สงสารคนที่นินทา เขาต่างหาก ที่ต้องรับกรรม

 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่  20 มี.ค. 2565
หมายเลข  42900
อ่าน  568

พระธรรมเตือนให้เป็นผู้ละเอียด เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม ไม่มีคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้แต่บทเดียวที่สอนให้โกรธ

บันทึกบางตอน จากการสนทนา ฆัตวาสูตร โดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ประธานกรรมการมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา และคณะอาจารย์วิทยากร ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา วันเสาร์ที่ ๑๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๙

ติดตามบันทึกต้นฉบับได้ที่ลิงก์ด้านล่าง :


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 20 มี.ค. 2565

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 20 มี.ค. 2565

    กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ ด้วยความเคารพอย่างสูง และกราบยินดีในความดีอาจารย์วิทยากรทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
puangpetch
วันที่ 23 มี.ค. 2565

ถอดคำบรรยายธรรม
สงสารคนที่นินทา

อ.อรรณพ : ความโกรธส่วนใหญ่ก็จะเป็นไปในสัตว์บุคคลนี้เยอะครับท่านอาจารย์ ก็ด้วยความเป็นเรา ที่คิดว่า มีเรา มีเขา

มีข้อความส่วนหนึ่งท่านพูดถึงความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย เมื่อรู้ว่ามีการว่าถูกว่าหรือถูกนินทา ส่วนใหญ่ก็จะต้องโกรธ แต่จะมากจะน้อยแค่ไหน อย่างที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า ยังไงก็ยังจะต้องโกรธอยู่ ถ้าไม่สามารถที่จะเป็นพระอนาคามีได้ยังต้องโกรธ เพียงแต่ว่าจะหนักจะเบา คิดถึงประโยชน์แค่ไหน

ท่านอาจารย์สุจินต์ : สองคำนะคะ ที่ว่า ไม่มีทางที่จะไม่โกรธถ้าถูกนินทา ใช่ไหมคะ พอถูกนินทาก็โกรธนี่แน่ๆ เลย ใช่ไหมคะ พูดไม่จริง ใช่ไหมที่เรียกว่านินทา ถ้าพูดจริงจะเรียกว่านินทาไหม ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้น ถ้าถูกนินทาคือถูกกล่าวในเรื่องที่ไม่จริงนะคะ

ทุกคนโกรธ แต่ผู้ที่มีปัญญาสะสมมาแล้วนะคะ สงสารคนนินทา เขาต่างหากที่ต้องรับกรรม ใช่ไหมคะ แต่ถ้าเราโกรธก็ไม่สมควร เพราะเราก็สะสมมาที่ยังไม่ได้ดับกิเลส

แต่สามารถที่ปัญญาจะเกิดขึ้นทำกิจเข้าใจถูกต้อง แท้ที่จริงใครน่าสงสาร ก็คือคนนินทานั่นแหล่ะ ที่ไม่รู้ความจริงแล้วก็เจตนายังไงก็แล้วแต่ใช่ไหมคะ แต่เมื่อพูดโดยที่ไม่ได้ไตร่ตรองให้ถูกต้อง ก็เหมือนนินทา ซึ่งทำความเสียหายให้กับคนอื่นด้วย ไม่คิดถึงโทษนี้หรือ

เพราะฉะนั้น จึงต้องเป็นผู้ที่รอบคอบนะคะ ในเรื่องของกุศลและอกุศล แม้แต่เพียงคำพูดนี่ค่ะ เพราะว่าคำพูดนั้นเข้าใจว่าถูก แต่ความจริงผิด เมื่อผิดก็ไม่จริง เพราะฉะนั้น ฟังแล้วอย่าเพิ่งเชื่อ พิจารณาก่อน คำนั้นจะถูกหรือ จะเป็นไปได้ไหม

อ.อรรณพ : คือจริงๆ นินทาอะไรนี่ก็มีมาคู่โลกจริงๆ แม้กระทั่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระสาวกก็ดีนะครับ ท่านก็ถูกว่าร้ายอย่างนี้ แล้วเมื่อมีการว่าร้าย ขนาดพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นการว่าร้ายที่ไม่มีทางจะเป็นความจริงเลย ไม่ว่าจะเป็นนางสุนทรีบ้าง นางจิญจมาณวิกาบ้าง แต่ก็มีคนส่วนหนึ่งซึ่งไม่น้อยเลยที่เชื่อ จนกระทั่งความจริงปรากฏออกมา

ท่านอาจารย์สุจินต์ : เพราะฉะนั้น คำพูดต้องระวังมากนะคะ ถ้าเรื่องไม่จริงเป็นโทษมาก เพราะมีคนเชื่ออีกมาก ที่จะพลอยหลงเป็นอกุศลไปด้วย

อ.อรรณพ : แล้วก็ทำให้เป็นโทษเกิดความเสียหายกับพระศาสนาด้วยนะครับ เพราะฉะนั้น นี่ก็คือ ที่ท่านอาจารย์กล่าวเมื่อสักครู่ ว่าอย่าเพิ่งด่วนเชื่อ ไม่ว่าที่จะได้ยินอะไรก็ตาม เพราะว่าการที่เชื่อแล้วก็พูดตามๆ กันนี่ ก็อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายโดยเฉพาะในทางธรรม ในธรรม ในอะไร ซึ่งก็เป็นโทษ

