การระลึกรู้นามธรรม
นามธรรมคือ สภาพรู้ อาการรู้ ธาตุรู้ โดยแยกเป็นจิตและเจตสิก (นิพพานก็เป็นนามธรรมเหมือนกัน แต่เป็นนามธรรมที่ไม่รู้อารมณ์) จิตเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ส่วนเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่เกิดกับจิต เกิดที่เดียวกับจิต รู้อารมณ์เดียวกัน และดับพร้อมกันด้วย
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
มั่นคงในหนทาง (สติปัฏฐาน) นี้ว่า สภาพธัมมะใดไม่เกิดก็ไม่สามารถระลึกสภาพธัมมะนั้นได้ แล้วแต่สติว่าจะเกิดระลึกรู้อะไร อาจจะเป็น รูปธรรม เช่น ระลึกที่เสียงก็ได้ ขณะที่ระลึกสภาพธัมมะ ขณะนั้นไม่มีชื่อว่า เจตสิก แต่มีลักษณะของธรรมที่ปรากฏว่าเป็นธรรม สติไม่เกิดก็ไม่เกิด เพราะเป็นธรรมไม่ใช่เราบังคับได้ ดังนั้น การศึกษาธรรมจึงเป็นเรื่องเบา เพราะไม่มีความต้องการที่จะได้ผล ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
รูปธรรม เป็น รูปขันธ์ ๑
นามธรรม เป็น นามขันธ์ ๔ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑
เวทนาขันธ์ เป็น เวทนาเจตสิก สัญญาขันธ์ เป็น สัญญาเจตสิก เจตสิกที่เหลืออีก ๕๐ เป็น สังขารขันธ์ ส่วนวิญญาณขันธ์ เป็น จิต
การระลึกรู้สภาพของธรรมะ เป็นไปได้ทั้งรูปธรรม หรือนามธรรมตามควรแก่การรู้สภาพธรรมตามทวารต่างๆ ตามความเป็นจริง เป็นสติขั้นสูง คือ สติปัฏฐาน เพราะมีปัญญาเกิดร่วมด้วยทุกครั้งที่เกิดครับ