พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปัญจสติกักขันธกวรรณนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42849
อ่าน  463

[เล่มที่ 9] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๗

จุลวรรค ทุติยภาค

ปัญจสติกักขันธกวรรณนา 527

วินิจฉัยในปัญจสติกักขันธกะ 527


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 9]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 527

ปัญจสติกักขันธก วรรณนา

วินิจฉัยในปัญจสติกักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า ปญฺจ นิกาเย ปุจฺฉิ มีความว่า ท่านพระมหากัสสปะ ถามนิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย อังคุตตรนิกาย สังยุตตนิกาย ขุททกนิกาย.

คำอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เสีย สิกขาบทที่เหลือ เป็นสิกขาบทเล็ก และเล็กน้อย เป็นอาทิ พระสังคาหก์เถระทั้งหลายกล่าวแล้วโดยปริยาย เพื่อ แสดงความที่สิกขาบททั้งปวง อันท่านฟังรวบรวมเอาไว้ ไม่ละทิ้งแม้สิกขาบท เดียว.

หลายบทว่า อิทํ โว สมณานํ มีความว่า นี้ สมควรแก่สมณะ ทั้งหลาย. โว อักษร ใช้ในอรรถสักว่ายังบทให้เต็ม.

บทว่า ธูมกาลกํ มีความว่า ควันแห่งจิตกาธารเป็นที่ปรินิพพาน ของพระสมณะ ยังปรากฏอยู่เพียงใด, กาลเพียงนั้น เป็นกาลแห่งสิกขาบทที่ พระสมณะทรงบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย.

คำว่า อิทํปิ เต อวุโส อานนฺท ทุกฺกฏํ นี้ อันพระเถระ ทั้งหลาย เพียงแต่จะติว่า กรรมนี้อันท่านทำไม่ดีแล้ว จึงกล่าวแล้ว, หาได้ กล่าวหมายถึงอาบัติไม่. อันพระเถระเหล่านั้น จะไม่รู้จักอาบัติ และมิใช่อาบัติ หามิได้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 528

จริงอยู่ ในบัดนี้เอง ท่านพระมหากัสสปะได้ประกาศคำนี้ว่า สงฆ์ไม่ บัญญัติสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงบัญญัติไว้. ไม่เลิกถอนสิกขาบทที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว.

อนึ่ง แม้คำว่า เทเสหิ ตํ อาวุโส ทุกฺกฏํ นี้ อันพระเถระ ทั้งหลาย กล่าวหมายถึงความประสงค์นี้ว่า ท่านจงปฏิญญาการไม่ทูลถามนั้นว่า เป็นการทำเสีย อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทำไม่ดีจริง จะกล่าวหาถึง การแสดงอาบัติ หามิได้.

ฝ่ายพระเถระไม่ทูลถามแล้ว เพราะระลึกไม่ได้ หาใช่เพราะไม่เอื้อ เฟื้อไม่; เพราะฉะนั้น ท่านเมื่อกำหนดไม่ได้ แม้ซึ่งความเป็นการทำเสีย เพราะไม่ทูลถามนั้นๆ จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นควานทำเสียนั้น เมื่อจะแสดง ความเคารพในพระเถระทั้งหลาย จึงกล่าวว่า แต่ข้าพเจ้าเชื่อ (๑) ท่านทั้งหลาย ขอแสดงความทำเสียนั้น.

มีคำอธิบายว่า ท่านทั้งหลายกล่าวอย่างใด, ข้าพเจ้ายอมปฎิญญาอย่าง นั้น. ในสถานทั้ง ๔ แม้ที่เหลือมีนัยเหมือนกัน.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า มา ยิมา วิกาเล อเหสุํ โดยอธิบายว่า การไปในเวลาวิกาลของสตรี อย่าได้มีแล้ว.

สองบทว่า รโชหรณํ กริสฺสาม มีความว่า อาตมภาพทั้งหลาย จักชุบน้ำบิดแล้วเช็ดพื้นที่ทำบริกรรม.

สองบทว่า น กุลวํ คเมนฺติ มีอธิบายว่า สมณศากยบุตรเหล่านี้ ไม่เก็บงำไว้ในคลัง.


(๑) ในโยชนาเป็น สทฺธาย.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 529

สองบทว่า ยทคฺเคน ตยา มีความว่า ถ้าว่า พระอรหัตอันท่าน ทำให้แจ้งแล้ว ในกาลเริ่มแรกทีเดียว ฉะนี้แล.

คำใดที่จะพึงกล่าว ซึ่งยังเหลือ จะพึงมีในปัญจสติกกักขันธกะนี้ คำนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวในนิทานวรรณนาเสร็จแล้ว.

ปัญจสติกักขันธก วรรณนา จบ

 
หัวข้อถัดไป
หัวข้อก่อนหน้า

หน้าบัญชีเรื่อง