ท่านอาจารย์สุจินต์ : แล้วที่สำคัญนะคะ พูดคำนี้แต่ไปถึงอีกหูหนึ่งก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แล้วก็เติมไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะกี่หู ก็ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะฉะนั้นต้องเห็นโทษของคำที่จะพูดว่าถ้าพูดไม่จริง ไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อนนะคะ ย่อมทำให้เกิดความเสียหายมาก

อ.อรรณพ : เมื่อโกรธแล้วก็ไม่มี ก็ไม่เป็นประโยชน์อะไรในเรื่องการนินทา ก็จะเป็นเหตุให้เกิดการคับแค้นกระวนกระวายว่า เอ๊ะเขามาว่าเราทำไม เรื่องไม่จริงแท้ๆ เอ๊ะทำไมถึงเชื่อ ผมเองผมก็เป็นเยอะครับท่านอาจารย์ แต่ว่าถ้าไม่ได้พระธรรมก็อาจจะโทสะอาจจะมีกำลังมากกว่านี้

ท่านอาจารย์สุจินต์ : เพราะฉะนั้น จะเห็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำนะคะ เป็นปัญญาและเป็นประโยชน์ทั้งหมด

อ.อรรณพ : เพราะฉะนั้น ก็เป็นประโยชน์มากๆ เลย ที่ท่านอาจารย์ได้นำพระธรรมที่ถูกต้องมานะครับ แล้วเราก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น

ท่านอาจารย์สุจินต์ : ทุกคำมีประโยชน์นะคะ เตือน ไม่ได้หมายความว่า เราจะหมดกิเลส แต่ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ สะสม สังขารขันธ์ทั้งหลายนี่ก็ปรุงแต่งไปตามกำลังของปัญญาที่เข้าใจประโยชน์

อ.อรรณพ : แล้วก็ชอบข้อความเมื่อกี้นี้ คงจะเป็นกุศลของผมที่เปิดเจอพอดีนะครับว่า มิฉะนั้นถ้าเราไปโกรธการที่นินทา ความโกรธเกิดเพราะการนินทานี่ เราก็จะคับแค้นกระวนกระวายใจว่า เอ๊ะทำไมไม่จริงก็ยังเชื่อยังพูดยังอะไรกันไป

ท่านอาจารย์สุจินต์ : เพราะฉะนั้น ทางที่ดีที่สุดนะคะ ถ้าได้ยินได้ฟังแล้วอย่าเพิ่งเชื่อ แล้วต้องสอบถามตรงจะได้คำตอบที่ถูกต้อง แทนที่จะคิดเอง

อ.อรรณพ : ไม่สอบถามว่า ก็พูดต่อกันไปเรื่อยๆ แล้วก็คิดว่าเป็นจริง

ท่านอาจารย์สุจินต์ : นั่นคือผิดไงคะ แต่ถ้ามีการนินทาหรือมีการพูดเรื่องราวใดๆ ก็ตามนะคะ อย่าเพิ่งเชื่อ สิ่งนั้นสมควรไหม จะเป็นไปได้ไหมนะคะ และทางที่จะถูกต้องที่สุดคือไม่คิดเองก็คือสอบถามบุคคลนั้นโดยตรง แล้วจะได้คำตอบจากบุคคลนั้นเอง

อ.วิชัย : แม้ในพระวินัยครับท่านอาจารย์ แม้จะมีคนกล่าวเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาแก่ภิกษุที่ประพฤติสิ่งที่ไม่สมควร พระผู้มีพระภาคก็ให้มาแล้วก็ทรงก็สอบถามด้วยพระองค์เองว่า กระทำอย่างนั้นจริงหรือเปล่าครับท่านอาจารย์ แม้พระองค์จะทรงทราบอยู่แต่ก็ทรงสอบถาม

อ.คำปั่น : ครับก็เป็นประโยชน์มากเลยนะครับ แล้วก็ข้อความที่ท่านอาจารย์กับอาจารย์วิทยากรได้สนทนาเมื่อสักครู่นี้นะครับ ก็ตรงกับข้อความที่ได้ฟัง ที่ท่านอาจารย์ได้อัญเชิญจากจริยาปิฎกนะครับว่า สิ่งที่ไม่ดี เรื่องเสียหายที่กระทำให้กับผู้ที่ไม่มีปัญญา ก็จะเพิ่มพูนความไม่อดทนนะครับ แต่ถ้าเกิดกับผู้ที่มีปัญญา ก็เพิ่มพูนความอดทนยิ่งขึ้นนะครับ ก็คือเพิ่มพูนขันติบารมี เพราะว่าท่านเหล่านั้น เป็นผู้ที่เข้าใจถูกเห็นถูกในธรรมตามความเป็นจริงครับ

กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

กราบขอบพระคุณอาจารย์วิทยากรทุกท่าน

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 23 มี.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