การพูดจาดูถูกคนอื่นด้วยความโกรธ
เป็นจิตที่เป็นมานะเกิดร่วมกับโทสะใช่มั๊ยครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มานะ คือ ความสำคัญตน สำคัญกว่าดีกว่าเขา เสมอเขา ต่ำกว่าเขา ขณะที่ เปรียบเทียบมีการสำคัญตนเช่นนี้ ขณะนั้น มีมานะเจตสิกทีเกิดกับโลภมูลจิตครับ พระอรหันต์เท่านั้น ที่สามารถดับมานะได้จนหมดสิ้น เป็นสมุจเฉท. ซึ่งพระธรรมมีความละเอียดลึกซึ้ง และละเอียดมาก เพราะ ละเอียด เพราะเป็น การเกิดขึ้นของนามธรรมที่เป็นจิต เจตสิก ที่ไม่สามารถเห้นได้ด้วตาธรรมดา แต่ ต้องเห็นด้วย ตา คือ ปัญญา และ เพราะความเกิดดับองจิตแต่ละขณะนั้น รวดเร็ว มากๆ ครับ จึงเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง
แม้แต่ประเด็นในส่วนของมานะ ซึ่ง มานะ แบ่งเป็นดังนี้ คือ สำคัญตนว่า เลิศกว่าเขา วำคัญตนว่า เสมอเขา สำคัญตนว่า ด้อย กว่าเขา ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว มานะเจตสิก ความสำคัญตน ย่อมเกิดกับโลภมูลจิต เท่านั้น ไม่เกิดกับจิตประเภทอื่น แม้โทสมูลจิตเลย ซึ่งเหตุผลก็น่าพิจารณาครับ ว่า หากมองที่ลัษณะของมานะแล้ว คือ ความสำคัญตน เปรียบเทียบ การที่สำคัญ ตน ขณะนั้น ก็ต้องมีความยินดีพอใจในตนเอง จึงมีการเปรียบเทียบ ขณะที่เปรียบ เทียบ ก็ยินดีพอใจในขณะที่เปรียบเทียบ ไม่ว่าจะเปรียบเทียบโดยนัยใด เช่น เปรียบ เทียบว่า ตนเหนือกว่า ก็ยินดีพอใจในการเปรียบเทียบในขณะนั้นที่ตนเหนือกว่า และ ขณะที่เปรียบเทียบว่า ตนเองเสมอกว่า ก็ยินดีพอใจ ติดข้องในการเปรียบเทียบ ว่าตนเสมอเขา และ แม้ขณะที่สำคัญตน เปรียบเทียบว่าตนด้อยกว่า ขณะที่เปรียบ เทียบ ยินดีพอใจในการเปรียบเทียบ ถ้าไม่ยินพอใจ ติดข้องในการเปรียบเทียบ ก็ จะไม่เปรียบเทียบเลย ยินดีพอใจในตนเองแม้จะด้อย แต่ก็ติดข้องในความด้อย ของตนเองนั่นแหละ เปรียบเทียบด้วยความติดข้องพอใจในตนเองที่ด้อย จึงเปรียบ เทียบ การเปรียบเทียบ สำคัญตนว่าด้อยกว่าจึงเกิดร่วมกับโลภะที่เป็นความติดข้อง ยินดีพอใจ ครับ
แต่เพราะความเกิดขึ้นของจิต เจตสิกทีเกิดดับอย่างรวดเร็ว เมื่อ เปรียบเทียบว่าตนเองด้อยกว่า จิตขณะต่อไป ก็หดหู่ใจ ที่รู้สึกน้อยใจในความต่ำ ของตนเองก็ได้ ขณะนั้น จิตเป็นโทสะ ซึ่งขณะที่น้อยใจ รู้สึกไม่พอใจ ต่ำต้อย ขณะนั้นไม่ได้เปรียบเทียบ จึงไม่ใช่ขณะที่มีมานะ แต่เพราการเกิดดับสืบต่อกัน อย่างรวดเร็ว จึงสำคัญผิดว่าเป็นมานะ ในขณะที่รู้สึกไม่พอใจ น้อยใจ ได้ ครับ นี่คือความละเอียดของพระธรรม
ขณะที่เปรียบเทียบด้วยการดูถูกต่ำกว่า ขณะนั้นเป็นมานะ ไม่ใช่โทสะ แต่ขณะต่อมาที่ขุ่นใจเป็นโทสะ ขณะนั้นไม่ได้เปรียบเทียบ นี่คือการเกิดดับสลับกันอย่างรวดเร็วของสภาพธรรม ที่เป็นมานะ โลภะและโทสะอย่างรวดเร็ว จนสำคัญว่าเกิดร่วมกันได้ครับ
ขอเชิญอ่านคำบรรยาย ท่าน อ.สุจินต์ ดังนี้ครับ
ผู้ถาม โทสะมาทำให้เราขุ่นเคืองใจ เราก็มีความสำคัญตนในขณะนั้นว่าทำไมจะต้องมาทำกับเราอย่างนี้ อันนี้ใช่สภาพธรรมหรือไม่ คือยังไม่ค่อยเข้าใจ
