นของภิกษุ ทั้งหลายผู้ออก เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า เนตฺถารํ วัตรของผู้ออก.
อธิบายว่า ตนสามารถจะออกจากนิสสารณาด้วยวิธี ๑๘ อย่างใด, ย่อมประพฤติวิธี ๑๘ อย่างอันนั้นโดยชอบ.
ถามว่า ภิกษุผู้ถูกนิสสารณา บำเพ็ญวัตรสิ้นกาลเท่าไร?
ตอบว่า ๑๐ วัน หรือ ๒๐ วันก็ได้.
จริงอยู่ ในกัมมักขันธกะนี้ วัตรเป็นของที่ภิกษุพึงบำเพ็ญโดยวัน เท่านี้เท่านั้น.
นิยสกรรม
วินิจฉัยในเรื่องพระเสยยสกะ พึงทราบดังนี้:-
ข้อว่า อปิสสุ ภิกฺขู ปกตตฺตา มีความว่า ก็แต่ว่าภิกษุทั้ง หลายย่อมเป็นผู้ขวนขวายเป็นนิตย์
คำที่เหลือเช่นกับคำที่กล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 199
ปัพพาชนียกรรม
เรื่องพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในวรรณนาแห่งสังฆาทิเสส๑. แต่วินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า กายิเกน ทเวน ในเรื่องพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะนี้ พึงทราบดังนี้ :-
การเล่นเป็นไปทางกาย เรียกชื่อว่า ความคะนองเป็นไปทางกาย. แม้ใน ๒ บทที่เหลือ ก็นัยนี้แล.
ความละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ ในกายทวาร เรียกชื่อว่า อนาจารเป็นไปทางกาย. แม้ใน ๒ บทที่เหลือ ก็นัยนี้แล.
ความลบล้างด้วยข้อที่ไม่ศึกษาสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ในกายทวาร เรียกชื่อว่า ความลบล้างเป็นไปทางกาย.
อธิบายว่า การผลาญ คือล้างผลาญ. แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็นัยนี้ แล.
การหุงน้ำมันและดองยาเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งเวชกรรมที่ทำแก่ คนที่ทรงห้ามเป็นต้น เรียกชื่อว่า มิจฉาชีพเป็นไปทางกา การรับและ บอกข่าวสาส์นเป็นต้น ของพวกคฤหัสถ์ เรียกชื่อว่า มิจฉาชีพเป็นไป ทางวาจา. กิจทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่ามิจฉาชีพเป็นไปทั้งทางกายทั้งทางวาจา. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล.
ปฏิสารณียกรรม
ก็แลวินิจฉัยในเรื่องพระสุธรรม พึงทราบดังนี้:-
๑. สมนฺ ต. ทุติย. ๑๒๗
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 200
บทว่า อนปโลเกตฺวา ได้แก่ ไม่บอกเล่า.
บทว่า เอตทโวจ มีความว่า พระสุธรรมถามว่า คหบดีขาทนีย โภชนียะนั้น ท่านจัดเอาไว้เพื่อพระเถระทั้งหลายหรือ? ดังนี้แล้วให้ เปิดทั้งหมดเห็นแล้ว จึงได้กล่าวคำนี้.
คำว่า เอกา จ โข อิธ นตฺถิ, ยทิทํ ติลสงฺคุฬิกา มีความว่า ขนมนี้ใด เขาเรียกกันว่า ขนมแดกงา, ขนมนั้นไม่มี.
ได้ยินว่า ขนมแปลกชนิดหนึ่ง ได้มีในต้นวงศ์ของคหบดีนั้น. เพราะเหตุนั้น พระเถระประสงค์จะด่าคหบดีนั้นกระทบชาติ จึงกล่าว อย่างนั้น.
คำว่า ยเทว กิญฺจิ เป็นต้น มีความว่า เมื่อพุทธวจนะมีมาก อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าสุธรรมละพุทธวจนะเป็นอันมากซึ่งเป็นรัตนะเสีย กล่าวคำว่าขนมแดกงาซึ่งเป็นคำหยาบนั่นแล.
คหบดีแสดงเนื้อความนี้ ด้วยอุทาหรณ์เรื่องลูกไก่ว่า ลูกไก่นั้นไม่ ได้ขันอย่างกา ไม่ได้ขันอย่างไก่ฉันใด, ท่านไม่ได้กล่าวคำของภิกษุ ไม่ได้ กล่าวคำของคฤหัสถ์ฉันนั้น.
