จดจ้อง ต้องการ ต่างจากลักษณะสติอย่างไรคะ

 
ปทุม
วันที่  23 มี.ค. 2565
หมายเลข  42915
อ่าน  542

วันนี้หนูขอถามเรื่องการเจริญสติปัฏฐานอีกนะคะ เพราะเป็นเรื่องที่ทั้งละเอียด และต้องจริงใจ ซึ่งส่วนตัวหนูลึกๆ หวังอยากเจริญสติปัฏฐาน สังเกตุความเกิดดับทั้งวันเพื่อจะได้เข้าใจเร็วๆ เพราะอยู่ในขั้นฟังหลายปีแล้ว และการสังเกตุความเกิดดับในความรู้สึกของหนู มันคล้ายตอนที่1ในพื้นฐานพระอภิธรรม ว่าธรรมคือทุกอย่างที่มีจริงที่เกิดดับมันคล้ายกันมากสำหรับในความรู้สึกของหนูเลยค่ะ แต่พอฟังไปๆ อาจารย์ก็จะกล่าวว่าไม่ใช่เรื่องของการจดจ้อง ต้องการ และไม่มีวิธีปฏิบัติ

ตอนนี้หนูเลยอยากตั้งต้นใหม่อีกครั้ง เพราะฟังแล้วมันมีความคล้าย และหนูอยากขอร้องให้อาจารย์ขยายรายละเอียดของคำว่าใส่ใจที่เป็นลักษณะของสติ ว่าแตกต่างจากการจดจ้องต้องการอย่างไรคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 25 มี.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสััมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งที่มีจริงในขณะนี้ นั่นเอง ที่จะเป็นที่ตั้งให้สติเกิดขึ้นระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ และปัญญารู้ตามความเป็นจริง (สติปัฏฐาน) เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยจริงๆ ไม่ใช่เรื่องหวัง ไม่ใช่เรื่องต้องการ ไม่ใช่เรื่องของความจดจ้อง ไม่ใช่เรื่องของการไปกระทำอะไร ด้วยความเป็นตัวตน ด้วยความเห็นผิด และด้วยความไม่รู้ แต่เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาไปตามลำดับ

ขณะที่จดจ้องต้องการ หรืออยากให้สติปัฏฐานเกิด นั่น ผิดแล้ว เป็นอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไป ไม่ใช่หนทางที่ถูกต้องเลย แสดงให้เห็นว่า ความไม่รู้ เป็นเหตุให้มีการกระทำอะไรที่ผิดๆ มากมาย ทำให้หลงทาง ออกห่างจากการที่จะได้เข้าใจความเป็นจริงของสภาพธรรม ซึ่งจะต่างจากขณะที่สติเกิด ระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ขณะนั้น เป็นสภาพธรรมฝ่ายดี เกิดขึ้นโดยมีรากฐานที่สำคัญจากได้เข้าใจในขั้นการฟัง ตรงตามที่ได้ศึกษาทุกประการ แสดงถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น

เรื่องเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องของปัญญา ที่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง สติเกิดขึ้นระลึกและปัญญารู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ การเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ว่าเป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยการฟัง ในสิ่งที่มีจริงเนืองๆ บ่อยๆ พิจารณาเหตุ ผล แล้วก็เจริญเหตุให้สมควรแก่ผลด้วย ครับ

ขอเชิญคลิกฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
เพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ

สติปัฏฐาน กับ การจดจ้อง

ไม่มีตัวตนไปจดจ้องให้สติเกิด

ระลึกได้ตามปกติ ไม่ใช่มีความต้องการที่จะจดจ้อง

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 25 มี.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ปทุม
วันที่ 25 มี.ค. 2565

กราบขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งค่ะ

และกราบขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านด้วยค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