สุ. ที่คุณสุกัญญากล่าวถึงจิตเกิดดับมากไหม
ผู้ถาม มาก
สุ. หลายประเภทหรือประเภทเดียว
ผู้ถาม ก็น่าจะหลายประเภท
สุ. ขณะที่กำลังเห็นเหมือนได้ยินด้วยใช่ไหม
ผู้ถาม ใช่
สุ. ฉันใด เวลาที่รู้สึกว่าสภาพธรรมนี้น่าจะเกิดในขณะนั้น เพราะเหตุว่า ไม่รู้ว่าเป็นต่างขณะจึงได้เข้าใจว่าขณะที่มานะเกิด มีความรู้สึกไม่สบายเลย จิตที่สำคัญตนจะสบายได้ยังไง ใช่ไหม ขณะนั้นก็เลยเข้าใจว่าเกิดร่วมกับโทสะ แต่ความจริงต้องเป็นจิตต่างประเภท เพราะว่าขณะใดที่มีความยึดถือ มีความติดข้อง จึงมีความสำคัญในสิ่งนั้น เพราะมีความคิดว่าเป็นเรา เราสำคัญก็เกิดขึ้น
ผู้ถาม แต่จริงๆ แล้วไม่ได้เกิดร่วมกันใช่ไหม
ส. ต้องแยกกัน มานะไม่เกิดร่วมกับโทสมูลจิตเลย มานะกับโทสะจะเกิดร่วมกันไม่ได้ มานะจะเกิดร่วมกับโลภะ
ผู้ถาม แต่เกิดสลับกันได้
สุ. แน่นอน เหมือนเห็นกับได้ยินเดี๋ยวนี้ ไม่ได้พร้อมกันเลย
ผู้ถาม อย่างนี้ก็น่าจะมีโมหะของความไม่รู้อยู่ด้วย
สุ. ทั้งหมดมี แต่ไม่รู้เมื่อไหร่
ผู้ถาม มานะไม่เกิดร่วมกับโทสะ แล้วโทสะเกิดร่วมกับอะไรได้บ้าง
วิ. โทสะไม่ได้เกิดเพียงประเภทเดียว แต่ว่าโทสะแน่นอนจะเกิดร่วมกับโมหะเป็นความไม่รู้ และก็อกุศลสาธารณะที่เป็นเจตสิกด้วยที่เกิดกับอกุศลจิตทุกประเภท ก็คือโมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ และ อุธัจจะ เจตสิก ๔ ประเภทนี้ก็เป็นสภาพธรรมที่เกิดกับอกุศลจิตทุกประเภทเลย
ส่วนในกลุ่มของโทสะเองก็จะมีเจตสิกที่สามารถเกิดเฉพาะกับโทสะเท่านั้น แต่ว่าเกิดไม่พร้อมกันเลย
ซึ่งในกลุ่มของโทสะก็มีโทสเจตสิกประเภทหนึ่ง แล้วก็มีอิสสาประเภทหนึ่ง มัจฉริยะประเภทหนึ่ง แล้วก็กุกกุจจะอีกประเภทหนึ่ง ก็เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ก็มีลักษณะต่างกันและก็เกิดไม่พร้อมกันด้วยดังที่กล่าวแล้ว
กุล ซึ่งจริงๆ แล้วจะเห็นได้ว่าขณะที่มีความสำคัญตนขณะหนึ่ง แต่ขณะที่ไม่พอใจในอารมณ์นั้นก็อีกขณะหนึ่ง แต่ความรวดเร็วของจิตและเราก็มีการสะสมการที่ติดข้องคำชม แต่ถ้าใครมาติเตียนเราจะไม่ชอบ เพราะฉะนั้นเราก็เกิดโทสะขึ้นมาในส่วนนั้น ซึ่งจริงๆ แล้วเราก็จะเห็นความรวดเร็วของจิต และถ้าเราสะสมความติดข้องมาก โทสะก็เกิดมากและจะเห็นกำลังของโทสะ บางทีแล้วเกิดนานโดยที่มานะนิดเดียวแล้วก็หายไปแล้ว นี่ก็เป็นชีวิตประจำวันเห็นถึงการที่อกุศลจิตมีจริง แต่ถ้าเราไม่รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง ก็ยากที่จะเห็นถึงความเป็นธรรม ส่วนใหญ่เราก็จะรู้โดยชื่อแต่ต้องรู้โดยลักษณะของสภาพธรรม แต่ก่อนที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมก็ต้องเป็นไปตามลำดับขั้น ก็ต้องขั้นของการฟังพระธรรมที่ทรงแสดง รู้ถึงความเป็นนามธรรมและรูปธรรม สภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรมแล้วมีสภาวะ มีลักษณะ ถ้าเราเข้าถึงลักษณะที่มีจริงแล้วจะเป็นปัจจัยให้เรารู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม
ขออนุโมทนา