ติกะทั้งหลาย มีคำว่า อสมฺมุขา กตํ เป็นต้น มีประการดังกล่าว แล้วนั่นแล. ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ไม่เหมือนกับภิกษุรูปก่อนๆ.
บรรดาองค์เหล่านั้น มีคำว่า คิหีนํ อลาภาย เป็นต้น ความว่า คฤหัสถ์ทั้งหลายจะไม่ได้ลาภด้วยประการใด, เมื่อภิกษุขวนขวายคือ พยายามด้วยประการนั้น ชื่อว่า ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภ. ในอนัตถะเป็นต้น ก็นัยนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 201
บรรดาคำเหล่านั้น ความเสียประโยชน์ ชื่อ อนัตถะ.
บทว่า อนตฺถาย ได้แก่ เพื่อความเสียประโยชน์.
ความอยู่ในที่นั้นไม่ได้ ชื่อว่าความอยู่ไม่ได้.
ข้อว่า คิหีนํ พุทฺธสฺส อวณฺณํ มีความว่า กล่าวติพระพุทธเจ้าในสำนักคฤหัสถ์.
ข้อว่า ธมฺมิกํ ปฏิสฺสวํ น สจฺจาเปติ มีความว่า ความรับ จะเป็นจริงได้ด้วยประการใด เธอไม่ทำด้วยประการนั้น; คือ รับการ จำพรรษาแล้วไม่ไป หรือไม่ทำกรรมเห็นปานนั้นอย่างอื่น.
คำว่า ปญฺจนฺนํ ภิกฺขเว เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพื่อแสดงข้อที่ภิกษุผู้ควรแก่กรรม แม้ด้วยองค์อันเดียว.
คำที่เหลือในเรื่องนี้ มีความตื้น และมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมทั้งนั้น.
อุกเขปนียกรรม
วินิจฉัยในเรื่องพระฉันนะ พึงทราบดังนี้ :-
คำว่า อาวาสปรมฺปรญฺจ ภิกฺขเว สํสถ มีความว่า และ ท่านทั้งหลายจงบอกในอาวาสทั้งปวง.
ในบทว่า ภณฺฑนการโก เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า สงฆ์พึงยก อาบัติที่ต้อง เพราะปัจจัยมีความบาดหมางเป็นต้น กระทำกรรมเพราะไม่ เห็นอาบัตินั้นนั่นแล.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 202
ติกะทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้วเหมือนกัน. แต่ความประพฤติ ชอบในเรื่องพระฉันนะนี้ มีวัตร ๔๓ ข้อ.
บรรดาวัตรเหล่านั้น ข้อว่า น อนุทฺธํเสตพฺโพ ได้แก่ ไม่พึง โจทภิกษุอื่น.
ข้อว่า น ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ ได้แก่ ไม่พึงยุภิกษุอื่นกับภิกษุอื่นให้ แตกกัน.
ข้อว่า น คิหิโช ได้แก่ ไม่พึงทรงผ้าขาว ผ้าไม่ได้ตัดชาย และผ้ามีลายดอกไม้.
ข้อว่า น ติตฺถิยธโช ได้แก่ ไม่พึงทรงผ้าคากรองเป็นต้น.
ข้อว่า น อาสาเทตพฺโพ ได้แก่ ไม่พึงรุกรานภิกษุอื่น.
สองบทว่า อนฺโต วา พหิ วา ได้แก่ จากข้างในก็ดี จาก ข้างนอกก็ดี แห่งกุฎีที่อยู่.
สามบท มีบทว่า น ติตฺถิยา เป็นต้น ตื้นทั้งนั้น.
ข้าพเจ้าจักพรรณนาบทที่เหลือทั้งหมด ในปาริวาสิกักขันธกะ.
คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล.
อุกเขปนียกรรมในเพราะไม่ทำคืนอาบัติ คล้ายกับอุกเขปนียกรรม ในเพราะไม่เห็นอาบัตินี้แล.
เรื่องอริฏฐภิกษุ ได้กล่าวแล้วในวรรณนาแห่งขุททกกัณฑ์.๑
วินิจฉัยในบทว่า ภณฺฑนการโก เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
๑. สมนต. ทุติย. ๔๖๓.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 203
ภิกษุอาศัยทิฏฐิใด จึงทำความบาดหมางเป็นต้น, พึงทำกรรม ใน เพราะไม่สละทิฏฐินั้นนั่นแล
บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล.
แม้ความประพฤติชอบในอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิลามกนี้ ก็มีวัตร ๔๓ ข้อ เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้.
กัมมักขันธกวรรณนา จบ